4 มิ.ย. 2024 เวลา 01:57 • ประวัติศาสตร์
นอร์มังดี

D-day "The Longest day" ครบ 80 ปี แล้วครับ.....

วันที่ 6 มิถุนายน 2024 เป็นวันครบรอบ 80 ปีของการยกพลขึ้นบกในวันดีเดย์ตามแนวชายฝั่งนอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่ สอง ซึ่งนำไปสู่การปลดปล่อยยุโรปในท้ายที่สุด D-day มีความหมายเสมอสำหรับคนที่มี Passion in history of war นี่คือวันที่เปลียน ปวศ.โลกแบบ360 องศา ไม่งั้นพวกเราอาจจะ Sprechen wir Deutsch แทนภาษาอังกฤษกันทั่วโลกแล้วก็ได้
เมื่อนึกถึงข้อเท็จจริงที่มาพร้อมกับ 80 ปี D-Day ที่ว่าก็คือ
นี่จะปาเข้าไปกลางปีมะโรงแล้ว ดูเหมือนพวกเราจะเหลือเวลาทำงานจริง ๆ ในปีนี้อีกครึ่งเดียว หลาย ๆ คน อาจจะกำลัง Focus ไปแผนงานครึ่งปีหลัง(ทั้งที่เพิ่งวางแผนปีนี้ไปแท้ ๆ ) หลาย ๆ ครั้งที่ผ่านมา แผนกับสิ่งที่วางไว้มันคนละเรื่องกัน เช็คแล้วแผนงานที่วางไว้ต้นปีนี้กับสิ่งที่ทำจริง ๆ เป๋ไป เป๋มาไม่เป็นไปตามแผนสักนิด
ว่าแล้วก็เอาวาทะระดับโลกของไอดอล ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ D-Day มาปลอบใจทุกท่านขณะที่ยังต้อง ทำงานหนักกันต่อไปวันดีเดย์ก็ต้องนึกถึง ปธณ.ไอเซนฮาวร์ ที่ตอนนั้นเป็น ผบ.สูงสุดของสัมพันธมิตรด้วยครับ
“ในการเตรียมการรบ ข้าพเจ้าพบเสมอว่าแผนการต่าง ๆ ที่เตรียมไว้ล่วงหน้ามักไม่เกิดประโยชน์ แต่การวางแผนก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้”
(In preparing for battle I have always found that plan are useless, but planning is indispensable)
แผนปฏิบัติการ Overlord ของท่านเวอร์คครับ ภาพนี้ที่สนามบิน Greenham เช้าตรู่กับหน่วย Screaming Eagle ซึ่งก่อนหน้าจะเข้าทำการรบ มีการคาดการณ์ว่าทหารหน่วยนี้จะสูญเสียหนักถึง 70% ท่านก็เลยขับรถมาสูบบุหรี่กับลูกน้องกลุ่มนี้ครับ บางทีนักวางแผนที่ดีอาจไม่ได้เป็น Leader ที่ดีแบบท่านก็ได้ครับ
ภาพรวมแผนการรุก D-Day
ท่านได้เตรียมทุกอย่างไว้อย่างละเอียดรอบคอบ แม้กระทั่งแถลงการณ์รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว กรณีถ้าการยกพลขึ้นบก ล้มเหลว
เอกสารร่างชิ้นนี้ ท่านเอาใส่กระเป๋าเสื้อเตรียมไว้
ผบ. ไอเซนฮาวร์ ผู้นำทัพสัมพันธมิตรชนะการรบในสงครามโลกครั้งที่สอง และต่อมากลายเป็นประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐที่ชนะเลือกตั้งถึงสองสมัย (1953-1961) และมี ปธน. เคเนดี้มาแทนท่านนั่นเอง ในบรรดาผู้นำทางทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นี่ ผมชอบท่านผบ.ไอบ์ มากที่สุดครับ(มากกว่า 4 นายพลตัว Top ซูคอฟ รอมเมล แพตตัน และแมคอาเธอร์)
นอกจากนี้ท่านยังเป็น ต้นคิดของโมเดลการจัดการเวลา (Time Management Matrix) ประกอบด้วยตารางขนาด 2×2 โดยเอาคีย์เวิร์ดสองคำ คือ สำคัญ (Important) และ เร่งด่วน (Urgent) มาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของงานว่าควรทำสิ่งใดก่อนสิ่งใดหลัง เป็นเรื่องง่ายแต่คิดได้ยังไงน่ะ เก่งจริง
สำหรับผมแล้ว ผมเข้าใจตามที่ท่าน ผบ.ไอค์ว่า แผนการนั้นเมื่อนำไปปฏิบัติจริง มันมีโอกาสที่จะผิดพลาดได้เสมอ เราจึงไม่ควรยึดติดกับแผนที่จัดทำขึ้นอย่างตายตัว และต้องพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุค VUCA ในกระบวนการวางแผน เราต้องมีการวิเคราะห์คาดการณ์ถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นไว้เป็นอย่างดี
เมื่อสถานการณ์จริงผิดไปจากแผน ก็จะมีโอกาสที่เราสามารถปรับเปลี่ยนแผนให้เหมาะสมตามสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นได้ เพราะเราเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ของแผนการนั้นอย่างถ่องแท้
Enjoy Planning ครับทุกคน
ประวัติศาสต์การยุทธ(Battle History) "เล่าเรื่องประวัติศาสตร์การรบและข้อมูลประกอบ ให้เพื่อนฟังแบบแฟนพันธ์แท้"
ขณะที่เราเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ก็ถูกสร้างไปพร้อมกัน
ท่านสามารถติดตามเนื้อหาที่เกี่ยวข้องต่อเน่ื่องได้ที่ กลุ่มเฟสบุคชมรมผู้ศึกษาสงครามเวียดนาม
ที่สร้างขึ้นมาเพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ อย่างเป็นกลาง ปราศจากอคติต่าง ๆ
สามารถแสดงความเห็นได้อย่างผู้ศึกษาและเคารพประวัติศาสตร์
โฆษณา