Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BETTERCM
•
ติดตาม
23 มิ.ย. 2019 เวลา 16:10 • สุขภาพ
แพ้ยา
By อยู่กับยา
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2300442976861572&id=1868917913347416
** โพสต์นี้ไม่ได้มีเจตนาจะทำให้ใครเสียหายนะคะ เพียงแค่ต้องการชี้แจงข้อเท็จจริง เพื่อป้องกันการเข้าใจและสื่อสารผิด ซึ่งอาจเกิดความสับสนกับผู้ป่วยบางรายเท่านั้นค่ะ และขอบคุณคุณจูนที่เป็นกรณีศึกษาตัวอย่าง ในการให้ความรู้และเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยรายอื่นๆด้วยนะคะ**
จากข่าวที่ดาราสาวรายหนึ่งออกมาโพสต์ในโลกโซเชียลถึงความเสี่ยงของการให้ยาฆ่าเชื้อ โดยไม่ได้ทำ #skintest ของรพ.ที่ไปรักษาและออกมาเตือนภัย และอาจทำให้คนไข้บางรายสับสนว่า ทุกครั้งที่ฉีดยาฆ่าเชื้อ ต้อง test dose ก่อนนั้น
.
ในทางเภสัชกรรม การทำ test dose โดยทั่วไปนิยม #ทำเฉพาะในรายที่สงสัยว่าจะแพ้ยาเท่านั้น ส่วนการทำ test dose หรือ skin test ที่มี protocol ที่ชัดเจน คือ ยาในกลุ่ม penicillin ส่วนยาในกลุ่ม cephalosporin ยังไม่มีวิธีที่เชื่อถือได้แน่นอนนะคะ
.
ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยที่พิจารณาการทำ skin test คือ ผู้ที่มีประวัติแพ้ยาและสงสัยว่าแพ้ยาแบบ type I anaphylactic (IgE-mediated type) และมีความจำเป็นต้องใช้ยา
.
การทำ skin test ไม่สามารถทำนายการเกิดปฏิกิริยาแบบ Stevens Johnson syndrome(SJS), Erythema multiform(EM), Toxic epidermal necrolysis (TEN), Hemolytic anemia หรือ ปฏิกิริยาที่เกี่ยวเนื่องกับ IgG หรือ IgMmediated immune complex เช่น serum sickness, glomerulonephritis, vasculitis ได้
.
ซึ่งหาก skin test ได้ผลเป็นลบ โอกาสแพ้ยา (ชนิด Type I-anaphylactic) น้อย #แต่ไม่สามารถแน่ใจได้ว่าผู้ป่วยจะไม่แพ้ยานะคะ
.
ดังนั้น ในบางรพ.อาจไม่ได้ทำ skin test ในผู้ป่วยทุกราย ก่อนให้ยาฆ่าเชื้อ แต่พยาบาล #จำเป็นต้องซักประวัติการแพ้ยาในผู้ป่วยทุกราย หากผู้ป่วยรายใดสงสัยว่าจะมีโอกาสแพ้ยาได้ อาจต้องส่งให้เภสัชกรประเมินการแพ้ยาในผู้ป่วยรายนั้นซ้ำอีกครั้ง และรายงานให้แพทย์ทราบร่วมด้วย เพื่อพิจารณาให้ skin test หรือใช้ยาทางเลือกอื่นแทนค่ะ
ขอบคุณแหล่งข่าว :
https://thaimarketing.in.th/268035?fbclid=IwAR0lJ5s7iXGfOvGakdXpra8ivzM3xz1HhjJPX_IwHACDKF-_3TSh6KGgYT4
แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
http://110.164.68.234/news_raja/files/jwp8Pa5Fri50024.pdf
https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/qa_full.php?id=925
ชาวสวนส้มควรอ่าน
การฉีดยาฆ่าเชื้อเข้าต้นส้มจะทำให้พบยาฆ่าเชื้อตกค้างในส้มมากกว่าปกติ3เท่า
Spraying Antibiotics to Fight Citrus Scourge Doesn’t Help, Study Finds - The New York Times
https://www.nytimes.com/2019/08/16/health/antibiotics-citrus-spraying.html
190820
บทความอื่นๆ
🚨แพ้ยาเพนนิซิลลิน
https://www.blockdit.com/posts/635ab13bd272449a6fb3d099
😪แพ้ยาแก้แพ้
https://www.blockdit.com/articles/5f5884ff84b0d638e767f6f9
ADR ผื่นแพ้ยา
https://www.blockdit.com/articles/5cc868bc0c8e650ffe2169e5
ผื่นแพ้ยารุนแรงป้องกันได้
https://www.blockdit.com/articles/5ed80800713f890cbce8494a
SJS/TEN
https://www.blockdit.com/posts/61c5c933febdab0dcafbca85
การแพ้ยาข้ามกัน
https://www.blockdit.com/posts/60b8b5de5a7c010c4fefad0b
คู่ยาที่ห้ามใช้ร่วมกัน (Fatal drug interaction)
https://www.blockdit.com/posts/61ded42c85410e17817443a5
💥
ไปร้านยาถามหาเภสัชกร
https://www.blockdit.com/posts/633742adc1d0c0f60c9bb2ec
จรรยาบรรณ
https://www.blockdit.com/articles/5d512ec3832d0a439e8e1a8c
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย