16 มี.ค. เวลา 00:30 • หนังสือ

เรื่องเล่าข้างคิด EP. 121

“ความเหงาเป็นเหตุ”
“คุณคิดว่าความเหงาทำร้ายคนได้ไหม?”
ลุงพละอายุใกล้จะ 80 ปีแล้ว อยู่ตามลำพังกับน้องสาวที่ไม่ค่อยสมประกอบ ลุงพละครองตัวเป็นโสดมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ลุงพละ ต้องคอยดูแลแม่สูงวัยด้วย แต่มาบัดนี้แม่ได้ตายจากเขาไปแล้วหลายปี
ปกติลุงพละเป็นคนชอบเดินทางท่องเที่ยว ทุกวันหยุดเขาจะพาตนเองไปเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ แต่จะพยายามไม่ค้างคืน เพราะมีแม่ และน้องสาวคอยอยู่ที่บ้าน เวลาปกติ เขาจะเดินไปตลาดด้วยตนเอง ในวัยนี้เขาเป็นคนที่แข็งแรงกว่าคนในวัยเดียวกัน ไม่มีโรคประจำตัว แต่มีความกังวลเป็นทุนเดิมอยู่บ้าง มักหายาสามัญประจำบ้านต่าง ๆ มาทานเป็นประจำ
ในช่วงโควิดที่ผ่านมา ลุงพละไม่ได้ฉีดวัคซีน น้องชายจึงห้ามไม่ให้ไปไหน เกรงว่าจะไปติดเชื้อโควิดกลับมา และจะทำให้อาการหนัก
ตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ลุงพละอยู่แต่บ้าน กับน้องสาวซึ่งไม่สมประกอบ เลยทำให้ชีวิตเหงาหงอยเศร้าสร้อย
คนคุยด้วยน้อยลง เพราะแทบไม่ได้เจอผู้คนเลย คนข้างบ้านที่เคยคุยด้วยก็มาตายจากไปด้วยโควิดอีก มีเพียงน้องชายที่แวะเวียนเข้าไปหา หรือ ถ้าไม่ได้เข้าไปก็จะโทรหา พี่สาวซึ่งอยู่ห่างไกลกันทำได้เพียงแค่โทรศัพท์ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ ไม่สามารถไปมาหาสู่ได้เหมือนเคย
เมื่อโควิดเริ่มซา ผู้คนหันมาใช้ชีวิตนอกบ้านกันมากขึ้น
แต่อนิจจา! ลุงพละที่เคยแข็งแรง บัดนี้สุขภาพทางกายเริ่มรวน มีปัญหาสุขภาพรุมเร้า 3 วันดี 4 วันไข้
น้องชายต้องพาไปตรวจที่โรงพยาบาลบ่อยครั้ง ผลปรากฏว่าหมอตรวจไม่พบว่าเป็นโรคอะไร แต่ลุงจะมีอาการมากขึ้นทุกครั้งที่น้องชายห่างออกไป เวลาที่ต้องไปทำธุรกิจที่ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ
คุณคิดว่า สาเหตุที่ลุงพละ เป็นเช่นนี้เพราะอะไร?
ความเหงาใช่ไหม?
ความเหงาทำให้ผู้คนคิดมาก คิดฟุ้งซ่าน
และสิ่งหนึ่งที่หลายคนไม่รู้ก็คือกระบวนหนึ่งของจิตใต้สำนึกที่ เมื่อใดก็ตามที่เราคิดเรื่องใดซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ถี่ ๆ จิตใต้สำนึกจะส่งพฤติกรรม หรือ ความไม่สบาย บางอย่างออกมา เพื่อให้เจ้าของได้ในสิ่งที่ต้องการ
ในกรณีนี้ ลุงพละเหงา ต้องการคนมาคุยด้วย แต่ในเมื่อไม่มีใครมาคุย ไม่มีใครมาสนใจเขามากเท่าที่ต้องการ จึงมีอาการทางกายบางอย่าง เพิ่อดึงคนรอบข้างให้หันมาสนใจ มาใส่ใจดูแลตนเอง โดยอาศัยการเจ็บป่วยทางกายเป็นเหตุจูงใจ
นี่แค่เป็นอุทาหรณ์หนึ่ง และยังมีตัวอย่างอีกหลายตัวอย่างในชีวิตจริงที่สะท้อนถึงเรื่องนี้
อาทิเช่น คนสูงวัยที่มีหน้าที่ มักจะกระฉับกระเฉงกว่าคนสูงวัยที่ไม่มีหน้าที่ อยู่ไปแบบวันต่อวัน
หรือ คนสูงวัยที่มีกิจกรรม หรือ มีเพื่อนฝูง ให้คอยไปหา ไปพบปะพูดคุย มักดูกระฉับกระเฉงกว่าคนสูงวัยที่อยู่แต่บ้าน เป็นต้น
คราวหน้าหากคนที่บ้านของท่านเป็นแบบลุงพละ ลองหยุดคิดและหาเหตุผลดูทีรึว่า เป็นแบบลุงพละหรือเปล่า ถ้าใช่!!!
คุณคงรู้แล้วนะว่า "ควรทำอย่างไร?"
สวัสดี
โค้ชสุนีย์ เอี่ยมแสงสิน
ที่ปรึกษาการเงิน
เจ้าของหนังสือ “รู้ 4 สิ่งนี้ การเงินดีตลอดกาล”
และ “จัดการเงินดี เงินก็ไม่หนีไปหาคนอื่น”
#รู้4สิ่งนี้การเงินดีตลอดกาล
#เทคนิคง่ายและกระชับเพื่อยกระดับฐานะการเงิน
#จัดการเงินดีเงินก็ไม่หนีไปหาคนอื่น
#อ่านเองยังยิ่งอ่านยิ่งอินคนอื่นอ่านยุ่อมยังประโยชน์ได้แน่นอน
#หนังสือการเงินที่อ่านง่าย
#ต้องมีไว้ติดบ้าน
#เด็กอ่านได้
#ผู้ใหญ่อ่านดี
#เสริมภูมิคุ้มกันด้านการเงิน
#คู่คิดประจำบ้าน
#เพจโค้ชสุนีย์ที่ปรึกษาการเงิน
#พู่สร้าง
#พู่คือพู่กัน
#สร้างคือสร้างแรงบันดาลใจ
#ถ้าเรื่องเหล่านี้ได้จุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจให้ใครสักคน
ลุกขึ้นมาเปลี่ยนชีวิตตนให้ดีขึ้น
เมื่อนั้นก็ถือว่าพู่สร้างประสบความสำเร็จแล้ว
#ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา