30 พ.ย. 2023 เวลา 13:36

ปฏิจจสมุปบาท ลึกซึ้งยิ่งนัก

ทุกคนได้รับทราบแล้วว่า พระธรรมคำสอนในพระพุทธเจ้านั้นมีคุณสมบัติที่ "คัมภีรา ทุททสา ทุรนุโพธา สันตา ปณีตา อตักกาวจรา นิปุณา ปัณฑิตเวทนียา" ลึกซึ้ง เห็นตามได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
ละเอียดสุด บัณฑิตผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน นี่คือคุณสมบัติแห่งธรรม 8 ประการที่สำคัญยิ่ง ไม่เคยยกเว้นใครด้วย
เพราะฉะนั้นเมื่อเราทราบว่าคุณสมบัติแห่งเป็นดังนี้แล้ว ทุกคนยิ่งจะต้องใส่ใจว่า สิ่งนี้เป็นยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดในโลก ถ้าเป็นทรัพย์สมบัติก็เป็นทรัพย์สมบัติที่ไม่มีสิ่งใดเปรียบเทียบ ยากหรือง่ายสำหรับใครก็ตามแต่คนนั้นจะต้องเก็บรายละเอียดแห่งธรรมนี้ไปตามลำดับ อย่าห่วงว่าชีวิตในชาตินี้จะจบลงก่อนเลย แม้จะไปอีกกี่ชาติ ถ้าเราได้เข้ามาถึงธรรมนี้แล้ว ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ จะแปรปรวนไป แต่จิตมโนวิญญาณของเรา จะไม่แปรปรวนจากธรรมนี้เลย
ดังนั้นเพื่อให้ได้เห็นความสำคัญว่า เราจะไม่ผิดต่อเนื้อความแห่งธรรมพระพุทธเจ้า ที่ประกาศแล้วนี้ จะยกเอาในความน่ามหัศจรรย์มาแสดงให้ได้รับทราบ ในเบื้องต้นนี้จะนำเอา มหานิทานสูตร ที่พูดถึงความลึกซึ้งในเรื่องนี้โดยเหตุของเรื่องนี้เกิดที่ท่านพระอานนท์ เรามาดูที่มหานิทานสูตร
"สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ กุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ นามว่า กัมมาสทัมมะ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลความข้อนี้กะ
พระผู้มีพระภาคว่า
"อัจฉริยัง ภันเต อัพภูตัง ภันเต ยาวคัมภีโร จายัง ภันเต ปฏิจจสมุปปาโท คัมภีราวภาโส จ อถ จ ปน เม อุตตานกุตตานโก วิย ขายตีติ" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปฏิจจสมุปบาทนี้ลึกซึ้งสุดประมาณ และปรากฏเป็นของลึก ก็แหละถึงจะเป็นเช่นนั้น ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นของตื้นนัก
ทำให้พระพุทธเจ้าตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า "มา เหวัง อานันท อวจ มา เหวัง อานันท อวจ คัมภีโร จายัง ปฏิจจสมุปปาโท คัมภีราวภาโส จ" เธออย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ เธออย่าพูดอย่างนั้นอานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ ลึกซึ้งสุดประมาณและปรากฏเป็นของลึก ดูการอานนท์เพราะไม่รู้จริงไม่แทงตลอดซึ่งธรรมอันนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นผู้เกิดมาเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง จึงไม่พ้นอุบาย ทุคติ วินิบาต สังสารวัฏ
เราดูตรงนี้ ที่ท่านตรัสกับท่านพระอานนท์ตรงนี้จะชี้ให้ดูว่า เพราะไม่รู้จริง "เอตัสส อานันท ธัมมัสส อนนุโพธา อัปปฏิเวธา" เพราะไม่รู้จริงไม่แทงตลอดซึ่งธรรมอันนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเป็นผู้เกิดมายุ่ง ประดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เกิดมาเป็นเป็นผู้ยุ่งเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ไม่พ้นอุบาย ทุคติ วินิบาต สังสารวัฏนี้
ธรรมอันไหน ธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท โดยละเอียดโดยย่อ ซึ่งธรรมนี้คือธรรมที่แสดงอาการ ลิงค นิมิต อุเทส ของจิต ของมโน ของวิญญาณ เบื้องต้นเลยทุกคนจะต้องทราบธรรมนี้ ธรรมนี้เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และนำมาประกาศ ตัวทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลนั้นคือธรรมนี้ คือจิต คือมโน คือวิญญาณนี้ เราจะเห็นจิต เห็นมโน เห็นวิญญาณของเราได้ ด้วยการเห็น อาการ ลิงค นิมิต อุเทส ของเขา เห็นได้ด้วยธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจมุปบาทนี้
ดังนั้นเบื้องต้นผู้ใฝ่รู้ธรรมจะต้องเห็นตัวเองเห็นความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะทุกข์เกิดขึ้น ที่จิต ที่มโน ที่วิญญาณ เห็นได้ด้วยปฏิจจสมุปบาทนี้ เพราะทุกข์นี้ดับด้วยการดับจิต ดับมโน ดับวิญญาณ ด้วยการดับปฏิจจสมุปบาทนี้ ทำที่อื่นไม่ได้
ดังนั้นจึงนำเอา สามคามสูตร ที่ท่านพระอานนท์นำเอา สมณุทเทสจุนท ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระพุทธเจ้า เพื่อแสดงความเป็นไปในโลกในยุคนั้น ซึ่งเหตุนี้เกิดขึ้นกับ นิครนถ์ นาฏบุตร เรามาดูกัน
สามคามสูตร ข้อ 51 พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 14
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่หมู่บ้านสามคาม ในสักกชนบท ก็สมัยนั้นแล นิครนถ์ นาฏบุตรตายลงใหม่ๆ ที่กรุงปาวา เพราะการตายของนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์แตกกันเป็น 2 พวก เกิดขัดใจ ทะเลาะวิวาทกัน เสียดสีกันและกันด้วยฝีปากอยู่ว่า
“ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูก ของเรามีประโยชน์ ของท่านไม่มีประโยชน์ คำที่ควรพูดก่อนท่านพูดทีหลัง คำที่ควรพูดทีหลัง ท่านพูดก่อน ข้อปฏิบัติที่เคยชินอย่างดียิ่งของท่านกลายเป็นผิด แม้วาทะของที่ยกขึ้นมา เราก็ข่มได้ ท่านจงเที่ยวแก้คำพูดหรือถอนคำพูดเสีย ถ้าสามารถทำได้”
“นิครนถ์เหล่านั้นทะเลาะกันแล้ว ความตายประการเดียวเท่านั้นเป็นสำคัญ เป็นไปในพวก นิครนถ์ นาฏบุตร แม้สาวกของ นิครนถ์ นาฏบุตร ฝ่ายคฤหัสถ์ ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็เป็นผู้เบื่อหน่าย คลายความยินดี มีใจถอยกลับ ในพวก นิครนถ์ ศิษย์ นาฏบุตร ดุจว่าเบื่อหน่าย คลายความยินดี มีใจถอยกลับในธรรมวินัย ที่นิครนถ์ นาฏบุตร กล่าวผิด ให้รู้ผิด ไม่ใช่ธรรมนำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ไม่ใช่ธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธให้รู้ทั่วถึง เป็นสถูปที่หักพัง ไม่เป็นที่พึ่งอาศัยได้”
"ยถาตัง ทุรักขาเต ธัมมวินเย ทุปปเวทิเต อนิยยานิเก อนุปสมสังวัตตนิเก อสัมมาสัมพุทธัปปเวทิเต ภินนถูเป อัปปฏิสรเณ" เราก็ต้องดูว่า ถ้าเราเห็นธรรมนี้ผิด ต่อไปภายหน้าก็จะผิดเหมือนตัวอย่างที่พูดดังนี้ ก็เหมือนว่าครูอาจารย์ คือ นิครนถ์ นาฏบุตรนั้น แสดงธรรมผิด ทำให้ศิษย์ของเขาตอนที่เคารพนับถืออยู่นั้น ก็ดูเหมือนไม่มีใครแสดงธรรมผิด เพราะยังมีครูอาจารย์อยู่ แต่พอครูอาจารย์ คือ นิครนถ์ นาฏบุตรตายลงไป ธรรมเหล่านั้น ซึ่งไม่เป็นธรรมที่ถูกต้อง ก็จะมีความเห็นต่างกัน
เพราะฉะนั้นเราทั้งหมดทุกคนที่มาในธรรมวินัยนี้ จึงจะต้องเห็นความสำคัญในธรรมนี้ ไม่มีใครเห็นต่างในธรรมนี้ ดังนั้นจึงยกเอาเนื้อความเป็นธรรมนี้มาเป็นเบื้องต้นเพื่อให้ทุกคนได้ใส่ใจในธรรมตรงนี้ เราดูตรงที่พอท่านพระอานนท์กับท่านจุนทะผู้เป็นสมณุทเทสนี้ นำเนื้อความเป็นธรรมนี้ไปกราบทูลต่อพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ โดยสรุปให้ฟังดังนี้ว่า ท่านตรัสเอาไว้ว่า "ตัง กิง มัญญสิ อานันท เย โว มยา ธัมมา อภิญญา เทสิตา เสยยถีทัง จัตตาโร สติปัฏฐานา จัตตาโร สัมมัปปธานา จัตตาโร อิทธิปาทา ปัญจินทริยานิ ปัญจ พลานิ สัตต โพชฌังคา อริโย อัฏฐังคิโก มัคโค" พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมเหล่าใด อันเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8
เราต้องดูว่าที่เราตรัส คำสรุปท้ายเอาไว้ว่า "อานันท อิเมสุ ธัมเมสุ เทวปิ ภิกขู นานาวาเทติ" ดูกรอานนท์ เธอจะยังเห็นภิกษุของเรา แม้สองรูป มีวาทะต่างกันได้ในธรรมเหล่านี้หรือ
"เธอเห็นหรือว่ามีภิกษุเรา แม้เพียงสองรูป เห็นธรรมที่เราประกาศนี้ต่างกัน" ก็นั่นหมายถึงว่า ธรรมของพระพุทธเจ้านี้ไม่มีใครเห็นต่างในเรื่องนี้ในสมัยพุทธกาล แต่ในยุคนี้ในสมัยนี้ เราจะเห็นว่ามีคนเห็นต่างในธรรมนี้ ทีนี้เรามีหน้าที่จะต้องทำความเห็นอันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในธรรมนี้ ที่ชื่อว่าโพธิปักขิยธรรม"
แล้วหลังจากนั้นมาดูที่ท่านพระอานนท์กราบทูลต่อพระองค์ท่านว่า "ข้าจะตรงผู้เจริญธรรมเหล่าใดอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยความรู้อันยิ่ง คือ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และ อริยมรรคมีองค์ 8 ข้าพระองค์ยังไม่เห็นภิกษุแม้สองรูป มีวาทะต่างกันในธรรมเหล่านี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้แล ที่บุคคลทั้งหลายผู้อาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่นั้น พอสมัยพระผู้มีพระภาคล่วงลับไป จะพึงก่อวิวาทให้เกิดในสงฆ์ได้ เพราะเหตุอาชีวะอันยิ่งหรือปาติโมกข์อันยิ่ง ความวิวาทนั้นมีแต่เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก ไม่ใช่สุขของชนเป็นอันมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนเป็นอันมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์"
ต่อด้วยคำว่า "ดูกรอานนท์ ความวิวาทที่เกิดเพราะเหตุอาชีวะอันยิ่งหรือปาติโมกข์อันยิ่ง" ตรงนี้หมายถึงว่าการดำเนินชีวิตหรือการปฏิบัติในข้อที่ผิดธรรมวินัย ก็ยังเป็นเพียงส่วนน้อย "นั้นเล็กน้อย" การดำเนินชีวิตที่ผิดๆพลาดๆไปบ้างหรือผิดวินัยไปบ้างเป็นความผิดเพียงเล็กน้อย "ส่วนความวิวาทอันเกิดในสงฆ์ที่เกิดเพราะมรรคหรือปฏิปทา" มรรค คือ การปฏิบัติโพธิปักขิยธรรมเพื่อความดับทุกข์ อันเกิดจากเราเห็นทุกข์ เห็นสมุทัย เห็นนิโรธ เห็นมรรคนี้
หรือปฏิปทา คำว่าปฏิปทาในที่นี้ คือปฏิปทาที่ท่านประกาศแล้วนี้ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และมรรคมีองค์ 8 นี้ ถ้าใครปฏิบัติผิดในส่วนนี้ ตรงนี้ "ที่เกิดเพราะเหตุแห่งมรรคหรือปฏิปทา ความวิวาทนั้นมีแต่เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก ไม่ใช่สุขของจนเป็นอันมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนเป็นอันมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย" เป็นทุกข์ทั้งนั้น ถ้าใครเห็นผิดในธรรมอันนี้
เพราะฉะนั้นใครที่จะรู้จักธรรมที่ชื่อว่า สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และมรรคมีองค์ 8 บุคคลคนนั้นไม่รู้ในธรรมที่เป็นเบื้องต้นที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนั้น ต้องดูธรรมที่ได้แสดงให้กับทุกคนได้รับทราบในวันนั้นที่ยกเอาหลักฐานทางธรรมให้ดูว่าปฏิจจสมุปบาทนั้น เป็นธรรมโดยเต็ม เป็นธรรมโดยรายละเอียด
อ้างอิง
สามคามสูตร ข้อ 51 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 14
โฆษณา