Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Letter From History
•
ติดตาม
18 ก.ค. เวลา 03:00 • ประวัติศาสตร์
กัมพูชา
กัมพูชา ตอนที่ 3 เขมรแดง : จากชนบทสู่มหาอำนาจแห่งความตาย
เมื่อเจ้านโรดม สีหนุ เริ่มกระชับอำนาจและจัดการกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองอย่างเด็ดขาด ภายใต้บริบทของสงครามเย็น พระองค์ทรงเลือกฝักใฝ่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะ จีน เวียดนามเหนือ และเวียดกง ทรงอนุญาตให้ใช้พื้นที่ของกัมพูชาเป็นเส้นทางลำเลียงยุทธปัจจัยผ่าน "เส้นทางโฮจิมินห์" รวมถึงเปิดท่าเรือสีหนุวิลล์ เพื่อรองรับการส่งกำลังและอาวุธ
เส้นทางโฮจิมินห์
อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายทศวรรษ ค.ศ.1960(พ.ศ.2503)ความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาก็เริ่มผ่อนคลายลง โดยพระองค์เปิดทางให้สหรัฐใช้ปฏิบัติการ “Operation Menu” ทิ้งระเบิดทางตะวันออกเฉียงใต้ของกัมพูชาในปี 1969(พ.ศ.2512) เพื่อโจมตีฐานที่มั่นของเวียดกง และเวียดนามเหนือที่แทรกซึมเข้ามาในราชอาณาจักรกัมพูชา
เมื่อหันกลับมามองกลุ่มการเมืองที่ต่อมาได้กลายเป็นผู้เล่นหลักในสงครามกลางเมืองกัมพูชา คือกลุ่มที่เรียกกันว่า “เขมรแดง” หรือ ” Khmer Rouge “ ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งก็คือ กลุ่มที่ถือกำเนิดมาจากพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน ได้ร่วมกันต่อสู้กับฝรั่งเศสในช่วงทศวรรษ ค.ศ.1950(พ.ศ.2493) เป็นต้นมาก่อนที่แต่ละประเทศในอินโดจีนนั้น จะแยกตัวออกมาจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ของตนเองขึ้นภายหลังจากที่สงครามอินโดจีนสิ้นสุดลงใน ค.ศ.1954(พ.ศ.2497)
พื้นที่ในกัมพูชาหลังจาก ปฏิบัติการเมนู Operation Menu
โดยที่กัมพูชา มีผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ในยุคแรก เป็นคนสำคัญชื่อ “เซิน หง็อก มิญ” (Sơn Ngọc Minh) ซึ่งสันนิษฐานว่า.. เป็นชาวกัมพูชาที่มีเชื้อสายเวียดนาม หรือที่ชาวกัมพูชาเรียกกันว่า “ขแมร์กรอม” (Khmer Krom) นับเป็นกลุ่มลูกหลานชาวเขมรในเวียดนาม โดยเฉพาะในจังหวัดจ่าวินห์ ที่อยู่ติดกับชายแดนภาคตะวันออกของกัมพูชา
ประกอบกับพรรคคอมมิวนิสต์ในกัมพูชา ก็แบ่งออกเป็นสองสายได้แก่ สายที่อยู่กับเวียดกง และเวียดนามเหนือในชนบท และสายที่เข้าร่วมเกมการเมืองในระบบประชาธิปไตย โดยฟอร์มทีมตั้งเป็น “กรมประชาชน” ลงสมัครรับเลือกตั้งในปี ค.ศ.1958(พ.ศ.2501) ถึงแม้จะได้คะแนนเสียงเพียง 4% แต่ก็สร้างความหวาดระแวงให้กับเจ้านโรดม สีหนุ เป็นอย่างยิ่ง
ที่สำคัญ “กรมประชาชน” นี้เอง ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของกลุ่มขบวนการใต้ดินที่ต่อมาก็คือ “เขมรแดง” ภายใต้ชื่อ “พรรคแรงงานกัมพูชา” ซึ่งดำเนินการต่อสู้อยู่ภายนอกสภา และอยู่นอกเหนือระบบการเมืองที่เป็นทางการด้วย
“พล พต” หรือชื่อเดิม “สาฬต สอ”
หนึ่งในแกนนำที่มีบทบาทสำคัญต่อพรรคแรงงานกัมพูชาคือ “พล พต” หรือชื่อเดิม “สาฬต สอ” เขาเป็นผู้นำที่ยึดมั่นในลัทธิคอมมิวนิสต์ และต่อมาก็ได้สร้างระบอบ “กัมพูชาประชาธิปไตย” ที่มีชื่อเสียงในฐานะหนึ่งในระบอบการปกครองที่โหดร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์โลก
พล พต ไม่ได้เติบโตมาในครอบครัวของชนชั้นล่างอย่างที่เข้าใจกันโดยทั่วไป เขาเกิดในปี ค.ศ.1925(พ.ศ.2468)ที่จังหวัดกำปงทม ใกล้ทะเลสาบโตนเลสาบ และครอบครัวของเขาเป็นเจ้าของที่ดินกว่า 60 ไร่ มีฐานะมั่งคั่งพอสมควร ยิ่งไปกว่านั้น ลูกพี่ลูกน้องของเขาคือ “นางแม่” เป็นนางกำนัลในราชสำนักของพระเจ้าศรีสวัสดิ์มุนีวงศ์ (ตาของเจ้าสีหนุ) และต่อมาก็เป็นครูบัลเล่ต์ในวังด้วย
เมื่ออายุ 6 ขวบ สาฬต สอถูกส่งไปเรียนในกรุงพนมเปญที่โรงเรียนคาทอลิกแบบฝรั่งเศส และต่อด้วยโรงเรียนเตรียมสีหนุที่กำปงจาม ที่นั่นเขาเริ่มรู้จักกับเพื่อนร่วมอุดมการณ์อย่าง “เคียว สมพร” และ “หูนิ่ม” ต่อมาศึกษาต่อที่โรงเรียนไฮโซ “ลีเซ่สีโสวัด” และ “อีโกล เทคนิค”(École technique de Montréal) ซึ่งเป็นที่ที่เขาพบกับ ”เอียง สารี“ ผู้ที่จะกลายเป็นสหายหมายเลข 3 ของขบวนการเขมรแดง
ลีเซ่สีโสวัด, อีโกล เทคนิค(École technique de Montréal) ,นวล เจีย (Nuon Chea) , เอียง สารี (Ieng Sary), เคียว สมพร (Khieu Samphan) ตามลำดับ
ช่วงปี ค.ศ.1949~1953(พ.ศ.2492~2496)ที่เขาศึกษาอยู่ในฝรั่งเศสนั้น เขามีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมของพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส และหลงใหลในแนวคิดมาร์กซิสต์อย่างลึกซึ้ง เมื่อกลับมายังกัมพูชา เขาได้เริ่มจัดตั้งกลุ่มคอมมิวนิสต์ลับในกรุงพนมเปญ และแต่งงานกับ “เคียว พร นารี” นักเรียนหญิงชาวกัมพูชาคนแรกที่จบปริญญาตรี ซึ่งเป็นน้องสาวของภรรยา ”เอียง สารี“
1
การแต่งงานของเขาในวันที่ 14 กรกฎาคม ปีค.ศ.1956(พ.ศ.2499)ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะเป็นวันครบรอบการทลายคุกบัสตีย์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติฝรั่งเศส อันสะท้อนถึงเจตจำนงของเขาในการล้มล้างระบอบเดิม
แกนนำแห่งขบวนการ “องค์กา”
1
พล พต หรือ “สหายหมายเลข 1” มีแกนนำร่วมอุดมการณ์ที่สำคัญ ได้แก่:
●
นวล เจีย (Nuon Chea) – สหายหมายเลข 2
●
เอียง สารี (Ieng Sary) – สหายหมายเลข 3
●
เคียว สมพร (Khieu Samphan) – นักวิชาการจากซอร์บอนน์
●
สน แซม (Son Sen) – หัวหน้าฝ่ายความมั่นคง
●
ตม็อบ (Ta Mok) – ฉายา “นักฆ่าตาเดียว”
●
เคง เก็ก เอียว (Kang Kek Iew) หรือ “สหายดุช” – ผู้บัญชาการเรือนจำ S-21
ด้วยการผสมผสานระหว่างแนวคิดมาร์กซิสต์แบบสุดโต่ง ผนวกกับความรุนแรงในการกำจัดศัตรู “ขบวนการเขมรแดง” จึงไม่ได้เป็นแค่กลุ่มก่อการร้าย แต่เป็นรัฐในเงามืดที่คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 1.7 ล้านคนในช่วงที่พวกเขาปกครองกัมพูชา
สน แซม (Son Sen) , ตม็อบ (Ta Mok) , เคง เก็ก เอียว (Kang Kek Iew) ตามลำดับ
ถึงแม้ว่า..จะมีความตึงเครียดทางอุดมการณ์เกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งในปี ค.ศ.1958(พ.ศ.2501) แต่เจ้านโรดม สีหนุ ก็ยังคงแสดงท่าทีเปิดกว้าง โดยแต่งตั้งบุคคลจากฝั่งซ้าย เช่น เคียว สมพร, หู หยวน (Hou Yuon) และหู นิ่ม ให้เข้ามาเป็นคณะรัฐมนตรีร่วมกับฝ่ายรัฐบาลด้วย
อย่างไรก็ตาม ในช่วงระหว่างการบริหารประเทศโดยคณะรัฐมนตรีชุดนี้คือ ปี ค.ศ.1958~1962 (พ.ศ.2501~2505) กลุ่ม "ประชาชน" ซึ่งหมายถึง กลุ่มนักการเมืองฝ่ายซ้ายเหล่านี้ เริ่มได้รับความนิยมจากประชาชนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อันเนื่องมาจากที่พวกเขาได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การบริหารประเทศของเจ้านโรดม สีหนุอย่างเปิดเผย
หู หยวน (Hou Yuon) , ตู ซาร์มด (Tou Samouth) ตามลำดับ
และด้วยความนิยมที่เพิ่มสูงขึ้นชนิดฉุดไม่ลงของฝ่ายซ้ายนี้เอง จึงทำให้พระองค์เริ่มรู้สึกถึงภัยคุกคามทางการเมือง จนกระทั่งในปี ค.ศ.1962(พ.ศ.2505) ท่าทีของเจ้านโรดม สีหนุก็เปลี่ยนไป โดยที่เขาลงมือกวาดล้างฝ่ายตรงข้ามอย่างเงียบๆ เริ่มที่ "ตู ซาร์มด" (Tou Samouth) ผู้นำคนสำคัญของพรรคฝ่ายซ้าย และเป็นที่ปรึกษาใกล้ชิด ก็ได้ถูกลักพาตัวและหายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย ในขณะเดียวกับที่ “นวล เจีย” ก็ต้องหลบหนีภัยจากการโดนติดตามจับกุมในปีเดียวกันนั้น
1
แม้ว่าจะมีอยู่ช่วงจังหวะหนึ่งที่ เจ้านโรดม สีหนุ ได้เรียกตัวแกนนำฝ่ายซ้ายบางคนเข้าพบเพื่อหารือร่วมกัน แต่กลุ่มคนเหล่านี้มองว่า.. มันเป็นกับดักทางการเมือง เพราะพวกเขาสัมผัสได้ถึงเจตนาที่แอบแฝง และไม่เชื่อมั่นในพระองค์อีกต่อไป
1
ภาพของประชาชนในกรุงพนมเปญ
ด้วยเหตุนี้ สาฬต สอ และเอียง สารี จึงได้ตัดสินใจหลบหนีออกจากกรุงพนมเปญ พร้อมด้วยแนวร่วมฝ่ายซ้ายอีกจำนวนหนึ่ง พวกเขาเชื่อมั่นว่า.. “การอยู่ต่อหมายถึงความตาย” เพราะเจ้านโรดม สีหนุ จะไม่หยุดเพียงแค่การจับกุมเท่านั้น แต่จะกวาดล้างจนหมดสิ้น
และการหลบหนีในครั้งนั้นเอง จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตั้ง “พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา” ที่ต่อมาเป็นที่รู้จักกันในนาม “เขมรแดง” หรือ “ขแมร์ฮู้ด” (Khmer Rouge) แต่คำถามสำคัญก็คือ — พวกเขาหนีไปไหน? โปรดติดตามได้ในตอนหน้าครับ
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference ตอนที่ 3 เขมรแดง : จากชนบทสู่มหาอำนาจแห่งความตาย
https://shorturl.asia/0K1m5
https://shorturl.asia/UdNof
https://shorturl.asia/DnUSq
https://shorturl.asia/qfl4W
https://shorturl.asia/CTevF
https://shorturl.asia/uz0Q9
https://shorturl.asia/RIorX
https://shorturl.asia/hvdX7
https://shorturl.asia/RHw1C
https://shorturl.asia/UXqM6
https://shorturl.asia/vHV5D
https://shorturl.asia/DFGmv
https://shorturl.asia/Q81RD
https://shorturl.asia/lyQoB
https://shorturl.asia/S9Acr
เรื่องเล่า
ประวัติศาสตร์
ความรู้รอบตัว
21 บันทึก
29
10
30
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เหตุการณ์ จากเขมรแดงสู่เอกภาพ
21
29
10
30
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย