2 ม.ค. เวลา 11:46 • การเมือง

“อาร์เจนตินา” แค่จุดเริ่มต้น

สหรัฐอเมริกากำลังใช้ความพยายามอันมหาศาลเพื่อรักษาอำนาจสมดุลในการควบคุมละตินอเมริกา ซึ่งขัดต่อหลักแนวคิดมาแต่ดั้งเดิมสมัยช่วงเริ่มต้นก่อตั้งอเมริกาเอง นับตั้งแต่การประกาศ “ลัทธิมอนโร” (Monroe Doctrine) เมื่อกว่า 200 ปีที่แล้ว ซึ่งถือว่าแถบละตินอเมริกานั้นได้รับการพิจารณาว่าเป็นเขตที่มีผลประโยชน์ซึ่งกันกับทางยุโรปและได้รับการคุ้มครองเฉพาะ
“ลัทธิมอนโร” หรือบางทีก็เรียกันว่าลัทธิโดดเดี่ยว เกิดขึ้นโดยประธานาธิบดีมอนโรของสหรัฐฯ (คนที่ 5) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะนำพาสหรัฐอเมริกาให้อยู่ในความสงบ โดดเดี่ยว และไม่ต้องการให้ชาติยุโรปเข้ามาแทรกแซงทางด้านการเมืองหรือครอบครองดินแดนในทวีปอเมริกา ซึ่งอังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย ออสเตรีย ต่างสนใจที่จะให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่สเปนในการปราบกบฏอาณานิคมทั้งในอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นความพยายามของชาติต่างๆ ในการแสวงหาโอกาสครอบครองดินแดนในแถบนี้ไปในตัว
1
ลัทธิมอนโรมีหลักการสำคัญคือ
2
1. สหรัฐฯ จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับอาณานิคมของสเปนในทวีปอเมริกา
2. ถ้าประเทศใดในยุโรปเข้ามายุ่งวุ่นวายและกดขี่ประเทศในทวีปอเมริกา สหรัฐฯ จะถือว่าการกระทำของประเทศนั้นเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและความปลอดภัยของสหรัฐฯ
3. สหรัฐฯ จะไม่ยอมให้ประเทศใดในยุโรปเข้ามาแสวงหาอาณานิคมในทวีปอเมริกาอีกต่อไป
4. สหรัฐฯ จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของประเทศในยุโรป
เครดิตภาพ: Wikimedia Commons
  • กระแสสีชมพูในละตินอเมริกา (Pink Tide)
ช่วงไม่กี่ปีมานี้มีการแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เรียกว่า “การผงาดของฝ่ายซ้ายในละตินอเมริกา” หรือที่เรียกกันว่า Pink Tide (กระแสสีชมพู) การขึ้นสู่อำนาจของรัฐบาลฝ่ายซ้ายในประเทศต่างๆ ของภูมิภาค เริ่มในปี 2018 ด้วยชัยชนะของ “โลเปซ โอบราดอร์” พวกโซเชียลลิสต์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของเม็กซิโก ไม่นานนี้คือการขึ้นสู่อำนาจของ “ลูลา ดา ซิลวา” ในบราซิลเมื่อปีที่แล้ว 2023
“กระแสสีชมพู” แท้จริงเกิดจากความเบื่อหน่ายของประชาชนต่อฝ่ายขวาที่ถืออำนาจไว้ในมือ เลยได้ลงคะแนนให้ฝ่ายซ้ายในการเลือกตั้งครั้งถัดไป และมันเป็นเทรนด์เกิดขึ้น ซึ่งส่งสัญญาณถึงการไม่ยอมรับสหรัฐอเมริกาว่าเป็นผู้นำในละตินอเมริกา และนี่เกิดขึ้นเพราะการหันไปทางซ้ายในละตินอเมริกาพร้อมกับกระแสระดับโลกที่อเมริกาเริ่มสูญเสียอิทธิพลต่อการเมืองระหว่างประเทศ
เครดิตภาพ: u/ Alarmed_Rope5383
ละตินอเมริกาที่มีความสนใจโอนเอนเข้าไปทางกลุ่ม BRICS “บราซิล” ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง BRICS ปัจจุบันมีบทบาทเป็นผู้นำในภูมิภาคด้วยขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของทวีป และเป็นตัวอย่างในการเมินเฉยต่อนโยบายของสหรัฐฯ ต่อมามีทีท่าว่า “อาร์เจนตินา” อาจจะเข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติมของ BRICS ในวันที่ 1 มกราคม 2024 หลังจากการประชุมสุดยอด BRICS ที่แอฟริกาใต้ในเดือนสิงหาคม 2023 (ปัจจุบันเป็นที่แน่นอนแล้วว่า อาร์เจนตินาขอปฏิเสธเข้าร่วม BRICS)
2
ในบริบทของ “กระแสสีชมพู” อเมริกากำลังพยายามชะลอกระบวนการสูญเสียการควบคุมพื้นที่ที่เรียกว่า “สวนหลังบ้าน” ของตน ด้วยเหตุนี้อเมริกาจึงมองว่างานหลักคือต้องป้องกันการแทรกซึมของอิทธิพลของกลุ่ม BRICS เข้าสู่ละตินอเมริกาให้ได้มากที่สุด เพราะนั่นจะส่งผลให้ “จีน” และ “รัสเซีย” ซึ่งเป็นสองประเทศสมาชิกหลักของ BRICS เข้ามามีอิทธิพลถึงหลังบ้านของตัวเอง
1
เครดิตภาพ: Paradigm Shift
สหรัฐอเมริกากำลังเดินตามถนนคู่ขนานสองสายซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์สุดท้ายเดียวกันนั่นก็คือ การกลับมาของอเมริกาในการควบคุมภูมิภาคละตินอเมริกาและขัดขวางแนวโน้มการเติบโตของสมาชิก BRICS โดยที่ประเทศในละตินอเมริกา ถนนเส้นแรกเกี่ยวข้องกับแรงกดดันของสหรัฐฯ ผ่านองค์กรระดับภูมิภาคในละตินอเมริกา ถนนเส้นที่สองคือลงเล่นโดยตรงเป็นรายประเทศไป
องค์กรระดับภูมิภาคหลักที่สหรัฐอเมริกาใช้เข้ากดดันเหนือภูมิภาคละตินอเมริกาคือ Organization of American States (OAS) ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา OAS เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของนโยบายของสหรัฐฯ ต่อนิการากัว เวเนซุเอลา และโบลิเวีย
1
ตัวอย่างที่เห็นชัดหนึ่งคือ การที่ OAS เข้ามาครอบงำและวุ่นวายกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีโบลิเวียเมื่อปี 2019 โดยดิสเครดิตการเลือกตั้งครั้งดังกล่าวหาว่ามีการฉ้อโกงมาก จริงแล้วมันควรเป็นหน้าที่ขององค์กรในประเทศหรือไม่ รวมถึงอยู่เบื้องหลังการโค่นล้มประธานาธิบดีที่เลือกตั้งเข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมายของประเทศคือ Evo Morales
แต่จริงแล้วเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจในโบลิเวียนั้นชัดเจนแต่แรก นั่นคือสหรัฐอเมริกากำลังพยายามนำทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมที่สุดของโบลิเวียกลับมาอยู่ภายใต้การควบคุม นั่นคือแร่ลิเธียม ซึ่งอยู่ในส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV)
การรัฐประหารโค่นอำนาจ Evo Morales ประธานาธิบดีโบลิเวีย เมื่อปี 2019 เครดิตภาพ: Gauri Lankesh News
ส่วนการเข้าแทรกแซงโดยตรงเป็นรายประเทศที่เห็นชัดคือ “อาร์เจนตินา” หลังจากได้ประธานาธิบดีคนใหม่ “ฆาเวียร์ มิลเล” เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งเขามีแนวคิดแบบหักดิบที่จะพึ่งพาใช้ดอลลาร์แทนเปโซในประเทศ เขาได้แจ้งกลับต่อ BRICS แล้วว่า “อาร์เจนตินาขอปฏิเสธเข้าร่วมกลุ่ม BRICS อย่างเป็นทางการ” เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาก่อนสิ้นปี 2023
1
“มิลเล” ได้ลงนามแล้วในกฎหมายฉบับใหม่ของประเทศอาร์เจนตินาเกี่ยวกับ “การปฏิรูประบบเศรษฐกิจของอาร์เจนตินาครั้งใหญ่” หนึ่งในหัวข้อนั้นก็มีเรื่องของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจครั้งใหญ่ของประเทศ การยุติภาระผูกพันทางสังคมหลักของประเทศ และยิ่งชาวอาร์เจนตินาจมอยู่กับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมมากเท่าไหร่ โอกาสที่ประเทศจะคิดถึงเรื่องเชิงยุทธศาสตร์อย่างเช่น เข้าร่วม BRICS ก็น้อยลงเท่านั้น นี่คือแนวคิดของผู้อยู่เบื้องหลัง
สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องความวุ่นวายในอาร์เจนตินาหลัง “ฆาเวียร์ มิลเล” ประกาศเรื่องการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้
มันจะไม่จบอยู่แค่อาร์เจนตินา แต่มีประธานาธิบดีกายอานา “อิร์ฟาน อาลี” ประธานาธิบดีปารากวัย “ซานติอาโก พีนา” ประธานาธิบดีอุรุกวัย “หลุยส์ ลากัลเย” ประธานาธิบดีชิลี “กาบริเอล โบริช” ประธานาธิบดีเอกวาดอร์ “ดาเนียล โนบัว” ทั้งหมดนี้อยู่ในการจับตาเฝ้ามองของสหรัฐอเมริกา เพราะพวกเขากำลังมีแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
เรียบเรียงโดย Right SaRa
2nd Jan 2024
  • แหล่งข่าวและข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: ภาพการประท้วงของกลุ่มสหภาพแรงงานในอาร์เจนตินาเมื่อ 28 ธันวาคม 2023 (บน) – X @TheObjective_es | ประธานาธิบดีฆาเวียร์ มิลเล (ล่าง) - AP Photo/Natacha Pisarenko>
โฆษณา