10 ก.พ. เวลา 06:40 • ประวัติศาสตร์
ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส ตอนที่ 11 สายเลือดที่ยิ่งใหญ่

ภายหลังสงคราม นโปเลียน ณ เวลานั้นยุโรปนั่งประชุมกันและมีการออกแบบดุลอำนาจในยุโรปกัน เพื่อป้องกันสงครามครั้งใหญ่นั่นก็คือการประชุมกันที่เรียกว่า การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (Congress of vienna) วัถุประสงค์คือการทำอย่างไรให้ยุโรปนั้นมีสันติภาพที่มีความยั่งยืนมากขึ้น รัฐใหญ่ อย่างบริเตนในเวลานั้น จะได้ สามารถเดินหน้าล่าอาณานิคมได้แบบไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลังกับการเมืองในยุโรป
ออสเตรีย ฮังการี จะได้มีเสถียรภาพมากขึ้นเพราะไม่ต้องเจอกับภัยสงคราม สำหรับฝรั่งเศสหลังจากที่พ่ายสงครามที วอเตอร์ลู (batter of waterloo) จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สละบัลลังก์และสวรรคตในปี ค.ศ.1821 ฝรั่งเศส ณ เวลานั้นก้าวเข้าสู่ยุค การฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง (Bourbon Restoration) เป็นการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ที่ถูกล้มล้างไปตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐที่หนึ่งกลับมาอีกครั้ง
“การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา”(Congress of vienna) โดยฌ็อง-บาติสต์ อีซาแบ ราว ค.ศ. 1819 แม้ว่าผู้แทนจากทุกรัฐที่เข้าร่วมสงครามจะได้รับการเชิญมาประชุม แต่การต่อรองที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นไปโดย “สี่มหาอำนาจ” ซึ่งได้แก่บริเตน รัสเซีย ฝรั่งเศส และออสเตรีย
สายตระกูลของโบนาปาร์ตถูกขับไล่ให้ไปลี้ภัยยังต่างแดนรวมถึงโอรสของนโปเลียนและหลานลุงของนโปเลียนสองคน ที่มีชื่อว่านาโปเลียน หลุยส์น และหลุยส์ นโปเลียน โบนาปาร์ต สำหรับรัฐเล็กๆในยุโรปในเวลานั้นเริ่มต้นมีแนวความคิดแบบนี้ "พวกเราต้องร่วมรัฐเล็กๆของเรา ถ้าเราพูดภาษาเดียวกัน เราเป็นชาติเดียวกัน" รวมขึ้นมาให้แข็งแกร่งเป็นรัฐที่ใหญ่ขึ้น ป้องกันภัยคุกคามจากการโจมตีจากชาติใหญ่เช่น ฝรั่งเศส
สำหรับรัฐเล็กๆในคาบสมุทรอิตาลีพยายามรวมตัวกันจนกระทั่งเป็น ราชอาณาจักรอิตาลี (อิตาลี: Regno d'Italia) ในปี 1861 สำหรับรัฐที่พูดภาษาเยอรมัน ได้มีการรวมตัวกันที่ชื่อว่าจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แต่แล้วต้องแตกกระสานซ่านเซ็นไปเพราะว่านโปเลียน ในช่วงเวลาที่มีการรุกรานเข้าไปยังพื้นที่ดังกล่าวได้มีการยุบเลิกจักรวรรดิ์โรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ถูกบังคับให้รวมตัวกันหลวมๆในชื่อของสมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ (เยอรมัน: Rheinbund)
ดินแดนสมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ (เยอรมัน: Rheinbund) และ ราชอาณาจักรอิตาลี (อิตาลี: Regno d'Italia)
