วันนี้ เวลา 01:00 • สัตว์เลี้ยง

Pawdoc station EP.15 : ทำอย่างไร...เมื่อสัตว์เลี้ยงกินสารพิษเข้าไป?

สัตว์เลี้ยงถือเป็นสมาชิกในครอบครัวที่เรารัก แต่ด้วยความอยากรู้อยากเห็นของพวกเขา ทำให้บางครั้งอาจเผลอกินสิ่งของที่มีพิษเข้าไปได้ ไม่ว่าจะเป็นอาหารคนบางชนิด ยา พืช หรือสารเคมีต่าง ๆ การรู้วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกต้องตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตและลดความรุนแรงของอาการได้ บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักแนวทางการช่วยเหลือสัตว์เลี้ยงเบื้องต้นเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินเช่นนี้กันว่าควรจะทำอย่างไรบ้างเมื่อเจอสถานการณ์แบบนี้
สิ่งแรกที่ต้องรู้คือ “สิ่งที่กินเข้าไปคืออะไร ?”
พยายามระบุให้แน่ชัดว่าสัตว์กินอะไรเข้าไป เช่น ช็อกโกแลต, หัวหอม, ยาฆ่าแมลง หรือยาในบ้าน จำนวนเท่าไหร่ เยอะแค่ไหน เก็บหลักฐาน เก็บบรรจุภัณฑ์หรือสิ่งที่หลงเหลืออยู่บริเวณนั้นเพื่อนำไปให้สัตว์แพทย์ได้ดูและช่วยให้วางแผนการรักษาได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
“ประเมินอาการที่เกิดขึ้น”
สังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น อาเจียน น้ำลายไหลเยอะมาก หายใจหอบ หายใจลำบาก เดินเซ หรือซึมผิดปกติ ณ.เวลานั้น จากนั้นให้รีบพาไปหาสัตวแพทย์ใกล้บ้านที่สุด
“ไม่แนะนำให้กระตุ้นการอาเจียนเองโดยพลการ”
การกระตุ้นอาเจียนจริงๆแล้วสามารถทำได้ในบางกรณี แต่หากสัตว์กินสารพิษที่มีสารกัดกร่อน มีความระคายเคืองเยอะ เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ หรือสารที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือด่างมากๆ อาจทำให้อาการต่างๆแย่ลงได้ รวมไปถึงการกระตุ้นให้อาเจียนบางครั้งอาจเกิดอุบัติเหตุหลังจากการอาเจียนได้ เช่น การสำลักเอาสารพิษต่างๆเข้าไปในหลอดลมและทางเดินหายใจ ซึ่งจะยิ่งที่ให้อาการต่างๆยิ่งแย่ลงไปได้ ควรให้สัตวแพทย์เป็นผู้ให้คำแนะนำก่อนว่าควรกระตุ้นการอาเจียนหรือไม่ และหากจำเป็นต้องมีการกระตุ้นจะต้องใช้วิธีที่ปลอดภัยที่สุดโดยสัตวแพทย์
“ติดต่อสัตวแพทย์ทันที”
อย่างที่ได้กล่าวไป หากสามารถรวบรวมข้อมูลต่างๆได้ครบถ้วนแล้ว ให้รีบนำสัตว์เลี้ยงของท่านไปพบสัตวแพทย์ให้เร็วที่สุด หากไม่สามารถเดินทางไปได้ทันที ควรโทรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเบื้องต้นก่อน
เมื่อสัตว์เลี้ยงกินของมีพิษ การตั้งสติให้ได้เร็วที่สุดคือก้าวแรกที่สำคัญที่สุด อย่าพยายามรักษาเองโดยไม่รู้ข้อมูลที่แน่นอน เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง การเก็บข้อมูลสิ่งที่สัตว์กินเข้าไป สังเกตอาการ และรีบนำส่งสัตวแพทย์ คือแนวทางที่ถูกต้องที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสการรักษาให้สำเร็จและช่วยให้น้องกลับมาแข็งแรงอย่างปลอดภัย
Reference
• 2024 AAHA Community Care Guidelines for Small Animal Practice
• ASPCA Animal Poison Control Center
• Pet Poison Helpline
• Veterinary Clinics of North America: Small Animal Practice, Toxicology Issue
ฝากกดไลค์ กดแชร์ กดติดตามพวกเรา Pawdoc station ทุกช่องทาง เพื่อที่จะไม่พลาดเนื้อหาใหม่ๆของพวกเรา
ติดตาม Pawdoc station ได้ที่ช่องทางหลัก ดังนี้

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา