21 เม.ย. เวลา 17:19 • หนังสือ

สัมผัสและเรียนรู้ Psychotherapy แบบง่ายๆไปกับคุณคางคก

ในยุคสมัยที่สังคมเราเข้าถึง เข้าใจ และให้ความสำคัญกับ mental health มากขึ้น การป่วยเป็นโรคซึมเศร้า การเข้าพบจิตแพทย์รวมไปถึงนักจิตบำบัด จึงดูเป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่ stigma เหมือนแต่ก่อน
 
สภาวะทางจิตใจที่ควรได้รับการช่วยเหลือนั้น บางครั้งคนรอบตัวอาจสามารถ detect ได้ก่อนเจ้าตัวด้วยซ้ำ แต่ถึงอย่างไรสุดท้ายแล้ว “การเปิดใจเข้ารับการบำบัด” ก็เป็นเรื่องของเจ้าตัวอยู่ดี
Psychotherapy เป็นเสมือนการเข้ามาสำรวจจิตใจของตัวเอง โดยมีนักจิตบำบัดเป็นผู้รับฟังและคอยช่วยเหลือ ให้เราสามารถค้นพบคำตอบภายในใจได้ด้วยตัวเองอย่างเป็นปัจเจก เรียกได้ว่าไม่มีอะไรตายตัว การบำบัดของแต่ละคน แต่ละครั้ง จะไม่ใช่ pattern แบบเดียวกันเสมอไป รูปแบบนั้นจะถูกปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาะวะของผู้เข้ารับการบำบัด
บางคนเช่นคุณคางคก ไม่เคยแม้แต่จะเข้าไปแตะต้อง หรือพยายามที่จะ explore ความรู้สึกของตัวเองมาก่อน “แม้แต้ตัวเองก็ยังไม่เข้าใจ จึงยากที่จะอธิบายความรู้สึกของตัวเองให้ผู้อื่นรับรู้” การบำบัดในช่วงแรกจึงยากและต้องใช้เวลา แต่ท้ายที่สุดแล้ว การสำรวจจิตใจตัวเองจะเป็นจุดเริ่มต้นในการซ่อมแซมและพัฒนาบางสิ่งภายในจิตใจของเรา
แนวคิดที่คุณนกกระสาใช้บำบัดคุณคางคก คือการพาคางคกกลับเข้าไปสำรวจวัยเด็กของตัวเอง โดยมีหลักการว่าวัยเด็กมีอิทธิพลมากต่อบุคลิกภาพ ทัศนคติของเราในวัยผู้ใหญ่
บุคลิกภาพที่หนังสือพูดถึง
  • บุคลิกภาพแบบเด็ก : เป็นสภาวะที่เจ้าตัวยังต้องพึ่งพิงผู้อื่น ทำให้แม้จะมีการพัฒนาทางอารมณ์เช่นโกรธ ไม่พอใจ ก็จะต่อต้านแบบเงียบหรืออ้อมๆ ไม่ก้าวร้าว คนที่กำลังอยู่ในสภาวะนี้มักมีพฤติกรรมยินยอม และพยายามทำให้ผู้อื่นพอใจเสมอ ด้วยความที่รู้สึกว่ายังต้องพึ่งพาอาศัยพวกเขา
  • บุคลิกภาพแบบพ่อแม่ : วิพากษ์วิจารณ์ ยึดมั่นในความคิดของตัวเอง (ในแบบที่มากเกินไป) จนไม่เปิดรับสิ่งใหม่ๆ จึงเป็นรูปแบบของบุคลิกภาพที่ไม่เหมาะสมต่อการเรียนรู้
  • บุคลิกภาพแบบผู้ใหญ่ : มีตรรกะและเหตุผล มีความรับผิดชอบ ยอมรับตัวตนของตัวเอง สุดท้ายแล้วสิ่งเหล่านี้จะสร้างความรู้สึกว่าสิ่งต่างๆนั้นควบคุมได้ และรู้สึกว่าตัวเรานั้นมี power มากพอที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง เป็นบุคลิกภาพที่เหมาะต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่และเปลี่ยนแปลงตัวเอง
ในวัยเด็กเราจะพยายามตอบคำถามอยู่ 2 ข้อ ซึ่งส่งผลต่อทัศนคติของเราในปัจจุบัน
  • 1.
    ฉันคิดเกี่ยวกับตัวเองอย่างไร (ฉันโอเคหรือเปล่า)
  • 2.
    ฉันคิดเกี่ยวกับคนอื่นอย่างไร (คนอื่นโอเคหรือเปล่า)
ทำให้มีผลลัพธ์ 4 แบบ ที่บ่งบอกถึงทัศนคติ ให้เราได้ลองนึกภาพตามว่าแบบไหนที่ related กับตัวเอง และทัศนคติแต่ละแบบส่งผลอย่างไร
  • ผมไม่โอเค คุณโอเค : คิดแง่ลบกับตัวเอง และรู้สึกว่าคนอื่นดีกว่าตัวเอง ทำให้มีความนับถือตัวเองต่ำ คนเหล่านี้อาจมีคำพูดติดปากหรือมักสร้างสถานการณ์ให้ตัวเองดูเป็นผู้ถูกกระทำ “ฉันโชคร้ายจัง” “ฉันน่าสงสาร” คนที่สร้างทัศนคตินี้ขึ้นมาให้ตัวเอง จะเลือกมองและจดจำแต่เหตการณ์เลวร้าย และมีแนวโน้มจะด้อยค่าช่วงเวลาที่ดีไป ฟังดูมีโอกาสพัฒนาไปเป็น depression ได้สูงเลยใช่ไหมล่ะ สำหรับพฤติกรรมที่ severe ที่สุดของคนกลุ่มนี้คือ "ฆ่าตัวตาย”
  • ผมโอเค คุณไม่โอเค : คิดว่าตนเองดีกว่าคนอื่น วิจารณ์และตัดสินคนอื่นจากมุมมองของตัวเอง ความโกรธเป็นเครื่องมือหนึ่งของคนที่มีทัศคติลักษณะนี้ มันทำให้พวกเขาแทบไม่เคยรู้สึกซึมเศร้า เพราะพวกมักโยนความผิดให้คนอื่นเสมอ และโกรธคนเหล่านั้นแทนที่จะโกรธหรือลงโทษตัวเอง ลึกๆแล้วเหมือนเป็นการผลักความกลัวภายในจิตใจออกไปให้คนอื่น พฤติกรรมที่รุนแรงที่สุดของคนกลุ่มนี้คือ “การฆาตกรรม”
  • ผมไม่โอเค คุณไม่โอเค : ถ้าให้นึกภาพตาม ทุกอย่างคงดูมืดดำและน่าเศร้าไปทั้งหมดหากคุณมีทัศนคติดังกล่าว
  • ผมโอเค คุณโอเค : รู้สึกดีกับทั้งตัวเองและผู้อื่น มีความฉลาดทางอารมณ์ มี empathy สุดท้ายจะนำไปสู่การสร้างความพันธ์ที่ดี และแน่นอน mindset เหล่านี้จะทำให้คุณมีความสุข
ถึงแม้คุณนกกระสาจะใช้หลักการว่าวัยเด็กส่งผลกับปัจจุบันยังไง ก็เพื่อการอธิบายตัวตนของเราเท่านั้น สุดท้ายแล้วเมื่อเราเข้าใจและยอมรับในตัวตนของตัวเอง ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นเราในรูปแบบที่ดีที่สุดได้
โฆษณา