Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เบื่อเมือง
•
ติดตาม
25 เม.ย. เวลา 12:44 • ประวัติศาสตร์
ตามหาสาวัตถี ตอน 10 - จาก “กัสมีระ” สู่ “สาวัตถี” (ตอนที่ ๙)
“สาเกต” เมืองอันเศรษฐีจับจองแล้วในเวลาเย็น
[ #คำเตือน เนื้อหาในซีรีส์นี้ จำเป็นต้องใช้วิจารณญานในการอ่านมากเป็นพิเศษ ท่านที่ไม่สามารถวางองค์ความรู้เรื่องดินแดนเกิดของพระพุทธศาสนาอยู่ที่ “อินเดีย” เอาไว้ข้าง ๆ ตัวก่อนอ่านได้ แอดมินอยากให้ข้ามเพจนี้ไปนะครับ เพื่อที่เวลาอันมีค่าของท่านจะได้ไม่ต้องมาสูญเปล่าไปโดยไม่ได้ประโยชน์อันใด]
📖 …………………………………
ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสารและพระเจ้าปเสนทิโกศลต่างก็เป็นพระภัสดาของพระภคินีกันและกัน ต่อมาวันหนึ่งพระเจ้าโกศลทรงดำริว่า
"คนมีโภคะนับไม่ถ้วน มีบุญมากทั้ง ๕ ย่อมอยู่ในแคว้นพระเจ้าพิมพิสาร ในแคว้นของเรา ผู้เช่นนั้นแม้เพียงคนเดียวก็ไม่มี อย่ากระนั้นเลย เราพึงไปสู่สำนักของพระเจ้าพิมพิสารขอผู้มีบุญมากสักคนหนึ่ง."
พระองค์เสด็จไปในพระนครนั้นแล้ว
อันพระราชาทรงทำปฏิสันถาร ทูลถามว่า "พระองค์เสด็จมา เพราะเหตุไร?"
จึงตรัสว่า "หม่อมฉันมา ด้วยประสงค์ว่า คนมีโภคะนับไม่ถ้วน มีบุญมากทั้ง ๕ คน อยู่ในแคว้นของพระองค์ หม่อมฉันจักพาเอาคนหนึ่งจาก ๕ คนนั้นไป ขอพระองค์จงประทานคนหนึ่งใน ๕ คนนั้น แก่หม่อมฉันเถิด"
พิมพิสาร. “หม่อมฉันไม่อาจจะให้ตระกูลใหญ่ๆ ย้ายได้”
ปเสนทิโกศล. “แม้หม่อมฉันไม่ได้ ก็จักไม่ไป”
พระราชา (พระเจ้าพิมพิสาร) ทรงปรึกษากับพวกอำมาตย์แล้ว ตรัสว่า
"ชื่อว่าการย้ายตระกูลใหญ่ๆ มีโชติยสกุลเป็นต้น เช่นกับแผ่นดินไหว บุตรของเมณฑกมหาเศรษฐี ชื่อธนญชัยเศรษฐี มีอยู่ หม่อมฉันปรึกษากับเธอเสร็จแล้ว จักถวายคำตอบแด่พระองค์"
ดังนี้แล้ว รับสั่งให้เรียกธนญชัยเศรษฐีมาแล้ว ตรัสว่า
"พ่อ พระเจ้าโกศลตรัสว่า 'จักพาเอาเศรษฐีมีทรัพย์คนหนึ่งไป’ เธอจงไปกับพระองค์เถิด."
ธนญชัย. “เมื่อพระองค์ส่งไป, ข้าพระองค์ก็จักไป พระเจ้าข้า”
พิมพิสาร. “ถ้าเช่นนั้น เธอจงทำการตระเตรียมไปเถิด พ่อ”
เศรษฐีนั้นได้ทำกิจจำเป็นที่ควรทำของตนแล้ว ฝ่ายพระราชาทรงทำสักการะใหญ่แก่เขา ทรงส่งพระเจ้าปเสนทิโกศลไปด้วยพระดำรัสว่า
"ขอพระองค์จงพาเศรษฐีนี้ไปเถิด."
ท้าวเธอพาธนญชัยเศรษฐีนั้น เสด็จไปโดยการประทับแรมราตรีหนึ่งในที่ทั้งปวง บรรลุถึงสถานอันผาสุกแห่งหนึ่งแล้ว ก็ทรงหยุดพัก.
ครั้งนั้น ธนญชัยเศรษฐีทูลถามท้าวเธอว่า "นี้เป็นแคว้นของใครพระเจ้าข้า?"
ปเสนทิโกศล. “ของเรา เศรษฐี”
ธนญชัย. “เมืองสาวัตถี แต่นี้ไป ไกลเท่าไรพระเจ้าข้า?”
ปเสนทิโกศล. “ในที่สุด ๗ โยชน์”
ธนญชัย. “ภายในพระนครคับแคบ ชนบริวารของข้าพระองค์มาก ถ้าพระองค์ทรงโปรดไซร้ ข้าพระองค์พึงอยู่ที่นี้แหละ”
พระราชาทรงรับว่า "ดีละ" ดังนี้แล้ว ให้สร้างเมืองในที่นั้น แลได้พระราชทานแก่เศรษฐีนั้นแล้วเสด็จไป
เมืองได้นามว่า "สาเกต" เพราะความที่แห่งสถานที่อยู่ ในประเทศนั้น อันเศรษฐีจับจองแล้วในเวลาเย็น.
(อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปุปผวรรคที่ ๔ เรื่องนางวิสาขา)
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=8&h=เมืองสาเกต#hl
…............................................ 📖
ใน Ep ที่ผ่าน ๆ มาแอดมินได้พาแฟนเพจ “ตามรอย” ท่านหลวงจีนฟาเหียนจากเมือง “สังกัสสะ (สะเทิม)” ฝั่งประเทศเมียนมาร์ในปัจจุบันแล้วข้ามมาฝั่งไทยเลียบ “แม่น้ำคงคา (ปิง)” เรื่อยมาจนถึง “สหชาตินคร (เมืองโบราณโคกไม้เดน)” กันไปแล้ว
และจากบันทึกของท่านหลวงจีนฟาเหียน หากเดินทางต่อ “ตามแม่น้ำ” ไปทาง “ทิศใต้” (สายแม่น้ำท่าจีน) อีก ๗ โยชน์ (ประมาณ ๗ วัน หรือ ๑๑๒ กม.) ก็จะถึงเมือง “สาวัตถี”
ใน Ep นี้เนื่องจากแอดมินเห็นว่าท่านหลวงจีนฟาเหียนไม่ได้กล่าวถึงเมือง “สาเกต” เอาไว้ จึงจะขอตามหาเมืองสาเกตให้ก่อนที่จะไปถึงเมือง “สาวัตถี” ครับ
…
และถึงแม้เมือง “สาเกต” จะถือได้ว่าเป็น “เมืองใหญ่” เมืองหนึ่งในสมัยพุทธกาล (ดังพระอานนท์ทูลขอให้ปรินิพพานที่เมืองใหญ่ เช่น กรุงจัมปา กรุงราชคฤห์ กรุงสาวัตถี “เมืองสาเกต” กรุงโกสัมพี กรุงพาราณสี) แต่ก็มีเรื่องราวปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกไม่มากนัก
โดยมากจะเอ่ยชื่อว่าเป็น “ทางผ่าน” เท่านั้นเช่น
📖 ….....................................................
[๙๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุปาเฐยยรัฐจำนวน ๓๐ รูป ล้วนถืออารัญญิกธุดงค์บิณฑปาติกธุดงค์ และเตจีวริกธุดงค์เดินทางไปพระนครสาวัตถีเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค
เมื่อจวนถึงวันเข้าพรรษา ไม่สามารถจะเดินทางให้ทันวันเข้าพรรษาในพระนครสาวัตถี จึงจำพรรษา ณ “เมืองสาเกต” ในระหว่างทาง
ภิกษุเหล่านั้นจำพรรษามีใจรัญจวนว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใกล้ๆ เรา ระยะทางห่างเพียง ๖ โยชน์ แต่พวกเราก็ไม่ได้เฝ้าพระองค์ ครั้นล่วงไตรมาส ภิกษุเหล่านั้นออกพรรษาทำปวารณาเสร็จแล้ว เมื่อฝนยังตกชุก พื้นภูมิภาคเต็มไปด้วยน้ำ เป็นหล่มเลนมีจีวรชุ่มชื้นด้วยน้ำ ลำบากกาย เดินทางไปถึงพระนครสาวัตถี พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
(เรื่องภิกษุเมืองปาเฐยยะ ๓๐ รูป)
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=05&siri=28
…......................................................... 📖
ดังนั้นการจะหาที่ตั้งเมือง “สาเกต” ก็คงจะต้องหาจากเส้นทางของการเป็นเมือง “ทางผ่าน” ตามที่มีกล่าวในพระไตรปิฎกและอรรถกถาครับ
แอดขอเริ่มจากข้อความ “เรื่องภิกษุเมืองปาเฐยยะ ๓๐ รูป” ที่กล่าวว่าเหล่าภิกษุเมืองปาเฐยยะได้แวะจำพรรษา ณ เมืองสาเกต ใน “ระหว่างทาง” ไปเมืองสาวัตถี
จึงหมายความว่าเมือง “สาเกต” อยู่ระหว่างเมือง “ปาเฐยยะ” กับเมือง “สาวัตถี”
และในพระไตรปิฎกและอรรถกถาได้กล่าวว่าแคว้น “อัสสกะ - มุฬกะ” อยู่ติด “แคว้นโกศล” ทางด้าน “ทิศใต้” โดยมีแม่น้ำ “โคธาวารี” เป็นตัวคั่นระหว่างแคว้น
แม่น้ำ “โคธาวารี” ในพระไตรปิฏกและอรรถกถาระบุว่า เป็นแม่น้ำที่แยกออกเป็นสองสาย และได้กระทำเกาะในระหว่างให้เกิดขึ้นยาวประมาณ ๓ โยชน์
ซึ่งจะตรงกับแม่น้ำ “แม่กลอง” ทางด้านใต้ของเมืองโบราณ ”อู่ทอง” ที่แยกออกเป็นแม่น้ำ “แควน้อย” กับแม่น้ำ “แควใหญ่” เกิดเป็นเกาะขนาดใหญ่ขึ้นตรงกลางขึ้น สอดคล้องกับอรรถกถาอย่างชัดเจน
แต่เมืองโบราณ "อู่ทอง" ห่างจากแม่น้ำ “แม่กลอง” แค่ประมาณ ๓ โยชน์เท่านั้น ส่วนเมือง “สาเกต” ห่างจากสาวัตถีประมาณ ๗ โยชน์ และยังอยู่ในเขตแดนของแคว้นโกศล
ดังนั้น “สาเกต” จึงต้องตั้งอยู่ห่างจากเมืองโบราณ “อู่ทอง” ขึ้นไปทาง “ทิศเหนือ” เท่านั้น
สอดคล้องกับที่แอดมินกำหนดเมือง “ราชคฤห์” ไว้ที่ “เชียงใหม่” เมือง “สาเกต” ก็จะอยู่ระหว่าง “เชียงใหม่” กับ “อู่ทอง” พอดี
ซึ่งปัจจุบันจะพบเมืองโบราณที่มี “คูน้ำ”ล้อมรอบ คือ
เมืองโบราณ บึงคอกช้าง
เมืองโบราณ บ้านการุ้ง
เมืองโบราณ ทับตาอู่
เมืองโบราณ บ้านน้ำวิ่ง
ในเมืองทั้งหมดนี้ เมืองโบราณ “บึงคอกช้าง” อยู่ห่างจาก “อู่ทอง” ประมาณ ๘ โยชน์ (๑๓๖ กิโลเมตร)” พอดี และเป็นเมืองที่สร้างในลักษณะด้านหนึ่ง “ติดเชิงเขา”ด้านตรงข้ามเขา “ติดแม่น้ำ” ซึ่งเป็นผังเมืองแบบเดียวกันกับเมือง “สังกัสสะ” (สะเทิม) เมือง “ราชคฤห์” (เชียงใหม่) เมือง “สาวัตถี” (อู่ทอง) เมือง “สหชาติ” (โคกไม้เดน) และเมืองอื่น ๆ อีกหลายเมือง
นอกจากนี้เมืองโบราณ “บึงคอกช้าง” ยังเป็นเมืองที่มีลักษณะมี “คูน้ำ-คันดิน” ๒ ชั้น คือ แบ่งเป็นเมือง”ชั้นใน” และเมือง “ชั้นนอก” ซึ่งเมืองชั้นนอกจะเป็นส่วนของ “ป่า” หรือ “อุทยาน” ของเมือง (ซึ่งแอดมินจะกล่าวถึงในตอนต่อ ๆ ไป)
และสุดท้าย ถัดเมืองโบราณ “บึงคอกช้าง” ขึ้นไปทางทิศเหนือก็จะมีแม่น้ำ “สะแกกรัง” ขวางอยู่ จึงเป็นไปได้ว่าแม่น้ำ “สะแกกรัง” นี่เองที่เป็นตัวกำหนดขอบเขตของ “แคว้นโกศล” ทางด้านทิศเหนือ
…
แอดมินมี “ข้อสังเกต” ให้ว่า ใน “พระไตรปิฎก” พระพุทธเจ้าจะเสด็จประทับในเมืองที่มีลักษณะเป็นเมืองติดชายเขา (ที่มีป่า) หรือเมืองคูน้ำ ๒ ชั้น และชั้นนอกเป็นป่าเสียเป็นส่วนใหญ่
เมือง “สาเกต” ก็มี “ป่าติดเมือง” ที่ทรงเสด็จไปประทับด้วยเช่นกัน คือ “อัญชนมฤคทายวัน” ดังปรากฏอยู่ในเรื่องของ “พระควัมปติ” ในอรรถกถาดังนี้
📖 ….........................................
พระควัมปติเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เสวยวิมุตติสุขอยู่ใน “อัญชนวัน (อัญชนมฤคทายวัน -แอดมิน)” เมืองสาเกต
ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จไปยังเมืองสาเกต แล้วประทับอยู่ในพระวิหารอัญชนวัน เสนาสนะไม่พออาศัย ภิกษุเป็นอันมากพากันนอนที่เนินทราย ริมน้ำสรภู ใกล้ๆ พระวิหาร
ครั้งนั้น เมื่อห้วงน้ำหลากมาในเวลาเที่ยงคืน พวกสามเณรเป็นต้นส่งเสียงร้องดังลั่น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเหตุนั้นแล้ว สั่งท่านพระควัมปติไปว่า ดูก่อนควัมปติ เธอจงไปจงสะกด (ข่ม) ห้วงน้ำไว้ ทำให้ภิกษุทั้งหลายอยู่อย่างสบาย
พระเถระรับพระพุทธดำรัสว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า แล้วสะกดกระแสน้ำให้หยุดด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ ห้วงน้ำนั้นได้หยุดตั้งอยู่ดุจยอดเขา แต่ไกลทีเดียว
จำเดิมแต่นั้นมา อานุภาพของพระเถระได้ปรากฏแล้วในโลก
(อรรถกถาควัมปติเถระคาถา)
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=175
…............................................. 📖
จึงหมายความว่าเมือง “สาเกต” ต้องเป็นเมืองที่ติดเขา หรือมีคูน้ำ ๒ ชั้น และชั้นนอกเป็นป่า
เมือง “สาเกต” ในความเห็นของแอดมินจึงน่าจะเป็นเมืองโบราณ “บึงคอกช้าง” ซึ่งเป็นเมืองชายเขตแดนที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นโกศลนั่นเอง
...
นอกจากนี้จะเห็นว่าเรื่องราวของภิกษุเมือง “ปาเฐยยะ” (อรหันต์ ๓๐ รูป) และพระ “ควัมปติ” (ญาติเจ้าเมืองสะเทิม) ที่เคยกล่าวไปแล้วใน “ตำนาน” ของเมือง “สะเทิม” ใน EP. 7 นั้น ก็ยังเกี่ยวเนื่องกันกับเรื่องราวของเมือง “สาเกต” และแคว้น “โกศล” ในพระไตรปิฎกด้วย
แสดงให้เห็นว่าแคว้นโกศล เมืองสาวัตถี เมืองสาเกต เมืองปาเฐยยะ และเมืองสังกัสสะ ทั้งหมดนี้ก็คือ เมืองโบราณในบริเวณ “ภาคตะวันตก” ของบ้านเราอย่างชัดเจน
…
ใน Ep หน้าแอดมินจะได้พาแฟนเพจไปเข้าเรื่องราวของเมือง “สาวัตถี” กันสักที ก็ขอให้ติดตามกันต่อไปนะครับ
…
🙏ขอบพระคุณแฟนเพจทุกท่าน ที่ติดตามอ่านกันมาโดยตลอด
🚎🚲🚒🛵มาเที่ยวชมพูทวีปบนแผ่นดินไทยกันดีกว่า ❤️ เที่ยวไม่ต้องแย่งใคร … ได้อานิสงส์เท่ากันครับ 🙏🙏🙏
…
🙏 ขอบคุณภาพจากเพจ: อุทัยบ้านฉัน
https://www.facebook.com/UthaiMyHometown/
🎥โพสต์: เมืองโบราณ บึงคอกช้าง
https://www.facebook.com/watch/?ref=saved&v=1215967376346952
🎥โพสต์: แม่น้ำสะแกกรัง
https://www.facebook.com/UthaiMyHometown/videos/1683018825892597
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ตามหาสาวัตถี
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย