24 พ.ค. 2023 เวลา 03:26 • การศึกษา

ทำไมคนต่างกลุ่มมักขัดแย้งกัน?

🔸 คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมคนต่างกลุ่มถึงมีความขัดแย้งกัน ทั้งกลุ่มทีมกีฬาเช่น สโมสรแมนยูและลิเวอร์พูล เรอัลมาร์ดริดและบาเซโลน่า กลุ่มสถาบันเช่น ช่างกลอุเทนถวายและปทุมวัน หรือกลุ่มทางการเมืองเช่น กลุ่มเสื้อเหลืองและเสื้อแดง กลุ่ม3นิ้วและอีกกลุ่ม หนึ่งในสาเหตุของความขัดแย้งนี้เราสามารถเห็นได้จากการทดลองที่แสนโด่งดังในอดีต The Robbers Cave Experiment
🔸 ในปี ค.ศ.1954 มูซาเฟอร์ เชอริฟ (Muzafer Sherif) ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาสังคมที่ขณะนั้นสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยโอคลาโฮมาและทีมวิจัย ได้ทำการทดลองนี้ที่ที่ค่ายฤดูร้อนที่ Robbers Cave State Park ในโอกลาโฮมา โดยกำหนดให้มีเด็กชายอายุ 11-12 ปี จำนวน 22 คน
1
โดยการทดลองช่วงแรกเด็กชายถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม และมีการตั้งชื่อกลุ่มคือกล่มนกอินทรีกับและกลุ่มอสรพิษ และให้สมาชิคแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การเดินป่าและการว่ายน้ำ ทีมวิจัยพบว่าเด็กชายเหล่านี้ผูกพันกับกลุ่มของตนอย่างรวดเร็วและเริ่มเห็นว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
🔸 ช่วงที่สองของการทดลอง ทีมวิจัยได้กำหนดให้ 2 กลุ่มแข่งขันกัน โดยกลุ่มที่ชนะจะได้รับรางวั คือเหรียญและถ้วยรางวัล ส่วนกลุ่มที่แพ้จะไม่ได้อะไรเลย ผลปรากฎว่าการแข่งขันค่อย ๆ ทวีความรุนแรงขึ้น เด็ก ๆ เริ่มแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและความเป็นศัตรูและต่อสมาชิกของกลุ่มอื่น ทั้งทำลายกระท่อมแคมป์ ขโมยข้าวของของอีกกลุ่ม และการทำร้ายร่างกาย
🔸 ช่วงสุดท้ายของการทดลอง ทีมวิจัยพยายามลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสองกลุ่ม โดยสร้างสถานการณ์ที่ต้องการให้ทั้งสองกลุ่มทำงานร่วมกัน เช่น ช่วยกันซ่อมแซมระบบจ่ายน้ำประปา และการช่วยกันดึงรถบรรทุกที่ตกคูน้ำ และทีมวิจัยรางวัลสำหรับการร่วมมือกันแก้ปัญหาเช่นการให้ดูภาพยนตร์และให้ทำกิจกรรมสนุก ๆ ซึ่งพบว่าหลังจากกระบวนการดังกล่าว ทีมวิจัยสามารถลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มลงและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มได้
🔸 การทดลองนี้าเป็นการศึกษาที่สำคัญในด้านจิตวิทยาสังคมจากการชี้ให้เห็นว่ากลุ่มแต่ละกลุ่มมีความแตกแยกกันได้ง่ายเพียงใด และยากเพียงใดที่จะแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม การทดลองยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างสถานการณ์ที่ส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างกลุ่ม
🔸 ความสามัคคีและความภักดีต่อกลุ่มสามารถเป็นพลังที่กำหนดทิศทางและทัศนคติของสมาชิคกลุ่มได้ แต่ก็ทำให้เกิดการสร้างความขัดแย้งได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีรางวัลเป็นเดิมพัน การทดลองนี้เน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการหาวิธีส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างกลุ่มต่างๆ แม้ว่าจะต้องเผชิญกับความแตกต่างทางความคิดที่ฝังรากลึกก็ตาม
Reference :
Sherif, M., Harvey, O. J., White, B. J., Hood, W. R., & Sherif, C. W. (1961). Intergroup conflict and cooperation: The robbers cave experiment. University of Oklahoma Book Exchange.
Sherif, M. (1956). Experiments in group conflict. Scientific American, 195(5), 54-58.
Sherif, M., & Sherif, C. W. (1969). Social psychology. Harper & Row.
โฆษณา