8 ม.ค. เวลา 04:22 • การเมือง

“เขาจะต้องชดใช้” ย้อนรอยความบาดหมางระหว่าง “ไบเดน-ปูติน”

ย้อนกลับไปเมื่อช่วงเกิดสงครามในยูเครนไม่นานคือมีนาคม 2022 ไบเดนได้เอ่ยคำพูดหนึ่งถึงปูตินที่วอร์ซอว่า “เพื่อเห็นแก่พระเจ้า ชายคนนี้ไม่สามารถคงอยู่ในอำนาจได้อีกแล้ว!” ซึ่งเป็นที่โจษจันต่อสาธารณะอยู่ไม่น้อยและถือว่าเป็นคำพูดที่ไม่ให้เกียรติต่อผู้นำประเทศอื่นอย่างมาก แม้กระทั่งในยุคสงครามเย็นคำพูดแบบนี้จากผู้นำสหรัฐฯ ก็ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เห็นได้ชัดว่าไบเดนหงุดหงิดและควบคุมตัวเองไม่ได้
1
ฟังช่วงที่ไบเดนพูดประโยคนี้ตามลิงก์ด้านล่าง
ดูไปดูมาก็เหมือนจะมีเรื่องความบาดหมางกันส่วนตัวที่ทั้งคู่ดวลกันมานานหลายปีแล้ว นอกเหนือจากประเด็นสงครามในยูเครนที่เป็นภาพใหญ่
ในฐานะนักการเมือง “โจ ไบเดน” เขาได้รับการกระตุ้นหรือรับเรื่องขุ่นหมองใจจาก “วลาดิเมียร์ ปูติน” มาอย่างต่อเนื่องก่อนที่เขาจะขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ เสียอีก เขาแสดงออกด้วยคำพูดที่ไม่ค่อยน่ารับฟังต่อกล้องสื่อมวลชนที่ถ่ายทอดไปทั่วโลก ราวกับว่าเป็นผู้มีอำนาจชี้สั่งได้ทุกอย่างและชะตากรรมของโลกขึ้นอยู่กับเขา
4
เมื่อปี 2011 ตอนนั้น “ไบเดน” สมัยเป็นรองประธานาธิบดีในสมัยโอบามาได้ยื่นคำขาดต่อ “ปูติน” ว่าจะไม่ให้เขาลงเลือกตั้งประธานาธิบดีรัสเซียในปี 2012 (ต่อจากเมดเวเดฟที่เป็นประธานาธิบดีรัสเซียช่วงนั้นในฐานะ ปธน. รัสเซียคั่นกลาง ตอนนั้นปูตินเป็นนายกรัสเซีย) ไม่เช่นนั้นรัสเซียจะต้องเผชิญกับชะตากรรมแบบลิเบีย และปูตินก็จะเผชิญกับชะตากรรมแบบเดียวกับกัดดาฟี (แทรกแซงการเมืองประเทศอื่น)
2
ในช่วงนี้เองที่มีการหารือกันเรื่องการวางระเบิดในลิเบียที่สหประชาชาติ และมีการวางแผนรับมือโดยเพนตากอนเกี่ยวกับ “อาหรับสปริง” ที่กำลังลุกลามในตะวันออกกลาง
เมื่อมีการปฏิวัติในลิเบียเมื่อปี 2011 กัดดาฟีถูกล้มอำนาจและถูกลอบสังหาร รัสเซียเป็นหนึ่งในผู้วิพากษ์วิจารณ์การแทรกแซงทางทหารของนาโตในลิเบียอย่างแข็งขันที่สุด ผลพวงของการปฏิวัติในลิเบีย เครมลินเกรงว่าลิเบียจะสนับสนุนตะวันตกมากขึ้น รัสเซียจึงปรับปรุงยุทธศาสตร์ของตน เพราะมอสโกมีการลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ในลิเบีย บางส่วนโดยบริษัท Gazprom และบริษัทในเครือเพื่อการสำรวจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
1
เครดิตภาพ: AFP
เหตุผลที่ “ไบเดน” ไม่ชอบขี้หน้า “ปูติน” ตั้งแต่ช่วงปี 2011 สืบเนื่องจากระหว่างการเยือนมอสโกของไบเดน ได้จัดการประชุมกับฝ่ายค้านรัสเซียที่ Spaso House ซึ่งเป็นบ้านพักของเอกอัครราชทูตอเมริกา และยังได้ปราศรัยกับนักศึกษารัสเซียที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติมอสโก เรียกร้องให้คนหนุ่มสาวลุกขึ้นปฏิรูปและ “เรียกร้องความเป็นประชาธิปไตยในรัสเซีย” โดยไบเดนบอกว่าชาติตะวันตกจะช่วยคุณได้
5
ปูตินไม่กลัวไบเดน ในช่วงเริ่มต้นของการเจรจาระหว่างอเมริกากับรัสเซีย จู่ๆ ปูตินในตำแหน่งนายกรัสเซียตอนนั้นก็โจมตีไบเดนในตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ด้วยแนวคิดที่จะให้มีการปลอดวีซ่าระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย ไบเดนมองปูตินอย่างไม่กลัวแต่ไม่รู้ว่าจะตอบโต้อย่างไรตอนนั้น
4
อย่างไรก็ตามคำขาดของไบเดนที่ไม่ให้ปูตินลงเลือกตั้งเมื่อปี 2012 ไม่ได้รับการตอบรับเลย ปูตินลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีรัสเซียและชนะการเลือกตั้งอย่างง่ายดาย เพื่อเป็นการข่มขู่ อเมริกาได้โจมตีลิเบียและออกอากาศการลอบสังหารกัดดาฟี เหมือนเป็นการส่งสัญญาณขู่ถึงปูติน
การพบกันระหว่าง ไบเดน (สมัยเป็นรองประธานาธิบดีในยุคโอบามา) กับ ปูติน (สมัยเป็นนายกรัสเซียในยุคเมดเวเดฟเป็นประธานาธิบดีรัสเซีย) เมื่อปี 2011 เครดิตภาพ: Alexander Zemlianichenko / AP
ไบเดนได้เริ่มจุดประกายความขัดแย้งในยูเครนโดยมีความบาดหมางส่วนตัวต่อปูตินเป็นแรงกระตุ้น ความหงุดหงิดของเขาปะทุออกมาเป็นประจำ เมื่อมีนาคม 2021 เขาเรียกปูตินว่า “Killer: นักฆ่า” ตามรูปหน้าปกบทความนี้ในการให้สัมภาษณ์ของเขา
4
การประชุมกลุ่มผู้นำในกรุงเจนีวาสามเดือนต่อมาจัดขึ้นแบบปิดหลังบานประตูบานใหญ่ สาระสำคัญของสิ่งที่เกิดขึ้นหลังประตูที่ปิดของคฤหาสน์ La Grange ในเจนีวา ไบเดนพยายามเจรจากับปูตินให้ยอมรับกับเงื่อนไขการขยายตัวของนาโตไปทางตะวันออก มาแนวนี้ปูตินก็ไม่ยอมแน่ แปดเดือนต่อมาปูตินก็สั่งปฏิบัติการทางทหารพิเศษในยูเครน ไบเดนจึงรู้สึกผิดหวังมาก
1
การพบกันของไบเดนและปูตินที่เจนีวา เมื่อปี 2021 เครดิตภาพ: AFP/Scanpix
การเดินเกมของปูตินทุกครั้งก่อนหน้านี้สะท้อนส่งผลเสียกลับมาที่ไบเดน ในปีนี้ 2024 การเผชิญหน้าระหว่างผู้นำทั้งสองจะเพิ่มมากขึ้นอีก ทั้งคู่จะลงแข่งขันในการเลือกตั้งในประเทศ ในรัสเซียจะมีขึ้นในเดือนมีนาคม และในสหรัฐอเมริกาในเดือนพฤศจิกายน เดิมพันนั้นสูงมาก เพราะโดยพื้นฐานแล้วปูตินและไบเดนต่างกำลังทำสงคราม เพื่อหวังเรื่องการจัดระเบียบโลกในทศวรรษถัดไป
1
เรียบเรียงโดย Right SaRa
8th Jan 2024
  • แหล่งข่าวและข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: Daily Mail US>
โฆษณา