15 ม.ค. 2022 เวลา 16:56 • ไลฟ์สไตล์
เพราะคิดแบบนี้ถึงไม่มีเวลา
1
ทุกคนมีเวลาทั้งหมดในหนึ่งวันเท่ากัน แต่ด้วยเงื่อนไขและหน้าที่ของแต่ละคนที่แตกต่างกัน เวลาในส่วนที่เหลือจากภารกิจหลักๆ จึงมีอยู่ไม่เท่ากัน
เวลาที่เหลือจะน้อยหรือมากเป็นเรื่องส่วนบุคคล ถ้าไม่ไปกระทบกับบทบาทอื่นๆ จนทำให้กลายเป็นปัญหาตามมา เมื่อไม่มีเวลาให้ครอบครัวก็ทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ เมื่อไม่มีเวลาไปออกกำลังกายหรือแม้กระทั่งเวลาพักผ่อนที่เพียงพอก็ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ และปัญหาเหล่านี้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า กำลังขาดสมดุลในชีวิต
1
เคยมีคนแนะว่า ปัญหาบางอย่างแก้ได้ด้วยวิธีคิด เพียงแค่เราเปลี่ยนความคิดของตัวเองใหม่ก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น บทความนี้อยากให้ทุกคนลองสำรวจการใช้ชีวิตในแต่ละวันกันค่ะ ว่าพฤติกรรมไหนที่ทำให้เราสูญเสียเวลาโดยใช่เหตุ จากนั้นถ้าอยากมีเวลาเพิ่มก็เปลี่ยนวิธีคิดกับพฤติกรรมนั้นๆเสียใหม่
1
(pic: Pexels)
ความคิดเหล่านี้ ทำให้คุณสูญเสียเวลาไปโดยไม่รู้ตัว
1. ต้องทันทุกเหตุการณ์
2
ความอยากรู้เป็นสิ่งกวนใจที่ทำให้เกิดพฤติกรรมเฝ้ารอ เช่น อยากรู้ประเด็นร้อนจากแชทในกลุ่มเพื่อนๆ อยากอัปเดทข่าวดราม่าที่คนทั้งประเทศกำลังพูดถึง ฯลฯ
2
เพียงเพราะความคิดที่ต้องทันเหตุการณ์เสมอ ทำให้ติดนิสัยในการเปิดแจ้งเตือนอุปกรณ์สื่อสารทุกช่องทางไว้ใกล้ตัวเพื่อไม่ให้พลาดการอัปเดตข่าวสาร ซึ่งในแต่ละวันที่คุณเผลอเข้าไปมีส่วนร่วม เวลาของคุณจะหมดไปไวอย่างที่คาดไม่ถึง
2
2. เวลาเป็นเงินเป็นทอง
1
ข้อนี้เป็นแนวคิดที่แตกต่างจากข้อแรก เพราะค่อนข้างจะใช้เวลาไปกับเรื่องงานเป็นส่วนใหญ่ โดยมองค่าตอบแทนเป็นหลัก " ถ้าเราทำงานมาก ก็ได้เงินมาก "
1
การมุ่งทำงานอย่างหนักเพื่อหาเงินโดยไม่อยากเสียเวลาไปกับสิ่งที่ทำแล้วไม่ได้เงิน ถือเป็นแนวคิดที่สุดโต่งเกินไป และยังทำให้คุณเสียสมดุลการใช้ชีวิตในด้านอื่นๆ เช่น สุขภาพ ความสัมพันธ์ ฯลฯ
3
3. ทำงานให้เหมือนยุ่งตลอดเวลาจะได้ดูเป็นคนมีค่า
2
มักเป็นแนวคิดของคนติดภาพลักษณ์ อยากเป็นที่ยอมรับได้คำชื่นชม อยากดูเป็นคนเก่ง คนมีความสามารถ หรือไม่ก็คิดว่า เวลาว่างจากงานนั้นน่าเบื่อต้องหาอะไรทำถึงจะดูมีค่า
2
บางครั้งต้องตอบตัวเองให้ได้ว่า ยุ่งจริง หรือ ยุ่งเพราะไม่ได้บริหารจัดการเวลาในการทำงานให้ดี บางคนดูยุ่งทั้งวัน แต่แทบไม่ได้งานเป็นชิ้นเป็นอันก็มี ดังนั้นควรบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพจะดีกว่า ทำงานเสร็จแล้วเมื่อถึงเวลาพักก็ต้องพัก
3
4. ต้องดีที่สุดเท่านั้น
2
เป็นแนวคิดคล้ายๆคนที่ชอบความสมบูรณ์แบบ คือ จะทุ่มเทเวลามากมายไปเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด
2
คุณจะใช้เวลาไปกับการทำชิ้นงานอย่างละเอียด ยอมเสียเวลาไปค้นหาสิ่งที่ดีที่สุด ทั้งที่ไม่จำเป็น เป็นการเห็นค่าของเวลาน้อยเกินไป เพราะคุณสามารถไปทำอย่างอื่นได้คุ้มค่ากว่า
5. เกรงใจ
2
หลายคนขี้เกรงใจไม่กล้าปฏิเสธ ทั้งที่งานตัวเองล้นมือ แต่หากมีใครมาขอความช่วยเหลือ คุณจะตอบรับไว้หมด
2
หากคุณตอบตกลง เพราะพิจารณาแล้ว ว่าสำคัญ และคุณอยากจะช่วย นั่นก็เป็นเหตุผลในเชิงบวก เพราะการช่วยเหลือกันเป็นสิ่งที่ดี
แต่หากคุณไม่กล้าปฏิเสธเพียงเพราะ รู้สึกกลัวหรือเกรงใจ กลัวว่าเขาจะคิดว่าเราไม่เก่ง เกรงว่าเขาจะโกรธ แบบนี้ถือเป็นการจัดการงานที่ไม่มีประสิทธิภาพอย่างนึงเลยล่ะค่ะ เพราะมัวแต่ไปโฟกัสงานอื่นที่แทรกเข้ามา แต่งานตรงหน้าของคุณกลับเสร็จล่าช้าออกไป
6. ค่อยทำพรุ่งนี้ดีกว่า
1
นิสัยผัดวันประกันพรุ่ง ทำให้คุณติดกับดักเรื่องเวลา
3
คนส่วนใหญ่ชอบคิดว่า พรุ่งนี้น่าจะพร้อมกว่าวันนี้เสมอ พรุ่งนี้ค่อยทำ อาทิตย์หน้าค่อยไป การใช้เวลาของคุณจึงไม่ได้เป็นไปตามแผนการที่วางไว้ และกระทบไปถึงกิจกรรมอื่นๆ
(pic: Pexels)
อ่านถึงตรงนี้ หากมีเพียง 1 ข้อ ที่คุณตอบว่า " ใช่ " ให้ลองเปลี่ยนวิธีคิดของคุณดูค่ะ
2
และวิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ คิดในสิ่งที่ตรงกันข้าม กับ 6 ข้อที่กล่าวมา 😁
3
เคลียร์งานเสร็จไว ได้เวลากลับมามากขึ้นเพื่อนำไปใช้กับกิจกรรมคุณภาพอื่นๆที่คุณอยากจะทำแต่ไม่เคยมีเวลาให้ คงจะดีไม่น้อยเมื่อถึงเวลาเลิกงานคุณได้เก็บกระเป๋าออกไปฟิตเนส วันหยุดที่ไม่ต้องหอบงานไปทำที่บ้าน แต่ได้ใช้เวลากับคนในครอบครัว หรือออกไปท่องเที่ยวกันบ้าง
1
การเปลี่ยนวิธีคิดที่ผู้เขียนนำเสนอในวันนี้ เป็นเพียงแนวทางการแก้ปัญหาตรงจุดเล็กๆที่หลายคนอาจมองข้ามไป สิ่งสำคัญที่ควรจัดการให้ดี คือ การบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพค่ะ
1
ข้อมูลอ้างอิง
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ค่ะ
ถ้าชอบบทความที่นำมาเล่า อย่าลืม
♡กดติดตาม ♡กดไลค์ ♡กดแชร์ กันนะคะ
Simple Blog
15.01.22
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา