24 ธ.ค. 2021 เวลา 13:20 • สุขภาพ
SJS/TEN
😈ผื่นแพ้ยาชนิดรุนเเรงทางผิวหนังที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและรุนแรงที่เรียกว่า กลุ่มอาการสตีเวนส์–จอห์นสันซินโดรม (Stevens-Johnson Syndrome หรือ SJS และ​ Toxic Epidermal Necrolysis (TEN) แม้จะพบได้น้อยประมาณ 2. 3-6. 7 คนในประชากร 1 ล้านคน​ แต่ก็มีอันตรายร้ายแรงอาจถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้
โดยความรุนแรงของผิวหนังที่เกิดการหลุดลอก
🔽ถ้าน้อยกว่าร้อยละ 10 ก็จัดเป็น SJS
🔼ถ้ามากกว่าร้อยละ 30 ก็จัดเป็น TEN
▶️ก่อนมีผื่นขึ้น 1-14 วัน​ จะมีอาการนำคล้ายไข้หวัด มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บคอ เจ็บปวดตามตัว หรือมีอาการเจ็บตามผิวหนังทั่วไป ประมาณร้อยละ 70 จะมีอาการคล้ายไข้หวัด
⏩ต่อมาจะมีผื่นคล้าย MP rash (ผื่นนูน หรือรอยแดง ที่มีการกระจายบนผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ ทั่วบริเวณของร่างกายอย่างเฉียบพลัน)​
⏭️ต่อมาผื่นจะพองกลายเป็นตุ่มน้ำและหลุดลอกออกอย่างรวดเร็วเป็นแผ่นใหญ่ๆ เป็นแผลตื้นๆ มีน้ำเหลืองหรือเลือดซึมๆ บริเวณเยื่อบุต่างๆ เช่น ริมฝีปาก เยื่อบุตา หรือตามอวัยวะเพศ​ มักมีการหลุดลอกร่วมด้วย มีเลือดออกซึม และเมื่อแห้งจะเป็นแผ่นสีดำคล้ำ
⏯️อวัยวะภายในต่างๆ ก็อาจเกิดความผิดปกติเช่นกัน มีอาการแสดงต่างๆได้แก่ กลืนลำบาก อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด หอบเหนื่อย ซึ่งมักเกิดจากร่างกายมีการสูญเสียน้ำปริมาณมาก จะมีอาการซีด เม็ดเลือดขาวมีปริมาณลดลง จะมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว มีโอกาสติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่ายมาก
ผู้ที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการแทรกซ้อนของอวัยวะภายใน เช่น มีแผลในทางเดินอาหาร ตับอักเสบ และอาจทำให้เสียชีวิตได้​ โดยอัตราการตายจะมีความสัมพันธ์กับขนาดของผิวหนังที่เกิดการหลุดลอก และอาการแทรกซ้อนที่เกิดกับอวัยวะดังกล่าว
⚠️⚠️⚠️ยาที่มักทำให้เกิดการแพ้ทางผิวหนังอย่างรุนแรงในประเทศไทย ได้แก่
1. ยารักษาโรคเกาต์เช่น allopurinol
2. ยากันชัก เช่น carbamazepine, phenobarbital, phenytoin และlamotrigine
3. ยาแก้ปวด/ต้านการอักเสบกลุ่ม NSAIDs เช่น ibuprofen, meloxicam, piroxicamและtenoxicam
4. ยาต้านไวรัส HIV เช่น nevirapine, abacavir
5. ยากลุ่มซัลฟา เช่น co-trimoxazole, sulfasalazine
6. ยากลุ่มเพนนิซิลินเช่น amoxicillin
7. ยารักษาวัณโรคเช่น rifampicin, isoniazid pyrazinamide, ethambutol
8. Dapsone
👨‍🔬ข้อควรปฏิบัติ
หากได้รับยาใดๆ และเริ่มมีอาการเจ็บคอ มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนปวดข้อหรือ มีผื่นผิวหนัง ผิดปกติ
⭕ ให้หยุดยาทันที
⭕ ถ่ายรูปผื่นในระยะแรก
⭕ นำยาที่ใช้ทั้งหมดพร้อมฉลากและชื่อยามาพบแพทย์และเภสัชกร
👩‍🔬หากท่านมีประวัติแพ้ยา
1. จดจำชื่อยา และอาการที่ท่านแพ้ยา
2. พกบัตรแพ้ยาติดตัว และยื่นแสดงบัตรหรือ
3. แจ้งชื่อยาที่แพ้แก่แพทย์และเภสัชกรทุกครั้ง
4. หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือกลุ่มยาที่เคยแพ้
✔️​ การแพ้ยาไม่ได้เกิดกับผู้ป่วยทุกราย และไม่สามารถทราบได้ว่าใครจะแพ้ยาอะไร
แต่สามารถสังเกตอาการนำได้ก่อนที่จะแพ้ยารุนแรง
✔️ ปัจจุบันการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ สามารถตรวจยีนเพื่อทำนายความเสี่ยงต่อการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรงทางผิวหนังได้ ทั้งนี้ยังไม่สามารถตรวจได้กับยาทุกชนิด
.
.
POSTED 2021.12.24
บทความอื่นๆ
🚨แพ้ยาเพนนิซิลลิน​
😪แพ้ยาแก้แพ้
ADR ผื่นแพ้ยา
ผื่นแพ้ยารุนแรงป้องกันได้
การแพ้ยาข้ามกัน
คู่ยาที่ห้ามใช้ร่วมกัน (Fatal drug interaction)
💥
ไปร้านยาถามหาเภสัชกร
จรรยาบรรณ
โฆษณา