Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ประวัติZaad!
•
ติดตาม
13 มี.ค. 2024 เวลา 07:04 • ประวัติศาสตร์
ชวนรู้จัก Robert Oppenheimer บิดาแห่งระเบิดปรมาณู ผู้พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ให้เปลี่ยนไปตลอดกาล
หลังจากกวาดรางวัล ‘ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม’ และรางวัลอื่นๆ อีกกว่า 6 รางวัลประจำเวทีออสการ์ 2024 นี้ไปหมาดๆ นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จเลยก็ว่าได้ของภาพยนตร์คุณภาพอย่าง “Oppenheimer” ผลงานล่าสุดของผู้กำกับมากฝีมืออย่าง คริสเตอร์เฟอร์ โนแลน (Christerpher Nolan) เราเชื่อว่าคอหนังหลายคนน่าจะได้รับชมภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวกันไปแล้ว และได้เห็นแล้วว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ควรค่าแก่รางวัลออสการ์ขนาดไหน
วันนี้ ประวัติ Zaad! จึงอยากมาเล่าเรื่องราวชีวประวัติของ เจ โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ (J. Robert Oppenheimer) บิดาแห่งระเบิดปรมาณู และเจ้าของเรื่องราวในภาพยนตร์ออปเพนไฮเมอร์ ผู้พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์โลกให้เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาลด้วยสองมือของเขา
#ชีวิตวัยเด็กและการเรียน
โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ หรือ จูเลียส โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ (Julius Robert Oppenheimer) เกิดที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 22 เมษายน 1904 ครอบครัวของเป็นชาวยิวเชื้อสายเยอรมันที่อพยพมาอยู่ที่สหรัฐฯ ออปเพนไฮเมอร์เป็นหนึ่งในเด็กที่ฉลาดมากคนหนึ่ง เขามีความสนใจในเรื่องของวิทยาศาสตร์และธาตุทางเคมีมาตั้งแต่เด็ก จนถูกสมาคมแร่วิทยานิวยอร์ก (New York Mineralogical Club) เชิญไปบรรยายในระดับมหาวิทยาลัย โดยไม่รู้เลยว่าเขาอายุเพียง 12 ปี เท่านั้น
ออปเพนไฮเมอร์ในวัย 19 ปี ได้เข้าศึกษาด้านเคมี ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และยังได้ลงเรียนวิชาด้านปรัชญา วรรณคดีฝรั่งเศส และปรัชญาเพิ่มเติมด้วย ซึ่งวิชาเหล่านี้ได้หล่อหลอมให้เขาเป็นคนที่มีบุคคลที่มีความคิดซับซ้อนมากที่สุดคนนึงเลยก็ว่าได้ หลังจากจบการศึกษาในเวลาแค่ 3 ปี ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1
หลังจากเรียนจบเขาได้เริ่มต้นศึกษาต่อด้านฟิสิกส์ ซึ่งเป็นด้านที่เขามีความสนใจมากที่สุดในระดับปริญญาโท โดยได้เป็นส่วนหนึ่งห้องทดลองคาเวนดิช ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ในฐานะผู้ช่วยวิจัยของ เจ. เจ. ธอมสัน (J. J. Thomson)
.
จากความสนใจด้านฟิสิกส์ที่มีอย่างล้นหลามทำให้ออปเพนไฮเมอร์เข้าศึกษาต่อปริญญาเอกด้านฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยเกททิงเงน ในประเทศเยอรมนี โดยเขาจบปริญญาเอกด้วยวัยเพียง 23 ปีเท่านั้น
#ชีวิตวัยทำงานและโครงการแมนฮัตตัน
หลังจากเรียนจบ เขาได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ สังกัดมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียน เบิร์กลีย์ และสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียแห่งละ 6 เดือน ในระหว่างนั้นเขาได้ทำงานร่วมกับนักฟิสิกส์ผู้มีชื่อเสียงมากมาย และนักฟิสิกส์เหล่านี้นี่เองที่จะเป็นส่วนหนึ่งของผู้ร่วมวิจัยด้านระเบิดปรมาณูกับเขาในอนาคต
ในปี 1941 ระหว่างที่เขาทำงานในตำแหน่งศาสตราจารย์อยู่นั้น สหรัฐฯ ได้ประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 กับฝ่ายสัมพันธมิตร ประกอบกับช่วงเวลานั้นมีข่าวลือเรื่องการคิดค้น ระเบิดปรมาณู ของฝ่ายนาซีเยอรมันพอดี ทำให้สหรัฐฯ จำเป็นต้องเร่งสร้างระเบิดปรมาณูให้สำเร็จก่อนนาซี
สหรัฐฯ จึงได้รวบรวมนักเคมี นักฟิสิกส์ และวิศวกร ระดับแนวหน้าของประเทศ มาร่วมใน “โครงการแมนฮัตตัน” เพื่อพัฒนาอาวุธดังกล่าว ทางออปเพนไฮเมอร์เองก็ถูกดึงตัวมาด้วยเช่นกัน โดยเขาได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการสร้างระเบิดปรมาณู ทั้งนี้เขาได้ลาออกจากตำแหน่งศาสตราจารย์ในท้ายที่สุด เพื่อมาทุ่มเทกับโครงการนี้อย่างเต็มที่
โครงการแมนฮัตตันขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรเข้าร่วมราวๆ 6,000 คน แต่ถึงอย่างนั้น โครงการดังกล่าวก็ถูกปกปิดเป็นความลับ จนเรียกได้ว่าไม่เพียงแต่ศัตรูที่ไม่รู้ ประชาชนในพื้นที่เองก็แทบไม่มีใครรู้เลยด้วยซ้ำว่าระแวกเมืองของตัวเองมีโครงการดังกล่าวตั้งอยู่
ถัดมาเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 1945 ได้เริ่มมีการทดสอบระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกขึ้นที่กลางทะเลทรายในรัฐนิวเม็กซิโก พบว่าระเบิดดังกล่าวมีพลังมหาศาลกว่าที่หลายฝ่ายคาดกันเอาไว้ ว่ากันว่า แสงจากการระเบิดของมันสว่างจ้ามากจนทำให้หญิงตาบอดคนหนึ่งที่อยู่ห่างออกไปหลายไมล์เห็นแสงระเบิดได้
หลังจากการทดลองครั้งดังกล่าว ได้มีการจดบันทึกเอาไว้ว่า สหรัฐฯ ได้มีการใช้ระเบิดปรมาณู 2 ครั้งในสงคราม คือ ที่เมืองฮิโรชิมะและเมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ตามลำดับ ส่งผลให้ประเทศญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเวลาถัดมา
จากการทิ้งระเบิดครั้งดังกล่าว ทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายคนในโครงการฯ เริ่มตระหนักต่อการกระทำของตัวเองและสิ่งที่พวกเขาคิดค้นขึ้นมา ว่าระเบิดปรมาณูคือสิ่งที่ถูกหรือผิดกันแน่ ท้ายที่สุดพวกเขาต่างเริ่มทยอยลาออกจากโครงการฯ ไปทีละคนสองคน รวมถึงออปเพนไฮเมอร์ด้วยเช่นกัน
หลังจากนั้นเขาได้เดินทางไปยื่นจดหมายต่อรัฐมนตรีกระทรวงการสงคราม เพื่อต้องการให้รัฐบาลยุติการใช้อาวุธนิวเคลียร์ อย่างไรก็ดีการเจรจาดังกล่าวก็ไม่ประสบผลสำเร็จแต่อย่างใด และสหรัฐฯ เอง ก็ยังคงเดินหน้าวิจัยเกี่ยวระเบิดนิวเคลียร์ต่อในช่วงสงครามเย็น
การทิ้งระเบิดที่ญี่ปุ่นและความเสียหายที่เกิดขึ้น ถือเป็นตราบาปในใจของออปเพนไฮเมอร์จนถึงบั้นปลายชีวิต
#ชีวิตภายหลังสงคราม
การแสดงออกเชิงต่อต้านต่อการพัฒนาระเบิดปรมาณู ประกอบกับการหวาดกลัวต่อคอมมิวนิสต์ของสหรัฐฯ ทำให้ทางการสหรัฐฯ กล่าวหาว่าเขาเป็นพวก ‘คอมมิวนิสต์’
.
ประกอบกับ แคทเทอรีน พิวนิง (Katherine Puening) ภรรยาของเขา และแฟรงก์ น้องชายของ เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหรัฐอเมริกา นั่นจึงทำให้เขาพลอยโดนหางเลขจากทางการไปด้วย ทำให้เขาถูก FBI สอบสวนอย่างจริงจัง แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
อย่างไรก็ดี ความบริสุทธิ์ใจของเขาไม่สามารถลบรอยด่างพร้อยที่เกิดจากการถูกใส่ร้ายนี่ได้ เขาสูญเสียตำแหน่งและหน้าที่ทางวิชาการของเขาไปเกือบหมด
.
ออปเพนไฮเมอร์ต่อต้านการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต เขาเสียชีวิตด้วยวัย 62 ปี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 1967 ด้วยโรคมะเร็งลำคอ ที่บ้านในพรินซ์ตัน รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา
#ทิ้งท้ายก่อนจากลา
นักวิชาการมากมายต่างกล่าวว่าเขาคือสัญลักษณ์ของนักวิทยาศาสตร์ผู้เพลี่ยงพล้ำต่อจริยธรรม แม้ว่าการพัฒนาระเบิดปรมาณูของเขาจะสร้างความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ไปมากมายเพียงใด ทว่านั้นยิ่งเป็นการพิสูจน์ว่าวิทยาศาสตร์ก็ได้คร่าชีวิตผู้คนบริสุทธิ์ไปมากมายเช่นกัน
.
แล้วทุกคนล่ะคิดเห็นอย่างไร?
1
หากทุกท่านชอบเนื้อหาคอนเทนต์ของเราสามารถติดตามกันต่อเพิ่มเติมได้ที่
Instagram:
https://www.instagram.com/prawadzaad__?utm_source=ig_web_button_share_sheet&igsh=ZDNlZDc0MzIxNw==
Facebook:
https://www.facebook.com/profile.php?id=100093686675444
ประวัติศาสตร์
สหรัฐอเมริกา
สงคราม
1 บันทึก
3
4
1
3
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย