23 พ.ย. 2023 เวลา 05:30

จิต คืออะไร ?

ที่ผ่านมาโดยเฉพาะในข้อธรรมบางข้อธรรม ที่ได้แสดงโดยพูดถึงพระสูตร แต่ไม่ได้นำหลักฐานมาแสดงก็มี เพราะการแสดงธรรมนั้น เพื่อผ่อนคลายบ้าง เพื่อความเป็นไปได้โดยสะดวกบ้าง เราก็ลุกจากพื้นที่ที่เป็นหลัก ออกไปยังสถานที่ที่ดูเป็นสัปปายะ เพื่อแสดงธรรมแก่กัน ก็จึงเป็นเหตุต้องมาแสดงธรรมซ้ำนี้ เพื่อนำหลักฐานที่อ้างอิงถึงข้อธรรมนั้นโดยตรง ให้เห็นชัดๆว่าเราพูดอิงอรรถอิงธรรมดังนี้
โดยเฉพาะในตอนที่แล้ว ที่ทำให้ได้แสดงซ้ำลงไปว่า หลังจากที่เราได้เกิดความสงสัยในธรรมที่ชื่อว่าวิญญาณ เพราะเราจะได้ยินการเรียกถึงวิญญาณ บางทีก็ว่าวิญญาณบ้าง วิญญาณขันธ์บ้าง วิญญาณธาตุบ้าง หรืออื่นๆ แล้วทำไม เวลาแสดงจึงแสดงเฉพาะส่วนของวิญญาณที่เป็นตัวปลายอย่างนี้ เพราะเบื้องต้นอาตมาได้ขึ้นเอาไว้ตามธรรมของพระศาสดาว่า จิตคืออะไร มโนคืออะไร วิญญาณคืออะไร แล้วเมื่อตอนที่แล้วไม่ได้พูดถึงจิตโดยตรงดังนี้ ทำให้เราได้เกิดความสงสัย
ธรรมเหล่านี้ได้เคยแสดงให้รับทราบไปแล้วว่า จิตคืออะไร มโนคืออะไร วิญญาณคืออะไร เป็นเบื้องต้นแล้ว เพื่อจะได้รับรู้อีก เป็นการฟังเนืองๆ จำติดปาก จำขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ จะได้ไม่เห็นข้อธรรมของพระพุทธเจ้าผิดเพื้อนไป ทำให้พวกเราผู้ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิและกล่าวตู่พระธรรมของท่านไปเสีย ดังนั้นเรามาดูกัน
ตอนที่แล้วให้ได้รับทราบแล้วว่า วิญญาณที่เกิดเป็นธรรมหลักในปฏิจจสมุปบาทเป็นหลัก จะมาถูกเรียกว่าวิญญาณขันธ์ก็เพราะอยู่ในขันธ์ 5 จะไปถูกเห็นคำว่าเป็นวิญญาณธาตุ ก็เพราะว่าแยกตามธาตุในโลกนี้มีธาตุอยู่ 6 ชนิด คือ มีดิน มีน้ำ มีไฟ มีลม มีอากาศ และมีวิญญาณนี้ ซึ่งเป็นวิญญาณดวงเดียวกัน วิญญาณอันเดียว จะถูกเรียกในฐานะไหนก็ตาม จะคือวิญญาณหลักนี้เท่านั้น
แต่ก่อนที่จะมาถึงวิญญาณ จะมีลักษณะที่เป็นเจตสิก คือเกิดเนื่องๆกันไป จึงตั้งตามธรรมของพระพุทธเจ้า ที่พระพุทธเจ้าท่านประกาศเอาไว้ว่า ให้ดูตรงนี้เลยเพื่อจะได้เห็นชัดๆ
อัสสุตวตาสูตร ข้อ 232 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 16
ดูกรภิกษุทั้งหลายวานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ้งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิมเหนี่ยวกิ่ใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ ที่ตถาคตเรียกว่าจิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล
เบื้องต้นเรียกว่าจิต ลำดับต่อมาเรียกมโน ที่จบสุดนั้นเรียกว่าวิญญาณ มี 3 สถาน เราจะเห็นอยู่ตรงนี้
เบื้องต้นจริงๆก็จะบอกว่า แต่ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับจะไม่อาจ เบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลยดังนี้ ก็อันเดียวกัน ที่ยกเมื่อตอนที่แล้ว ที่ขึ้นต้นว่า จิตคืออะไร มโนคืออะไร วิญญาณคืออะไรนั้น พระพุทธเจ้าอุปมาไว้ 2 อุปมาหลักๆ ก็คืออุปมาเป็นดวงอาทิตย์ คำว่าดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดเวลา ก็คือจิต มโน วิญญาณของเรา จะเกิดขึ้น ดับลง เกิดขึ้น ดับลงอยู่ตลอดเวลา
คำว่าเกิดขึ้น ดับลง เกิดขึ้น ดับลงตลอดเวลานี้ ไม่ใช่จิตตาย ไม่ใช่มโนตาย ไม่ใช่วิญญาณตาย แต่มีอยู่อย่างนี้แหละ แต่เกิดขึ้นเพราะว่าเรานั้นเป็นสัตว์ที่มีชีวิตแล้ว ที่ได้อัตตาตัวตนแล้ว จะต้องดำรงชีวิตอยู่ จึงเกิดขึ้นเพื่อหาอาหารมาเลี้ยงชีวิตนี้ เพื่อความดำรงอยู่ หาอาหารทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง ทางใจบ้าง อยู่ตลอดเวลา
การเกิดขึ้นในการหาอาหารแต่ละครั้ง เบื้องต้นเลยเห็นอาหาร ฟังอาหาร สูดดมอาหาร กินอาหาร สัมผัสอาหาร รับรู้เรื่องอาหารปั๊บ เบื้องต้นเลยเป็นจิต กระทำเพื่อให้ถึงผลนั้นคือมโน เมื่อถึงผลนั้นแล้วรับผลนั้นแล้ว จนเกลี้ยงแล้วเป็นวิญญาณ เรื่องนั้นก็จบลง แล้วไปดูเรื่องใหม่ ก็เกิดจิต เกิดมโน เกิดวิญญาณขึ้น จิตตัวเดิมนั่นแหละเกิด
เหมือนเรามีชีวิตอยู่ เรายังไม่ตาย เดี๋ยวก็อยากดูนั่น อยากฟังนี่ อยากดมนั่น อยากกินนี่ อยากสัมผัสนั้น ยากรับรู้ธรรมารมณ์เรื่องนั้นอยู่ประจำ นั่นคืออาการของจิต มโน วิญญาณ จิต มโน วิญญาณ จิต มโน วิญญาณอยู่อย่างนี้
เพราะฉะนั้นที่ท่านอุปมาให้ดูนี่ก็คือ "ดวงอาทิตย์นี้เป็นจิต" ที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งนะ เป็นดวงจิตนะ เป็นจิต เบื้องต้นเรียกว่าเป็นจิต ลำดับต่อมาจึงส่องแสงไปเพื่อกระทบเหมือนกระทบสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่ที่ท่านอธิบายดวงอาทิตย์ที่ขึ้นทางด้านทิศตะวันออกส่งแสงมาทิศตะวันตกมากระทบเรือนนั่นแหละ ส่องเข้าทางตะวันออกแล้วส่องกระทบฝาเรือนนั่นแหละ การส่งแสงนี้เป็นมโน พอกระทบฟ้าเรือน ดิน น้ำต่างๆที่ท่านไล่ตามลำดับ นั่นคือวิญญาณ
และอุปมาหนึ่งที่ท่านอุปมา ก็คืออุปมาเป็นลิง ที่ยกมาเมื่อสักครูนี้แหละ "ลิง" เบื้องต้นคือจิตเรา จิตเราที่เป็นเบื้องต้น การที่ลิงยื่นมือไปเป็นมโน เหมือนกับส่องแสงเลย ยื่นมือกับส่องแสงคือไปให้ถึง พยายามไปให้ถึง แล้วก็จับกิ่งไม้นั้นเป็นวิญญาณ เราจะเห็นว่าท่านแสดงเอาไว้ว่า วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่
วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่ จับกิ่งไม้เห็นไหม ยื่นมือตรงนี้ ยื่นมือไปจับจริงไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น แล้วก็ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป อยู่อย่างนี้ นั่นคือตัวลิงนี้เป็นจิต วานรตัวนี้เป็นจิต ยื่นมือไป เห็นไหมที่จับกิ่งไม้ แล้วก็ปล่อยกิ่งเดิม แล้วก็ยึดกิ่งใหม่ แล้วก็เอากิ่งใหม่อยู่อย่างนั้นหละ นั่นคืออาการที่เกิดขึ้นดับลง เกิดขึ้นดับลงอยู่ตลอดเวลา
แต่ลิงตัวนี้ไม่ได้ตาย จิต มโน วิญญาณตัวนี้ไม่ได้ตาย เพียงแต่ดับลง เกิดขึ้นดับลง เพื่อทำการใหม่อยู่เรื่อย ลิงตัวนี้ไม่ได้ตาย ไม่ใช่ไม่ใช่ลิงตัวนี้ตายนะ ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ดับ ให้ได้รับทราบดังนี้ ดวงอาทิตย์หรือลิงนี้ไม่เคยดับ ไม่เคยตาย จิตเรา มโนเรา วิญญาณเราไม่เคยตาย เราเห็นแล้วทีนี้
ได้เขียนสรุป คุณสมบัติแห่งจิตเอาไว้ให้ทุกคนได้เห็น ถ้าถามว่าจิตคืออะไรเบื้องต้นที่เราอยากรู้
คุณสมบัติแห่งจิต ให้ดูคำหลักเลย "วิชา นน ลักขนัง" มีการรับรู้อารมณ์เป็นเบื้องต้น เห็นไหม จิตตัวแรกนี่คืออะไร จิตตัวแรกมีคุณสมบัติว่า "วิชา นน ลักขนัง" มีการรับรู้อารมณ์เป็นเบื้องต้น
จิตนี้คืออะไรต่อไป "ปุพพัง คม รสัง" คุณสมบัติแรกคือ"วิชา นน ลักขนัง"มีการรับรู้อารมณ์เป็นเบื้องต้น หลังจากนี้ชัดๆลงไป "ปุพพัง คม รสัง" เป็นธรรมอันเป็นเบื้องต้นของธรรมทั้งปวง ที่จะเกิดขึ้นเป็นเบื้องต้นของธรรมทั้งปวงนะ เป็นเบื้องต้นก่อนที่จะไปมโน ก่อนที่จะไปวิญญาณ ชัดๆลงไป
ต่อมาคำว่า "สันธาน ปัจจุปัฏฐานัง" มีการเกิดเนื่องๆๆกันไป เราจะเห็นตั้งแต่เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงสังขาร จึงวิญญาณ จึงนามรูป จึงสฬายตนะ จึงเวทนา ไล่ไปจนจบ หรือมาเกิดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณขึ้นก็จนจบ หรือเมื่อจะกระทำการละก็คือ เห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตเห็นจิต เห็นธรรมในธรรมก็จะเกิดเนื่องกันไป ดูตัวใดตัวหนึ่ง ดักหน้าดักหลังไม่ได้ เกิดเนื่องกันไปตลอด เราจะเห็นคำว่า "สันธาน ปัจจุปัฏฐานัง" นี่คืออาการของจิตแล้วนะ เบื้องต้นตรงนี้
"นามะรูป ปทัฏฐานัง" อาศัยนามรูปเกิดขึ้น เกิดเดี่ยวๆไม่ได้
นี่คือคุณสมบัติแห่งจิตของเรา ถ้าถามว่าจิตคืออะไร เราบอกแล้วว่าจิตนี้เบื้องต้นเกิดขึ้นอย่างไร เราทราบไม่ได้ เบื้องต้นเลย รู้แต่ว่าจิตนี้ มโนนี้ วิญญาณนี้ เวียนเกิดเวียนตายอยู่ในวัฏฏสงสารนี้ และไม่รู้ที่จะสิ้นสุดอย่างไร เราต้องรู้ตรงนี้
ถ้าเอาคำเบื้องต้นมายกก็คือตรงนี้แหละ
"วิชา นน ลักขนัง" มีการรับรู้อารมณ์เป็นเบื้องต้น
"ปุพพัง คม รสัง" คือความที่ธรรมเป็นเบื้องต้นของธรรมทั้งปวง
"สันธาน ปัจจุปัฏฐานัง" มีการเกิดเนื่องๆกันไป ที่เราเรียกว่าเจตสิกตัวนี้
"นามะรูป ปทัฏฐานัง" อาศัยนามรูปเกิดขึ้น
ถ้าไม่มีนามไม่มีรูปเกิดขึ้นไม่ได้ ทำหน้าที่ต่อไปไม่ได้ดังนี้
เราจะเห็นคำนี้ คำว่าจิตอยู่ตรงปรมัตถธรรม พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 34
คำว่าปรมัตถธรรม แปลว่าความเป็นบรม หรือความเป็นยิ่ง หรือความเป็นหนึ่ง หรือความเป็นที่สุดแห่งธรรม อยู่ตรงนี้ ยิ่งๆบรม ปรมัตถะ ความยิ่งของธรรม ตัวนี้จะเริ่มที่ จิตคำแรก เจตสิกคือความดำเนินไป ไปกระทบรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงนิพพาน
คำว่า จิต เจตสิก รูป นิพพาน นี้คืออะไร เคยแสดงเอาไว้แล้วส่วนนึง แต่ว่าใครอยากรู้จริงๆว่าดำเนินอยู่อย่างไร จิต เจตสิก รูป นิพพาน บุคคลคนนั้น จะต้องเป็นบุคคลผู้จะรู้เหตุเกิด รู้เหตุดับ รู้คุณ รู้โทษ รู้อุบายเครื่องออกจากผัสสายตนนะทั้ง 6 ตามความเป็นจริงก่อน จึงควรที่จะฟังเรื่องนี้ หรือที่สุดเราเป็นผู้ที่มีปัญญา หรือเป็นผู้ที่มีจิตเป็นธรรมแล้ว เรารู้จักอริยสัจ 4 คือนี่ทุกข์นะ นี่สมุทัยนะ นี่นิโรธ นี่มรรคเป็นที่สุดแล้ว จึงควรรู้ตรงนี้
ตรงนี้นำมาให้ดู เพื่อให้รู้ว่าแม้ปรมัตถธรรม ตัวจบสิ้นจริงๆของพระธรรมที่ทำเพื่อหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสาร ท่านก็ขึ้นเบื้องต้นที่จิตนะ การกระทำงานไปตามลำดับนะเพื่อให้ถึงผลนะ และเมื่อกระทบรูปอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วนิพพาน ถามว่าเราเห็นคำว่าจิต มโน วิญญาณในนี้หรือไม่ เป็นเรื่องเดิมกัน บอกให้ดูว่าเบื้องต้นจริงๆคือจิตนะ ตัวนี้เป็นหลักให้ดูดังนี้
เชื่อมั่นว่าที่มีผู้สงสัยว่าทำไมไม่พูดถึงจิต ทำไมแสดงเท่านี้เพราะจิตนี้สารพัดที่จะบังเกิดขึ้น หลักๆที่ได้ชี้ให้ดูเท่านี้ก็จะคุมหมดแล้ว ว่า "วิชา นน ลักขนัง" มีการรับรู้อารมณ์ เข้าไปสัญญาก่อนเข้าไปรับรู้ก่อนจึงเกิดเวทนาตรงนี้ "วิชา นน ลักขนัง" "ปุพพัง คม รสัง" เป็นธรรมอันเป็นเบื้องต้น เป็นธรรมอันเป็นบาทฐาน คือจิตก่อน จึงมโน จึงวิญญาณที่ว่าคำนี้
"สันธาน ปัจจุปัฏฐานัง" มีการเกิดเนื่องๆกันไป เกิดเนื่องๆกันไปแล้วก็จบเรื่องนั้นก็ดับลง แต่ไม่ใช่ตาย เกิดขึ้นอีกใหม่ เมื่อกระทบใดๆอีก อาศัย "นามรูป ปทัฏฐานัง" อาศัยนามรูปเกิดขึ้น นี่คือจิต
อ้างอิง
อัสสุตวตาสูตร ข้อ 232 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 16
โฆษณา