24 พ.ย. 2023 เวลา 14:00

ปฏิจจสมุปบาท ที่ทุกคนต้องแทงตลอด

โดยหลักเบื้องต้นนั้นได้แสดงธรรมในพระพุทธเจ้า ให้ได้รับทราบแล้วว่า ธรรมอันเป็นเหตุให้องค์พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ เป็นพระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น คือธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท ชี้ให้ดูแสดงให้ดูว่าหลังพุทธกาลมานี้ หลังจากที่อรหันตสาวกรูปสุดท้าย ดับขันธปรินิพพานตามพระพุทธเจ้าไปจนหมดสิ้นแล้ว
หมู่มวลชาวพุทธของพวกเราหลังพุทธกาลมานี้ ไม่สามารถรู้จริง ไม่สามารถแทงตลอดในธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ได้เลย ไม่รู้เลย เป็นเหตุให้หมู่ชาวพุทธของพวกเราได้เป็นผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิ ในธรรมของพระพุทธเจ้าอยู่ทั่วไป และกล่าวตู่พระธรรมคำสอนในพระพุทธเจ้าอยู่โดยทั่วไป
ในเรื่องนี้เบื้องต้น ที่เราไม่ทราบนั้นคือ เราไม่ทราบว่าปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นองค์ธรรมที่เป็นปัจจยาการต่อกันอยู่อย่างไร ในตอนนี้เราได้เห็นปฏิจจสมุปบาทนี้แล้ว คงจะพอจะรู้จักบทพยัญชนะนี้ได้ โดยธรรมนี้เริ่มต้นที่คำว่าอวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส อัปปิเยหิ สัมปโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง น ลภติ ตัมปิ ทุกขัง ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นมีได้ด้วยประการฉะนี้ ท่านประกาศอย่างนี้
แล้วหลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็ตรัสต่อท้ายว่า สังขิตเตน ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง5 เป็นตัวทุกข์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ถูกย่อลงมาเป็นขันธ์ 5 ในฐานะของพระอริยะ จากยาวๆ 12 ปัจจยาการ เหลือเพียง 5 ปัจจยาการ เหลือเพียงคำว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งหมดนี้เป็นปัจจยาการต่อกัน ไม่มีการว่าธรรมใดๆจะมาเกิดขั้นเกิดกลางตรงไหน มี 5 ปัจจยาการนี้
แล้วพอมาถึงปัจจยาการที่สุดท้ายวิญญาณนี้ ก็จะต้องต่อกันไป เช่น สังขาร วิญญาณ นามรูปนี้ ตรงขันธ์ 5 ก็เป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณทั้งหมดก็จะต้องต่อไปจนหมด แต่ตัวนี้เป็นในฐานะย่อ คนย่อก็จะต้องรู้ว่า ที่ย่อๆอย่างนี้ ก็ต้องรู้ว่าบทเต็มคืออะไร ตรงนี้ก็ต้องรู้
แล้วหลังจากนั้นหมู่ชาวพุทธเรา ก็จะไม่ทราบว่าธรรมที่เป็นธรรมในการปฏิบัติธรรมเพื่อความดับทุกข์ คือ สติปัฏฐาน 4 นั้น เป็นธรรมเดียวกัน เป็นธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท แต่ถูกย่อลงมาจากขันธ์ 5 อีกชั้นหนึ่ง ในฐานะของพระอริยะแล้ว ย่อลงมาเหลือ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม หมู่ชาวพุทธเราเห็นผิดตรงนี้ คิดว่าหรือไม่รับรู้เลยว่า สติปัฏฐาน 4 คือบทธรรมย่อของปฏิจจสมุปบาท
และพอจะทำความดับทุกข์ในฌาน 1 จะมีคำว่า วิตก วิจาร ท่านก็ไม่รู้ว่าวิตกวิจารนี้เกิดอยู่ในปฏิจจสมุปบาทอย่างไร หรือเป็นอาการของจิตที่เป็นปกติของเราอยู่อย่างไร ทำให้ต่อจากนั้นท่านจะไม่ทราบว่าองค์ธรรมที่ชื่อว่าโพชฌงค์ 7 ซึ่งเป็นธรรมในการสรุปจบในการปฏิบัติ ซึ่งมีองค์ธรรมที่ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ และธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ข้อที่ 2 ตัวนี้คำว่า ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ คือองค์ธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท
1
ท่านไม่ทราบชัดตรงนี้ ทำให้หมู่มวลชาวพุทธของพวกเราหลังพุทธกาลมานี้ ไม่สามารถที่จะปฏิบัติธรรมจนถึงผลได้ เพราะเห็นผิดในธรรมเป็นเบื้องต้น และกล่าวตู่ธรรมของพระพุทธเจ้าที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้อยู่โดยทั่วไป หลักๆที่แสดงให้ดูก็คือเมื่อไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทแล้ว ก็เห็นขันธ์ 5 เป็นร่างกายมนุษย์ แยกขันธ์ 5 เป็นรูปกับนาม ประกาศชัดว่าคนเราประกอบไปด้วยธาตุ 4 ขันธ์ 5
พอจะปฏิบัติขันธ์ 5 จริงๆก็บอกว่ารูปคือร่างกายมนุษย์นี้ เกิดการผัสสะอยู่ตรงกลางนี้ จึงเกิดเวทนา พอผัสสะอยู่ตรงกลางระหว่างรูปกับเวทนาแล้ว ก็มีการแสดงธรรมที่เป็นตัวขั้นขันธ์ 5 เข้ามา ทำให้กลายเป็นขันธ์ 6 ก็คือ 1รูป 2ผัสสะ 3เวทนา 4สัญญา 5สังขาร 6วิญญาณ กลายเป็น 6 ไป มีอยู่โดยทั่วไป
ในเรื่องนี้กำลังนำเอาหลักฐานทางธรรมที่ ใครสะเพร่า ใครมักง่าย ใครคิดว่าตนเองรู้แจ้งในธรรมนี้แล้ว แต่เห็นผิดอยู่ หรือใครที่ไม่ใส่ใจในธรรมนี้ ไปปฏิบัติเอาเลยดังนี้ เขาเหล่านั้นกำลังเห็นผิด เรามาดูที่ตรงนี้ ตรงนี้ชื่อว่ามหานิทานสูตรในเรื่องนี้ ท่านพระอานนท์นั้นเป็นผู้แสดงธรรมนี้ หลังจากที่ท่านบรรลุธรรมแล้ว หรือเป็นผู้ที่เป็นพระอรหันต์แล้ว กำลังจะทำการรวบรวมพระธรรมคำสอน ในอพระพุทธเจ้าเป็นพระไตรปิฎก
1
ท่านแสดงเอาไว้ว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กุรุชนบท นิคมของชาวกุรุนามว่ากัมมาสทัมมะ ครั้งนั้นท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลข้อความนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า
"อัจฉริยัง ภันเต อัพภูตัง ภันเต ยาวคัมภีโร จายัง ภันเต
ปฏิจจสมุปปาโท คัมภีราวภาโส จ
อถ จ ปน เม อุตตานกุตตานโก วิย ขายตีติ
ท่านบอกเอาไว้ว่า "น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปฏิจจสมุปบาทนี้ลึกซึ้งสุดประมาณ และปรากฏเป็นของลึก ก็แหละถึงจะเป็นเช่นนั้น ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นของตื้นนัก"
ตรงนี้ท่านพระอานนท์ สำคัญว่าตนได้ทราบชัดได้รู้ชัด ได้แทงตลอดหรือบรรลุธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้แล้ว เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า "มา เหวัง อานันท อวจ มา เหวัง อานันท อวจ" เธออย่าพูดอย่างนั้นอานนท์ เธออย่าพูดอย่างนั้นอานนท์
"ปฏิจจสมุปสัมปาโท คัมภีราวภาโส จ" ปฏิจจสมุปบาทนี้ ลึกซึ้งสุดประมาณและปรากฏเป็นของลึก ท่านว่าอย่างนี้
แล้วกล่าวชัดต่อไปว่า "เอตัสส ธัมมัสส อนนุโพธา อัปปฏิเวธา" ดูกรอานนท์ เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมอันนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเป็นผู้เกิดมายุ่ง ประดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปม ประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นผู้เกิดมาเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ไม่พ้นอุบาย ทุคติ วินิบาต สังสารวัฏ หรือ สงสาร ตรงนี้เราต้องเห็น พระพุทธเจ้าทราบชัดว่าท่านพระอานนท์ ยังไม่บรรลุธรรมตอนนี้ ได้สำคัญตนว่าได้รู้จักในปฏิจจสมุปบาทนี้แล้ว
ดูตรงที่ท่านบอกว่า "ดูกรอานนท์ เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมอันนี้" ธรรมอันนี้คือธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจาสมุปบาทนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเป็นผู้เกิดมายุ่ง ประดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปม ประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นผู้เกิดมาเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ไม่พ้นอุบาย ทุคติ วินิบาต สังสารวัฏ ถ้าไม่รู้ธรรมนี้ ถ้าไม่รู้ธรรมนี้ทุกคนจะเป็นเหมือนที่ท่านว่าเอาไว้ จะไม่พ้นอุบาย ทุคติ วินิบาต สังสารวัฏ ไปได้เลย
ตรงนี้เราจะเห็นว่า ทำไมว่าท่านพระอานนท์เห็นเรื่องนี้ผิดไป โน่นเวลาเราไปดูในมหาปรินิพพานสูตร ตอนที่พระพุทธเจ้ากำลังจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ท่านพระอานนท์รู้สึกเสียใจแล้วตอนนี้ ท่านก็ไปยืนเหนี่ยวกลอนประตูร้องไห้ ปากก็ร่ำรำพันว่า เรายังเป็นเสขะบุคคลอยู่ เรายังมีกิจที่จะต้องกระทำอยู่ ผู้ที่จะให้ความอนุเคราะห์แก่เราก็จะมาปรินิพพานเสีย คือพระพุทธเจ้าก็จะมาปรินิพพานเสีย
ทราบชัดว่า ตอนนี้ท่านพระอานนท์ วันที่ท่านกล่าวเรื่องนี้ กล่าวว่า "น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปฏิจจสมุปบาทนี้ลึกซึ้งสุดประมาณ และปรากฏเป็นของลึก ก็แหละถึงจะเป็นเช่นนั้น ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นของตื้นนัก" ดูเหมือนท่านพูดตอนนั้นเหมือนรู้แล้ว
แต่พอภายหลังท่านพระอานนท์ประกาศชัดว่า "เรายังเป็นเสขะบุคคลอยู่ ยังมีกิจที่จะต้องกระทำอยู่ ผู้ที่จะให้ความอนุเคราะห์แก่เราคือพระพุทธเจ้า ก็จะมาปรินิพพานเสีย "ตรงนี้ คือตนเองยังไม่รู้จักธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ ก็คือยังไม่บรรลุธรรม นี่คือความน่ามหัศจรรย์ยิ่งของธรรมนี้
บัดนี้หมู่มวลชาวพุทธของพวกเราหลังพุทธกาลมานี้ ท่านได้สำคัญผิดในธรรมนี้ บางคนไม่เอาเลย บางคนไม่รู้จักด้วยซ้ำว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ในธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ ไม่เรียนไม่รู้ใดๆ ไปปฏิบัติเลย ก็ไม่รู้ว่าบุคคลเหล่านั้นปฏิบัติแล้วถึงไหนกันก็ไม่รู้ เพราะไม่เรียนรู้อรรถและพยัญชนะ แต่ไปปฏิบัติเลย ตรงนี้สำคัญ เราไม่เอาแบบนั้น เราจะต้องมารู้จริงในปฏิจจสมุปบาทนี้
โดยบัดนี้พวกเราทั้งหลายได้ทราบชัดแล้วว่าบทพยัญชนะ มีการกรทำการต่อกันอย่างไร โดยอรรถะเราต้องรู้ตรงนี้ โดยขันธ์ 5 ที่เป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณนี้ ย่อลงมาจากปฏิจจสมุปบาท โดยหากเราเห็รว่า ตรงรูปในขันธ์ 5 มาจากนามรูปในปฏิจจสมุปบาท ตรงนี้ตรงนี้ชี้ให้ดูว่าผิด ถ้าเห็นว่ารูปมาจากนามรูปนี้ผิด ผิดทันที ถ้าผิดที่ตรงนี้ทุกที่ผิดหมดด้วยเหมือนกัน ครูอาจารย์ท่านไหนหรือใครที่สำคัญเอาอย่างนี้จะผิดทันที
แล้วหลังจากนั้นเราค่อยมารู้ว่าธรรมนี้เป็นอย่างไรกันตามลำดับ แต่ตอนนี้ให้ดูให้รู้ก่อนว่าปฏิจจสมุปบาทนี่เป็นหลักนะ ขันธ์ 5 เป็นบททำย่อ พอย่อลงมาอย่างเข้าใจในขันธ์ 5 อย่างดีแล้วอย่างนี้ ท่านจะแสดงการดับทุกข์โดยธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้เช่นเดียวกัน เหตุแห่งทุกข์ก็เกิดด้วยปฏิจจสมุปบาท เหตุดับทุกข์ก็ดับที่ปฏิจจสมุปบาทนี้
แต่พอไปแสดงการดับทุกข์จริงๆ ท่านไม่ได้แสดงด้วยปฏิจจสมุปบาทบทเต็ม แต่ท่านกลับแสดงด้วยปฏิจจสมุปบาทที่เป็นบทย่อคือ สติปัฏฐาน 4 หรือมหาสติปัฏฐาน 4 นี้ ซึ่งเราจะปรากฏว่ามีกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม เราทราบแล้วว่า กายในกายมาจากรูปยังไง เวทนาในเวทนามาจากเวทนาอย่างไร จิตในจิตมาจากสังขารอย่างไร ธรรมในธรรมมาจากวิญญาณอย่างไร เราทราบแล้ว
และโดยหลักที่จิตของเราเกิดอยู่ทุกขณะ จะเป็นอาการสองอาการ คือ อาการที่เป็นวิตก อาการที่เป็นวิจาร ในส่วนของธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ ยังไม่ได้แสดง เพราะเป็นขั้นของตอนที่สุด แต่ก็ให้รู้ไว้ว่าองค์ธรรมทีอยู่ในโพชฌงค์ 7 มี 7 ประการ ธรรมข้อที่ 2 คือธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือองค์ธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท ถ้าเราไม่เห็นอาการ ลิงค นิมิต อุเทส ของจิตเราแล้ว ไม่เห็นองค์ประชุมนั้นธรรมนี้ เราจะดับเขาเป็นที่สุดไม่ได้ เพราะโพชฌงค์ 7 นี้คือธรรมสำหรับสรุปจบในการปฏิบัติมหาสติปัฏฐานสูตร หรือสติปัฏฐาน 4 นี่ หรือการดับทุกข์นี้
เพราะฉะนั้นเพื่อให้เห็นความสำคัญนี้ จึงนำเอาฐานะที่ท่านพระอานนท์ได้ประสบกับตนเองบ้าง หรือแม้พระพุทธเจ้าที่ท่านได้ประสบกับตนเอง คือท่านได้ตรัสรู้ในเรื่องของปฏิจจสมุปบาทจริง แต่ไม่ใช่ว่าท่านไม่เคยฟังธรรมนี้มาก่อน ท่านฟังธรรมนี้มา สี่อสงไขยกับแสนกัปแล้ว ความน่ามหัศจรรย์ของธรรมนี่คือแม้จะแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิแล้ว หลังจากที่ฟังเนืองๆ จำติดปาก จำขึ้นใจแล้ว แม้จะแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิในธรรมนั้นแล้ว แต่ถ้าเหตุปัจจัยไม่พร้อมก็ไม่บรรลุธรรม เราต้องดูความลึกซึ้งของธรรมนี้
พอจะบรรลุธรรมก็บอกไม่ได้ว่า ฐานะแห่งการบรรลุธรรมนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อไรอย่างไร เกิดขึ้นเมื่อไรอย่างไรระบุชัดไม่ได้ แต่เกิดขึ้นแล้วก็คือเกิดขึ้นเลยและรู้ด้วย อื่นๆจึงตามมาอย่างเช่น ฌานวิสโย กรรมวิปาโก และก็โลกจินตาก็จะตามมา แต่ถ้าไม่เป็นผู้ที่บรรลุธรรมแล้วหรือพุทธวิโยแล้ว จะไม่สามารถรู้ว่าตนเองบรรลุธรรมหรือไม่บรรลุธรรมอย่างไรเลย ให้ทุกคนได้ใส่ใจในเรื่องนี้
อ้างอิง
มหานิทานสูตร ข้อ 57 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 10
โฆษณา