หลังสงครามนโปเลียนไปแล้วพวกเขาก็แตกกระจัดกระจายกลายเป็นรัฐเยอรมัน 39 รัฐซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่พูดเยอรมันแต่มิได้ขึ้นกับราชวงศ์ฮาพส์บวร์คของออสเตรีย ฮังการี สำหรับรัฐที่แข็งแกร่งที่สุดคือ รัฐที่อยู่ทางตอนเหนือติดทะเลบอลติกนั่นก็คือปรัสเซีย ปรัสเซียก็คือรัฐที่พูดภาษาเยอรมันอยู่ทางตอนเหนือและเป็นรัฐที่ร่วมกันกับอังกฤษ ผ่านตัวแทนอย่าง อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันในการสยบนโปเลียนที่สงครามวอเตอร์ลู (batter of waterloo) รัฐเล็กเริ่มร่วมตัวกันเกิดเป็นประเทศเยอรมัน
กลับมาที่สถานการณ์ของฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ถูกอัญเชิญกลับมาครองราชย์ แต่การเมืองฝรั่งเศสวุ่นไม่จบไม่สิ้น ราชวงศ์บูร์บงถูกประท้วงจากประชาชนจนกลายเป็นการปฏิวัติเดือนกรกฎาคมที่เรียกกัน การปฏิวัติเดือนกรกฎาคม (July Revolution) ค.ศ. 1830 สิ้นสุดยุคการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง เปลี่ยนรูปแบบการปกครองเปลี่ยนจากกษัตริย์มาเป็นรูปแบบเสรีนิยม กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญที่มีพระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งออร์เลอ็อง มาเป็นประมุขครองราชย์ เรียกประเทศตัวเองว่า ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
ภาพหลุยส์ที่ 18 โดย โรแบร์ เลเฟพร์ ราว ค.ศ. 1822 และ หลุยส์ ฟิลิปที่ 1; ภาพโดย ฟรันซ์ ซัคเวอร์ วินเทอร์ฮัลเตอร์ ตามลำดับ
ตัวพระองค์เองเป็นกษัตรใต้รัฐธรรมนูญมีฉายาว่า กษัตริย์พลเมือง (Le Roi Citoyen)
หมายความว่ามีกษัตริย์ แต่ว่ามิได้มีพระราชอำนาจเหมือนยุคก่อนๆอีกต่อไปแล้ว ในแง่มิติสังคมและเศรษฐกิจหลังสงคราม ฝรั่งเศสไม่ได้ยิ่งใหญ่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว ความผันผวนทางการเมืองเยอะมากมาย แต่ด้วยความที่เป็นชาติ ที่มีวิทยาการเป็นพื้นฐานสำคัญ จึงเดินหน้าปฏิวัติอุตสาหกรรมในกรอบเวลาที่ไม่ช้าไปกว่าอังกฤษ พวกเขามีรถไฟ หลังจากอังกฤษเพียงแค่สองปีเท่านั้น
พัฒนาเครือข่ายรถไฟอย่างต่อเนื่อง พัฒนาอุตสาหกรรมในแบบที่ไม่เชื่องช้าเลย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้น นำไปสู่ปัญหาสังคมในรูปแบบใหม่คือ การเคลื่อนไหวของชนชั้นล่าง ชนชั้นแรงงานและชนชั้นกลาง ทำให้เกิดการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอีกหลายครั้งและในที่สุดมันก็จบลงในปี ค.ศ.1848
ชาวฝรั่งเศสต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากเดิมก็คือระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญไปเป็นระบอบสาธารณรัฐอีกครั้งหนึ่ง ไม่ใช่เฉพาะที่ฝรั่งเศสแต่ว่าออสเตรียและเยอรมันก็เจอปัญหาเดียวกันเพราะในปี ค.ศ.1818 มีการปฏิวัติทั่วทั้งยุโรปจากกระแสแนวความคิดสังคมนิยมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแต่ฝรั่งเศสเดินทางนึง เยอรมันเดินอีกทางนึง
จะขออธิบายเรื่องการปกครองสาธารณรัฐที่หนึ่ง สอง สาม ก่อน มันคือคำเรียกของยุคประชาธิปไตยในฝรั่งเศส ประชาธิปไตยของฝรั่งเศสไม่ได้เดินหน้าอย่างต่อเนื่องแต่มีการเว้นวรรคหลายครั้งเช่น สาธารณรัฐที่หนึ่ง ก็คือระบอบประชาธิปไตยของเขาจบลงเพราะการสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิของนโปเลียน โบนาปาร์ต ในปี ค.ศ.1804
ภาพดินแดนของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่หนึ่งใน ค.ศ. 1799 (เขียวเข้ม เขตปกครองโดยตรง กับ เขียวอ่อน สาธารณรัฐพี่น้องและพื้นที่ยึดครอง) สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สองในปี ค.ศ. 1848 และ สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สาม ใน ค.ศ. 1914 (เขียวเข้มคือ ฝรั่งเศส เขียวอ่อนคือรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส)
ในขณะที่สาธารณรัฐที่ 3 เองก็ต้องเว้นวรรคเพราะฝรั่งเศสนั้นพ่ายสงครามต่อนาซีเยอรมันเมื่อนาซีเยอรมันแพ้สงครามฝรั่งเศสได้รับการปลดปล่อยก็กลับมามีประชาธิปไตยอีกครั้งหนึ่ง จึงมีการเรียกเป็นยุคของสาธารณรัฐตามด้วยลำดับ
สมัยปี ค.ศ.1848 ฝรั่งเศสกลับมาใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอีกครั้ง หนึ่ง ครั้งนี้พวกเขาเริ่มต้นชีวิตใหม่ทางการเมืองที่เรียกกันว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สอง (ฝรั่งเศส: Deuxième République française หรือ La IIe République)
ในยุคที่สองแตกต่างจากยุคที่หนึ่งเพราะว่าในยุคที่หนึ่ง ประชาชนเองไม่ได้เลือกผู้นำของเขาด้วยตัวเองแต่ว่าเลือกสภาดีแร็กตัวร์(Directoire) สภาก็ไปเลือกผู้ปกครองเป็นแบบนี้ เป็นต้น โดยผู้นำก็คือ นโปเลียน โบนาปาร์ต เป็นกงสุลใหญ่ แต่สำหรับสาธารณรัฐที่สอง อาแล็กซี เดอ ต็อกวีล(Alexis de Tocqueville) หนึ่งในผู้ร่างรัฐธรรมนูญของสาธารณะที่สองของฝรั่งเศส
อาแล็กซี เดอ ต็อกวีล(Alexis de Tocqueville)
รับอิทธิพลของสหรัฐอเมริกามา แล้วมองว่าฝรั่งเศสเองควรใช้ระบบแยกอำนาจนิติบัญญัติบริหารดังนั้น จึงควรที่จะมีระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงเพื่อฝ่ายบริหารที่เข้มแข็งและประธานาธิบดีคนแรกของเขามีชื่อว่า หลุยส์ นโปเลียน โบนาปาร์ต(รูปภาพหน้าปก)
เขาเป็นหลานลุงคนที่สอง ของจักรพรรดินโปเลียนที่ หนึ่ง ผู้นำพาฝรั่งเศสสู่ความยิ่งใหญ่และครอบครองแผ่นดินยุโรปมากกว่าครึ่งนึง อย่างที่ไม่เคยมีผู้ใดทำได้ ตัวของหลุยส์ นโปเลียน โบนาปาร์ต ก้าวเข้ามาสู่อำนาจในฝรั่งเศสจากการที่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศส ด้วยคะแนนเสียง 75% ของคนที่มีสิทธิ์ใช้เสียงถึง 7,500,000 เหนือกว่ากลุ่มสังคมนิยม เหนือกว่ากลุ่มใดๆ สิ่งที่น่าสนใจคือทำไมคนฝรั่งเศสจึงมีแนวความคิดแบบนั้น
หลุยส์ โบนาปาร์ต
เพราะว่าคนฝรั่งเศสในเวลานั้นต้องการ "แบรนด์โบนาปาร์ต" ที่ยิ่งใหญ่กลับมากอบกู้ฝรั่งเศส แต่ทีนี้ก่อนที่จะเดินหน้าต่อไปว่าเขาครองอำนาจอย่างไรต่อไป จะขอพาย้อนกลับไปดูเส้นทางชีวิตที่พลิกผันของหลุยส์ นโปเลียน โบนาปาร์ตกันก่อนครับ
หลุยส์ นโปเลียน โบนาปาร์ต เป็นลูกของน้องชายของจักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต น้องชายชื่อหลุยส์ โบนาปาร์ต โดยมีศักดิ์เป็นหลานลุงของจักรพรรดินโปเลียน และตัวของหลุยส์ นโปเลียน โบนาปาร์ต ก็เหมือนกับคนอื่นๆในตระกูลที่ต้องลี้ภัยไปยังต่างแดนหลังการพ่ายศึกนโปเลียนปี ค.ศ.1815
จักรพรรดินีโจเซฟีน
จักรพรรดินีโจเซฟีน เป็นม่ายมีลูกสาวติดมาจากสามีเก่าชื่อ ออร์ตองส์ เออเจนี เซซีล (Hortense Eugénie Cécile) ภายหลังได้แต่งงานกับหลุยส์ โบนาปาร์ต(น้องชายของนโปเลียน) และมีลูกด้วยกันก็คือ "หลุยส์ นโปเลียน โบนาปาร์ต" ตัวของออร์ตองส์ เออเจนี เซซีล เป็นผู้หญิงที่ทะเยอทะยานและต้องการให้บุตรชายของตัวเธอสืบทอดบัลลังก์ต่อจากจักรพรรดินโปเลียนเพราะช่วงเวลานั้นตัว จักรพรรดินโปเลียนไม่มีบุตรชายเลย ทำให้สิทธิ์ในการสืบราชบัลลังก์ตกอยู่ที่ลูกชายของเธอ
1
แต่เมื่อตัวจักรพรรดินโปเลียนมีลูกชายเป็นของตัวเองแล้ว คือ นโปเลียน ฟร็องซัว ชาร์ล โฌแซ็ฟ โบนาปาร์ต (ฝรั่งเศส: Napoléon François Charles Joseph Bonaparte) ซึ่งเกิดจากจักรพรรดินีโจเซฟิน ต่อมาภายหลังก็ต้องลี้ภัยไปต่างแดนเหมือนกัน และสุดท้ายป่วยเป็นโรคปอดบวมจนเสียชีวิตลงในปี ค.ศ.1832 ด้วยวัยเพียง 21 ปีเท่านั้น
ออร์ตองส์ เออเจนี เซซีล (Hortense Eugénie Cécile)
ทำให้ออร์ตองส์ เออเจนี เซซีล เริ่มกลับมาคิดถึงความยิ่งใหญ่บนแผ่นดินฝรั่งเศสอีกครั้ง ตัวเธอได้ถ่ายทอดความทะเยอทะยานให้กับลูกชาย ในระหว่างที่ลี้ภัยไปที่ต่างๆก็ได้ให้ลูกชายเรียนรู้เรื่องต่างๆ อย่างการลี้ภัยไปที่โรมก็ได้รับการฝึกยุทธวิธีการรบมาจากการคาร์โบนารี (Carbonari Lodge) เป็นชื่อสมาคมลับของชาวอิตาลีซึ่งยึดหลักอุดมการณ์เสรีนิยมสนับสนุนระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐและเน้นความรักชาติ
หลุยส์ นโปเลียน ในวัยเด็ก กลับมาสู่ฝรั่งเศสและพยายามที่จะรัฐประหารโดยเริ่มต้นที่เมืองสตราสบูร์ก ด้วยจำนวนทหารแค่ร้อยกว่าคน สเกลเล็กน้อยมาก ที่สุดเป็นเหมือนแค่ตัวตลก ล้มเหลวถูกขับไล่ไปลี้ภัยทางการเมืองอีกครั้งหนึ่ง กลับมาอีกครั้ง หนึ่ง ก็ลี้ภัยไปอังกฤษ สรุปไม่สามารถที่จะอยู่ฝรั่งเศสได้นานเลยเพราะว่าตัวเขาพยายามที่จะก่อหวอดตลอดเวลา
เฌโรม โบนาปาร์ต (Jérôme Bonaparte) , พรินซ์ ปิแอร์ โบนาปาร์ต (Pierre Napoléon Bonaparte), ลูเซียน มูรัต(Lucien Murat) ตามลำดับ
แต่ในที่สุด ก็สามารถมาเชื่อมต่อกับการเมืองระดับชาติของฝรั่งเศส คนฝรั่งเศสในเวลานั้นผิดหวังกับระบอบกษัตริย์ตระกูลบูร์บอง-ออร์เลอ็อง และอยากได้คนที่เป็นเชื้อสายของโบนาปาร์ต กลับมาอยู่ในสภา จนพบว่าหลังจากการปฏิวัติ ปี ค.ศ.1848 มีการเลือกตั้งภายใต้สาธารณรัฐที่สอง ได้สมาชิก 3 คนของตระกูลโบนาปาร์ต เข้าไปนั่งในสภานิติบัญญัติ ได้แก่ เฌโรม โบนาปาร์ต (Jérôme Bonaparte) ,
พรินซ์ ปิแอร์ โบนาปาร์ต (Pierre Napoléon Bonaparte), ลูเซียน มูรัต(Lucien Murat)
สำหรับตัว หลุยส์ นโปเลียน เลือกที่จะไม่ลงสมัครในสภานิติบัญญัติ แต่ว่าเลือกที่จะเป็นแคนดิเดตในตำแหน่งประธานาธิบดี เพราะฝรั่งเศสจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงเป็นครั้งแรกด้วย ตัวเขาตัดสินใจแบบนั้นและในเดือนธันวาคมปี ค.ศ.1848
ครั้งนั้นมีคนที่มีสิทธิในการที่จะลงคะแนนเสียง 9.9 ล้านคนและไปใช้สิทธิ 7.5 ล้านคน การเลือกตั้งในครั้งนั้นมีแคนดิเดต 5 คน แต่ผลออกมาคือ 75% ของประชากร 7.5 ล้านคน ที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เลือกคนที่มีชื่อว่า หลุยส์ นโปเลียน เหนือกว่าลำดับที่สอง ที่คะแนนไม่ถึง 20%
จบลงด้วยชัยชนะของสายตระกูลโบนาปาร์ต ผ่านระบอบประชาธิปไตย หลุยส์ นโปเลียนตระหนักดี ว่าสิ่งที่จะตอบโจทย์คนฝรั่งเศสได้มันคืออะไร มันคือการพาฝรั่งเศสกลับไปยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา