15 มิ.ย. 2023 เวลา 15:27 • การศึกษา

“โมเลกุล” กับ “สารประกอบ” | Biology by JRItsme.

⌚️ เวลาที่ใช้อ่าน 4 นาที
ในตอนที่แล้ว... เราได้รู้จักกับอะตอม ตัวตั้งต้นของสารต่าง ๆ บนโลกใบนี้ ทั้งโมเลกุลที่เกิดจากพันธะโคเวเลนต์และไอออนิก ในตอนนี้เราจะมาลงลึกกันอีกสักนิดหนึ่งกับสารที่เป็นองค์ประกอบของชีวิต ผมขอเริ่มจาก “โมเลกุล” [Molecule] ก่อน...
เช่นเดิม... ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ได้ให้ความหมายคำนี้ว่า “ส่วนที่เล็กที่สุดของสารซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้ตามลำพัง และทั้งยังคงรักษาสมบัติต่าง ๆ ของสารนั้นไว้ได้ด้วย โมเลกุลประกอบด้วยอะตอมของธาตุ, เดิมเรียกว่า อณู” อธิบายง่าย ๆ คือสิ่งที่ประกอบด้วยอะตอมของธาตุต่าง ๆ ทำพันธะต่อกัน ทำให้สิ่งนั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น จุดเดือด จุดหลอมเหลว น้ำหนักโมเลกุล ฯลฯ
ยกตัวอย่างเช่น มีเทน [Methane: CH4] เป็นโมเลกุลที่เกิดจากอะตอมของคาร์บอนหนึ่งอะตอม และไฮโดรเจน 4 อะตอม ทำพันธะโคเวเลนต์ต่อกัน ที่มีจุดเดือด -161 °C และจุดหลอมเหลว -183 °C และอีเทน [Ethane C2H6] มีจุดเดือด -89 °C และจุดหลอมเหลว -182.8 °C จะเห็นว่าเมื่อมีจำนวนอะตอมต่างกัน จุดเดือดและจุดหลอมเหลวก็แตกต่างกันแล้ว นี่คือความแตกต่างของคุณสมบัติแต่ละโมเลกุล
หากใครเรียนเคมีมา (สำหรับคนที่ไม่เคยเรียน ไม่ต้องกังวลไปนะ...) อาจเคยได้ยินคำว่าสารประกอบ [Compound] ในพจนานุกรมให้ความหมายว่า “สารที่เกิดจากธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมตัวกันโดยอาศัยปฏิกิริยาเคมี และมีอัตราส่วนผสมคงที่เสมอ” สำหรับคนที่ไม่เข้าใจให้โฟกัสแค่ประโยคที่ว่า “สารที่เกิดจากธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมตัวกันโดยอาศัยปฏิกิริยาเคมี”
ซึ่งเอาจริง ๆ คำว่า “โมเลกุล” และ “สารประกอบ” มีความหมายเดียวกัน เพียงแต่โมเลกุลเป็นคำกว้าง ๆ ไม่ว่าเกิดจากพันธะใดหรือปฏิกิริยาใดก็เรียกรวมว่าโมเลกุล แต่สารประกอบใช้เรียกชนิดของโมเลกุลต่าง ๆ ตามพันธะหรือปฏิกิริยา เช่น สารประกอบไอออนิก [Ionic compound] สารประกอบโคเวเลนต์ [Covalent compound] ฯลฯ
มีเทน สารประกอบอิินทรีย์ที่เกิดจากมลภาวะ
อีกกลุ่มสารประกอบที่สำคัญในวิชาชีววิทยาคือ สารประกอบอินทรีย์ [Organic compound] หลายคนคงคิดว่า “มันน่าจะมาจากสิ่งมีชีวิตใช่ไหม?” ก็ใช่... แต่มันมีมากกว่านั้น... ในทางเคมีแล้ว สารประกอบอินทรีย์ คือสารประกอบโคเวเลนต์ (โมเลกุลที่เกิดจากพันธะโคเวเลนต์) ที่มีอะตอมของธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบหลัก มักเรียกรวมกันว่าไฮโดรคาร์บอน [Hydrocarbon] ตัวอย่างเช่น มีเทนและอีเทนตามที่เล่าไปก่อนหน้านี้ ซึ่งสารสองชนิดนี้ไม่ได้พบในร่างกายสิ่งมีชีวิตอย่างเดียว อาจเกิดจากธรรมชาติ และมลภาวะที่มนุษย์สร้างขึ้น
แก๊สออกซิเจน สารประกอบอนินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตใช้หายใจ
และสารประกอบอนินทรีย์ [Inorganic compound] ตรงกันข้ามเลย คือกลุ่มนี้ไม่อะตอมไฮโดรเจนและคาร์บอน ถึงแม้ว่าอนินทรีย์มีความหมายว่าไม่มีชีวิต แต่มันก็พบได้ในร่างกายสิ่งมีชีวิตเหมือนกัน เช่น แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ [Hydrogen sulfide gas: H2S] ที่หมักหมมในลำไส้และออกมาเป็นตดนั่นเอง หรือแม้แต่แก๊สออกซิเจน [Oxัgen gas: O2] กับคาร์บอนไดออกไซด์ [Carbon dioxide gas: CO2] ทีเราหายใจเข้าออกอยู่ทุกวัน
ตอนนี้เป็นอีกตอนที่เราเรื่องเคมีที่จะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อจากนี้ อย่างไรลองเปิดใจดู และศึกษาตามไปกับผม ทุกคนก็เริ่มเข้าที่มาที่ไปและการประยุกต์ต่อจากนี้ครับ แต่ละผมซอยเนื้อหาเยอะมากเพื่อทุกคนไปอย่างช้า ๆ ให้คนที่ไม่มีพื้นฐานสายวิทย์เลย ได้เข้าใจไปพร้อม ๆ กันครับ อย่าลืมติดตามเพจ Mr.BlackCatz. Academy เพื่อไม่พลาดตอนต่อไปของซีรีส์นี้ครับ 😸

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา