22 ก.พ. 2022 เวลา 02:09 • ปรัชญา
รับมืออย่างไร? เมื่อต้องเจอกับ Toxic ในที่ทำงาน
ทำยังไงดี?
คำว่า “Toxic” นั้น แปลตรงตัวได้ว่า “พิษ” ซึ่งคำ ๆ นี้เรามักจะนำมาเปรียบเทียบกับพฤติกรรมแย่ ๆ ของคนในสังคม อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือคนบางคนที่เป็นพิษภัยกับชีวิตของเรานั่นแหละ
“Toxic people” นั้นมีได้ในทุกที่ และแน่นอนว่าในที่ทำงานก็ไม่มีข้อยกเว้น ซึ่งการได้เจอ ได้ทำงานร่วมกันทุกวันนั้นสามารถทำให้สภาพแวดล้อมในการทำงานของเรากลายเป็น “Toxic workplace” ได้เลย
1
อยากจะบอกว่านี่ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ เลยนะ บางคนที่รับมือไม่ได้ อาจจะต้องเจอกับสภาวะถดถอยทางอารมณ์ เสียการเสียงาน ซึ่งบางครั้งเลยเถิดไปถึงชั้นเป็นโรคซึมเศร้า หรือโรคเครียดเลยก็มี
ดังนั้นใครที่กำลังเผชิญกับสภาวะเช่นนี้อยู่ อย่าปล่อยให้หัวใจของคุณต้องทนอยู่กับเรื่องแบบนี้นานจนเกินไป มารับมือกับเรื่อง Toxic แย่ ๆ ที่เป็นอุปสรรคในการทำงานกันดีกว่า ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลยครับ
1. กาย และใจนั้นต้องพร้อมอยู่เสมอ
ท่องเอาไว้เสมอว่าสุขภาพกาย และใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด ยิ่งต้องต่อสู้กับ Toxic แล้วล่ะก็ สองสิ่งข้างต้นนั้นยิ่งสำคัญ อาจเริ่มจากการแบ่งเวลาที่ชัดเจนเพื่อให้โฟกัสได้ง่ายก่อน กล่าวคือ เมื่ออยู่นอกเวลางานก็ต้องปล่อยวางเรื่องงาน ขณะเดียวกันก็ต้องเต็มที่เสมอเวลาที่อยู่ในงานเช่นกัน
2. พยายามสร้างระยะห่างที่เหมาะสม
ควรถอยห่างออกมาบ้าง ทั้งนี้การเว้นระยะก็เพื่อให้แต่ละฝ่ายได้มีเวลาคิด และบริหารจัดการอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองให้ดีก่อน
3. ระบายความเครียดบ้าง
ความเครียด หรือว่าความรู้สึกที่ไม่ดีทั้งหลาย หากปล่อยให้อัดอั้น เก็บไว้กับตัวนานก็รังแต่จะป่วยไข้ได้ ควรหาวิธีระบายความเครียดบ้างตามจริตของตัวเอง
4. คิดถึงเป้าหมายเข้าไว้
ลองทบทวนว่าเรามาทำงานในที่นี้เพื่ออะไร จุดมุ่งหมายอยู่ตรงไหน ก็จะทำให้เรามีแรงฮึดสู้ในการทำงานต่อไป
5. หาพันธมิตรที่ไว้ใจได้
หาใครสักคนที่ไว้ใจได้เพื่อเป็นเพื่อนคู่คิด คอยให้กำลังใจ และช่วยเหลือกัน ก็จะทำให้เราสามารถผ่านช่วงเวลาแห่งความยากลำบากนี้ไปได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
6. ลองพูดคุยเพื่อปรับจูนวิธีการทำงาน
กล่าวคือควรมีการพูดคุย ทำความเข้าใจในสไตล์การทำงานของแต่ละคน และหาข้อตกลงร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว
7. รักษาความเป็นมืออาชีพ
ตัดดราม่าในเรื่องต่าง ๆ ทิ้งไป แล้วโฟกัสไปที่การทำงานเป็นหลัก เมื่อเจอปัญหาก็ให้คิดเสียว่าเป็นการฝึกฝนเพิ่มทักษะ เริ่มที่ตัวคุณ พยายามเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน และลดภาวะ Toxic ในองค์กรให้ได้
1
สุดท้ายหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกท่านไม่มากก็น้อย
ทั้งนี้ยืนยันว่าบทความของผมไม่ใช่คำตอบ หรือบทสรุปที่ดีที่สุด ทุกท่านควรใช้วิจารณญาณส่วนตัวในการรับข้อมูลด้วยนะครับ
ขอบคุณทุกการตอบรับ ไม่ว่าจะเป็นการติดตาม ไลค์ คอมเมนท์ หรือว่าแชร์ ทุกกำลังใจสำคัญสำหรับผมเสมอ
ติดตามอ่านบทความได้ที่
ขอบคุณทุกคนครับ
แล้วพบกันใหม่ในโพสต์หน้า
สวัสดีครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก AdeccoThailand และ roojai.com รวมทั้งขอบคุณรูปภาพจาก https://www.facebook.com/kaimuknilawanofficial มา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา