27 ม.ค. เวลา 13:27 • ประวัติศาสตร์
ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส ตอนที่ 10 จุดจบจักรวรรดิที่ 1

ด้วยความไม่พอใจที่พระจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย มีต่อนโยบายการค้าที่นโปเลียนให้มีการปิดล้อมภาคพื้นยุโรป เพื่อเป็นการตอบโต้ต่ออังกฤษ บั้นทอนความแข็งแกร่งทางการค้าและเศรษฐกิจของอังกฤษ พระจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 ยื่นคำขาดกับฝรั่งเศสให้ยกเลิกการปิดล้อมทางทะเลกับอังกฤษ
จักรพรรดินโปเลียนไม่ยอมง่ายๆ แล้ววิธีการแก้ปัญหาก็ไม่ได้แตกต่างไปจากเดิม ดั้งนั้นพระองค์เลือกที่จะประกาศสงครามและเริ่มรุกรานรัสเซียในช่วงฤดูร้อนของปี ค.ศ.1812 กองทัพอันยิ่งใหญ่ของพระองค์มีจำนวนถึง 4 แสนกว่านาย มีม้า 1 แสน 5 หมึ่นตัว มีรถสำหรับขนยุทธภัณฑ์1 แสน 5 พันคัน ปืนใหญ่ 1500 กระบอก เดินทางสู่รัสเซียผ่านทางแม่น้ำนีเปอร์ ปัจจุบันไหลผ่านเบลารุสและยูเครน แล้วไปที่ทะเลดำ
ที่ปรึกษา อาร์ม็อง โอกุสแต็ง หลุยส์ เดอ โกแล็งกูร์(Armand Augustin Louis de Caulaincourt) และ รัฐมนตรีต่างประเทศคือ ชาร์ล มอริส เดอ ตาแลร็อง-เปรีกอร์ (Charles Maurice de Talleyrand-Périgord)
ปลายทางคือการไปสั่งสอนพระจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 ที่รัสเซีย แต่ที่ปรึกษาคนสำคัญของนโปเลียนไม่เห็นด้วย คือ อาร์ม็อง โอกุสแต็ง หลุยส์ เดอ โกแล็งกูร์(Armand Augustin Louis de Caulaincourt) และ รัฐมนตรีต่างประเทศคือ ชาร์ล มอริส เดอ ตาแลร็อง-เปรีกอร์ (Charles Maurice de Talleyrand-Périgord) เตือนพระองค์หลายครั้งว่า ถึงพระองค์จะรบเก่งขนาดไหน แต่ด้วยสภาวะสภาพอากาศของรัสเซียจะนำมาซึ่งความพินาศสู่กองทัพของลากร็องด์อาเม ( Grande Armee) ก็คือชื่อกองทัพของนโปเลียน
แต่พระองค์ไม่ทรงเชื่อด้วยพระขัตติยมานะ ถือเป็นปฐมบทของความล่มสลายของกองทัพแห่งจักรวรรดินโปเลียน แม้ว่าทางรัสเซียจะมีจำนวนน้อยกว่าจนเทียบไม่ได้เลย คือมีแค่ 2 แสนนาย ภายใต้คำบังคับบัญชาของนายพล บาร์เคลย์ เดอ ทอลลี่ (Barclay de Tolly) และ ปิออตร์ บากราตีออน (Pyotr Bagration) ซึ่งพระองค์สามารถอาชนะได้ที่ศึกสโมเลนสค์ (Smolensk) ได้สำเร็จ มู่งหน้าไปสู่เมือง โบโรดีโน (Borodino) คือเมืองหน้าด่านของ มอสโก ณ เวลานั้นมอสโกไม่ใช่เมืองหลวงแต่เป็นเซนต์ ปีเตอร์เบอก
ตามเข็มฯจากบนซ้าย: 1) ยุทธการที่โบโรดีโน, 2) เพลิงไหม้ในมอสโก, 3) จอมพลมีแชล แน ในยุทธการเคานัส, 4) การถอนกำลัง
สำหรับชัยชนะที่ ศึกสโมเลนสค์และโบโรดีโนถือเป็นชัยชนะที่แลกมาด้วยความศูนย์เสียมหาศาล เพราะสภาพอากาศมันย่ำแย่มาก ภูมิประเทศที่ไม่คุ้นเคย แล้วต้องเจอโรคเมืองหนาว การขาดแคลนเสบียง ถึงแม้ว่าช่วงเวลานั้นจะเป็นช่วงฤดูร้อน แต่มันได้ทำลายกองทัพของนโปเลียนไปเกือบครึ่ง
พระจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 ได้แต่งตั้งจอมพลมิคาอิล อิลลาริโอโนวิช คูตูซอฟ( Mikhail kutuzov) เป็นผู้บัญชาการรบ ตัวคูตูซอฟ รู้ดีว่าสภาพกองทัพฝรั่งเศสอิดโรย จึงเลือกที่จะไม่ทิ้งกองกำลังพลป้องกันเมืองมอสโกเลย แต่ล่อให้กองกำลังของนโปเลียนเข้าเมืองไปแล้ววางระเบิดเพลิงเป็นกับดักเอาไว้ แล้วสังหารกองทัพนโปเลียน ณ เวลานั้นนโปเลียนยึดมอสโกได้จริง แต่ว่าสิ่งที่ได้มามีแต่ความว่างเปล่า ไฟได้เผาผลาญกองกำลังของนโปเลียนไปกลุ่มหนึ่ง แล้วตัวนโปเลียนเองก็ได้เข้าไปพัก 5 สัปดาห์
จอมพลมิคาอิล อิลลาริโอโนวิช คูตูซอฟ( Mikhail kutuzov) และ อันเดรย์ มิโลราโดวิช (Andrey Miloradovic) ตามลำดับ
ถือเป็นการรบที่ทุ่มเทสรรพกำลังมหาศาลเหมือนจะได้ชัยชนะแต่ในท้ายที่สุดมีเพียงความว่างเปล่า ซึ่งการถอนกำลังในช่วงของเดือนพฤจิกายน- ธันวาคมเป็นฤดูใบไม้ร่วง รัสเซียตระหนักดีว่าสภาพอากาศจะแย่ลงไปกว่านั้นมาก จึงได้วางแผนขัดขวางการถอนทัพภายใต้การนำของนายพล อันเดรย์ มิโลราโดวิช (Andrey Miloradovic) ทำให้การถอนทัพของฝรั่งเศสเป็นไปอย่างยากลำบาก
ที่สุดทำให้กองทัพฝรั่งเศสสูญเสียไป 3 แสนนาย กลับถึงฝรั่งเศสเพียง 1 แสนกว่านาย สิ่งที่ที่ปรึกษาอาร์ม็อง โอกุสแต็ง หลุยส์ เดอ โกแล็งกูร์ ของนโปเลียนได้เตือนเอาไว้ว่า กองทัพลากร็องด์อาเม ( Grande Armee) จะพบกับการสูญเสียมหาศาลมันเป็นความจริง
อาณาเขตปกครองยุโรปของจักพรรดินโปเลียน คือเส้นสีแดง ช่วงปี ค.ศ.1812
ด้วยความสูญเสียที่รัสเซีย ผนวกกับอีกหนึ่งแนวรบที่คาบสมุทรไอบีเรีย ที่ชาติสหสัมพันธมิตรซึ่งประกอบไปด้วย อังกฤษ สเปน และโปรตุเกส ร่วมกับออสเตรีย รวมถึงสวีเดน ในเวลานั้นมองเห็นแล้วว่า นี้แหละคือจังหวะที่จะร่วมมือกันในการต่อสู้ฝรั่งเศส ผลักดันจักรวรรดิฝรั่งเศสให้ออกจากพื้นที่ ที่เคยรุกรานจากชาติของพวกเขา
สำหรับทางฝั่งสวีเดน อดีตขุนศึกระดับจอมพลแห่งจักรวรรดิฝรั่งเศส ที่มีชื่อว่า ฌ็อง-บาติสต์ แบร์นาด็อต (Karl XIV Johan) ต่อมาถูกไปประจำการที่สวีเดนและได้กลายไปเป็นรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์สวีเดน จอมพลท่านนี้เป็นจอมพลผู้สร้างผลงานในสมรภูมิเอาสเทอร์ลิทซ์
แบร์นาด็อตในเครื่องแบบจอมพลแห่งจักรวรรดิฝรั่งเศส และ ภาพ นโปเลียนในยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์
ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าแห่งสวีเดนและเขากลายเป็นบุคคลสำคัญของสวีเดนในเวลาต่อมาและกลับข้างกลายเป็นผู้ที่มาต่อต้านกองทัพฝรั่งเศส ในเวลานั้นแบร์นาด็อต ได้บรรลุข้อตกลงกับอังกฤษ อังกฤษจะยอมนิ่งเฉยหากว่าสวีเดนผนวกนอร์เวย์เข้าไว้ด้วยกัน โดยที่สวีเดนเองต้องการพื้นที่"พอเมอราเนีย"(Pomerania) คืนจากฝรั่งเศสที่ยึดไปจากสวีเดนก่อนหน้านั้นด้วย
ปรัสเซีย ณ เวลานั้นโดยพระเจ้า ฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 3 ทรงมีพระราชสารถึงประชาชนว่า ปรัสเซียได้เข้าร่วมกับสหสัมพันธมิตรและประกาศสงครามกับฝรั่งเศสในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ.1813
ออสเตรียเอง ณ เวลานั้นอย่าลืม ว่ามีสัมพันธ์ระหว่างนโปเลียนกับเจ้าหญิงอาร์ชดัชเชสมารี ลูซิอา ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์เป็นพิเศษแรกที่เดียวเองก็ลังเลในการประกาศสงครามกับฝรั่งเศสแต่ในที่สุด รัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรีย คลีแมนส์ ฟอน เม็ตเทอร์นิช (Klemens Wenzel von Metternich) ทบทวนและคิดว่าการรวมตัวกับสหสัมพันธมิตรน่าจะเป็นประโยชน์มากที่สุดดังนั้น ครั้งนี้ถือเป็นสถานะที่ครบเครื่องครบองค์มากที่สุดแล้ว
คลีแมนส์ ฟอน เม็ตเทอร์นิช  และ พระเจ้า ฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 3 และภาพแผนที่ของพอเมอราเนียและสวีเดน ตามลำดับ
กลับไปที่แนวรบคาบสมุทรไอบีเรีย อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 (Arthur Wellesley ) แห่งสหราชอาณาจักร ร่วมกับกองทัพโปรตุเกสและสเปน ในที่สุดสามารถเอาชนะกองทัพฝรั่งเศส ในสงครามที่ วิกตอเรีย (Victoria) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของสเปน การรบในทุกแนวรบสามารถกดดันฝรั่งเศส จนกระทั่งสำเร็จ นอกเหนือไปจากนี้ บนภาคพื้นยุโรปกองทัพผสมสามารถเอาชนะกองทัพจักรวรรดิฝรั่งเศสได้ที่ยุทธการที่ไลพ์ซิช (Battle of Leipzig) นั้นมีความหมายว่าพวกเขาพิชิตศึกนโปเลียนได้อย่างเบ็ดเสร็จ
ในที่สุด 31 มีนาคม 1814 กองทัพสหพันธมิตรนำโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 3 แห่งปรัสเซีย และโอรสก็คือเจ้าชาย ชวาร์ตเซนเบิร์ก(Schwartzenberg) นำกองทัพสู่กรุงปารีส รัฐสภาฝรั่งเศสในเวลานั้นต้องยอมออกเอกสารในการปลดจักรพรรดินโปเลียนออกจากตำแหน่ง หนึ่งในบุคคลที่อยู่เบื้องหลังเอกสารฉบับนี้ก็คือรัฐมนตรีต่างประเทศที่มีชื่อว่า ชาร์ล มอริส เดอ ตาแลร็อง-เปรีกอร์
ชาร์ล มอริส เดอ ตาแลร็อง-เปรีกอร์ และเอกสารการสละราชสมบัติของนโปเลียน (Abdication of Napoléon)
หลังจากนั้น 2 เมษายน ค.ศ.1814 ชาติสหพันธมิตรรื้อฟื้นระบอบราชาธิปไตยในฝรั่งเศสดึงเอาเจ้าแห่งราชวงศ์บูร์บงกลับมาอีกครั้งหนึ่งและให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ครองบัลลังก์ฝรั่งเศส ณ เวลานั้น ที่ชานกรุงปารีสจักรพรรดินโปเลียนยังคงมีความเชื่อว่าพระองค์นั้นสามารถที่จะกลับมาเอาชนะได้อีกครั้งหนึ่ง
ตัวพระองค์เองและทหารจำนวนหนึ่งต้องการสู้ต่อเพื่อกู้ศักดิ์ศรีของฝรั่งเศส แต่ท้ายที่สุด 4 เมษายน ค.ศ.1814 จอมพลมิดมีแชล แน เตือนสติพระองค์ว่าทุกอย่างมันจบลงแล้วพระองค์ หลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์ 11 เมษายน ยอมลงนามพ่ายแพ้ในข้อตกลงบริเวณพื้นที่ชานกรุงปารีส
มีแชล แน (Michel Ney)เขาเป็นหนึ่งใน 18 จอมพลฝรั่งเศสดั้งเดิมที่นโปเลียนทรงสถาปนา ได้รับสมญานามว่า จอมสุรโยธิน (the bravest of the brave) เขาเป็นจอมพลแห่งจักรวรรดิเพียงคนเดียวที่ถูกตัดสินประหารชีวิตเพราะเลือกที่จะไม่ภักดีต่อฟูราชวงศ์บูร์บง ภาพเหมือนโดย ฟร็องซัว เฌราร์
พระองค์ยอมรับแล้วก็ลงนามในเอกสารกับฝ่ายสัมพันธมิตรยอมแพ้ในครั้งนั้น โดยดูใจความของสนธิสัญญามีอยู่ 21 มาตรา ใจความคือการที่นโปเลียนและพระนางมารี หลุยส์ ยังคงบรรดาศักดิ์เป็นจักรพรรดิและจักรพรรดินีแต่ไม่ใช่ของฝรั่งเศส แต่เป็นของพื้นที่ที่ทางสัมพันธมิตรจะจัดสรรไว้ให้ทั้งสอง พระองค์และพระญาติจะต้องไม่มีบทบาทในทางการเมืองกับฝรั่งเศสอีกต่อไป
นโปเลียนจะต้องถูกควบคุมตัวอยู่ที่เกาะเอลบา เกาะนั้นอยู่ที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนห่างจากชายฝั่งของคาบสมุดอิตาลี อยู่ไม่ได้ไกลจากชายฝั่งของฝรั่งเศสสามารถมีบริวารได้ 400 คน มีงบประมาณในการใช้จ่ายส่วนพระองค์ 2 ล้านฟรังก์ สำหรับโอรสของพระเจ้านโปเลียนกับชายาก็คือมารี หลุยส์ ไม่ได้อยู่ร่วมกันกับพระองค์แต่ว่าอยู่กันที่ปารีสต่อไป ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้อง รัสเซีย ออสเตรีย รัสเซีย สวีเดน ยกเว้นแต่ตัวแทนผู้มีอำนาจเต็มจากอังกฤษ
ภาพวาดเหตุการณ์ สนธิสัญญาฟงแตนโบล ซึ่งนโบเลียน ยอมลงนามพ่ายแพ้ในข้อตกลงบริเวณพื้นที่ชานกรุงปารีส
การรวมตัวจากชาติต่างๆในยุโรปนั้นได้มีการเปิดประชุมเพื่อวางรากฐานการอยู่ร่วมกันของชาติยุโรปอย่างสันติ ภายใต้ซีรีส์การประชุมที่โด่งดังที่มีชื่อว่า การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา ( Congress of Vienna) ผู้ที่เป็นผู้นำในครั้งนั้น ประธานของการสร้างสันติภาพของยุโรปสืบมาก็คือ รัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรียที่มีชื่อว่า เคลเมนส์ เวนเซิล ฟอน เมทเทอร์นิช (Klemens Wenzel von Metternich) และหนึ่งคนที่มีบทบาทมากๆนั่นก็คือ ชาร์ล มอริส เดอ ตาแลร็อง-เปรีกอร์ นั่นเอง
จักรพรรดินโปเลียนยังคงมองยุโรปและบทบาทของฝรั่งเศสด้วยความกระตือรือร้นทุกวันทุกคืน หลังจากที่ถูกควบคุมตัวได้ 9 เดือน 21 วัน ในฐานะผู้เชี่ยวชาญการศึกในทุกรายละเอียด ตระหนักดีว่าการควบคุมตัวเขานั้นหละหลวม นอกจากนี้เขายังมีผู้ภักดีอีก 400 คน จึงได้วางแผนการหลบหนีออกมาจากเกาะเอลบา ผ่านทาง ปิออมบิโน (piombino) ก่อนที่จะเข้าฝรั่งเศส
ภาพวาด การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา และแผนที่ของเกาะเอลบา
ทหารหลายกรมเริ่มต้นตัดสินใจที่จะภักดีเมื่อเห็นหน้าจักรพรรดินโปเลียนและด้วยบารมีของมหาบุรุษอย่างนโปเลียน ไม่มีเสียงอื่นใดนอกจากพูดว่าจักรพรรดินโปเลียนจงเจริญ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เขาจะสามารถรวบรวมกำลังได้มหาศาลเป็นหลักแสนคน ก็ด้วยบารมีของจักรพรรดิผู้นำฝรั่งเศสสู่ความยิ่งใหญ่แบบไม่เคยมีมาก่อน
ทางฝ่ายของสหสัมพันธมิตรก็ได้เปิดศึกสหสัมพันธมิตรครั้งที่ 7 (บางทีเรียกว่าสงคราม 100 วัน ) ทหารฝรั่งเศสมี 250,000 นาย 20,000 นายเก็บเอาไว้รักษาแกนกลางอำนาจที่กรุงปารีสเพราะ ณ เวลานั้นพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 นั้นได้เสด็จออกจากปารีสไปแล้ว สหสัมพันธมิตรมีกำลังรวมกันแล้ว 850,000 นายแต่ด้วยจิตใจที่เข้มแข็งและน้ำใจหนึ่งเดียวของทหารผู้ภักดีต่อจักรพรรดินโปเลียนทำให้ตัวเขานำกองทัพหลักหรือกองทัพฝ่ายเหนือ(L'Armee Du Nord)ทำการศึกที่วอเตอร์ลู(Battle of Waterloo)
การศึกที่วอเตอร์ลู(Battle of Waterloo)
ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่เบลเยี่ยม ในวันที่ 15 มิถุนายนของปี ค.ศ.1815 จอมพลอาร์เธอร์ เวลสลีย์ แห่งอังกฤษ ณ เวลานั้นได้ดำรงตำแหน่ง ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและกองทัพรัสปรัส ซึ่งเข้ามากระหนาบทางด้านของตะวันออก กองทัพสหพันธมิตรจึงสามารถเอาชนะจักรพรรดินโปเลียนในสมรภูมิสุดท้ายได้สำเร็จ
นโปเลียนยังคงหนีการควบคุมตัวไปได้และมีความพยายามที่จะกลับไปปารีส แต่ในที่สุดรัฐบาลเฉพาะการฝรั่งเศสยอมแพ้ต่อกำลังผสมของสหสัมพันธมิตร ถูกกรีฑาทัพเข้าสู่ปารีส ในวันที่ 7 กรกฎาคม พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ถูกอัญเชิญเข้ามาครองราชย์ต่อมาเป็นครั้งที่ 2 ถือเป็นการรื้อฟื้นราชวงศ์บูร์บงเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกันในรอบเวลาแค่ไม่กี่เดือน
พลเรือโท เฟรเดอริก ลูวิส เมตแลนด์ (Frederick Lewis Maitland)
นโปเลียนถูกจับกุม โดยพลเรือโท เฟรเดอริก ลูวิส เมตแลนด์ (Frederick Lewis Maitland) และถูกนำตัวไปคุมขังที่เกาะเซนต์เฮเลน่า เป็นเกาะที่อยู่ภายใต้ บริติช เคานซิลหรือว่าราชสำนักอังกฤษเป็นเกาะที่อยู่ที่มหาสมุทรแอตแลนติกตอนล่าง
นโปเลียนอยู่ภายใต้การควบคุมตัวที่เกาะเซนต์เฮเลน่า ยาวนาน 6 ปี ก่อนที่จะจบชีวิตลงในวัย 52 ปี ในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ.1821 ศพของเขาอีก 19 ปีต่อมาถูกเคลื่อนย้ายมาฝังที่ โอเตล เดส์ แซงวาลีดส์ ที่กรุงปารีส ในปี ค.ศ.1840 ปิดตำนานจอมจักรพรรดินักรบผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุโรป
หลุมฝังศพนโปเลียนในปัจจุบันนี้ ก็ถูกเนรมิตส่วนหนึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ทางการทหารที่ฝรั่งเศส ซึ่งถือได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์การทหารที่อลังการสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
หลุมฝังศพนโปเลียน ที่โอเตล เดส์ แซงวาลีดส์
สำหรับจอมพลท่านๆอื่นที่รบเคียงบ่าเคียงไหล่กับนโปเลียน สามารถจะทำงานรับใช้ราชวงศ์บูร์บงหรือเลือกที่จะลาออกจากราชการได้ ยกเว้นก็แต่ จอมพล มีแชล แน ( Michel Ney) ซึ่งเป็นจอมพลคนแรกๆที่รบเคียงข้างและกล่าวได้ว่ามีความสามารถในการรบใกล้เคียงกับตัวจักรพรรดินโปเลียนเอง เขาเลือกที่จะไม่ภักดีต่อราชวงศ์บูร์บง ต้องโทษประหารชีวิต
วันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1815 มีแชล แน ได้มุ่งหน้าไปยังลานประหารอย่างองอาจสมกับเป็นจอมสุรโยธิน เขาเดินตรงไปยังลานประหารตรงถนน หอดูดาว (l'Observatoire) โดยไม่ต้องมีผู้คุมมาพยุงและไม่ผูกผ้าคาดตา มีแชล แนได้สั่งให้พลปืนเพชฌฆาตยิงไปที่หัวใจของเขาพร้อมกับสั่งเสียให้กับทหารว่า
ทหารทั้งหลาย...ข้าพเจ้าสั่งให้เล็งปืนไปยังหัวใจของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าฝ่าฝันกับลูกกระสุนมาหลายครั้งแล้ว นี่คือพันธกิจสุดท้ายของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ไม่เคยคิดร้ายต่อฝรั่งเศสเลยแม้แต่นิดเดียว ทหาร จงยิง!
มีแชล แน
การประหารชีวิตจอมพลแน
แม้ว่าเรื่องราวของจักรพรรดินโปเลียนจะจบลงไปแล้วแต่เรื่องราวของราชวงศ์โบนาปาร์ตจะยังไม่จบแต่เพียงแค่นี้ เรื่องราวของรุ่นต่อๆมาจะเป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหน หลายๆท่านอาจจะพอทราบแล้วว่าประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกจากประชาชนเป็นคนแรกของฝรั่งเศสเป็นหลานของลุงนโปเลียนโบนาปาร์ต ถือเป็นการกลับมาสู่อำนาจของตระกูลโบนาปาร์ต
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference ฝรั่งเศส ตอนที่ 10

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา