6 เม.ย. เวลา 07:08 • ประวัติศาสตร์

ตอนที่ 2 สู่ทวิปใหม่และการเดินทางหาเครื่องเทศ

ความเดิมตอนที่แล้ว..โคลัมบัสสามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลแลนติก แล้วไปพบกับสิ่งที่เขาเข้าใจว่าคือ “อินเดียทางตะวันตก” ทั้งที่จริงๆแล้วก็คือ “เกาะบาฮามาส” ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของทวีปอเมริกา
โดยที่ตัวเขาเองก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า..นั่นคือ“แผ่นดินใหม่“ ที่ยังไม่เคยมีใครค้นพบมาก่อน ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่การสำรวจโลกในครั้งนี้ ณ เวลานั้น เป็นการแข่งขันกันระหว่างราชสำนัก 2 แห่ง คือราชสำนักสเปน กับราชสำนักโปรตุเกส
ซึ่งบางครั้งการค้นพบอาจจะชักนำไปสู่การขัดแย้งกันในภายหน้าได้ เพราะว่า..แผนที่ใหม่ และดินแดนแห่งใหม่เองนั้น ก็ยังไม่เคยมีใครรับรู้ว่า..อยู่ตรงส่วนไหนของโลก ?? และหน้าตาเป็นอย่างไร???
สนธิสัญญาตอร์เดซิยัส
ในการแข่งขันของ 2 ราชสำนักคือ สเปนและโปรตุเกส นั้น ก่อให้เกิดสนธิสัญญาที่เป็นการแบ่งอาณาเขตของการสำรวจโลกใหม่ ที่มีชื่อว่า “สนธิสัญญาตอร์เดซิยัส” ซึ่งในช่วงเวลานั้นเอง
หลังจากที่ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ได้พบกับ “บาฮามาส”แล้ว ก็ยังคงเดินเรือไปยังพื้นที่อื่นๆ ในดินแดนที่เขาคิดว่าคือ “อินเดียตะวันตก” เขาเดินทางไปทั้งหมด 4ครั้งด้วยกัน และเขาเป็นส่วนหนึ่งที่จุดประเด็นนี้ จนกลายเป็นข้อพิพาททำให้เกิดสนธิสัญญาฉบับนี้ขึ้นมา
เพราะเขาได้เดินทางไปยัง ”เกาะคะแนรีส์“ (canary) ซึ่งเขาบอกว่า พื้นที่เกาะตรงนี้เป็นพื้นที่ของสเปน แต่โปรตุเกสกลับบอกว่า ”ไม่ใช่“..พื้นที่ตรงนี้ไม่ไกลจากแผ่นดินของเรา จึงต้องเป็นพื้นที่ของเรา“.. ดังนั้นเมื่อ 2 มหาอำนาจทางทะเลของโลก ได้เจอกับปัญหานี้เข้า จนทำให้เกิดความขัดแย้งกัน
เส้นทางการเดินเรือของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ทั้ง 4 ครั้ง
ซึ่งในอนาคต ถ้ากองเรือทั้ง 2 เดินทางไปสำรวจแล้ว เกิดทับเส้นทางกันล่ะ จะทำอย่างไร??? ดังนั้นทั้ง 2 ฝ่ายจึงตกลงเห็นควรกันว่า..เรามาร่วมกันทำสนธิสัญญาสักฉบับหนึ่ง เพื่อแบ่งเขตกันให้ชัดเจนไปเลยว่า…ใคร? จะเป็นผู้สำรวจในโซนไหนกันได้บ้าง
ในปี ค.ศ.1494 คือ 2 ปี หลังจากที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสเดินทางไปพบบาฮามาสแล้ว ราชสำนักทั้ง 2 แห่งได้มีการตกลงกันในสนธิสัญญาฉบับนี้ ทางฝ่ายของโปรตุเกส นำโดยพระเจ้าฌูเอาที่ 2 (Joao ll de Portugal) และ สเปนโดยราชวงศ์กัสติยา-เลออน โดยกษัตริย์เฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน (Fernando ll de Aragon) และ พระราชินีอิสซาเบลอลาแห่งกัสติยา
ครั้งนั้นได้มีการลงนามกันโดยผู้ที่เป็นสักขีพยานคนสำคัญ ก็คือ สมเด็จพระสันตะปาปาอเลสซานโดรที่ 6 ด้วย ”สนธิสัญญาตอร์เดซิยัส“ ฉบับนี้ได้มีการลงนามกัน ณ เมืองตอร์เดซิยัส ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วเป็นเมืองอะไรในสเปน
เส้นแบ่งโลกระหว่างสเปนกับโปรตุเกส ได้แก่ เส้นเมริเดียนตามสนธิสัญญาตอร์เดซิยัส ค.ศ. 1494 (สีม่วง) และเส้นเมริเดียนฝั่งตรงข้ามตามสนธิสัญญาซาราโกซา ค.ศ. 1529 (สีเขียว) ซึ่งเป็นการปรับเปลียนเส้นแบ่งหลังค้นพบอเมริกา
เมื่อลงนามกันเสร็จ ได้มีการประกาศใช้ ณ เมืองเซตูบัล ที่โปรตุเกส รายละเอียดในสนธิสัญญาฉบับนี้คือ “ การขีดเส้นแบ่งว่า..พื้นที่ใดจะเป็นพื้นที่การสำรวจของสเปน และพื้นที่ใดจะเป็นพื้นที่การสำรวจของโปรตุเกส ” ซึ่งถ้าหากว่าเราดูแผนที่โลกในปัจจุบันอาจจะพอเข้าใจได้ไม่ยากนัก
แต่เราต้องยอมรับกันว่า ในช่วงเวลานั้น ยังไม่มีใครที่จะมีแผนที่โลกฉบับสมบูรณ์แบบเหมือนอย่างทุกวันนี้ เพราะฉะนั้นการขีดเส้นแบ่งพื้นที่สำรวจอาจจะเป็นการขีดเส้นแบ่งที่วางอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจของคนในเวลานั้น
เป็นการยากที่จะอธิบายให้เห็นภาพได้ แต่ว่านักประวัติศาสตร์ในยุคนี้ ก็ทำความเข้าใจและสามารถขีดเส้นการแบ่งพื้นที่ในวันนั้นออกมาได้ ตามเนื้อหาหลักในสนธิสัญญาตอร์เดซิยัส ซึ่งเส้นการแบ่งพื้นที่ที่ได้นั้น ต้องบอกว่า มีการปรับเปลี่ยนกันอยู่หลายครั้ง จนกระทั่งมาตกผลึก ในยุคของพระสันตปาปายูริชที่ 2 (Pope Julius ll) จึงได้มีการขีดเส้นแบ่งและมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
สมเด็จพระสันตะปาปาอเลสซานโดรที่ 6 และ พระสันตปาปายูริชที่ 2 (Pope Julius ll) ตามลำดับ
ต้องบอกแบบนี้ว่า..ผู้ที่ทำสัญญาตกลงกันมีแค่ 2 ฝ่าย คือ โปรตุเกสและสเปน ประเด็นสำคัญคือ ชาติยุโรปอื่นๆ ที่มีกองเรือเช่นกัน ซึ่งในอนาคต พวกเขาอาจจะมีความสามารถในการเดินหน้าสำรวจโลกเหมือนกัน พวกเขาจะมองว่าอย่างไร?? ไม่มีชาติไหนที่มีความสุขหรือแฮปปี้ กับสนธิสัญญาฉบับนี้
เพราะพวกเขาก็มองว่า..โลกใบนี้ยังมีชาติอื่นๆ อีกมาก ที่มีความสามารถในการสำรวจ หรือค้นหาเพื่อเข้าถึงดินแดนใหม่ๆ แล้วทำไม? จะต้องให้อำนาจเฉพาะกับสเปนและโปรตุเกสด้วยล่ะ .. และต่างก็แสดงท่าที่เมินเฉย
เพราะว่าประเทศต่างๆในเวลานั้น อาจจะยังโรมรันพันตูกันอยู่กับปัญหาภายใน หรือปัญหากับประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นจึงยังไม่มีใครหรอกที่จะกล้ายกมือขึ้นแล้วบอกว่า..“จะไม่เคารพในสนธิสัญญาตอร์เดซิยัส” ในที่สุดแล้ว 2 มหาอำนาจจึงมีเส้นขีดจากสนธิสัญญาในการครอบคลุมพื้นที่ว่า..ใครจะมีความสามารถ
ใครที่จะมีสิทธิ์ในการเดินหน้าสำรวจพื้นที่ฝั่งใดกันบ้าง หากว่าเรามองตามเส้นที่ขีดในปัจจุบัน ซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนไปแล้ว จะพบว่ามหาสมุทรอินเดีย รวมถึงบางส่วนของมหาสมุทรแอตแลนติก ตกเป็นของโปรตุเกส
วัชกู ดา กามา Vasco da Gama
เส้นที่ขีดนั้นได้ล้ำเกินเข้าไปทางทิศตะวันตก จนถึงชั้นในของทวีปโลกใหม่ ให้ตกเป็นของสเปน ซึ่ง ณ ขณะในช่วงเวลานั้น.. พวกเขายังไม่รู้อะไรกันเลย และให้ถือเป็นการขีดเส้นแบ่งเขตกันอย่างชัดเจนด้วย
หลังจากที่ “สนธิสัญญาตอร์เดซิยัส” มีผลบังคับใช้ได้ 4 ปีต่อมาคือ ปี ค.ศ.1498 โปรตุเกสก็ประสบความสำเร็จในการต่อยอดความพยายามของ บาร์โทโลมิว เพราะกองเรือสำรวจภายใต้การนำของ กัปตันเรือคนใหม่คือ “วัชกู ดา กามา ” (Vasco da Gama)
ได้เดินเรือเลียบชายฝั่งของแอฟริกาด้านตะวันตก เหมือนกับ บาร์โทโลมิว ลงสู่แหลมกู๊ดโฮป และมุ่งหน้าไปยังมหาสมุทรอินเดีย เพื่อเข้าสู่ทิศตะวันออก จนในที่สุด..ได้พบกับชมพูทวีป หรือ อินเดีย นั่นเอง
ด้วยเส้นทางเรือ โดยพื้นที่แรกที่เขาพบในปี ค.ศ. 1498 คือ ”เมืองแคลิกัด“ ซึ่งหมายความว่า 6 ปี หลังจากความสำเร็จของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส โปรตุเกสในเวลานั้น จึงเริ่มต้นขยายบทบาทในอินเดีย ได้เดินเรือต่อไปยัง ”มะละกา“ และเข้าไปยัง “หมู่เกาะโมลุกกะ“
เส้นทางการเดินเรือของ วัชกู ดา กามา  Vasco da Gama
ซึ่งหมู่เกาะแห่งนี้ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของอินโดนีเซีย สำหรับความสำเร็จในครั้งนั้นทำให้ ”วัชกู ดา กามา “ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “ ข้าหลวงใหญ่ในอินเดีย” และทั้งหมดนี้ ก็อยู่ในเขตแดนที่ถูกกำหนดโดย “สนธิสัญญาตอร์เดซิยัส” ซึ่งหมายความว่า.. ทิศตะวันออกของยุโรปนั้นคือ เขตอิทธิพลของโปรตุเกส
สำหรับอีกส่วนหนึ่ง เส้นแบ่งเขตแดนการสำรวจภายใต้ “สนธิสัญญาตอร์เดซิยัส” ฉบับนี้ ได้กินพื้นที่เข้าไปถึง “ ดินแดนตะวันตกสุด ” ของมหาสมุทรแอตแลนติกเพียงเล็กน้อย ซึ่งในปี ค.ศ. 1500 เมื่อพวกเขากางแผนที่ออกดูแล้ว จึงได้มีการส่งกองเรือไปยัง..“ สุดขอบแดนด้านทิศตะวันตก” ที่ถูกกำหนดโดยขีดเส้นแบ่งเอาไว้ใน “สนธิสัญญาตอร์เดซิยัส”
และในปีนั้นเอง ได้มีนักสำรวจกองเรือชาวโปรตุเกส ที่มีชื่อว่า “เปดรู อัลวารึช กาบรัล“ (Peddro Alvares Cabral) นำกองเรือสำรวจ 13 ลำ ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก มุ่งหน้าไปยัง ”สุดขอบแดน“ ที่ถูกกำหนดไว้ในสนธิสัญญาฉบับนี้ และยึดครองพื้นที่ด้านทิศตะวันออกของแผ่นดินใหม่ ที่พวกเขายังไม่รู้ว่ามันคืออะไร ??
เปดรู อัลวารึช กาบรัล และ เรือที่ถอดแบบจากเรืออานุงเซียเซา (Anunciação) ของเปดรู อัลวารึช กาบรัล ที่เมืองกังปีนัส รัฐเซาเปาลู บราซิล
พื้นที่ผืนใหญ่มหาศาลเกือบครึ่งของทวีปอเมริกาใต้ในปัจจุบันนี้ ได้ถูกขีดเส้นกำหนดเอาไว้ใน “สนธิสัญญาตอร์เดซิยัส“ และ เปดรู อัลวารึช กาบรัล ได้เข้ายึดพื้นที่ในส่วนนั้นให้เป็นของโปรตุเกส และได้ถวายให้เป็นของขวัญแด่ กษัตริย์มานูเอลที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ที่ครองราชย์ต่อจาก พระเจ้าฌูเอาที่ 2
จากวันนั้นจนกระทั่งถึงวันนี้ แผ่นดินแห่งนั้นได้กลายเป็นที่ตั้งของประเทศเดียวในทวีปอเมริกาใต้ ที่พูดภาษาโปรตุเกส และแผ่นดินนั้นมีชื่อว่า ”บราซิล” จนตัวเขาเองได้รับฉายาว่า ”เปรูดูบราซิล” สำหรับเปดรู อัลวารึช กาบรัลถือเป็นมนุษย์คนแรกบนโลกนี้เลยทีเดียว ที่ได้เคยเดินทางไปถึง 4 ทวีปทั่วโลกมาแล้ว
นั่นก็คือ ยุโรปบ้านเกิดตัวเขาเอง แอฟริกาใต้ ส่วนเอเชียก็คือเขาได้เดินทางไปถึงอินเดีย เพราะว่า ครั้งหนึ่งเขาเคยเป็นลูกเรือของ “วัชกู ดา กามา” เมื่อครั้งที่เดินทางไปสู่อินเดีย และตะวันออกไกล ในพันธกิจหลังสุดของเขาก็คือ การยึดแผ่นดินบราซิล ซึ่งอยู่ฝั่งตรงกันข้ามของมหาสมุทรแอตแลนติก ในทวีปอเมริกา ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโปรตุเกส
เส้นทางการเดินเรือของเปดรู อัลวารึช กาบรัล
เรากลับมาที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสกันบ้าง เขาตายลงในปี ค.ศ.1506 โดยที่ยังมีความเชื่อว่าแผ่นดินที่เขาเจอในเวลานั้นและเดินทางไปกลับถึง 4 ครั้ง คือ อินเดียทิศตะวันตก
โดยที่พวกเขาก็เรียกคนพื้นเมืองที่นั่นว่า “คนอินเดีย” โดยที่ตัวเขานั้นไม่เคยรู้เลยว่า นั่นคือพื้นที่แผ่นดินใหม่ที่เป็น “ม้วนแผ่นดิน” ที่มีขนาดใหญ่มากเท่ากับทวีปหนึ่ง สำหรับสาเหตุที่โลกไม่ได้มีการนำเอาชื่อของเขา มาตั้งเป็นชื่อทวีปใหม่นั้น
ดันกลับไปตั้งชื่อตาม นักสำรวจชาวอิตาเลียนและเป็นนักสำรวจรุ่นน้อง แต่ว่าทั้งสองคนนี้ เกิดปีเดียวกันคือ ปี ค.ศ.1451 กล่าวคือ ทั้ง 2 คนนี้อายุมากกว่า เลโอนาร์โดดาวินชี (ศิลปิน-จิตรกร) เพียง 1 ปี ซึ่งนักสำรวจผู้นั้นมีชื่อว่า “อเมริโก เวสปุชชี” (Amerigo Vespucci) สาเหตุที่ตั้งชื่อทวีปใหม่ ว่าอเมริกาแทนที่จะเป็น โคลัมโบ หรืออะไรก็ตามแต่ สาเหตุเป็นดังต่อไปนี้
ในช่วงบั้นปลายชีวิตของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นี้เองที่ อเมริโก เวสปุชชี ซึ่งเป็นนักสำรวจ ชาวอิตาเลียนเช่นเดียวกัน และได้เข้าถวายตัวทำงานให้กับราชสำนักทั้ง 2 ฝ่ายในเวลาไล่เลี่ยกัน ต่างกันตรงที่โคลัมบัส ทำงานให้กับ”ราชสำนักสเปน“ เท่านั้น
อนุสาวรีย์อเมริโก เวสปุชชีที่ฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี
ซึ่งอเมริโก เวสปุชชี เริ่มต้นทำงานให้กับราชสำนักสเปน ในปี ค.ศ. 1499 ถึง ค.ศ. 1500 จากนั้น..ได้เข้าไปทำงานให้กับราชสำนักโปรตุเกส ในปี ค.ศ. 1501 ถึง ค.ศ.1502
และในปี ค.ศ.1501 นั่นคือ 9 ปี หลังจากที่โคลัมบัส ได้พบบาฮามาส อเมริโก เวสปุชชี กล่าวว่า แผ่นดินที่เขาพบและได้ขึ้นฝั่งไปสำรวจแล้วนั้น ไม่ใช่ ” อินเดียตะวันตก” ตามที่เข้าใจกัน แต่ว่าเป็น “แผ่นดินผืนใหม่“ ซึ่งเขาเรียกมันว่า..”ม้วนแผ่นดิน“ หรือว่า “ แลนด์แมสใหม่” เป็นแผ่นดินที่ไม่เคยมีคนรู้จักกันมาก่อนเลย แม้แต่ชาวยุโรปเองก็ไม่เคยรู้ว่า..โลกใบนี้ยังมี “แลนด์แมส” หรือว่า“ม้วนแผ่นดิน“ ที่มีขนาดใหญ่โตมาก เป็นทวีปได้อีก 1 ผืน
ต่อมาอีก 6 ปีให้หลังจากที่เขาได้ประกาศถึงการค้นพบว่า..พื้นที่นั้นแท้จริงคือ ”แผ่นดินผืนใหม่“ ขึ้นในปี ค.ศ 1507 ซึ่งนั่นก็คือ 1 ปีหลังการตายของโคลัมบัส มีนักทำแผนที่ชื่อว่า ”มาร์ติน วัลด์ซีมึลเลอร์“ (Martin Waldseemuller) ชาวเยอรมัน เป็นผู้รวบรวมข้อมูลต่างๆในการทำแผนที่ในยุคนั้น
มาร์ติน วัลด์ซีมึลเลอร์“ (Martin Waldseemuller)และภาพแผนที่ขณะเดินทางไปอเมริกา
ได้วาดแผนที่โลกฉบับใหม่ขึ้นมา บนพื้นฐานของการค้นพบ ด้วยการยืนยันของอเมริโก เวสปุชชี ซึ่งเขาเชื่อว่า..คำกล่าวอ้างของเวสปุชชีนั้น ดูสมเหตุสมผล และแผนที่เวอร์ชั่นใหม่ของ ”มาร์ติน วัลด์ซีมึลเลอร์“ จึงเป็นแผนที่ฉบับแรก ที่โลกใบนี้ประกอบไปด้วย ทวีปเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ทวีป และเขาก็ได้ตั้งชื่อทวีปนั้น
ตามชื่อหน้าของผู้ที่ค้นพบทวีปใหม่ ซึ่งก็คือ ”อเมริโก เวสปุชชี “ ดังนั้นเขาจึงลงน้ำหมึก ลงไปบนแผนที่ว่า ”ทวีปอเมริกา“ อันเป็นการตอกย้ำว่า …” สิ่งที่โคลัมบัส และ สิ่งที่เวสปุชชี พบนั้นคือ..“ทวีปใหม่”
สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ .. ถือเป็นการเปลี่ยนแปลง ความเชื่อและความเข้าใจของคนยุโรปที่มีต่อโลกใบนี้อย่างสิ้นเชิงว่า .. ทั้งหมดจากเดิมที่มีเพียงยุโรป แอฟริกา และเอเชีย บัดนี้ได้เริ่มต้นมีทวีปเกิดใหม่เพิ่มขึ้นอีก 1 ทวีป มีชื่อว่า ”อเมริกา“ .. และด้วยความที่แผนที่ของ ”วัลด์ซีมึลเลอร์“ ฉบับนี้ถูกแพร่หลายเข้าไปยังสเปน ในตอนที่ ”อเมริโก เวสปุชชี “ ได้ตายจากไปแล้ว จึงทำให้เจ้าตัว เอง ก็ไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า..ชื่อของเขานั้นได้ถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของทวีปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ภาพแผนที่ฉบับสมบูรณ์ (Universalis Cosmographia) แผนที่โลกของ มาร์ติน วัลด์ซีมึลเลอร์ ในปี 1507 ซึ่งเป็นแผนที่แรกที่แสดงทวีปทั้ง 4 โดยอเมริกาแยกจากเอเชีย
สำหรับลูกโลก ที่เป็นลูกโลกใบแรก ที่มีการบรรจุทวีปเกิดใหม่ลงไปด้วย คือทวีปอเมริกา มีชื่อว่า ”โกลด์บู๊ต ยาเกลโลนิคัส“ (Globus jahellonicus) ได้ถูกผลิตขึ้นในอีก 3 ปี หลังจากนั้นคือ ปี ค.ศ.1510 โดย ”ฌอง คูเดรย์ “ (Jean Coudray) เป็นลูกโลกจำลองใบแรก ที่มีการบรรจุทวีปอเมริกาเข้าไว้ด้วย
จึงกลายเป็นลูกโลกที่มีความสมบูรณ์มากกว่า ยุคใดๆก่อนหน้านั้น และในแผนที่นั้นได้เรียก ..ทวีปอเมริกาฝั่งที่ติดกับแอตแลนติกว่า..”ทราโดบราซิล“ (Brazilian Trado) และเรียก ..ทวีปอเมริกาฝั่งที่ติดกับมหาสมุทรที่พวกเขาก็ยังไม่รู้จัก ซึ่งก็คือ ”มหาสมุทรแปซิฟิก“ นี่แหละ เรียกว่า “อเมริกาโนวิตาเรียปานตาคืออเมริกาที่ถูกค้นพบใหม่“
ต้องบอกว่า หากเรามองย้อนกลับไปเมื่อช่วงปีนั้น เรายังไม่รู้หรอกว่าโลกนี้.. มีสภาพภูมิศาสตร์ที่สมบูรณ์แบบอย่างไร? และการตั้งชื่ออาจจะยังไม่ตกผลึกสักเท่าไหร่นัก ด้วยวิวัฒนาการของการทำแผนที่ และการสำรวจโลก ซึ่งถ้าหากว่าเราดูแผนที่โลกรุ่นใหม่จาก ”วัลด์ซีมึลเลอร์“ หรือว่า ลูกโลกใบใหม่ เราอาจจะคิดว่า ในเวลานั้นนะโลกรู้แล้วว่า เรามีทวีปใหม่ที่เกิดขึ้นมา
แต่ มหาสมุทรที่มีการเชื่อมโยงกัน ระหว่างทวีปใหม่ที่เพิ่งเกิด กับเอเชีย มหาสมุทรนั้นโลกนี้ยังไม่รู้จัก คนยุโรปยังไม่รู้ว่า.. นั่นคือมหาสมุทรอะไร?? เราเองมองย้อนกลับไปในเวลานั้น เราก็ไม่รู้ แต่คนที่ค้นพบว่า.. ยังมีมหาสมุทรอีกหนึ่งมหาสมุทร ..และนั่นคือ “มหาสมุทรแปซิฟิก”
เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน
ที่เชื่อมโยงอเมริกา กับตะวันออกของเอเชีย จะยิ่งใหญ่ขนาดไหน? และสิ่งนั้นจะบรรลุผลสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อ มีคนที่สามารถจะเดินเรือแล้ว ไปสำรวจจากฝั่งยุโรป ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังอเมริกา และจากอเมริกาข้ามไปยังเอเชีย
คนๆนั้นมีชื่อโปรตุกีสว่า ”ฟือร์เนา ดึ มากัลป์ไยช์”(โปรตุเกส: Fernão de Magalhães) ซึ่งเรารู้จักกันในนามของ “เฟอร์ดินานด์ ” (อังกฤษ: Ferdinand Magellan) ซึ่งก็เป็นเหมือนเดิมคือ เอาชื่อของเขาเนี่ยแปลงให้เป็นภาษาอังกฤษ ฟือร์เนา ดึ มากัลป์ไยช์ ชื่อโปรตุเกสเปลี่ยนให้เป็น เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน
คุณูปการของเขานั้นถือได้ว่า..มหาศาลเลยทีเดียว เพราะว่าเขาทำการเดินเรือ และค้นพบหลายสิ่งหลายอย่างมาก เช่น ช่องแคบ มหาสมุทรแปซิฟิก หลังจากที่ราชสำนักโปรตุเกสเดินหน้าครอบครองบราซิล และเดินหน้าไปพบอินเดียแล้ว ส่วนราชสำนักสเปน อันนี้ภายใต้กษัตริย์พระองค์ใหม่คือ”พระเจ้าคาร์ลอสที่ 5 “ได้มีการสถาปนากองเรือสำรวจ
เพื่อที่ต้องการจะเดินทางไปยังหมู่เกาะโมลุกกะ ซึ่งเป็นหมู่เกาะที่มีการค้าขายบรรดา สไปหรือว่าเครื่องเทศขนาดใหญ่มาก ซึ่งชาวโปรตุเกสนั้นได้เดินทางผ่านทิศตะวันออกแล้วเกิดไปพบเข้า พระองค์จึงได้มีการจัดตั้งกองเรือสำรวจ
พระเจ้าคาร์ลอสที่ 5 (Charles V, Holy Roman Emperor)
โดยที่มีโปรเจกต์ใหม่ๆรออยู่ และมีชื่อว่า ”อาร์มาดา โมลุกกะ” ซึ่งก็ชัดเจนดี เพราะคำว่า “ อาร์มาดา ” แปลว่า.. กองเรือ นั่นก็คือ กองเรือที่จะเดินหน้าไปสำรวจ”หมู่เกาะโมลุกกะ“ โดยได้มีการจัดตั้ง จัดหา นักสำรวจที่มีนามว่า ” ฟือร์เนา ดึ มากัลป์ไยช์ ” หรือ เรารู้จักกันในชื่อของ ”เฟอร์ดินานด์“ เป็นชาวโปรตุกีส
แต่ได้เข้าไปถวายตัวรับใช้ราชสำนักสเปน สำหรับพันธกิจของเขาในครั้งนี้ คือ.. การนำกองเรือออกเดินทางมุ่งหน้าไปสู่ ”หมู่เกาะโมลุกกะ“ ด้วยความที่ใน ”สนธิสัญญาตอร์เดซิยัส“ ระบุไว้ว่า.. สเปนจะไม่สามารถเดินเรือเข้าไปทางด้านทิศตะวันออกได้.. จึงจำเป็นจะต้องล่องเรือไปยังด้านทิศตะวันตกแทน
พูดง่ายๆ ก็คือ จะต้องเดินทางแบบ ”อ้อมโลก“ กันเลยทีเดียว และต้องไปเจอกับ ”หมู่เกาะเกาะโมลุกกะ“ ให้จงได้ และสำหรับกองเรือนี้ ”อาร์มาดาโมลุกกะ“ ประกอบไปด้วยเรือจำนวน 5 ลำ และใช้เวลาเดินเรือ…???…กี่วัน รู้มั๊ยเอ่ย !!!
หมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย
ต้องขอถามก่อนว่า.. จำได้ไหม?? ที่โคลัมบัสได้ออกเดินทางไป “เกาะบาฮามาส” ก็คือ “อเมริกา”.. นั้น ใช้เวลาแค่ 60 วัน แต่การเดินเรือภายใต้ข้อบังคับใน “สนธิสัญญา” ฉบับนี้ ทำให้พันธกิจ ”อาร์มาดา โมลุกกะ“ ต้องใช้เวลาเกือบ 3 ปีเต็ม
สำหรับกองเรือสำรวจในครั้งนี้ มีเรือหลัก และเรือบริวาร จำนวน 5 ลำด้วยกัน ซึ่งผู้นำกองเรือคือ ”เฟอร์ดินานด์“ นั้น เป็นชาวโปรตุกีส แต่ด้วยความที่กองเรือนี้ เป็นกองเรือสัญชาติสเปน ดังนั้น.. คนที่เป็นกัปตันเรือของแต่ละลำ จึงมีความหลากหลาย ผสมผสานกัน ระหว่าง ตัวผู้เป็นกัปตันเรือชาวโปรตุกีส กับกัปตันเรือชาวสเปน ซึ่งเป็นขุนนางอีกด้วย แล้วก็ยังมีลูกเรือ ที่มีความหลากหลาย ผสมผสานกันของชาติพันธุ์อีกต่างหากด้วย.. ช่างน่าเวียนหัวแทนจริงๆ!!!
และหนึ่งในลูกเรือคนสำคัญซึ่งเป็นชาวโปรตุกีส และเป็นญาติของเฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน มีชื่อว่า “ดูอาร์เต้บาทบอสซ่า” (Duarte Barcosa) นอกจากนี้ยังมีอีก หนึ่งคนที่ถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการเรือหนึ่งใน 5 ลำ ที่มีชื่อว่า “ฮวน เซอร์ราโน ” (Juan Serrano) ชื่อเป็นภาษาสเปน และยังมีลูกเรือชาวโปรตุเกสอีก หนึ่งคนที่เป็นคนสำคัญเช่นกัน ก็คือ “เอสเซ่เบา โกเมซ”(Esteban Gomez) สำหรับลูกเรือในกองเรือทั้งหมดนี้ ประกอบไปด้วยคนจากหลากหลายสัญชาติ ตามที่ได้บอกไว้แล้ว
“ดูอาร์เต้บาทบอสซ่า” (Duarte Barcosa)
ที่สำคัญ.. ยังมีอีกหนึ่งคนที่จะขาดหายไปไม่ได้เลย มีชื่อว่า ”อันโตนิโอ ปิก้าเฟสต้า” (Antonio Pigafetta) เขาเป็นปัญญาชนชาวเวนิส ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วย ผู้นำกองเรือสำรวจ และมีบทบาทสำคัญมาก เพราะว่า.. การจดบันทึก เรื่องราว พร้อมทั้งเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ต้นจนจบตลอดการเดินทาง.. ก็คือเขานี่แหละ!!!
กองเรือสำรวจนี้ มีผู้บัญชาการเรือ ผู้นำกองเรือ รวมทั้งลูกเรือทั้งหมดจำนวน 277 คน ปัญหาคือ เป็นกองเรือสัญชาติสเปน แต่ผู้นำเป็นคนโปรตุกีส ฟังดูแค่นี้ เราก็พอจะเดาได้ว่า.. มันคงต้องมีปัญหาอะไรแน่
สำหรับเรือทั้ง 5 ลำนี้ ได้ถูกต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือ ที่เมืองเซบีย่า ในแคว้นอันดาลูเซีย ซึ่งอยู่ภาคใต้ของสเปน เรือลำที่ 1 เป็นเรือธง แฟล็กชิพ มีชื่อว่า “ตรินิแดด” (Trinidad) กัปตันเรือและผู้บัญชาการกองเรือคือ เฟอร์ดินานด์
”อันโตนิโอ ปิก้าเฟสต้า” Antonio Pigafetta
~ เรือลำที่ 2 มีชื่อว่า “ซานอันโตนิโอ” (San Antionio) คนที่เป็นกัปตันเรือ ชื่อ ”ฮวน เดอ การ์ตาเกนา“ (Juan de Cartagena) เป็นคนทำหน้าที่เหมือนจเร ในการตรวจการกองเรือทั้งหมดด้วย และยังเป็นขุนนางที่ได้รับการแต่งตั้ง โดย “กษัตริย์การ์โลสที่ 5” แห่งสเปน “ฮวน เดอ การ์ตาเกนา” ผู้นี้รับผิดชอบด้านการเงิน การค้าทั้งหมด ของกองเรือ และเรือลำนี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นเรือที่บรรทุกเสบียงจำนวนมากที่สุดไว้ด้วย
~ เรือลำที่ 3 มีชื่อว่า “กองเซปซิญง” (Connepcion) มีผู้นำกองเรือชื่อว่า “ กาสปาร์ เดอ ควิซาด้าน” (Gaspar de Quesada) ในเรือลำนี้มีลูกเรือหนึ่งคน ที่จำเป็นต้องพูดถึงชื่อ “ฆวน เซบัสเตียน เอลกาโน” (Juan Sebastian Elcano) สำหรับชายคนนี้ เป็นอดีตอาชญากรจากแคว้นบาสก์ ที่ได้รับการปล่อยตัว แต่ก็ยังติดทัณฑ์บนอยู่ โดยทางการให้ทำคุณไถ่โทษ ด้วยการให้เขามาเป็นลูกเรือของเรือลำนี้ ซึ่งก็คือ ”เรือกองเซปซิญง“
~ เรือลำที่ 4 มีชื่อว่า ”วิกตอเรีย“ (Victoria) มีกัปตันเรือชื่อว่า ”หลุยส์ เดอ เมนโดซา “ (Luis de Mendoza ) และเรือลำที่ 5 ลำสุดท้ายมีชื่อว่า ”ซานี้ติอาโก้“ (Santiago) มีกัปตันเรือเป็นชาวโปรตุกีส ชื่อว่า ”ฮวน เซอร์ราโน“ (Juan Rodriguez Serrano)
ภาพวาดของเรือทั้ง 5 ลำ
เรือทั้ง 5 ลำ ได้มุ่งหน้าออกจากฝั่งท่าเรือในเมืองเซบีญ่า เมื่อเดือนกันยายน ของปี ค.ศ.1519 จากนั้นแวะจอดพักที่สถานีแรกคือ ”เกาะคะแนรีส์“ (canary) ในระหว่างทาง อย่างที่เราได้เกริ่นเอาไว้แล้วว่า.. กองเรือนี้ เป็นกองเรือสัญชาติสเปน แต่ว่าผู้นำกองเรือกับลูกเรือจำนวนหนึ่ง เป็นชาวโปรตุกีส
มันน่าจะมีปัญหาหรือข้อขัดแย้งอะไรกันบ้างล่ะ!! ซึ่งแน่นอนว่า “ต้องมี” เพราะลูกเรือบางคนเกิดไม่พอใจกันเอง เนื่องจากลูกเรือชาวสเปนนั้น ไม่ค่อยเชื่อความสามารถในการเดินเรือของ ”มาเจลลัน“ และตั้งคำถามขึ้นมาตลอดการเดินทางว่า “ทำไม?.. ต้องเดินเรือเลียบชายฝั่งตะวันตกของแอฟริกาด้วยล่ะ?.. แล้วทำไม?.. จึงไม่เดินเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยตรงไปเลย แทนที่จะเดินเรือแบบนี้ล่ะ“..
ที่ต้องถามกันแบบนี้ เพราะมีความรู้สึกไม่ไว้วางใจ ในตัวผู้บัญชากองเรือซึ่งคนโปรตุเกส และการล่องเรือเลียบชายฝั่งตะวันตกของแอฟริกา ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของโปรตุเกสนั้น จะคิดทรยศต่อราชสำนักสเปนรึเปล่าเนี่ย??..
หลังจากนั้นอีก 7 เดือนต่อมา จากการเริ่มออกเดินทางใน ปี ค.ศ.1520 ผู้นำกองเรือทั้ง 3 คนของสเปน อันได้แก่ “ฮวน เดอ การ์ตาเกนา” (Juan de Cartagena) และ“ หลุยส์ เดอ เมนโดซา” (Luis de Mendoza ) ซึ่งเป็นกัปตันเรือ ”ซานอันโตนิโอ“ และเรือ ”วิคตอเรีย“ ได้ให้การสนับสนุน ”กาสปาร์ เดอ ควิซาด้าน” (Gaspar de Quesada) ผู้เป็นกัปตันเรือ “ กองเซปซิญง”
“ฮวน เดอ การ์ตาเกนา” (Juan de Cartagena) และ“ หลุยส์ เดอ เมนโดซา” (Luis de Mendoza ) และ ”กาสปาร์ เดอ ควิซาด้าน” (Gaspar de Quesada) ตามลำดับ
ให้วางแผนนำไปสู่ความพยายามในการลอบสังหาร “เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน” แต่แผนการนี้ .. ได้รั่วไหลออกไป จนถูกจับตัวได้ซะก่อน..!! จึงทำให้ “มาเจลลัน” ได้นำเอาตัวบุคคลเหล่านี้ทั้งหมดไปตัดสินโทษ
สำหรับกระบวนการไต่สวน และสอบสวน นำทีมโดยลูกพี่ลูกน้องของ “เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน” ที่มีชื่อว่า “อันโตนิโอ ปิก้าเฟสต้า” (Antonio Pigafetta) และ คำพิพากษานั้นก็คือ ให้ประหารชีวิตกัปตันเรือทั้ง 2 คน คือกัปตันเรือ “ฮวน เดอ การ์ตาเกนา” (Juan de Cartagena) และ“หลุยส์ เดอ เมนโดซา” (Luis de Mendoza ) ด้วยวิธี “ถูกตัดคอเสียบประจาน”
ส่วนตัวต้นเรื่องหัวโจกก็คือ “ฮวน เดอ การ์ตาเกนา” (Juan de Cartagena) อยู่ในฐานะขุนนางของราชสำนักสเปน และได้ถูกแต่งตั้งโดยตรงจาก ”พระเจ้าการ์โลสที่ 5 “ จึงไม่สามารถประหารชีวิตได้ เพราะตามกฎหมายสเปนนั้น “การแต่งตั้งขุนนางโดยตรงจากกษัตริย์ จะถูกประหารได้ก็ต้องมีพระบรมราชโองการของกษัตริย์เท่านั้น” ในเมื่อฆ่าไม่ได้ “มาเจลลัน” จึงได้ตัดสินใจทิ้ง ”ฮวน เดอ การ์ตาเกนา“ คนที่ก่อหวอดสร้างความวุ่นวายมาตลอด ไว้ที่เกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในพื้นที่ของปาตาโกเนีย
ซึ่งเป็นเกาะร้างทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ โดยที่ก็ไม่มีใครรู้ว่า.. ชะตากรรมจะเป็นยังไงต่อ ไป..!!! และสำหรับ”มาเจลลัน“ ก็รอดตัว และสามารถที่จะเคลมได้ว่า.. ”เขาไม่ได้มีการสั่งให้ประหารชีวิต ขุนนางของราชสำนักสเปน“ หลังจากนั้น เรือทั้ง 5 ลำ พร้อมกับ กลุ่มลูกเรืออีกกลุ่ม หนึ่ง ที่ยังพอจะร่วมแรงร่วมใจกันได้บ้าง
เพื่อที่จะเดินหน้าต่อไปให้.. ”พันธกิจสำคัญยิ่งของเขา” ได้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้นั่นคือ การมุ่งสู่ ”หมู่เกาะโมลุกกะ“ ให้จงได้นั้น.. เขาจะต้องทำอย่างไร???… และการเดินทางในหนทางที่ยาวไกลนี้ !!!.. เขายังจะต้องพบกับความขัดแย้งภายในเรือ ซึ่งดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กๆ
แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่เรื่องเล็กแน่.. ฉะนั้นชะตาชีวิตของลูกเรือที่เหลือทั้ง 5 ลำนี้ รวมทั้ง “เฟอร์ดินาน แมคเจลแลน“ จะเป็นอย่างไร?? และ ในตอนจบ.. จะมีเรือเหลือรอด.. กลับไปที่สเปนสักกี่ลำ???.. แล้วได้พบ“หมู่เกาะโมลุกกะ” เมื่อไหร่??? พบกันได้ในตอนหน้า..”เดี๋ยวเจอกันครับ“..
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference ตอนที่ 2 สู่ทวิปใหม่และการเดินทางหาเครื่องเทศ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา