20 พ.ย. 2023 เวลา 04:00

ปฏิบัติธรรมอย่างไร จึงไม่ตู่คำสอนของพระพุทธเจ้า

ดังที่ได้แสดงธรรมในพระพุทธเจ้าให้ได้รับทราบโดยลำดับว่า คนในชั้นหลังพุทธกาลมานี้ หมายถึงหลังจากที่พรพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว และอรหันตสาวกรูปสุดท้ายก็ได้ดับขันธปรินิพพานไปจนสิ้นแล้ว นั้นหมายถึงหลังพุทธกาล และได้ชี้ให้ดูว่าคนในหลังพุทธกาลมานี้ เป็นบุคคลผู้ที่เล่าเรียนพระสูตรอันเรียนกันมาผิดลำดับ
ตามที่พระศาสดาได้ตรัสเอาไว้ใน สุคตวินยสูตร ว่า
อิธ ภิกขเว ภิกขู
ทุคคหิตัง สุตตันตัง ปริยาปุณันติ
ทุนนิกขิตเตหิ ปทัพยัญชเนหิ
ทุนนิกขิตตัสส ภิกขเว ปทัพยัญชนัสส
อัตโถปิ ทุนนโย โหติ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนพระสูตรอันเรียนกันมาผิดลำดับ ด้วยบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะย่อมมีนัยผิดไปด้วย เบื้องต้นจริงๆอยู่ตรงนี้ อยู่ที่หมู่มวลชาวพุทธของพวกเรา เรียนพระสูตรผิดลำดับ เมื่อผิดก็ผิดไปทั้งหมด ผิดในเรื่องอะไรบ้างได้แสดงเป็นเบื้องต้นว่า ผิดในเรื่องของปฏิจจสมุปบาทเป็นสำคัญ เป็นเบื้องต้นเลยอยู่ที่ตรงนี้
เมื่อเรียนผิดลำดับดังนี้ข้อ 2 ก็ชี้ให้ดูว่าหมู่มวลชาวพุทธของพวกเรา เป็นผู้ไม่รู้แจ้งในอรรถไม่รู้แจ้งในธรรม โดยเฉพาะครูอาจารย์ทั้งหลาย เมื่อไม่รู้แจ้งในอรรถไม่รู้แจ้งในธรรม ก็แสดงที่ตนไม่รู้แจ้งในอรรถไม่รู้แจ้งในธรรมนี้ให้สาวกได้ฟัง สาวกก็ย่อมไม่รู้แจ้งในอรรถไม่รู้แจ้งในธรรมด้วย และทั้งสองฝ่ายก็ไม่รู้แจ้งในอรรถไม่รู้แจ้งในธรรมนี้
เมื่อไม่รู้แจ้งไม่รู้แจ้งว่าทำแล้ว ก็ย่อมกล่าวตู่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่โดยลำดับ เบื้องต้นกล่าวตู่ปฏิจจสมุปบาท ไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทนี้เอง เป็นเหตุให้เกิดการกล่าวตู่ขันธ์ 5 เห็นขันธ์ 5 เป็นร่างกายมนุษย์เพราะไม่รู้ว่าขันธ์ 5 เป็นบทย่อของปฏิจจสมุปบาทอย่างไร เห็นขันธ์ 5 เป็นร่างกายคนไปเสีย แยกขันธ์ 5 เป็นรูปกับนาม หลังจากนั้นก็ประกาศชัดว่า คนเราประกอบไปด้วยธาตุ 4 ขันธ์ 5 เวลาแสดงขันธ์ 5 ก็กลายเป็นขันธ์ 6 ไป สารพัดจากที่ตรงนี้จากไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท เป็นเหตุให้ผิดไปหมดเลย
แล้วหลังจากนั้นพอปฏิบัติธรรมจริงๆก็พากันนั่งสมาธิ ทั้งๆที่คำว่าการนั่งสมาธินี้ไม่มีในพุทธศาสนาเลย หลังจากนั้นก็พากเพียรปฏิบัติการเดินจงกรมบ้าง บัญญัติการเดินธุดงค์ขึ้นบ้าง บัญญัติการสวดอ้อนวอนขึ้นบ้าง บัญญัติการปฏิบัติธรรมเป็นคราวๆไป 3 วัน 5 วัน 7 วันดังนี้ สารพัด กระทำการกันอยู่
สืบเนื่องจากเบื้องต้น คือ เล่าเรียนพระสูตรอันเรียนมาผิดลำดับ ได้บอกให้ได้รับทราบแล้วว่าพระไตรปิฎกนี้ไม่ใช่ตำราเรียน แต่เป็นหลักฐานทางธรรมที่อรหันตสาวก ท่านได้พากเพียรรวบรวมกันขึ้น เพื่อไว้เป็นหลักฐานทางธรรม สำหรับใครที่เห็นผิดในธรรมนี้อยู่ แต่ไม่ใช่ตำราเรียน ยืนยันดังนั้น ผู้รู้เท่านั้นจึงจะรู้ในปฏิจจสมุปบาท
เพื่อชี้ให้ดูว่า ชาวพุทธเราเห็นผิดในธรรมอยู่อย่างไรเล่า เรียนผิดอย่างไร ไม่รู้แจ้งในอรรถไม่รู้แจ้งในธรรมอยู่อย่างไร และกล่าวตู่พระธรรมคำสอนอยู่อย่างไร จึงได้นำเอาอินทริยภาวนาสูตร มาแสดงเป็นเบื้องต้นให้รับทราบ ว่าเรื่องเดียวนะนิ ว่าเรื่องที่พระพุทธเจ้า ตรัสกับอุตตรมาณพ ในเรื่องที่พระพุทธเจ้าถามอุตตรมาณพ
ว่า ดูกรอุตตระ ปาราสิริยพราหมณ์ แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกหรือเปล่า
อุตตรมาณพตอบว่า แสดงพระโคดมผู้เจริญ
ดูกรอุตตระ แสดงอย่างใด ด้วยประการใด
ข้าแต่พระโคนมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ท่านปาราสิริยพราหมณ์ แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า อย่าเห็นรูปได้จักษุ อย่าได้ยินเสียงโสต
ตรงนี้แหละพระพุทธเจ้าได้ตรัสให้กับอุตตรมาณพว่า ดูกรอุตตระ เมื่อเป็นเช่นนี้คนที่เจริญอินทรีย์แล้วตามคำของปาราสิริยพราหมณ์ ต้องเป็นคนตาบอด ต้องเป็นคนหูหนวก เพราะคนตาบอดไม่เห็นรูปด้วยจักษุ คนหูหนวกไม่ได้ยินเสียงด้วยโสต
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้วอุตตรมานพ ศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์ ก็
ตุณหีภูโต มังกุภูโต ปัตตักขันโธ อโธมุโข ปัชฌายันโต อัปปฏิภาโณ
คือ เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ
ตรงอย่าเห็นรูปด้วยจักษุ อย่าได้ยินเสียงด้วยโสต เป็นอาการที่หมู่ชาวพุทธของพวกเรา เวลาไปนั่งสมาธิแล้ว เขาจะไม่ดูอะไร ไม่ฟังอะไร ไม่ดมอะไร ไม่กินอะไร ไม่สัมผัสอะไร ไม่รับรู้อะไร ไม่รับรู้ธรรมารมณ์ใดๆ เพียง อากัปกิริยา 2 ตัวแรก พระพุทธเจ้าก็ว่าแล้ว ถ้าเธอไม่ดูอะไรเธอก็เป็นคนตาบอด ถ้าเธอไม่ฟังอะไรเธอก็เป็นคนหูหนวก
ท่านว่าให้ใคร ทั้งๆที่ในสมัยนั้นไม่มีการนั่งสมาธิ แต่ท่านว่าเอาไว้ก่อนแล้ว มาถูกกับคนในยุคนี้ มานั่งสมาธิ มาเดินจงกรมอยู่เป็นอาการเดียวกัน เดินจงกรมกับพยายามไม่ดูอะไร ดูแต่เท้าตัวเองเดินอยู่นั่นแหละ ปฏิบัติธรรมคราวละ 3 วัน 5 วัน 7 วันก็เหมือนกันท่านว่าไว้หมด เดี๋ยวเอาให้ดูในตอนหลัง แต่ตอนนี้มาดูว่าหลังจากที่ท่านว่าคนอื่นแล้ว อย่าเห็นรูปที่จักษุ อย่าได้ยินเสียงด้วยโสตดังนี้ ต้องเป็นคนตาบอดต้องเป็นคนหูหนวกดังนี้
แล้วของท่านล่ะทำอย่างไร เรามาดูกัน จะให้ดูในข้อ 856 ข้อที่ผ่านมาเป็นข้อ 855 พระพุทธเจ้าว่าต้องเป็นคนตาบอดหูหนวกแล้ว ทีนี้มาดูตรงที่เวลาต่อมาท่านพระอานนท์ก็เกิดความสงสัยว่า แล้วการเจริญอิทรีย์ภาวนาในพุทธศาสนา หรือในอริยะวินัยนี้ทำอย่างไร พระพุทธเจ้าก็ตรัสตอบท่านพระอานนท์ว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
แล้วพระพุทธเจ้าก็ได้แสดงการเจริญอินทรีย์ภาวนาของชาวพุทธ ให้กับท่านพระอานนท์ได้ฟัง ท่านตรัสเอาไว้ว่า ดูกรอานนท์ ก็การเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะเป็นอย่างไร ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ เห็นไหม ของท่านดูแล้ว เห็นแล้ว เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว จึงเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ
ต้องดูก่อน ต้องดูเลย ดูตรงนี้ท่านให้ดู เราก็ต้องดู เราก็ไม่นั่งสมาธิ ไม่เลย ต้องดู เมื่อดูแล้วเป็นยังไงเมื่อเกิดขึ้นแล้วเป็นอย่างไร เมื่อดูแล้ว เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้ว เห็นอยู่ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น การที่เราเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น อาการที่เราเป็นสุขเป็นทุกข์เหล่านั้น เป็นการปรุงแต่งกันหยาบๆ
ท่านตรัสต่อไปว่า เอตัง สันตัง เอตัง ปณีตัง ยทิทัง อุเปกฺขาติ
ยังมีสิ่งที่ละเอียดประณีต นั่นคืออุเบกขาอยู่ สิ่งนี้ที่สุขกว่าเป็นอุเบกขา
เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น เห็นไหม ดูก่อน
ส่วนการละความชอบใจ ความไม่ชอบใจทั้งหมดนี้ ได้แสดงผ่านมาแล้ว ให้ได้รับฟังแล้ว ต้องรับรู้ว่าธรรมนี้เป็นธรรมโดยย่อ โดยรายละเอียดนั้นทุกคนจะต้องเห็นอริยสัจ 4 ว่านี่ทุกข์นะ ว่านี่สมุทัยนะ ว่านี่นิโรธคือความดับทุกข์ดับอย่างนี้นะ ดับด้วยอะไร ดับด้วยมรรคมีองค์ 8 หรือโพธิปักขิยธรรมทำอย่างไร ได้แสดงมาแล้ว
แต่ตรงนี้นำเอาหลักฐานมาให้ดูว่า ในพุทธศาสนาไม่มีการนั่งสมาธิ ไม่มีการเดินจงกรม ไม่มีการเดินธุดงค์ ไม่มีการสวดอ้อนวอน ไม่ปฏิบัติธรรมคราวละ 3 วัน 5 วัน 7 วันใดๆไม่มี คำว่าเดินจงกรมนั้นเดินเพื่อออกกำลังหนะใช่ เพื่อให้ร่างกายเป็นไปได้ด้วยเพื่อความอยู่เป็นสุขสบายหนะใช่ แต่จะมาเดินจงกรมท่าประดิษฐ์กระย่องกระแย่งไม่ใช่ ชี้ให้ดูตรงนี้
ส่วนวิธีการที่จะดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งหมดทั้งมวลนั้น กระทำอย่างไรจึงจะได้อุเบกขานั้น ได้แสดงมาก่อนแล้ว ตรงนี้ชี้ให้ดูเท่านี้ ให้ได้เห็นว่าเมื่อพระพุทธเจ้าท่านว่าให้คนอื่นว่า การที่ไม่ดู ไม่ฟัง ไม่ดม ไม่กิน ไม่สัมผัส ไม่รับรู้ธรรมารมณ์ใดๆ คนๆนั้นหละ เป็นอัมพาตหรือตายทั้งเป็นอยู่ เป็นมิลักขะอยู่ คนที่เป็นอริยะวินัยนี้ ต้องดู ต้องฟัง ต้องดม ต้องกิน ต้องสัมผัส ต้องรับรู้ธรรมารมณ์ใดๆปกติ
เมื่อรับรู้ในสิ่งนั้นแล้ว เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความไม่ชอบใจและความไม่ชอบใจขึ้นแล้ว เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต เพราะดมกลิ่นด้วยจมูก เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น เพราะสัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย เพราะรับรู้ธรรมารมณ์ใดๆด้วยจิตด้วยใจแล้วนี้
เธอย่อมรู้ชัดว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจขึ้นแล้ว เธอรู้เลยว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นการปรุงแต่งกันขึ้นหยาบๆนะ สิ่งที่ละเอียดกว่าประณีตกว่า คืออุเบกขามีอยู่ แล้วเธอก็ทำความดับตรงนั้น ทำความดับตรงนั้นลงให้หมด วิธีการดับได้แสดงเอาไว้แล้วว่า ทำอย่างไรถึงจะได้อุเบกขา ค่อยไปดูตรงนั้น
แต่ตรงนี้เราดูแค่ว่า คนอื่นไม่ดู คนอื่นไม่ฟัง ท่านว่าเขาเป็นคนตาบอดหูหนวก เพราะฉะนั้นเราเองจะต้องดู ต้องฟัง ต้องดม ต้องกิน ต้องสัมผัส ต้องรับรู้ธรรมารมณ์ใดๆตามปกติ ดำเนินชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข ขณะเดียวกันเราเป็นมัชฌิมาปฏิปทา ไม่เอาทั้งกาม ไม่เอาทั้งทุกข์ แต่เราอยู่ในระหว่างนี้แหละ เราอยู่ในกาม เราอยู่ในความปฏิบัติธรรมเพื่อความเป็นทุกข์ แต่เราไม่เอา เราอยู่เหนือกว่า เป็นโลกุตระ
อ้างอิง
อินทริยภาวนาสูตร ข้อ 855 - 856 พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 14
โฆษณา