17 พ.ย. 2019 เวลา 03:10 • สุขภาพ
ยารักษาเบาหวานกับกลไก Anti-aging
งานวิจัยพบช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ได้ แต่กำลังอยู่ในขั้นศึกษาทดลองในมนุษย์
เป็นหัวข้อที่มีความน่าสนใจอยู่พอสมควร สืบเนื่องจากวันที่ 14 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เป็นวันเบาหวานโลก และเราได้นำเสนอยาตัวหนึ่งเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศนั่นก็คือ Metformin ยังจำกันได้ไหมเอ่ย หากใครที่ยังไม่ได้อ่านสามารถอ่านได้จากลิงค์นี้ครับ จะได้เข้าใจยาตัวนี้มากยิ่งขึ้น https://www.blockdit.com/articles/5dccb26d39ac0d7307a7fcf6
Metformin มีกลไกหลักในการออกฤทธิ์คือ ลดการสร้างน้ำตาลที่ตับ (hepatic gluconeogenesis) และช่วยเพิ่ม peripheral insulin sensitivity รวมทั้งลดการดูดซึมของ glucose ที่ลำไส้ เราจึงใช้ Metformin ช่วยเพิ่มการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา
หลังจากปี 2000 เราเริ่มพบกลไกบางอย่างของ Metformin กับฤทธิ์ Anti-aging ซึ่งศาสตร์แห่งการชะลอวัยให้ความสนใจเป็นอย่างมาก จึงเริ่มมีการศึกษาทดลองโดยทำในหนูทดลองก่อน พบว่าได้ผลที่น่าสนใจเลยทีเดียว จากนั้นจึงขยายไปสู่การทดลองในมนุษย์ โดยเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่คือสามารถใช้เป็นยา Anti-aging ได้ในประชาชนทั่ว ๆ ไป
Time line การเดินทางของยา Metformin (ภาพจาก (1))
กลไกที่เกี่ยวข้องของยา Metformin และ Anti-aging ?
มีโปรตีนในร่างกายตัวหนึ่งที่อยากให้พวกเราจำนั่นคือ Adenosine monophosphate-activated protein kinase (AMPK) ขอเรียกสั้น ๆ ว่า AMPK ต่อไปจะได้คุ้นชินมากยิ่งขึ้น
AMPK คือโปรตีนในสมดุลพลังงานของเซลล์ มีหน้าที่ในกระบวนการเผาผลาญของกลูโคสและไขมัน และมีผลทำให้กระบวนการเผาผลาญลดลงส่งผลต่อชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้น
Metformin กระตุ้น AMPK จึงทำให้มีผลต่อการลดระดับของ Insulin และสาร IGF-1 ผ่านกระบวนการยับยั้ง mTOR ใน mitochondrial นำไปสู่การลดความเสียหายของดีเอ็นเอ (DNA) และมีผลต่อการเผาผลาญอาหารและกระบวนการของเซลล์ที่เกี่ยวข้อง จึงลดการเกิดภาวะ Autophagy และชะลอการเสื่อมของเซลล์ได้
2
นอกเหนือจากกระบวนการของ Metformin ต่อกลไกดังกล่าวแล้ว มีหลักฐานเพิ่มเติมถึงความสามารถในการชะลอความชรา ตัวอย่างเช่น ในไส้เดือนฝอยและหนูหลายสายพันธุ์ โดยอายุเฉลี่ยหนูตัวเมียเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 อีกทั้ง Metformin ยังชะลอการเกิดมะเร็งเต้านมได้ ร้อยละ 8 และชะลอการเกิดโรคฮันติงตัน (โรคเกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาท) ได้ร้อยละ 20
การศึกษาผล Anti-aging ของยา Metformin ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคคต (ภาพจาก (1))
ตัวอย่างการศึกษาผล Anti-aging ของยา Metformin
Alejandro Martin (2013) เป็นการศึกษา Metformin ในหนูทดลอง โดยใช้ Metformin 0.1% w / w ใส่ในอาหารและสังเกตอายุขัยเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทดลอง พบว่า ในปริมาณ Metformin 0.1% w / w ทำให้หนูมีอายุขัยที่มากขึ้นในขณะเดียวกันถ้าปริมาณ Metformin มีปริมาณที่สูงขึ้นจะทำให้เกิดพิษได้
จากการศึกษาทดลองในหนูพบว่าได้ผลดี ปัจจุบัน FDA ได้อนุมัติให้ทำการศึกษาในมนุษย์แล้ว คงต้องติดตามกันต่อว่าผลออกมาจะเป็นอย่างไร หากใช้ได้ผลจริง เราจะใช้ยาที่ขนาดเท่าไหร่ เหมาะสมกับทุกคนหรือไม่ ?
ทิ้งท้ายด้วยภาพกลไกอันแสนน่ารักของ Metformin
สรุปใน 1 ประโยคคือ "กระตุ้น AMPK ผลยับยั้ง mTOR ทำให้ลดการเกิดภาวะ Autophagy และชะลอการเสื่อมของเซลล์"
ความตายเป็นธรรมดาของชีวิต แต่สิ่งที่มนุษย์กำลังพยายามทำคือ ทำอย่างไรเราจึงจะยืดความตายออกไปได้นั่นเอง
ขอบคุณภาพจาก (4)
เอกสารอ้างอิง
2. The anti-aging drug of Metformin ของ ภก.ปารเมศ ถนอมกิจ และ ภก.อ.ดร.ยุทธภูมิ มีประดิษฐ์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา