Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Everythinghobby
•
ติดตาม
17 ธ.ค. 2023 เวลา 19:22 • สิ่งแวดล้อม
โปสเตอร์ช้างดึกดำ บรรพ์ 12 สายพันธุ์ของไทย
ประเทศไทยมีการค้นพบช้างดึกดำบรรพ์มากถึง 12 สายพันธุ์ กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ดังนี้
1. สเตโกโลโฟดอน (Stegolophodon) เป็นช้างดึกดำบรรพ์ในวงศ์สเตโกดอนทิด พบหลายพื้นที่ในประเทศไทย และมีชนิดใหม่ ชื่อว่า สเตโกโลโฟดอน นาทรายเอนซิส (Stegolophodon nasaiensis) ลักษณะทั่วไป คือ มีงา 2 คู่ แต่คู่ล่างมีขนาดเล็กมาก สูง 3 เมตร มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยไมโอซีนตอนกลางถึงตอนปลาย
2. กอมโฟธีเรียม (Gomphotherium) เป็นช้างดึกดำบรรพ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มช้างสี่งา ลักษณะทั่วไป คือ มีงา 2 คู่ โดยคู่บนโค้งลงมาคร่อมคู่ล่าง สูงประมาณ 2.5 เมตร มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยไมโอซีนตอนกลาง
3. เตตระโลโฟดอน (Tetralophodon) เป็นช้างดึกดำบรรพ์ในกลุ่มข้างสี่งาที่มีลักษณะฟันคล้ายกับฟันของช้างปัจจุบัน ลักษณะโดยทั่วไปคือ มีงา 2 คู่
โดยงาคู่ล่างจะสั้นกว่าคู่บน สูง 2.5 เมตร มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยไมโอซีนตอนกลาง
4. อาร์คีโอบีโลดอน (Archaeobelodon) เป็นช้างดึกดำบรรพ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มช้างงาเสียม วงศ์อเมเบลโลดอนทิดี (Amebelodontidae) พบฟันที่มีลักษณะเป็นฟันของกลุ่มช้างงาเสียมรุ่นดั้งเดิม ลักษณะทั่วไปคือ มีงาคู่บนยาว ส่วนงาคู่ล่างมีลักษณะแบนคล้ายเสียมขนาดเล็ก สูง 2 เมตร มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยไมโอซีนตอนต้นถึงตอนกลาง
5. สเตโกดอน (Stegodon) เป็นช้างดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับช้างเอเชียในปัจจุบันมากที่สุด แต่มีขนาดใหญ่กว่า ลักษณะทั่วไป คือ มีงาเฉพาะคู่บน งามักขนานชิดกันจนต้องพาดงวงออกมาด้านข้าง สูงได้ถึง 4 เมตร มีชีวิตในช่วงสมัยไมโอซีนตอนปลายถึงไพลสโตซีนตอนกลาง
6. อะนันคัส (Anancus) เป็นช้างดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะคล้ายกับช้างในปัจจุบัน แต่มีฟันคล้ายกับกลุ่มช้างสี่งา มีงาที่ยาวมาก อาจยาวถึง 4 เมตร ยื่นออกมาคล้ายกับคีมหนีบ สูง 3 เมตร มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยไมโอซีนตอนปลายถึงไพลโอซีนตอนต้น
7. ซิโนมาสโตดอน (Sinomastodon) เป็นช้างดึกดำบรรพ์ที่อยู่ในวงศ์กอมโฟธีริดี (Gomphotheriidae) ลักษณะทั่วไปมีงาเฉพาะคู่บน คล้ายกับช้างมาสโตดอน แต่มีฟันคล้ายกับกลุ่มช้างสี่งา มีลักษณะร่วมระหว่างช้างปัจจุบัน กับช้างดึกดำบรรพ์ สูง 2.5 เมตร มีชีวิตในช่วงสัมยไพรสโตซีนตอนต้น
8. โปรไดโนธีเรียม (Prodeinotherium) เป็นช้างดึกดำบรรพ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มช้างงาจอบ วงศ์ไดโนธีริดี (Deinotheriidae) ลักษณะทั่วไปคือ มีเฉพาะงาคู่ล่างขนาดเล็ก โค้งลงมาคล้ายจอบ สูง 3 เมตร มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยไมโอซีนตอนกลาง
9. ไดโนธีเรียม (Deinotherium) เป็นช้างดึกดำบรรพ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มช้างงาจอบ วงศ์ไดโนธีริดี (Deinotheriidae) ลักษณะทั่วไปคือ มีเฉพาะงาคู่ล่างขนาดใหญ่ โค้งลงมาคล้ายจอบ สูงประมาณ 3.5 - 4 เมตร มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยไมโอซีนตอนกลางถึงไพลสโตซีนตอนต้น
10. โปรตานันคัส (Protanancus) เป็นช้างดึกดำบรรพ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มช้างงาเสียม วงศ์อเมเบลโลดอนทิดี (Amebelodontidae) ลักษณะทั่วไป คือ มีงา 2 คู่ โดยคู่บนสั้น ส่วนคู่ล่างแบบ ขนาดใหญ่ คล้ายเสียม สูงประมาณ 2.5 เมตร มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยไมโอซีนตอนกลาง
11. ไซโกโลโฟดอน (Zygolophodon) เป็นช้างดึกดำบรรพ์ในวงศ์เดียวกับช้างมาสโตดอนลักษณะทั่วไป คือ มีงาคู่บนที่ยาว ส่วนงาคู่ล่างเล็กมาก สูง 2.5 เมตร มีอายุอยู่ในช่วงสมัยไมโอซียตอนกลางถึงตอนปลาย
.
12. เอเลฟาส (Elephas) หมายรวมถึงช้างเอเชียในปัจจุบันด้วย จากซากดึกดำบรรพ์ที่พบมีลักษณะคล้ายกับช้างเอเชียในปัจจุบัน แต่มีบางจุดที่แตกต่างกัน จึงไม่ใช่ช้างชนิดปัจจุบัน อายุเก่าแก่ที่สุดอยู่ในช่วงสมัยไพลโอซีนตอนปลาย
.
#ไดโนเสาร์เล่าแบบไทยๆ #ช้างดึกดำบรรพ์
จากเพจ โปสเตอร์ 12 ช้างดึกดำบรรพ์ของไทย
.
ประเทศไทยมีการค้นพบช้างดึกดำบรรพ์มากถึง 12 สายพันธุ์ กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ดังนี้
1. สเตโกโลโฟดอน (Stegolophodon) เป็นช้างดึกดำบรรพ์ในวงศ์สเตโกดอนทิด พบหลายพื้นที่ในประเทศไทย และมีชนิดใหม่ ชื่อว่า สเตโกโลโฟดอน นาทรายเอนซิส (Stegolophodon nasaiensis) ลักษณะทั่วไป คือ มีงา 2 คู่ แต่คู่ล่างมีขนาดเล็กมาก สูง 3 เมตร มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยไมโอซีนตอนกลางถึงตอนปลาย
2. กอมโฟธีเรียม (Gomphotherium) เป็นช้างดึกดำบรรพ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มช้างสี่งา ลักษณะทั่วไป คือ มีงา 2 คู่ โดยคู่บนโค้งลงมาคร่อมคู่ล่าง สูงประมาณ 2.5 เมตร มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยไมโอซีนตอนกลาง
3. เตตระโลโฟดอน (Tetralophodon) เป็นช้างดึกดำบรรพ์ในกลุ่มข้างสี่งาที่มีลักษณะฟันคล้ายกับฟันของช้างปัจจุบัน ลักษณะโดยทั่วไปคือ มีงา 2 คู่
โดยงาคู่ล่างจะสั้นกว่าคู่บน สูง 2.5 เมตร มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยไมโอซีนตอนกลาง
4. อาร์คีโอบีโลดอน (Archaeobelodon) เป็นช้างดึกดำบรรพ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มช้างงาเสียม วงศ์อเมเบลโลดอนทิดี (Amebelodontidae) พบฟันที่มีลักษณะเป็นฟันของกลุ่มช้างงาเสียมรุ่นดั้งเดิม ลักษณะทั่วไปคือ มีงาคู่บนยาว ส่วนงาคู่ล่างมีลักษณะแบนคล้ายเสียมขนาดเล็ก สูง 2 เมตร มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยไมโอซีนตอนต้นถึงตอนกลาง
5. สเตโกดอน (Stegodon) เป็นช้างดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับช้างเอเชียในปัจจุบันมากที่สุด แต่มีขนาดใหญ่กว่า ลักษณะทั่วไป คือ มีงาเฉพาะคู่บน งามักขนานชิดกันจนต้องพาดงวงออกมาด้านข้าง สูงได้ถึง 4 เมตร มีชีวิตในช่วงสมัยไมโอซีนตอนปลายถึงไพลสโตซีนตอนกลาง
6. อะนันคัส (Anancus) เป็นช้างดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะคล้ายกับช้างในปัจจุบัน แต่มีฟันคล้ายกับกลุ่มช้างสี่งา มีงาที่ยาวมาก อาจยาวถึง 4 เมตร ยื่นออกมาคล้ายกับคีมหนีบ สูง 3 เมตร มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยไมโอซีนตอนปลายถึงไพลโอซีนตอนต้น
7. ซิโนมาสโตดอน (Sinomastodon) เป็นช้างดึกดำบรรพ์ที่อยู่ในวงศ์กอมโฟธีริดี (Gomphotheriidae) ลักษณะทั่วไปมีงาเฉพาะคู่บน คล้ายกับช้างมาสโตดอน แต่มีฟันคล้ายกับกลุ่มช้างสี่งา มีลักษณะร่วมระหว่างช้างปัจจุบัน กับช้างดึกดำบรรพ์ สูง 2.5 เมตร มีชีวิตในช่วงสัมยไพรสโตซีนตอนต้น
8. โปรไดโนธีเรียม (Prodeinotherium) เป็นช้างดึกดำบรรพ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มช้างงาจอบ วงศ์ไดโนธีริดี (Deinotheriidae) ลักษณะทั่วไปคือ มีเฉพาะงาคู่ล่างขนาดเล็ก โค้งลงมาคล้ายจอบ สูง 3 เมตร มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยไมโอซีนตอนกลาง
9. ไดโนธีเรียม (Deinotherium) เป็นช้างดึกดำบรรพ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มช้างงาจอบ วงศ์ไดโนธีริดี (Deinotheriidae) ลักษณะทั่วไปคือ มีเฉพาะงาคู่ล่างขนาดใหญ่ โค้งลงมาคล้ายจอบ สูงประมาณ 3.5 - 4 เมตร มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยไมโอซีนตอนกลางถึงไพลสโตซีนตอนต้น
10. โปรตานันคัส (Protanancus) เป็นช้างดึกดำบรรพ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มช้างงาเสียม วงศ์อเมเบลโลดอนทิดี (Amebelodontidae) ลักษณะทั่วไป คือ มีงา 2 คู่ โดยคู่บนสั้น ส่วนคู่ล่างแบบ ขนาดใหญ่ คล้ายเสียม สูงประมาณ 2.5 เมตร มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยไมโอซีนตอนกลาง
11. ไซโกโลโฟดอน (Zygolophodon) เป็นช้างดึกดำบรรพ์ในวงศ์เดียวกับช้างมาสโตดอนลักษณะทั่วไป คือ มีงาคู่บนที่ยาว ส่วนงาคู่ล่างเล็กมาก สูง 2.5 เมตร มีอายุอยู่ในช่วงสมัยไมโอซียตอนกลางถึงตอนปลาย
.
12. เอเลฟาส (Elephas) หมายรวมถึงช้างเอเชียในปัจจุบันด้วย จากซากดึกดำบรรพ์ที่พบมีลักษณะคล้ายกับช้างเอเชียในปัจจุบัน แต่มีบางจุดที่แตกต่างกัน จึงไม่ใช่ช้างชนิดปัจจุบัน อายุเก่าแก่ที่สุดอยู่ในช่วงสมัยไพลโอซีนตอนปลาย
.
#ไดโนเสาร์เล่าแบบไทยๆ #ช้างดึกดำบรรพ์
จากเพจ ไดโนเสาร์เล่าแบบไทย ๆ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02HqB2RhFQXwLB5kVpwoVUHRztpmLey2aJwGCTwmHJTR93vDjhXx5LRwXLANXujs2Sl&id=100063665524063&mibextid=UyTHkb
สื่อทางเลือก
ประวัติศาสตร์
ไทย
บันทึก
6
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย