11 มิ.ย. เวลา 09:35 • ประวัติศาสตร์

EP4/5 พม่ายุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เข้ามามีบทบาทในพม่าโดยติดต่อกลุ่มทะขิ่น องค์กรชาตินิยมที่มี "อองซาน" เป็นหัวหน้า กลุ่มทะขิ่นหวังว่าญี่ปุ่นจะสนับสนุนการประกาศอิสรภาพของพม่าจากอังกฤษ แต่เมื่อญี่ปุ่นยึดครองพม่าได้แล้วกลับไม่ให้พม่าประกาศเอกราช
ปี พ.ศ.2487 อองซานจึงก่อตั้ง "องค์การสันนิบาตเสรีภาพแห่งประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์" (Anti-Fascist Peoples Freedom League: AFPFL) เพื่อต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับๆ จนกระทั่งญี่ปุ่นแพ้สงคราม AFPFL จึงประกาศตัวเป็นตัวแทนชาวพม่าเรียกร้องเอกราชอย่างสมบูรณ์โดยไม่อยู่ภายใต้เครือจักรภพอังกฤษ
นายพลองงซาน (ที่มา https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_71558)
อองซานต้องการใช้สันติวิธีในการเรียกร้องเอกราช แต่พรรคคอมมิวนิสต์หนึ่งในหน่วยงานหลักของ AFPFL ต้องการสู้ด้วยอาวุธ พรรคคอมมิวนิสต์จึงถูกขับออกจากสันนิบาตฯ
ต่อมามีการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญและลงนามสนธิสัญญาปางหลวงกับชาติพันธุ์ชาวเขาในปี พ.ศ.2490 ซึ่งประกอบด้วย ฉานหรือไทใหญ่, กะชีน, และชีน
ที่มา https://www.matichon.co.th/article/news_3058406
วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2490 สภาร่างรัฐธรรมนูญเริ่มประชุม ตัวแทนจากรัฐต่างๆ ต้องการให้จัดตั้งสหพันธรัฐอย่างแท้จริง แต่เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2490 ระหว่างการประชุมมีมือปืนบุกเข้ามายิงอองซานและที่ปรึกษาเสียชีวิต
หลังจากนั้น "อู้นุ" ขึ้นมาเป็นผู้นำแทนจนได้ข้อสรุปว่าให้ชาติพันธุ์อยู่ร่วมกับพม่าไปก่อน 10 ปี แล้วจึงจะถอนตัวไปเป็นเอกราชได้ แต่ก็มีเพียงรัฐฉานและรัฐกะยาเท่านั้นที่มีสิทธิถอนตัว เนื่องจากรัฐกะชีนและรัฐกะเหรี่ยงปฏิเสธการเข้าร่วมแต่แรก ส่วนรัฐชีนเป็นเขตปกครองพิเศษจึงไม่มีสถานะเป็นรัฐตามรัฐธรรมนูญนี้
ปี พ.ศ.2491 พม่าได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์จากอังกฤษ และมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "สหภาพพม่า" โดยมีเจ้าส่วยแต้กจากรัฐฉานเป็นประธานาธิบดีคนแรก และอู้นุเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก
เจ้าส่วยแต้ก และ อู้นุ (ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/)
โฆษณา