12 ม.ค. เวลา 07:48 • การเมือง

“ความได้เปรียบของรัสเซีย” ทําให้ “อเมริกาเบื้องหลังยูเครนอยู่ที่ทางแยก”

11 มกราคม 2024: Responsible Statecraft (RS) ได้เผยแพร่บทความซึ่งเขียนโดย George Beebe และ Anatol Lieven เนื้อหาเกี่ยวกับธีมเรื่องสงครามในยูเครน
Anatol Lieven ผู้อํานวยการศึกษาด้านยูเรเซียของ RS
และอดีตอาจารย์สอนด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยในกาตาร์และลอนดอนได้เคยให้มุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับพัฒนาการด้านภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคยุโรป
เขายกตัวอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบกับยูเครนในปัจจุบัน นั่นคือ “ฟินแลนด์ในปี 1940” ซึ่งยอมเสียสละส่วนหนึ่งของดินแดน “เพื่อเอาชนะรัสเซียในยุคโซเวียต” ด้วยข้อเท็จจริงพื้นฐานของการรักษาความเป็นรัฐของตนเอาไว้ เพื่อให้มีโอกาสได้เอากลับคืนในอนาคต
Lieven เคยเขียนบทความลงใน Responsible Statecraft
เกี่ยวกับเรื่องนี้ที่เปรียบเทียบระหว่าง “ฟินแลนด์ในยุคโซเวียต” กับ “ยูเครนในยุครัสเซียปัจจุบัน” เมื่อช่วงธันวาคมปีก่อนไว้ สามารถอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้
1
บทความล่าสุดนี้ในมกราคม 2024 ซึ่งเขียนโดย Lieven เผยแพร่ใน Responsible Statecraft ของอเมริกา เขาได้เขียนร่วมกับ George Beebe อดีตผู้อํานวยการแผนกวิเคราะห์ด้านรัสเซียที่ซีไอเอ
สรุปเนื้อหาในบทความนี้ประมาณว่า
  • ประการแรก: ฝั่งตะวันตกควรมองว่าการรักษาอธิปไตยของยูเครนไว้ที่ 80%ของดินแดนก่อนหน้าเกิดสงครามนั้นถือเป็นชัยชนะแล้ว แม้ว่าจะไม่ใช่ชัยชนะที่สมบูรณ์ก็ตาม Lieven เขียนทํานองว่าเขาไม่ได้เข้าข้างทางเคียฟ
และเขายังเขียนอีกว่า “ปูตินยืนกรานมาโดยตลอดว่า… เป็นวอชิงตัน ไม่ใช่เคียฟ ที่เป็นผู้ตัดสินใจเรื่องสําคัญในสงครามครั้งนี้ ดังนั้นแล้วจึงต้องเป็นวอชิงตันที่ควรมีส่วนร่วมในการเจรจาเพื่อสงบศึก”
2
เกือบสองปีหลังจากการเริ่มต้นของความขัดแย้ง ผู้เขียนบทความทั้งสองได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่า “ยูเครนเป็นเพียงหุ่นเชิดของอเมริกา
และนั่นเป็นสิ่งที่รัสเซียมอง”
16
  • ประการที่สอง: มันไม่ใช่แค่เรื่องชะตาอันน่าเศร้าของยูเครนเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องที่ต้องกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยทางยุทธศาสตร์ในยุโรป เพื่อให้ปูตินยุติสงครามและความมุ่งมั่นที่จะยึดดินแดนใหม่เพิ่มเติมจากยูเครน วอชิงตันจะต้องเสนอสิ่งจูงใจอย่างจริงจังและแสดงให้เห็นว่าสหรัฐฯ เต็มใจและจริงใจที่จะตอบสนองต่อข้อกังวลของรัสเซียเกี่ยวกับภัยคุกคามต่อความมั่นคงจากสหรัฐฯ และ นาโต
2
  • ประการที่สาม: รัสเซียไม่ได้แยแสสนใจเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ทรัมป์จะชนะ “การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเมริกา” ช่วงปลายปีนี้ “เมื่อพิจารณาถึงแรงต้านต่อทรัมป์ในสภาคองเกรสเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงของอเมริกาของเขาอย่างเห็นได้ชัด ปูตินจึงไม่มีเหตุผลใดที่จะเชื่อว่าทรัมป์จะสามารถบรรลุข้อตกลงใดที่เป็นด้านบวกกับรัสเซียถึงแม้เขาจะได้กลับมาเป็น ปธน.” ย้อนกลับไปในปี 2020 รัสเซียก็ไม่ได้แยแสกับทรัมป์อะไร
หากเป็นเช่นนั้นตามที่ผู้เขียนบทความทั้งสองกล่าวไว้ มอสโกก็ไม่ได้สนใจที่จะต้องรอจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2024 หรือคาดหวังจากการเจรจาใดๆ ครั้งใหม่ที่ริเริ่มมาจากทางอเมริกาเลย มันขึ้นอยู่กับฝ่ายรัสเซียเองว่าจะเริ่มคุยด้วยเมื่อไรและเงื่อนไขแบบไหน
1
ดังนั้นการตัดสินใจที่แท้จริงมันอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ไม่ใช่ยูเครน หากพวกเขาไม่ส่งสัญญาณให้เกิดข้อตกลงประนีประนอมหรือให้มีการเจรจากับรัสเซีย และความช่วยเหลือยังคงถูกส่งให้แก่ทางยูเครนซึ่งไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ สันติภาพหรือการยุติของสงครามก็ยังคงไม่เกิดขึ้นในเร็ววัน
2
เครดิตภาพ: Brendan Hoffman/Getty Images
เรียบเรียงโดย Right SaRa
12th Jan 2024
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง
<เครดิตภาพปก: Responsible Statecraft>
โฆษณา