Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mr.BlackCatz. Academy
•
ติดตาม
12 มิ.ย. 2023 เวลา 11:05 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
จาก “ธาตุ” สู่ “ชีวิต” | Biology with JRItsme.
⌚️ เวลาที่ใช้อ่าน 5 นาที
ก่อนที่เราจะทำความรู้จัก เข้าใจว่าร่างกายเราทำงานอย่างไร หรือแม้แต่ลงลึกไปอีกขั้นของวิชานี้ ผมขอเริ่มจากจุดเล็ก ๆ เล็กกว่าเซลล์ด้วยซ้ำ นั่นคือ “อะตอม” [Atom] นั่นเอง! หลายคงอาจสงสัยว่านี่เรากำลังพูดถึงวิชาชีววิทยานะ ทำไมถึงพูดอะตอมที่มาจากวิชาเคมีล่ะ? ต้องบอกก่อนว่า ร่างกายสิ่งมีชีวิตประกอบจากธาตุที่สร้างพันธะกันจนเกิดโมเลกุล หลายโมเลกุลก่อเกิดเป็นเซลล์ไปจนถึงร่างกาย ด้วยเหตุนั้นเองวิชาเคมีเลยเป็นหนึ่งวิชาที่สำคัญ ที่เปรียบดังญาติมิตร สนิทสนมกลมกลืนกันนั่นเอง
วันนี้และอีกหลายตอนต่อจากนี้ จะมีการนำวิชาเคมีมีบอกเล่ากันด้วย แต่ไม่ต้องกังวลไป... เพราะผมจะอธิบายหลักวิชาเคมีที่จำเป็นเท่านั้น และถ่ายทอกให้เข้าใจมากขึ้น
ผมเคยบอกในตอนแรกว่า “เซลล์เป็นหน่วยมีชีวิตที่เล็กที่สุด” แล้วอะตอมที่เล็กกว่าล่ะ? ผมขอให้ทุกคนนำอะตอมมาพิจารณาคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตทั้ง 7 ข้อในตอนที่แล้ว... ว่ามีข้อไหนบ้างที่อะตอมไม่มี (ให้เวลาตอบก่อน... ย่าเพิ่มอ่านต่อนะ! หรือใครที่ยังไม่ได้อ่านตอนที่แล้ว ย้อนกลับไปได้ที่นี่เลย:
https://www.blockdit.com/posts/6482ab71f04053430311af92
)
รูปคั่นเฉย ๆ
เฉลย... ไม่มีทางที่มันจะมีชีวิตได้เลย! เพราะแค่ข้อที่ 1 ข้อที่สำคัญที่สุดยังไม่มีเลยด้วยซ้ำไป (ยกเว้นไวรัส) พอเข้าใจจุดนี้แล้ว มาทำความเข้าใจอะตอมให้มากขึ้นกว่านี้ดีกว่า
อ้างอิง: https://www.sciencefacts.net/atom-2.html
พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ให้ความหมายของอะตอมว่า “ส่วนที่เล็กที่สุดของธาตุซึ่งเข้าทำปฏิกิริยาเคมีได้” ซึ่งตรงกับความหมายในทางเคมี พจนานุกรมได้อธิบายต่อว่า “อะตอมประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่สำคัญ คือ นิวเคลียส [Nucleus] เป็นแกนกลางและมีอิเล็กตรอน [Electron] เคลื่อนที่อยู่โดยรอบ” (รูปประกอบด้านบน) โดยที่ในนิวเคลียสจะมีโปรตอน [Proton] และนิวตรอน [Neutron] บรรจุอยู่ภายในอย่างอัดแน่น
อ้างอิง: https://www.acs.org/education/whatischemistry/periodictable.html
จำนวนโปรตรอนในนิวเคลียสของอะตอมจะเป็นตัวกำหนดว่า อะตอมนั้นเป็นธาตุชนิดใดตามตารางธาตุ [Periodic table of element] (รูปประกอบด้านบนด้านบน) ซึ่งธาตุมีความหมายดังพจนานุกรมว่า “สารเนื้อเดียวล้วนซึ่งประกอบด้วยบรรดาอะตอมที่มีโปรตอนจำนวนเดียวกันในนิวเคลียส” กล่าวคือจะว่าอะตอมใดเป็นธาตุเดียวกัน ให้เอาจำนนวนโปรตรอนมาเทียบกัน ถ้าเท่ากันจึงเป็นธาตุเดียวกันนั่นเอง และสามารถเรียงจากน้อยไปมาก จากซ้ายไปขวาตามตารางธาตุเช่นกัน
ส่วนอิเล็กตรอนที่ไม่ได้นับเป็นมวลของอะตอม จะเป็นตัวสร้างพันธะให้เกิดเป็นโมเลกุล ซึ่งโมเลกุลนั้นจะกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของสิ่งมีชีวิตนั่นเอง โดยพันธะที่สำคัญแบ่งเป็น 2 รูปแบบได้แก่
อ้างอิง: https://biologydictionary.net/ionic-bond-examples/
“พันธะไอออนิก” [Ionic bond] เกิดจากอิเล็กตรอนของธาตุหนึ่งส่งไปหาอีกธาตุหนึ่ง ทำให้เกิดไอออน [Ion] หรืออะตอมที่มีประจุขึ้น โดยอะตอมของธาตุที่ให้อิเล็กตรอนจะเป็นไอออนบวก [Cation] และอะตอมที่รับอิเล็กตรอนมาจะเป็นไอออนลบ [Anion] ดังรูปประกอบด้านบน ที่อะตอมธาตุโซเดียม [Sodium: สัญลักษณ์ธาตุ Na] ให้อิเล็กตรอนแก่อะตอมธาตุคลอรีน [Chlorine: สัญลักษณ์ธาตุ Cl] เกิดเป็นสารที่เรียกว่าโซเดียมคลอไรด์ [Sodium chloride: สัญลักษณ์โมเลกุล NaCl] หรือเกลือที่เราใช้ประกอบอาหารนั่นเอง
อ้างอิง: https://www.britannica.com/science/covalent-bond
ส่วนอีกพันธะหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ “พันธะโคเวเลนต์” [Covalent bond] พันธะที่แล้วเป็นการรับส่งอิเล็กตรอนกัน อันนี้จะเป็นการแชร์อิเล็กตรอนกัน คือเอาอิเล็กตรอนของทั้งสองธาตุมาใกล้แล้วแชร์แบ่งกันใช้ พันธะนี้ไม่ให้ไอออนออกมา แต่สามารถสร้างพันธะต่อกันกับธาตุอื่นไปเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นโมเลกุลสายยาว ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของร่างกายสิ่งมีชีวิต หรือแม่แต่น้ำ [H2O] ดังรูปด้านบนก็เกิดจากพันธะนี้เหมือนกัน
อ้างอิง: https://brainly.com/question/32736171
จะสังเกตว่าโมเลกุลสายยาวจะมีธาตุคาร์บอนเป็นแกนกลางหรือมีจำนวนมาก เพราะคาร์บอนสามารถแชร์อิเล็กตรอนกับอะตอมธาตุอื่นได้มากสูงสุด 4 ธาตุ และสามารถแชร์กับคาร์บอนด้วยกันเอง ไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้คาร์บอนยังมีมวลน้อย พลังงานที่ใช้ในการจับต่ำ จึงเป็นที่หมายตาที่อะตอมธาตุอื่นจะเข้ามาจับด้วยนั่นเอง
ภาพถ่ายอะตอมไฮโดรเจนจากกล้องจุลทรรศน์ควอนตัม อ้างอิง: https://www.foxnews.com/science/amazing-first-ever-photograph-inside-a-hydrogen-atom
ตอนนี้ไม่ใช่ชีวะ แต่เป็นเคมีไปซะได้... จริงๆ ตอนผมเรียนมันลึกกว่านี้อีกนะ ซึ่งนั่นคือพื้นฐานสำคัญด้วย แต่สำหรับคนธรรมดาทั่วไป แค่นี้ก็ถือเป็นคอนเซปต์ที่ย่อยมาให้เข้าง่ายที่สุดแล้วครับ ถ้าลงลึกสุดซอยคงอ้วกแตกตายกันแน่ ๆ อย่างไรฝากติดตามเพจ Mr.BlackCatz. Academy เพื่อเป็นกำลังใจในการให้ความรู้แก่คนทั่วไป ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจด้วยนะครับ แล้วเจอกันใหม่ตอนหน้าครับ 😸
วิทยาศาสตร์
สุขภาพ
การศึกษา
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Biology with JRItsme.
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย