14 ม.ค. เวลา 09:00 • ประวัติศาสตร์
ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส ตอนที่ 9 การรับมือกับสหราชอาณาจักร

หลังจากที่สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สามจบลงได้เพียงไม่กี่เดือน ก็เกิดสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ เนื่องจากออสเตรียบอบช้ำจากสงครามครั้งก่อน ต้องลงนามในสนธิสัญญาเพร็สบวร์ค ณ นครเพร็สบวร์ค บราติสลาวาในปัจจุบันคือดินแดนบางส่วนในอิตาลีและบาวาเรียซึ่งถูกปกครองโดยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตกเป็นดินแดนของฝรั่งเศส การสูญเสียดินแดนครั้งนี้ทำให้จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 ประกาศยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และสถาปนาจักรวรรดิออสเตรียขึ้นแทน
ปรัสเซียซึ่งเป็นรัฐเยอรมันตอนเหนือที่ดำรงตนเป็นกลางในการศึกครั้งที่แล้ว ตระหนักดีกว่าเป้าหมายต่อไปของจักรวรรดิฝรั่งเศสก็คือตนนี้เอง ปรัสเซียและรัสเซียจึงจับมือเป็นพันธมิตรกัน รวมพลกันในราชรัฐซัคเซิน ปัจจุบันอยู่ที่บริเวณเยอรมันตะวันออก แต่ไม่สามารถต้านทานกองทัพจักรวรรดิฝรั่งเศสได้แม้แต่น้อย แล้วได้พ่ายแพ้สงครามที่ยุทธการที่เอย์เลา
กองทัพของนโปเลียนสวนสนามผ่านกรุงเบอร์ลินใน ค.ศ. 1806 และภาพรัฐซัคเซิน (เยอรมัน: Sachsen) หรือในภาษาอังกฤษเรียก แซกโซนี (อังกฤษ: Saxony)
ค.ศ.1907 กองทัพฝรั่งเศสเข้ายึดครองเบอร์ลินเมืองหลวงของปรัสเซีย ขยายอำนาจไปทางตะวันออกพิชิตกองทัพของเซอร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ที่ฟรีดแลนด์ ในวันที่ 14 มิถุนายน ปรัสเซียต้องขอหยุดยิงภายในเวลาเพียงแค่ 3 วันให้หลัง อันนำไปสู่สนธิสัญญาสงบศึกทิลซิต
นักรบสำคัญๆในสมรภูมินี้ ที่เรียนในโรงเรียนทหารด้วยกันกับนโปเลียน คือ ฌออากีม มูว์รา (Joachim Murat) ซึ่งได้สมรสกับ กาโอลีน โบนาปาร์ต (Caroline Bonaparte) น้องสาวแท้ๆของนโปเลียน โบนาปาร์ต ดังนั้นมีศักดิ์เป็นน้องเขย เขามีส่วนร่วมในยุทธการที่อุล์ม, เอาสเทอร์ลิทซ์, เยนา, เอย์เลา ในฐานะแม่ทัพทหารม้าผู้เก่งกาจ
ฌออากีม มูว์รา (Joachim Murat) และนางกาโอลีน โบนาปาร์ต (Caroline Bonaparte) น้องสาวแท้ๆของนโปเลียน โบนาปาร์ต
นโปเลียน โบนาปาร์ต เริ่มคิดว่าการที่จะพิชิตสหราชอาณาจักรผู้เป็นศัตรูคู่แค้นตลอดกาลได้ ไม่น่าจะใช่แสนยานุภาพได้อย่างเดียว จึงต้องมีการกดดันในเรื่องการค้าเพื่อตัดกำลังทางเศรษฐกิจด้วย ฝรั่งเศสจึงเริ่มว่างระบบที่เรียกว่า ระบบคอนติเนนท์ (Continental System) คือเป็นกฎหมายห้ามดินแดนในปกครองของฝรั่งเศสทำการค้ากับอังกฤษ แล้วเรือของอังกฤษก็ห้ามเทียบท่าในดินแดนที่อยู่ภายใต้ระบบนี้ ก็หมายถึงพื้นที่ทวีปยุโรปเกือบทั้งหมด
คู่ค้าที่สำคัญของอังกฤษก็คือประเทศที่อยู่ในดินแดนยุโรป ทั้งไม่สามารถค้าขายได้อังกฤษจะเอาเงินทองที่ไหนมาทำสงครามได้ ซึ่งระบบนี้จะทำให้ฝรั่งเศสต้องรบกับรัสเซียในเวลาต่อมา
แผนที่ของโปรตุเกส-สเปน
ณ เวลานั้นฝรั่งเศสทรงอำนาจแทบจะทั่วยุโรปเพราะทางตะวันตกก็มีสเปนเป็นพันธมิตร แต่เหลือเพียงประเทศเดียวเท่านั้น ที่ไม่ได้อยู่ใต้อาณัติก็คือ โปรตุเกส แล้วโปรตุเกสเป็นพันธมิตรกับสหราชอาณาจักร คนอย่างนโปเลียนไม่ยอมให้มีให้ช่องว่างใดๆในระบบคอนติเนนท์ ดังนั้นจึงส่งกองกำลังผสมของฝรั่งเศส-สเปน เข้าไปจัดการ จนสามารถเอาโปรตุเกสมาเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฝรั่งเศส
เมื่อเรื่องมาถึงขั้นนี้ฝรั่งเศสเองก็เริ่มมองสเปนไม่ใช่พันธมิตรอีกต่อไปแล้ว แต่ควรจะมาอยู่ใต้อาณัติจักรวรรดิฝรั่งเศสด้วย นโปเลียน โบนาปาร์ต ได้รับคำแนะนำภายใต้รัฐมนตรีต่างประเทศก็คือ ชาร์ล มอริส เดอ ตาแลร็อง-เปรีกอร์ (Charles Maurice de Talleyrand-Périgord) มองแบบนี้ต้องบีบให้สเปนเป็นของตัวเอง เริ่มบีบให้กษัตริย์ พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 แห่งสเปน (Fernando VII ) และพระชนก พระเจ้าการ์โลสที่ 4 แห่งสเปน (Carlos IV) สละราชบัลลัง แน่นอนว่าทางสเปนไม่ยอม กองทัพฝรั่งเศสโดนต่อต้านทางสเปนอย่างรุนแรง
ชาร์ล มอริส เดอ ตาแลร็อง-เปรีกอร์ และ พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 แห่งสเปน (Fernando VII ) และพระชนก พระเจ้าการ์โลสที่ 4 แห่งสเปน (Carlos IV) ตามลำดับ
ในเวลานั้นกองทัพฝรั่งเศสอยู่ภายใต้การนำของ ฟรานซิสโก ฮาเวียร์ คาสตาโนส (Francisco Javier Castanos) เอาชั้นสงครามทางบกเหนือฝรั่งเศสได้ ซึ่งอยู่ในการบังคับบัญชาของ ปิแอร์ ดู ปงต์(Pierre du pont) สมรภูมินั้นคือ อันดาลูเซีย ตอนใต้ของสเปน ซึ่งถือเป็นการพ่ายแพ้บนสมรภูมิทางบกครั้งแรกของนโปรเลียน สถานการณ์แบบนี้ อังกฤษค่อยท่าอยู่แล้ว ย่อมไม่นิ่งเฉย
สำหรับอังกฤษเองไม่ได้มีดีแค่เฉพาะกองทัพเรือ สมรภูมิครั้งนี้อังกฤษได้ส่งนายทัพฝีมือฉมังที่ผ่านมาหลายสงครามเชื้อสายไอรีส อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน (Arthur Wellesley) ให้เข้าไปช่วยเหลือกองทัพปลดแอกโปรตุเกสสเปน สงครามที่เกิดขึ้นระหว่าง ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกสนี้เรียกว่า สงครามคาบสมุทรไอบีเรีย (Guerra Peninsular) ค.ศ.1809-1814
Guerra Peninsular War และภาพ ฟรานซิสโก ฮาเวียร์ คาสตาโนส (Francisco Javier Castanos)
ด้วยสงครามที่กินระยะเวลายาวนานนี้ ทำให้รัฐบริวารต่างๆเห็นจักรวรรดิฝรั่งเศสถอนทหารออกจากพื้นที่ต่างๆมากกว่าแสนนาย เพื่อไปเติมกำลังที่คาบสมุทร ดังนั้นนี้ถือเป็นโอกาสที่จะประกาศสงคราม เพื่อทวงดินแดนต่างๆที่เคยเสียไปกลับคืนมา
เอร์เซอร์ซ็อก คาร์ล ฟอน ออสเตอร์ไรช์-เทสเชิน (Erzherzog Karl von Österreich-Teschen) เป็นผู้นำทัพออสเตรีย และนี่จึงกลายเป็นสงครามมหาสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้า ด้วยความคาดหวังว่า ปรัสเซียจะเข้าร่วมด้วย แต่ปรัสเซียเองก็บอบช้ำเกินกว่าจะร่วมรบ จึงนิ่งเฉยและวางตัวเป็นกลาง
ในขณะที่ทางฝรั่งเศสมีจอมพลที่ชื่อ หลุยส์-อาแล็กซ็องดร์ แบร์ตีเย (Louis Alexandre berthier) ในการนำทัพจักรวรรดิฝรั่งเศสและถึงแม้จะมีสงครามติดพันทั้งสองทางแต่แสนยานุภาพทางทหารมีอย่างเต็มเปี่ยม ก็ไม่ได้ทำให้กองทัพอ่อนแอลงไปเลย และใช้เวลาเพียง 6 เดือนในการพิชิตศึกเหนือดินแดนออสเตรีย ต่อมาได้มีการทำสนธิสัญญาเชินบรุนน์ ณ กรุงเวียนนา จักรวรรดิออสเตรียจำยอมต้องเสียดินแดนจำนวนมากแก่รัฐบริวารของฝรั่งเศส รวมถึงดินแดนที่ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พื้นที่นั้นปัจจุบันคือทางเหนือของอิตาลี
อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน (Arthur Wellesley), เอร์เซอร์ซ็อก คาร์ล ฟอน ออสเตอร์ไรช์-เทสเชิน (Erzherzog Karl von Österreich-Teschen) , หลุยส์-อาแล็กซ็องดร์ แบร์ตีเย (Louis Alexandre berthier) ตามลำดับ
ทางออสเตรียได้ส่งเจ้าหญิงอาร์ชดัชเชสมารี ลูซิอา มาอภิเษกสมรสกับจักรพรรดินโปเลียนเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และได้ดำรงพระยศเป็นจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศสในพระนาม มารี หลุยส์ แทนที่โฌเซฟีน เดอ โบอาร์แนที่ได้ยุติการสมรสในเดือนมกราคม ค.ศ.1810 และพระนางมารี หลุยส์ ยังได้ให้กำเนิดพระโอรสพระองค์เดียวของจักรพรรดินโปเลียน
อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน ซึ่งอังกฤษได้ส่งมานั้นเริ่มตั้งมั่นในโปรตุเกส และผนึกกำลังกับสเปนและโปรตุเกส สงครามคาบสมุทรไอบีเรียดำเนินไปจนกระทั่งสามารถเอาชนะนโปเลียนได้ในสงครามประสานมิตรครั้งที่หก จะขอหยุดเรื่องไว้ตรงนี้ก่อนนะครับ เพราะนี้เป็นเหตุการณ์ทางตะวันตกของฝรั่งเศส
เจ้าหญิงอาร์ชดัชเชสมารี ลูซิอา แห่งออสเตรีย ,จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย , เจ้าหญิง อันนา ปาฟโลฟนา (Anna Pavlovna) ตามลำดับ
ไม่ว่าจะมีสงครามกี่ครั้งประเทศที่เป็นเสมือนหอกข้างแคร่ เป็นประเทศที่นโปเลียนเกลียดที่สุดนั้นก็คือ สหราชอาณาจักรอังกฤษ การจะยกกำลังไปตีเกาะอังกฤษเป็นสิ่งที่ยากแล้วก็แถบจะเป็นไปไม่ได้ นโปเลียนจึงพยายามทำ ระบบคอนติเนนท์ (Continental System) เกิดขึ้นมาให้ได้ โดยส่งทหารไปปิดเมืองท่าหลายแห่งเพื่อปิดเส้นทางการค้าของอังกฤษ
สำหรับคนที่มีบทบาทในการเชิญให้รัฐต่างๆมาอยู่ในระบบคอนติเนนท์ ก็คือรัฐมนตรีหกหัว ชาร์ล มอริส เดอ ตาแลร็อง-เปรีกอร์ (หกหัวเพราะเขารับใช้ 6 รัฐบาล) ไม่เพียงแต่อังกฤษเท่านั้นที่เจอกับความท้าทายนี้ เพราะประเทศในยุโปรเองอย่าง รัสเซียก็เจอปัญหานี้เหมือนกัน จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ทรงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับนโปเลียน แต่พระองค์ทนไม่ไหวกับระบบคอนติเนนท์ที่ห้ามค้าขายกับอังกฤษ
The Continental System 1806 – 1810
พระองค์ทรงยกเลิกระบบคอนติเนนท์ ธันวาคม ค.ศ.1810 เบื้องต้นนโปเลียนจะแก้เกมส์โดยจะไปสมรสกับเจ้าหญิง อันนา ปาฟโลฟนา (Anna Pavlovna) แต่จังหวะไม่ดีเมื่อออสเตรียได้ยกเจ้าหญิงอาร์ชดัชเชสมารี ลูซิอา ให้กับนโปเลียนไปแล้ว หมายความว่าออสเตรียกระชับสัมพันธ์มากกว่ารัสเซีย จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 ทรงไม่พอพระทัยอยู่แล้ว จึงยืนคำขาดให้กับจักรวรรดิฝรั่งเศสถอนทหารทั้งหมดออกจากปรัสเซีย ในปี ค.ศ.1812 แน่นอนว่านโปเลียนไม่ยอม
ด้วยความมั่นใจในตัวเองอย่างมากล้นของนโปเลียน บวกกับความเชื่อมั่นในศักยภาพทางทหารที่มีอยู่เต็มเปี่ยม จึงคิดว่า ทหารของฝรั่งเศสสามารถเอาชนะทหารทุกประเทศได้ ดังนั้นเราจึงต้องสั่งสอนรัสเซียบ้าง แต่ดูเหมือนมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่ได้เป็นไปตามที่นโปเลียนคาดหวังไว้ ดั่งคำที่ว่า ”ไม่มีใครเป็นผู้ชนะตลอดกาล ตราบใดที่ไม่รู้จักพอ”
ติดตามตอนต่อไป

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา