22 พ.ย. 2023 เวลา 05:30

วิญญาณ คืออะไร

มีครูอาจารย์เรียกวิญญาณนี้ต่างๆกัน เช่น เรียกว่าวิญญาณบ้าง วิญญาณธาตุ บ้างวิญญาณขันธ์บ้าง จุติวิญญาณบ้าง ปฏิสนธิวิญญาณบ้าง วิญญาณเร่ร่อนบ้าง หรืออื่นๆมากมายดังนี้ ทำให้เกิดความสงสัยว่า แล้ววิญญาณนี้ทำไมมีหลายตัวจัง ทำไมมีมากจัง เราจะยึดวิญญาณตัวไหน
เรามาดูอย่างนี้เพื่อให้เราเห็นตามลำดับ เราต้องดูก่อนว่าธรรมที่เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท ธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมอันเป็นเบื้องต้น เป็นธรรมหลักเลย พระพุทธเจ้าได้ตรัสธรรมนี้หรือประกาศธรรมนี้ ในฐานะที่ท่านได้เห็น อาการ ลิงค นิมิต อุเทส ของจิต ของมโน ของวิญญาณ ด้วยธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท
โดยเริ่มต้นที่คำว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ จึงนามรูป จึงสฬายตนะ จึงผัสสะ จึงเวทนา จึงตัณหา จึงอุปปาทาน ต่อไป แต่จะให้ดูที่ตรงนี้ ในฐานะที่เราเข้าใจแล้วว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ วิญญาณคำนี้ คือคำหลัก คำเบื้องต้น คำเดียวนี้เท่านั้น
วิญญาณทุกวิญญาณที่จะมีต่อไปนี้ ที่จะเกิดต่อไปนี้ ที่จะเห็นต่อไปนี้ หรือที่มีคนเรียกต่างๆกันนั้น มีคำเดียวนี้เท่านั้น วิญญาณที่เป็นสัตว์นรก วิญญาณที่เป็นเดรัจฉาน วิญญาณที่เป็นเปรต วิญญาณที่เป็นมนุษย์ วิญญาณที่เป็นเทวดา ที่ไปในวัฏฏสงสาร มีวิญญาณตัวเดียวนี้เท่านั้น วิญญาณเดี๋ยวนี้เท่านั้น
เพราะฉะนั้นเมื่อรู้ว่าปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นคำหลักหรือเป็นบทธรรมหลักแล้ว เราเห็นวิญญาณอันเดียวนี้เป็นหลักแล้ว เมื่อท่านย่อลงมาเป็นขันธ์ 5 ที่ท่านย่อว่า "สังขิตเตน ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา" ว่าโดยย่อ อุปปาทานขันธ์ทั้ง5 เป็นตัวทุกข์ เราจะเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอีก
วิญญาณในขันธ์ 5 นี่ถูกเรียกเป็นขันรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สำคัญขันธ์ วิญญาณขันธ์ ครูบาอาจารย์ก็จะมาเรียกว่าวิญญาณบ้าง วิญญาณขันธ์บ้าง วิญญาณธาตุบ้างอย่างนี้ วิญญาณในปฏิจจสมุปบาทกับวิญญาณในขันธ์ 5 ไม่ต่างกันเลย เป็นตัวเดียวกัน เพราะขันธ์ 5 ย่อลงมาจากปฏิจจสมุปบาทนี้
เชื่อมั่นว่าตอนนี้เราได้เห็นแล้ว แต่จะให้รับทราบอีกครั้ง เพื่อย้ำความเข้าใจย้ำความรู้ชัดให้ได้เห็นว่า วิญญาณนี้เป็นตัวเดียวกันนะ วิญญาณไหนๆก็ตาม
ที่เรียกว่าวิญญาณธาตุที่นี่ คำที่เรียกว่าวิญญาณธาตุ จะพบอยู่ในพระสูตรที่ชื่อว่าธาตุวิภังค์บ้าง หรืออื่นๆ เพราะว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า "มยา ธัมโม เทสิตา หรือ มยา ธัมโม เทสิโต อนิคคหิโต อสังกิลิฏโฐ
อนุปวัชโช อัปปฏิกกุฏโฐ สมเณหิ พราหมเณหิ วิญญูหิ" เราได้ตรัสรู้ในเรื่องของวิญญาณ ที่คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้
ในที่ตรงนี้มีธาตุอยู่ 6 ธาตุท่านแสดงเอาไว้คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ วิญญาณ ตรงนี้คนมักจะเอาไปพูดว่า วิญญาณธาตุก็เพราะว่าพระพุทธเจ้าแยกเอาไว้ วิญญาณก็เป็นธาตุธาตุหนึ่ง แต่ก็เป็นวิญญาณตัวเดียวนี้ เพราะพระพุทธเจ้าได้จำแนกให้ดูว่า พระพุทธเจ้านั้นได้ตรัสรู้ในเรื่องของดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ วิญญาณ ที่ไม่มีใครคัดค้านได้ วิญญาณตัวเดียวนี้
ดูลึกเข้ามาถึงตรงนี้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ในธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้แล้ว อันเป็นธรรมแม่บทหลักของธรรมทั้งหมดทั้งมวล ที่ท่านก้าวล่วงความเป็นโพธิสัตว์สู่ความเป็นพระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยธรรมนี้ เห็นวิญญาณนี้ ถูกย่อลงมาเป็นวิญญาณในขันธ์ 5 นี้ "สังขิตเตน ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา" ว่าโดยย่อ อุปปาทานขันธ์ทั้ง5 เป็นตัวทุกข์ วิญญาณเดียวกัน
พอจะดับทุกข์ทีนี้ พอแสดงว่าการดับทุกข์ต้องดับทุกข์ ต้องดับที่ปฏิจจสมุปบาทนี้เท่านั้น แต่พอไปดับทุกข์จริงๆแสดงเอาไว้ในโพธิปักขิยธรรม ไม่พูดถึงปฏิจจสมุปบาทนี้เลย แต่มาพูดถึงสติปัฏฐาน 4 ต้องบอกทุกคนให้ได้ทราบชัดว่า ปฏิจจสมุปบาทนี้ ถูกย่อลงมาเป็นขันธ์ 5 เป็นฝ่ายเกิดทุกข์อยู่ระหว่างปฏิจจสมุปบาทกับขันธ์ 5 นี้ ยังเป็นฝ่ายเกิดทุกข์อยู่
แต่พอธรรมที่เป็นธรรมดับทุกข์ กลายเป็นสติปัฏฐาน 4 ได้ย่อให้ดูแล้วว่า กายในกายคือรูปนะ เวทนาคือเวทนานะ สัญญานี้ยกไว้ในฐานะผู้มีวิชชาแล้วอยู่ตรงนี้นะ จิตในจิตคือสังขารนะ ธรรมในธรรมคือวิญญาณนะ
วิญญาณทั่วๆไป ที่ยังไป ในนรก ในเดรัจฉาน ในเปรต ในมนุษย์ ในเทวดานี้ เรียกว่าวิญญาณที่แสดงในปฏิจจสมุปบาท เรียกว่าวิญญาณที่แสดงในขันธ์ 5 แต่พอวิญญาณที่เป็นธรรมในธรรมในสติปัฏฐาน 4 แล้วนี้ คือวิญญาณของบุคคลผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแล้ว กำลังปฏิบัติตนเพื่อเข้าสู่โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์ตรงนี้ เป็นธรรมในธรรม เป็นวิญญาณที่รู้เหตุเกิด รู้เหตุดับ รู้คุณ รู้โทษ รู้อุบายเครื่องออกจากผัสสายตนะทั้ง 6 ตามความเป็นจริงแล้ว
วิญญาณในสติปัฏฐาน 4 เป็นอันเดียวกับวิญญาณในขันธ์ 5 แต่เป็นวิญญาณที่มีฐานะที่เป็นผู้รู้ธรรมแล้ว วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท วิญญาณในขันธ์ 5 ยังเป็นทุกข์อยู่ แต่วิญญาณในสติปัฏฐาน 4 เป็นผู้ที่กำลังปฏิบัติความพ้นทุกข์จนพ้นทุกข์ วิญญาณตัวนี้จึงเรียกว่าธรรมในธรรม
ใครจะเรียกอย่างไรก็แล้วแต่ท่านจะเรียก และก็เป็นจริงตามนั้นหละ แต่เราต้องรู้ว่าทุกคำ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านพูดถึงวิญญาณ ให้หมายถึงวิญญาณในปฏิจจสมุปบาท เรารับรู้ชัดว่าคือวิญญาณในขันธ์ 5 คือวิญญาณอันเดียวกันกับปฏิจจสมุปบาทที่ยังเป็นทุกข์อยู่ แต่พอเป็นวิญญาณที่จะทำการเพื่อพ้นทุกข์ หรือเป็นวิญญาณที่รู้ธรรมแล้ว คือวิญญาณที่ถูกเรียกว่าธรรมในธรรม สำหรับบุคคลผู้รู้ธรรมแล้ว สำหรับบุคคลผู้ที่กำลังปฏิบัติธรรมอยู่
ถ้าใครยังไม่รู้ธรรม ยังไม่บรรลุธรรม ยังเป็นวิญญาณพื้นๆที่ยังจะต้องไปในนรก ในเดรัจฉาน ในเปรต ในมนุษย์ ในเทวดาอยู่ แต่แม้จะเรียกวิญญาณที่รู้แล้วก็ให้รู้ว่า วิญญาณที่เป็นผู้รู้แล้วนี่ เป็นวิญญาณที่มีฐานะธรรมในธรรมนี้
จึงมาสรุปให้ได้ทราบว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ คือธรรมที่แสดงอาการ ลิงค นิมิต อุเทส ของจิต ของมโน ของวิญญาณ ให้ได้รับทราบตรงนี้ เป็นเรื่องเดียวนี้เป็นเรื่องหลัก จะเรียกว่าวิญญาณธาตุ วิญญาณอะไรๆๆ จนวิญญาณเร่ร่อน แสวงหาที่เกิดใดๆ เป็นเรื่องของวิญญาณที่เป็นทุกข์ และวิญญาณที่เป็นผู้รู้ในธรรมแล้ว เป็นวิญญาณตัวเดียวกัน
เรามาดูตรงนี้ที่พระพุทธเจ้าแสดงเอาไว้ใน อัสสุตวตาสูตร ตรงนี้จะยกเป็นหลักแต่อาจจะดูไม่หมดก็ได้ เพราะเราได้เข้าใจแล้ว ท่านว่าอยู่ที่ตรงนี้ จะยกมาเป็นบางส่วน ถ้าเราสงสัยเราจะสงสัยว่า จิตคืออะไร มโนคืออะไร วิญญาณคืออะไร ที่เรามาจากคำนี้มาจากว่าปฏิจจสมุปบาทคือธรรมที่แสดง อาการ ลิงค นิมิต อุเทส ของจิต ของมโน ของวิญญาณ
แล้วจิตคืออะไรเมื่อไร มโนคืออะไรเมื่อไร วิญญาณคืออะไรเมื่อไร
ดูที่ท่านอุปมาเราจะเห็นชัด วิญญูชน ผู้รู้ จะรู้จากคำอุปมาได้ง่าย ได้โดยง่ายพระศาสดา อุปมาจิตคือดวงอาทิตย์ มโนคือการส่องแสงของดวงอาทิตย์ การกระทบพื้น กระทบฝาเรือน กระทบดิน กระทบน้ำ หรือกระทบพื้นที่มีที่รองรับทั้งหมดนี้ เรียกว่าวิญญาณ
ดวงอาทิตย์หลักๆ คือ จิต
ส่องแสงไปทุกทั่วทิศ ส่องแสงเพื่อไปให้กระทบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คือ มโน
การกระทบที่ใดๆแล้ว กระทบฝาเรือนบ้าง ดินบ้าง น้ำบ้าง คือ วิญญาณ
นี่อุปมาหลักที่ 1
อุปมาหลักที่ 2 เรียกว่าอุปมาหลักทั้ง 2 ตัว ทั้ง 2 ที่ ไม่มีอุปมาต้นอุปมารองใดๆ
ให้เห็นชัดๆนี่คืออุปมา อัสสุตวตาสูตรนี่แหละ อุปมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้น (คือจิตเป็นเบื้องต้นนั้น) ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล
เห็นไหม เห็นว่าวานรเที่ยวไปในป่าใหญ่ คือ ลิงยื่นมือไปจับกิ่งไม้ การยื่นมือมาเพื่อจะมาจับกิ้งไม้ เราต้องดูว่ามีการยื่นมือนะ ดูถ้าไม่ยื่นมือมาจะมาจับจริงไม้ไม่ได้ แม้คำว่ายื่นมือไม่มีตรงนี้ ก็ให้เราเห็นสภาวะที่พูดในฐานะของพระอริยะ หรือตรัสในฐานะของพระอริยะ
ปล่อยกิ่งนั้นยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป ดูตรงนี้ ตรงนี้คือท่านอุปมาคำว่าจิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ในที่ตรงนี้เราจะไม่เห็นคำว่ามโนเลย แต่เราต้องดูว่า อาการที่ลิงเที่ยวไปในป่าใหญ่ จับกิ่งไม้ อยู่ๆๆมือจะจับกิ่งไม้เลยไม่ได้ ถ้าไม่ยื่นมือออกไปจะจับกิ่งไม้ไม่ได้ให้ดูตรงนี้นะ
แล้วกลับมาดูที่อุปมาเห็นไหม
ตัวลิง คือ จิต ตัวจิตเลย การยื่นมือไป คือ อาการที่จะทำให้ถึงที่ใดที่หนึ่ง เหมือนดวงอาทิตย์ส่องแสงก็เพื่อที่จะถึงที่ใดที่หนึ่ง ยื่นมือไปก็คือ มโน แสงจากดวงอาทิตน์ก็มโน ดวงอาทิตย์นี้จิต กระทบคือวิญญาณ จับกิ่งไม้ก็คือวิญญาณ
เพราะฉะนั้นตัวเบื้องต้นที่ท่านตรัสเอาไว้ว่า จิตเป็นต้น คือจิตเป็นเรื่องต้นนะ จึงมโนนะ จึงวิญญาณนะ ความหมาย จิตเป็นเบื้องต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดเวลา ตรงนี้ชี้ให้พวกเราดูเลยว่า จิต มโน วิญญาณนั้นไม่เคยตาย ตั้งแต่วันที่เกิดมาในวัฏสงสาร ไม่รู้เบื้องต้น ไม่ทราบเบื้องต้น ไม่ทราบที่จะสิ้นสุด ก็คือไม่ตาย
แต่คำว่าเกิดขึ้นดับไป เกิดขึ้นดับไป เกิดขึ้นดับไปนี่ ได้อธิบายแล้วว่า คือการแสวงหาอาหาร เพื่อความดำรงอยู่ของสัตว์โลก ดูสิ่งนั้นแล้วอยากดูสิ่งอื่น ดูสิ่งอื่นแล้วอยากดูสิ่งอื่นๆๆอีกต่อไป นั่นคือเกิดขึ้นดับลง เกิดขึ้นดับลง ฟังเรื่องนั้นแล้วอยากฟังเรื่องนี้ ฟังเรื่องนี้แล้วอยากฟังดีขึ้น ดีขึ้น ดีขึ้นอยู่อย่างนี้ ดมสิ่งนั้นแล้วก็ดมสิ่งนี้ ดมสิ่งที่ดีกว่าก็ดีกว่าดีกว่าอย่างนี้ มันจึงเกิดขึ้นดับลงอยู่ตลอดเวลา
กินสิ่งนั้นอยากกินสิ่งอื่นๆที่ดีกว่ากินสิ่งอื่นที่ดีกว่า จึงเกิดขึ้นดับลงอยู่ตลอดเวลา สัมผัสสิ่งนั้นรับรู้ธรรมารมณ์นั้นๆ ก็ดีขึ้นๆ จึงเกิดขึ้นดับลงอยู่ตลอดคืนตลอดวัน แต่จิตหลัก มโนหลัก วิญญาณหลักไม่เคยตาย ชี้ชัดลงไปที่คำว่าไม่เคยตายใน เพื่อให้เห็นว่าวัฏฏสงสารนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีที่สิ้นสุด จบไม่ได้
ก็คือเกิดอยู่อย่างนั้น ตายอยู่อย่างนั้นอีก เพียงเกิดดับเกิดดับในฐานะที่ยังเป็นทุกข์อยู่ แต่วิญญาณตั้งแต่วันที่อุบัติขึ้น จนถึงแม้ปรินิพพาน ถ้าจบจริงๆจลด้วยการไม่ไปเวียนเกิดเวียนตายคือจบที่ปรินิพพาน ตรงนั้น จิต มโน วิญญาณนี้ ก็ไม่ได้ตาย แต่ตั้งมั่นอยู่ในฐานะไม่เกิดอีก ให้เราเห็นตรงนี้
เพราะฉะนั้นเนี่ย จากกรณีที่เราสงสัยว่า จิตคืออะไร มโนคืออะไร วิญญาณคืออะไร หรือที่ได้สงสัยว่า ทำไมมีชื่อเรียกวิญญาณนี้มากมายเหลือเกิน ตอนนี้ให้เราได้เห็นชัดลงไปตามนี้
คุณสมบัติของวิญญาณ คือ
" วิญญาณัง
อสรีรัง
อนิทัสสนัง
อนันตัง
สัพพโต ปภัง
ทุรังคมัง
เอกจรัง
คุหาสยัง
ผันธปนัง จะปะรัง จิตตัง
ทุรักขัง
ทุนนีวาระยัง
ลหุปริวัตตัง
ยัตถ กามนิปาตินัง จิตตันติ"
นี่คือคุณสมบัติของวิญญาณ วิญญาณเดียวนี้
หรือวิญญาณตัวเบื้องในปฏิจจสมุปบาทต้นนี้ วิญญาณตัวที่เป็นตัวย่อในขันธ์ 5 นี้ หรือวิญญาณที่เป็นธรรมในธรรม ในสติปัฏฐาน 4 นี้ หรือวิญญาณที่เรียกว่า จิต มโน วิญญาณ ตัวนี้ ตัวเดียวกัน และเราทราบชัดแล้วว่า เราจะเห็น อาการ ของจิต ของมโน ของวิญญาณของเราได้ ด้วยธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้เท่านั้น
ทั้งธรรมที่เป็นโดยบทธรรมหลัก บทธรรมย่อที่เป็นขันธ์ 5 หรือบทธรรมย่อที่อยู่ในฐานะของพระอริยะ ที่เราจะเห็นว่า กายในกายคือรูปนะ เวทนาในเวทนาคือเวทนา สัญญาคือความเป็นวิชชาผู้รู้แล้วของเรานะ จิตในจิตนี่คือสังขาร ธรรมในธรรมนี่คือวิญญาณดังนี้
อ้างอิง
อัสสุตวตาสูตรที่ 1 ข้อ 232 พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 16
โฆษณา