6 มิ.ย. 2020 เวลา 15:21 • ธุรกิจ
นี้คือสิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนลงทุนในหุ้น Alibaba บริษัท
E-commerce ที่ใหญ่ที่สุดในจีน
Alibaba Group Holding Limited
หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Alibaba เป็นบริษัทสัญชาติจีน
ก่อตั้งในปี 1999 โดยมีชายที่ชื่อว่า Jack ma เป็นหัวหน้ากลุ่มผู้ก่อตั้ง จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญคือ Jack ma ได้มีโอกาสเดินทางไปสหรัฐอเมริกา และพบว่าในอินเตอร์เน็ตไม่มีเบียร์จีนขาย จึงเกิดแนวคิดการตลาดค้าออนไลน์ ได้สำเร็จ
ปัจจุบันมูลค่าของบริษัทมีมูลค่าราว 1.94ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เป็นบริษัทE-commerce ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นรองแค่ Amazon
ในบทความนี้จะพูดเกี่ยวกับความน่าลงทุนใน Alibaba
ผมขออธิบายโมเดลธุรกิจของAlibaba ที่มีความน่าสนใจ
•Alibaba สร้างระบบนิเวศน์ทางธุรกิจ (ecosystem)
เป็นเหมือนตัวกลางระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย โดย2เว็บไซต์หลักๆในAlibab คือTaobao และ T-mall
•Alibaba จะไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
สิ่งที่ Alibaba จะได้คือค่าโฆษณาที่ผู้ขายต้องการวางสินค้า
•Alibaba ใช้วิธีที่เรีกว่าพันธมิตรทางการตลาดที่สูงมาก
“สร้างเครือข่าย”Alibaba จะมีการแชร์และเชื่อมข้อมูลเหล่านี้กับ แบรนด์ผู้ขายต่างๆ เพื่อช่วยให้แต่ละแบรนด์สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์และพัฒนาสินค้า เพื่อทำการตลาด
•ไม่มีคลังสินค้าเป็นของตัวเองหรือเก็บสต็อกสินค้าไว้เลย
ถ้าจะให้พูดถึงโมเดลของ Alibaba คงต้องใช้เวลาหลายๆวันแน่ๆอันนี้ยกตัวอย่างประเด็นที่น่าสนใจ คร่าวๆ
2
พื้นที่ E-commerce ทั่วโลก
ต้องยอมรับว่าAlibaba ครองพื้นที่E-commerce ที่ใหญ่ที่สุดในจีน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ Alibaba ไม่ได้ครองพื้นที่เติบโตในจีนทั้งหมด
Alibaba ครองพื้นที่E-commerce ในจีนถึงร้อยละ 55.9จากยอดขาย E-commerce จากค้าปลีกทั้งหมด
JD.com มาเป็นอันดับสองโดยมีส่วนแบ่งการตลาดเพียงร้อยละ 16.7
2 ตลาดยักษ์ใหญ่ในAlibaba T-mallและTaobao
2 ตลาดค้าปลีกออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในAlibaba
T-mall จะเป็น marketplace สำหรับแบรนด์ผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ เช่น Nike Apple
Taobao ซึ่งเป็น marketplace สำหรับขนาดเล็กและกลาง
สิ่งที่น่าสนใจคือ T-mall ถึงแม้จะมีการซื้อขายน้อยกว่า Taobao แต่T-mall ได้รับการจับตามองว่าเป็นตลาดที่กำลังเติบโตในอนาคต
T-mall เป็นแพลตฟอร์มทางเลือกของธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่
T-mall เปิดตัวSKU (Stock Keeping Unit) ใหม่มากกว่า 50ล้าน รายการในT-mall ในปี2018เพียงอย่างเดียว
โดยในการนำเสนอสินค้าในปี2019 สินค้าของT-mall มีมูลค่ามากกว่า53% ของมูลค่ารวมสินค้าทั้งหมดของ Alibaba
1
T-mall ดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนมากมาย สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของ Alibaba
AliExpress
การตลาดในพื้นที่ของโลก
นอกจจาก Taobao และ Tmall ในประเทศจีนอาลีบาบายังมีพื้นที่ E-commerce ทั่วโลก
Alibaba ได้ทุ่มงบอย่างหนักไปกับ Lazada และ AliExpress
Lazada เป็นแพลตฟอร์มที่เติบโตอย่างรวดเร็วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในขณะที่AliExpresเป็นตลาดค้าปลีกระดับโลกที่ช่วยให้ผู้บริโภคทั่วโลกสามารถซื้อได้โดยตรงจากผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายในประเทศจีน
ยังรวมไปถึง Tmall Global เป็นแพลตฟอร์มที่แบรนด์ต่างประเทศและผู้ค้าปลีกสามารถเข้าถึงผู้บริโภคชาวจีนได้อย่างง่ายดาย
ด้วย E-commerce ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในพื้นที่เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และในมุมต่างๆทั่วโลกในชื่อ AliExpres จะเรียกว่าด้วยการกระจายความเสี่ยงไปทั่วโลก ทำให้Alibba น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
"Gross Profit Margin”
รูปแบบธุรกิจที่ไม่เหมือนใครของ Alibaba สร้างอัตรากำไรขั้นสูง ซึ่งเป็นธุรกิจที่สร้างเงินสด
ในปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2020 (FY2020), Alibaba บันทึกกระแสเงินสดอัตรากำไรขั้นต้น (ของเงินสดเป็นร้อยละของรายได้) ร้อยละ 25 ในแง่เงินดอลลาร์สหรัฐ
เป้าหมายการเติบโตของ Alibaba
อย่างที่ 1 ตั้งเป้าที่จะให้มีผู้ใช้งานชาวจีน มากกว่า1พันล้านคน
อย่างที่ 2 ตั้งเป้าที่จะมีรายได้ภายในปี 2024 10ล้านล้านหยวน
เท่ากับว่าการเติบโตของ GMP จะมากกว่า50% ในอีก4ปีข้างหน้า
โดยมุมมองของ ลงทุนในความรู้ เชื่อว่าAlibaba จะทำสำเร็จใน 2เป้าหมายอย่างแน่นอน เพราะการของพื้นที่
E-commerce ในเอเชียที่มากกว่าครึ่ง และการเปิดตลาดของ T-mall ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างมาก
ในปัจจุบันผู้ใช้งาน Alibaba ในจีนประมาณ 780 ล้านคน
โดยสัดส่วน 85% คือผู้ใช้งานในเมือง
ส่วน 40% คือสัดส่วนในพื้นที่ชนบทของจีน
•โดยผมคิดว่าสิ่งที่Alibabaกำลังจะทำคือเจาะเข้ากลุ่มชนบท แต่ผมคิดว่าไม่ได้เป็นสิ่งที่ไม่ยากเกินไป แต่ต้องระวังบริษัทอื่นๆแย่งลูกค้าไปด้วย เนื่องจากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาอินเทอร์เน็ตมีการใช้งานมากขึ้นในชนบทแล้ว
Alibaba ยังได้กำหนดเป้าหมายพัฒนาแพลตฟอร์ม
E-commerce ทั่วโลก
Lazada เป็นแพลตฟอร์ม E-commerce ที่เติบโตเร็วที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยจำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 50 ล้านคนต่อปี
ถึงแม้ว่า Shopee จะเป็นคู่แข่งตัวฉกาจของ Lazada ในภูมิภาคนี้ แต่มุมมองของผมคิดว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใหญ่พอที่จะรองรับทั้งสองแพลตฟอร์ม
Alibaba ไม่ได้พึ่งพา E-commerce แต่ยังมี Cloud,สื่อดิจิตอล,นวัตกรรม
Alibab Cloud
ถึงม้ว่าทั้งสามธุรกิจที่กล่าวมา จะไม่ได้ใหญ่เท่า
E-commerce แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ Alibaba cloudจะเป็นแหล่งทำกำไรที่ยิ่งใหญ่ให้กับ Alibaba อย่างแน่นอน
(เหมือนที่กำไรหลักของ Amazon มาจาก Cloud)
Alibaba Cloud เป็นผู้ให้บริการด้านพื้นที่เก็บข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก และเป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียนแปซิฟิก IUS (Infrastructure Utility Service)
Alibaba Cloud เป็นส่วนที่เติบโตเร็วที่สุดของAlibaba โดยมีการเติบโตของรายได้ 62% ต่อปีในปี FY2020
แม้ว่าตอนนี้ Alibaba Cloud จะยังไม่ได้สร้างกำไรมหาศาลให้กับAlibaba แต่ในอนาคตสิ่งนี้จะเป็นตัวแปรหลักในการสร้างกำไรให้กับ Alibaba
พูดถึงข้อที่ได้เปรียบของ Alibaba แล้วมาพูดถึงความเสี่ยงกัน
หลังจากที่การทำธุรกรรมปลอมของ Luckin Coffee ที่เข้าไปจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ในอเมริกา ได้ทำธุรกรรมปลอมโดยการแปลงตัวเลขของรายได้เกินจริง
ส่งผลให้สหรัฐ อาจจะมีการพิจารณาถอนบริษัทจากจีน ออกจากตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ ที่เป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
หากผู้อ่านซื้อหุ้นของ Alibaba ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก (NYSE) ในสหรัฐอเมริกา
คุณเป็นเพียงเจ้าของ ADR (ใบเสร็จรับเงินอเมริกันรับฝาก) ของนิติบุคคลดอกเบี้ยผันแปร (VIE) ซึ่งในทางกลับกันก็มีความสนใจในเศรษฐศาสตร์ของAlibaba
นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่ Alibaba ไม่สามารถดำเนินกลยุทธ์ในการเติบโต ได้อย่างสมบูรณ์
โดยเฉพาะในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีการแข่งขันที่สูงมาก
หุ้นของ Alibaba ยังมีราคารที่ premium ต่อตลาดในวงกว้าง
ซึ่งราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายที่ประมาณ25 เท่าของกำไรปี FY2020 และ29 เท่าของกระแสเงินสดอิสระ
มุมมองของผมมองว่า Alibaba น่าสนใจในการลงทุน ความน่าสนใจคือการครองพื้นที่ในเอเชียให้ได้มากที่สุด และการแข่งขันกับ Amazon
แต่มีสิ่งที่กังวลคือใน ระยะนี้ต้องรอดูสถานการณ์ทั่วโลกก่อน เพราะมีความผันผวนอย่างมากในปัจจุบัน สิ่งที่ผมจะทำคือการรอดูผู้ชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ เพราะมันจะเป็นเหมือนตัวแปรหลักของเศรษฐกิจโลก หากทรัมป์ได้เป็นประธานาธิบดีความตึงเครียดระหว่าง สหรัฐ-จีน ก็มีมาก จะส่งผลต่อราคาหุ้นให้เกิดความผันผวนอย่างเห็นได้ชัด
ขอบคุณผู้อ่านที่อ่านมาจนจบบทความ หากบทความนี้มีประโยชน์ อย่าลืมกดlike กด Share แลกเปลี่ยนความคิดที่มีประโยชน์กันได้ที่ช่อง Comment
โฆษณา