18 พ.ค. เวลา 22:05 • ปรัชญา
จิตสำนึก เป็นเรื่องของการปลูกฝังซะมากกว่าค่ะ ไม่ใช่การ "สอนให้จำ-ทำให้ดู" แบบครั้งเดียวจบ!! ไม่ใช่แค่พร่ำบอกพร่ำสอนด้วยวาจา แล้วจะคาดหวังให้เด็กทำหรือเป็นเช่นนั้นไปได้ตลอดชีวิตของเขา
2
เด็กๆซึมซับจากพฤติกรรมของคนรอบๆตัวโดยตลอดอยู่แล้ว ทั้งพ่อแม่-ผู้ปกครอง-ผู้เลี้ยงดู-ครูอาจารย์-เพื่อนฝูง รวมถึงสื่อออนไลน์ทุกประเภท ทุกช่องทาง
2
ต้นแบบที่ดีเป็นต้นทุนที่ดีอย่างไม่ต้องสงสัย แต่อาจไม่เพียงพอสำหรับรับมือกับความท้าทายในโลกปัจจุบัน จึงต้องอาศัยการปลูกฝัง-บ่มเพาะ-หล่อหลอม ซึ่งล้วนต้องใช้เวลาและความสม่ำเสมอ
1
ผู้ใหญ่พึงรู้ให้ชัดเสียก่อนว่า จิตสำนึกคืออะไร ทำงานอย่างไร นำมาใช้อย่างไร มีตัวแปรอะไรบ้าง จิตสำนึกที่ถูกต้องดีงามไม่ได้เปลี่ยนไปตามยุคสมัยก็จริง แต่วิธีการสอนต้องปรับให้เข้ากับเด็กๆค่ะ
2
ขอ'ยาดยกตัวอย่างเช่น "จิตสำนึกต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ" คือการที่เราตระหนักว่า การทำหรือไม่ทำอะไรใดๆก็ตาม ล้วนส่งผลต่อตนเองและผู้อื่นเสมอ เช่นนี้แล้วเราก็จะไม่หาข้ออ้างมาเข้าข้างตัวเอง ไม่ว่าจะพบเจออุปสรรคปัญหาความยากลำบากใดๆก็ตาม
2
"ภาวะหมดไฟ-หมดแพชชั่น" ที่คนส่วนใหญ่มักประสบ เป็นตัวอย่างหนึ่งของคนที่อ่อนแอในจิตสำนึกต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ
ถ้าจะตอบให้ตรงประเด็นที่สุดว่า "สอนเด็กๆเรื่องจิตสำนึก จะเริ่มอย่างไร"
สำหรับเราคือ ให้เขาตระหนักถึงผลที่ตามมาจากการกระทำ(หรือไม่ทำ)ทั้งหลายของตนเองก่อน สะสมบ่มเพาะสิ่งที่เขาเรียนรู้ จนกลายเป็นจิตสำนึกของเขาเองในที่สุด โดยที่เราทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะ
1
การเรียนรู้จากผลแห่งการกระทำ เป็นวิธีที่ยั่งยืนที่สุดค่ะ
มะละกอต้นหลังบ้านฉันปลูกไว้
ไม่ใส่ใจมันเติบโตตามยถา
ยามผลิดอกออกผลดกเหลือคณา
เหล่ากระรอกนกกามาจิกไป
แต่ลูกคน..ไม่ใช่ลูกมะละกอ
ถ้าแม่พ่อไม่อบรมบ่มนิสัย
ทั้งปกป้องคุ้มครองผองโพยภัย
อันตรายมากมายรายล้อมตัว
จิตสำนึกคือตระหนักรู้ถูก-ผิด
สามารถคิดแยกแยะดีและชั่ว
รู้ใฝ่ดีเพื่อเป็นเกราะป้องกันตัว
รู้หลีกเลี่ยงไม่เกลือกกลั้วในอบายฯ
1
โฆษณา