28 ก.พ. 2022 เวลา 03:23
ปฏิจจสมุปบาท หรือ ขันธ์ 5 คือธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้
เมื่อพวกเราได้รับทราบถึงบริบทของพระไตรปิฎกว่ามีการเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก ด้วยเหตุด้วยปัจจัยใดแล้ว เป็นประการที่1 ลำดับต่อมาพวกเราก็ได้ทราบว่า พระธรรมคำสอนในพระพุทธเจ้า ที่ประกาศธรรมแล้วตลอดพระชนชีพได้ถูกนำมารวบรวมเป็นบทพยัญชนะเป็นพระไตรปิฎกเอาไว้ โดยการนำมาของอรหันตสาวก มาแสดงให้แกกันและกันฟังอยู่นั้น พระธรรมคำสอนก็ยังคงคุณสมบัติ ที่น่ามหัศจรรย์คือ ลึกซึ่ง เห็นตามได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดเดาไม่ได้ ละเอียดสุด บัญฑิตพึ่งรู้แจ้งได้ด้วยตนเอง ยังคงคุณสมบัตินี้ครบถ้วน ทุกประการ
ลำดับต่อมาอาตมาจึงได้แสดงเหตุแสดงปัจจัย โดยเฉพาะเหตุปัจจัยเพียงประการเดียว ที่จะทำให้บุคคลผู้หนึ่งผู้ใด เมื่อเข้าไปศึกษาพระธรรมคำสอนในพระพุทธเจ้า ที่อรหันตสาวกได้รวบรวมขึ้นเป็นพระไตรปิฎกนี้แล้ว จะสามารถรู้จริงแทงตลอด ในพระธรรมคำสอนนั้นๆจนเป็นที่ถ้วนรอบได้นั้น บุคคลผู้หนึ่งผู้ใดนั้นจะต้องเป็นบุคคลผุ้ที่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยในชาติปางก่อนคือ ได้ฟังธรรมนี้มาก่อนเนืองๆ ได้จำติดปาก ได้จำขึ้นใจ ได้แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ในธรรมนั้นๆมาก่อนเท่านั้น จึงจะได้รับอานิสงส์4ประการ
และบุคคลผู้ที่จะเข้าถึง พระธรรมคำสอนในพระไตรปิฎกได้นั้น จะต้องเป็นบุคคลผู้ที่้ได้รับอานิสงส์ประการที่2เท่านั้น คือบุคคลผู้นี้เมื่อได้ ฟังพระภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ได้แสดงธรรมแก่เทพบริษัทอยู่ เขาได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า ในกาลก่อนโน้น เขาได้เคยประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้น บุคคลผู้นี้เมื่อเข้าไป หรือเมื่อศึกษาพระธรรมคำสอนในพระไตรปิฎกจะรู้ทันทีว่า อ่อนี่เป็นธรรมอย่างนั้นเป็นธรรมอย่างนี้ ไปโดยทันที อย่างรู้แจ้งแทงตลอดได้โดยทันที นี่คือบุคคลผู้ที่ได้รับอานิสงส์4ประการ ในประการที่2
ลำดับต่อมาเมื่อพวกเราได้รับทราบดังนี้แล้ว ทำให้พวกเราได้เกิดความสงสัยว่าแล้วทำไมในพระไตรปิฎกจึงมีอรรถกถาหรืออรรกถาจารย์อยู่ อาตมาก็ได้อาศัยพระธรรมคำสอนในพระพุทธเจ้า แสดงเหตุแสดงปัจจัยถึงอรรกถาที่เกิดขึ้นในพระไตรปิฎกแล้ว ลำดับต่อมายังเกิดความสงสัยว่าแล้วพุทธวจน ที่ปรากฏอยู่ในโลกทุกวันนี้ ได้มีผลอย่างไรต่อพระไตรปิฎกหรือไม่ ในข้อนี้อาตมาก็ได้อาศัยเหตุอาศัยปัจจัยตอบคำถามให้กับปวงญาติให้ได้รับทราบเป็นที่บริบูรณ์แล้ว
เราเองเมื่อได้ทราบถึงเหตุถึงปัจจัยของทั้งอรรกถาและพุทธวจนแล้ว ให้เราตั้งจิตให้ตั้งตรงว่า บุคคลผู้ที่ทำอรรถกถาและบุคคลผู้ที่ทำพุทธวจนนั้น ต่างคนต่างมีความศรัทธาด้วยความบริสุทธิ์ใจเช่นกัน แต่เนื่องจากว่าบุคคลเหล่านี้ เป็นบุคคลที่ไม่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยในชาติปางก่อน จึงเป็นเหตุให้ท่านกระทำการทั้ง2เหตุการนี้ ทั้งอรรถกถาและพุทธวจน
เราไม่เอาโทษ เราไม่โกรธ เราไม่ว่าใดๆ เราไม่เอาแพ้เอาชนะ แต่เราพูดด้วยเหตุด้วยปัจจัย ที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่อรหันตสาวกได้กระทำการรวบรวมพระธรรมคำสอนในพระพุทธเจ้าเป็นพระไตรปิฎก เป็นหลักฐานทางธรรมเฉพาะของท่านนี้เท่านั้น และเราได้รับคุนูปาการนั้นๆโดยเหตุโดยปัจจัยแล้ว เมื่อรับทราบดังนี้ก็ให้เราวางใจลงเป็นที่เป็นกลาง ด้วยความรักด้วยความศรัทธาต่อกันเถิด สักวันหนึ่งเหตุปัจจัยอาจจะสงผลต่อกันในทางที่ดีขึ้น
ลำดับต่อไปนี้ ได้นำเอาพระไตรปิฎกฉบับหลวงซึ่งเป็นภาษาไทย นี่เป็นฉบับที่16 ถูกทำปกใหม่เพราะปกเดิมนั้น ไม่สามารถจะรักษาเนื้อแห่งบทพยัญชนะ หรือกระดาษภายในที่รวบรวมพยัญชนะนี้เอาไว้ได้ จึงต้องกระทำปกใหม่
พระไตรปิฎกนี้เป็นพระไตรปิฎกที่ชัดทำขึ้นหรือทำความรวบรวม แปลเป็นภาษาไทยอย่างบริบูรณ์เมื่อปี 2514 ก็ล่วงมา50กว่าปีแล้ว 50ปีพอดีเท่าที่ดุ ปกจึงไม่คงทน ณที่แห่งนี้ ไม่มีอรรถกถาอยุ่ และไม่ได้ถูกทำพุทธวจนคือตัดถอนแต่ประการใด ยังคงสภาพบริบูรณ์ครบถ้วนทุกประการ ทุกเล่มในจำนวน45เล่ม
ณ ที่แห่งนี้ต้องแสดงความเคารพต่อคุนูประการของบุคคลผู้ที่มีความสามารถยิ่ง อาทิ หลวงปู่เจีย เขมโกและคณะผู้แปลพระวินัย หลวงปูฟื้น ชุตินธโร พร้อมคณะ ผุ้แปลพระสูตร หลวงปู่อาจ อาสโภ พร้อมคณะผู้แปลพระอภิธรรม แปลจากภาษาเดิม ภาษามคธหรือภาษาบาลีสันสกฤต มาเป็นภาษาไทย ให้บริบูรณ์นี้
จนทำให้อาตมาแอบระลึกว่าถ้าหากพระพุทธเจ้าได้มีพระชาติเกิดเป็นคนไทยเรา พูดภาษาไทยเรา อาตมาเชื่อมั่นว่าถ่อยคำที่พระพุทธเจ้าประกาศธรรมนั้น ก็จะเหมือนกันกับที่บุคคลทั้ง3และคณะแปลเอาไว้ในพระไตยปิฎกนี้
เหมือนกันทุกประการ เพราะเนื้อความแห่งธรรมในนี้หรือ คำตรัสของพระพุทธเจ้าที่ถูกแปลออกมาแล้ว เป็นภาษาท
วิจิตงดงาม สละสลวยยิ่งนัก น่าเทิดทูลยิ่งนัก ขอแสดงความเคารพด้วยความนอบน้อมยิ่งเลย
ลำดับต่อไปนี้เรามาดูเนื้อความแห่งธรรม ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกว่าพระพุทธเจ้านั้น พระองค์ท่านได้ตรัสรู้เป็นพระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยพระสูตรใด ด้วยบทธรรมใด เรามาดูกันไปตามลำดับ
อาตมาได้แสดงให้กับพวกเราได้รับฟังแล้วว่าพระไตรปิฎกนั้นไม่ใช่ตำราเรียน ไม่ใช่ตำราเรียนไม่ใช่เหตุปัจจัยที่อรหันตสาวกทำการรวบรวมเลย ไม่ได้รวบรวมขึ้นเพื่อให้บุคคลหนึ่งบุคคลใด มาทำการศึกษาเล่าเรียนเพื่อที่จะรู้ตามธรรมแล้วจะปฏิบัติตนออกจากทุกข์ ที่มีอยู่ในวัฏสงสารนี้ได้โดยครบถ้วนนั้น ไม่ใช่ แต่เป็นหลักฐานทางธรรมที่เอาไว้ ป้องกันป้องปราม บุคคลที่จะกล่าวจาบจ้วงต่อพระพุทธเจ้า ต่อพระธรรม ต่อพระภิกษุสงส์ ผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในพระธรรมคำสอนในพระพุทธเจ้านั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ดังนั้นพระธรรมคำสอนที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกนั้น จึงไม่มีลำดับว่าเป็นเบื้องต้นดังนี้ ท่ามกลางดังนี้ บั้นปลายดังนี้ ไม่มีเลย แต่ถูกชัดเป็นหมวดๆอยู่ ดังนั้นผู้รู้เท่านั้นจึงจะรู้ตามธรรมนี้ได้ วันนี้เรามาดูว่าพระพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้ คือสามารถก้าวล่วงจากความเป็นโพธิสัตว์ เข้าสู่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยพระสูตรใดบ้าง เรามาดูกัน
อาตมาได้ทำการรวบรวมเอาไว้เป็น 3 ลักษณะได้ชี้ให้ดูเป็น3ลักษณะ ลักษณะที่1 พระพุทธเจ้าประกาศธรรมว่าพระองค์ท่านตรัสรู้นี้ด้วยมหาปทานสูตร ในมหาปทานสูตรนี้จะมีการแสดงบทเบื้องต้นว่า ขณะที่ยังเป็นบุคคลผู้ที่ยังไม่ได้ถือบวชยังอยู่ในสภาวะที่เป็นทุกข์ทั่วไปในโลก ท่านก็ทรงสถานะภาพอยู่เท่านั้น แล้วหลังจากนั้นเมื่อเหตุ ปัจจัยประชุมพร้อม ท่านก็ได้ไปเห็นเทวทูตทั้ง4 คือไปเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณ หลังจากนั้นท่านก็ออกบวช เมื่อออกบวชแล้ว พระพุทธเจ้าองค์อื่นๆนั้นก็จะทำความ แยบคายในปฏิจจสมุปบาทเลย
แต่สำหรับพระพุทธเจ้าสมณโคดมนั้น ท่านต้องไปใช้กรรม ฟังดีๆต้องไปใช้กรรมที่พระองค์ท่านเคยกล่าวจาบจ้วง ต่อพระปัจเจกกัสสปะในเรื่องของการได้มาซึ่งโพธิญาณ จากคำกล่าวของบุคคลผู้ที่เป็นบุคคลชั้นสูงต่อกันแล้ว ทำให้กรรมของสมณโคดมนั้นหนัก ต้องใช้กรรมบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ถึง6ปี นี่คือคำหนักคือโทษของบุคคลผู้ที่ทำกรรมต่อกันในฐานะที่สูงแล้วจึงได้รับกรรมนี้ เมื่อพ้นกรรมนี้แล้ว องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมณโคดมจึงบรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสสนวิเสส เหมือนกับคนอื่นๆ เหมือนกับพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ เมื่อบรรลุธรรมแล้วทุกๆพระองค์มีอาการเหมือนกันคือ จะไม่ประกาศธรรม จะไม่ประกาศธรรมแต่พอตัดสินใจประกาศธรรม ก็มีผู้รู้ธรรมตามท่านได้ นี่พระสูตรลักษณะนี้ เป็นพระสูตรที่ 1
ลำดับที่2เป็นพระสูตรที่2 ในการตรัสรู้อย่างเช่นพระสูตรที่ชื่อว่า วิปัสสี สิขี เวสสภู กุกุสันโธ โกนาคมโน กัสสโป
โคตโม หรือมหาศักยมุนีโคตมสูตรจากพระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่16 พระสูตรนี้จะแสดงการตรัสรู้โดยพระองค์ท่านนั้นจะแสดงเหตุปัจจัยเบื้องต้นว่า ในเบื้องต้นที่ท่านยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่นั้น แต่ก่อนยังไม่ได้ตรัสรู้ เราได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า โลกนี้ถึงความยากแล้วหนอ ย่อมเกิด ย่อมแก่ ย่อมเจ็บ ย่อมตาย ก็แหละถึงจะเป็นเช่นนี้ ธรรมอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์คือชรามณะนี้ก็ยังไม่ปรากฏ แล้วเมื่อใดเล่าธรรมอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์คือชรามณะนี้จะปรากฏ
แล้วหลังจากนั้นพระองค์ท่านก็ทำความแยบคายเหมือนกันกับพระสูตรที่หนึ่งนี้ ลักษณะที่หนึ่งนี้ ก็เห็นบทธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท ทั้งฝ่ายข้างเกิดและฝ่ายข้างดับเหมือนกัน ลักษณะที่มหาปทานสูตรกับวิปัสสีสูตรถึงมหาศักยมุนีโคตมสูตรนี้เหมือนกันทุกประการในการบรรลุธรรม คือบรรลุด้วยการเห็นปฏิจจสมุปบาทฝ่ายเกิดและก็ทำความดับทุกข์โดยปฏิจจสมุปบาทฝ่ายดับ สองลักษณะการตรัสรู้นี้เหมือนกัน แต่เพียงพระสูตรที่สองนี้สรุปสั้นลงเท่านั้นเอง เห็นการเกิดขึ้นและดับลงโดยปฏิจจสมุปบาทเลย
สำหรับลักษณะที่3 อย่างเช่นพระสูตร โพธิราชกุมารสูตร มหาสัจจกสูตร หรือสคารวสูตร พระสูตรนี้จะพูดถึงหรือจะตรัสถึงการตรัสรู้โดยการบรรลุฌาน บรรลุฌาน1 ฌาน2 ฌาน3 ฌาน4เลย ไม่ได้พูดถึงหรือไม่ได้ตรัสถึงการเกิดขึ้นของกองทุกข์โดยปฏิจจสมุปบาท การดับทุกข์โดยปฏิจจสมุปบาทไม่ได้พูดเลย เราจะเห็นความต่างกันระหว่างอาการที่หนึ่งและอาการที่สองหรือการตรัสรู้ที่หนึ่งหรือที่สองนี้ เห็นตรัสรู้โดยปฏิจจสมุปบาทฝ่ายเกิดและฝ่ายดับ ทั้งสองพระสูตร แต่พระสูตรที่สามนี้จะตรัสรู้โดยการบรรลุฌาน1ฌาน2 ฌาน3 ฌาน4
ณ ที่ตรงนี้อาตมาจะชี้ให้พวกเราได้ดูชัดๆลงไปเลยว่า ทั้งสามพระสูตรนี้เป็นการตรัสรู้เหมือนกันทุกประการ คือพระสูตรที่สามก็ตรัสรู้โดยเห็นการเกิดขึ้นของปฏิจจสมุปบาท และเห็นความดับลงโดยปฏิจจสมุปบาท โดยการบรรลุฌานนั่นแหละคือก็การดับลงโดยการดับปฏิจจสมุปบาท เป็นอาการดับโดยปฏิจจสมุปบาท เพราะฉนั้นพระสูตรที่หนึ่งและพระสูตรที่สอง ก็การเห็นความดับทุกข์โดยปฏิจจสมุปบาท ก็คือดับโดยการกระทำฌาน ดับโดยการกระทำฌานเหมือนกันทุกข์ประการดังนี้ ให้พวกเราได้เข้าใจดังนี้
แล้วหลังจากนี้ไปเมื่ออาตมาได้แสดงพระสูตรเหล่านี้ให้กับพวกเราได้รับฟัง ให้พวกเราเข้าใจอย่าได้สงสัยว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้สองครั้งหรือ? ครั้งหนึ่งพระองค์ท่านเห็นการเกิดโดยปฏิจจสมุปบาท และดับทุกข์โดยปฏิจจสมุปบาทหรือ? นี่เป็นครั้งที่หนึ่ง แล้วครั้งที่สองพระองค์ท่านได้ตรัสรู้โดยการบรรลุฌานหรืออย่างนี้? พวกเราอย่าสงสัย อาตมาแสดงให้ฟังว่าพวกเราอย่าสงสัย ให้ได้รับรู้ว่าทั้งสามพระสูตรนี้ คือพระองค์ท่านเห็นการเกิดปฏิจจสมุปบาท เห็นความทุกข์โดยปฏิจจสมุปบาท และดับทุกข์นี้ดับโดยปฏิจจมุปบาท เหมือนกันทุกข์ประการ
ทั้งสามพระสูตรนี้ดับทุกข์โดยการกระทำฌานเท่านั้น ความเป็นที่สุดต้องกระทำฌานถ้าไม่กระทำฌาน บุคคลคนนั้นจะไม่พ้นทุกข์ได้เลย ดังนั้นพวกเราทั้งหมดก็ต้องกระทำฌานเป็น
แล้วมาดูว่าธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนั้นคืออย่างไร? ให้พวกเราได้ดูเป็นเบื้องต้นก่อน
ในปฏิจจสมุปบาทนั้นจะประกอบไปด้วยธรรมที่เป็นปัจจยาการต่อกันอยู่ อาตมาได้รวบลงเป็นสิบสองปัจจยาการ
คืออวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
นี่คือบทธรรมที่เป็นปัจจยาการของปฏิจจสมุปบาท มีสิบสองปัจจยาการต่อกันไป เริ่มตั้งแต่อวิชชาไป อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ไปตามลำดับ พระองค์ท่านจะตรัสต่อท้ายตรงนี้ว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น มีได้ด้วยประการฉะนี้ หลังจากแสดงปฏิจจสมุปบาทจบแล้ว
แล้วหลังจากนั้นก็จะตรัสต่อท้ายว่า สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง5 เป็นตัวทุกข์ ขันธ์5 ประกอบไปด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ห้าคำ นั่นหมายถึงว่าปฏิจจสมุปบาท หรือบทธรรมแม่บทหลักนี้ถูกย่อลงเป็นขันธ์5 อาตมาได้แสดงให้กับพวกเราได้รับฟังประจำว่า ขันธ์5ไม่ใช่ร่างกายมนุษย์ ขันธ์5แบ่งแยกเป็นรูปกับนามไม่ได้ ขันธ์5นี้คือบทย่อของปฏิจจสมุปบาทนี้ ในฐานะของพระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระอริยเจ้าแล้วจะรู้เห็นตรงกันว่า ธรรมสองบทนี้เหมือนกันทุกประการ
ธรรมสองบทนี้เหมือนกันทุกประการเพียงแต่ปฏิจจสมุปบาทนี้แสดงรายละเอียด ขันธ์5เป็นบทธรรมย่อ เมื่อจะเอาขันธ์5 ขึ้นมาแสดงเป็นบทธรรมละเอียดโดยปฏิจจสมุปบาท ผู้รู้ก็ทำได้ไม่ต่างกัน ใครทำไม่ได้คนนั้นไม่รู้จริง
แล้วต่อไปนี้เมื่อเรารู้ดังนี้ว่าธรรมทั้งสองบทนี้เป็นธรรมอันเดียวกันแล้ว เราก็ต้องรู้ว่าธรรมอันนี้แสดงอะไรอยู่จึงเกิดทุกข์หละ แล้วทำยังไงเมื่อดับปฏิจจสมุปบาทนี้จึงพ้นทุกข์หละ อะไรเป็นต้นเหตุ ให้รับรู้ว่าธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ ทั้งปฏิจจสมุปบาทบทเต็มและขันธ์5บทนี้ เป็นธรรมที่แสดง อาการ ลิงค นิมิต อุเทส ของอะไร ของจิต ของมโน ของวิญญาณ ของสรรพสัตว์ทุกตัวทุกตนบุคคลเราเขา
ปฏิจจสมุปบาทบทกับขันธ์5 เป็นธรรมที่แสดง อาการ ลิงค นิมิต อุเทส ของจิต ของมโน ของวิญญาณ ของสรรพสัตว์ทุกตัวทุกตนบุคคลเราเขา
เพราะฉะนั้นเราต้องรู้ธรรมนี้ตามพระพุทธเจ้า ที่พระองค์ท่านได้ตรัสรู้และนำมาประกาศ เป็นธรรมนี้ ธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ ถ้าใครไม่รู้ธรรมนี้ บุคคลคนนั้นไม่เป็นผู้รู้ตามธรรมของพระศาสดาเป็นเบื้องต้น ท่านตรัสรู้ธรรมนี้ เราก็ต้องรู้ธรรมนี้ ท่านรู้ว่าธรรมนี้ย่อลงมาเป็นขันธ์5 เราก็ต้องย่อตามท่าน ธรรมนี้คือธรรมที่แสดง อาการ ลิงค นิมิต อุเทส ของจิต ของมโน ของวิญญาณ เราก็ต้องรู้ตามท่าน ถ้าเราไม่รู้ตามดังนี้ เราไม่สามารถรู้ธาตุที่6ของโลกเลย
ในโลกนี้มีธาตุอยู่หกธาตุคือ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ วิญญาณ วิญญาณเป็นธาตุที่6 ดูตามความยาบ ดินยาบสุด น้ำเหลวลงมา ไฟต้องก่อ ลมต้องพัด อากาศ ต้องสัมผัสได้ว่าร้อนเย็นยังไง วิญญาณละเอียดกว่านั้นเยอะ
วิญญาณนี้คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระองค์ตรัสรู้ในเรื่องวิญญาณนี้เป็นสำคัญ และไม่มีใครคัดค้านได้ ให้พวกเราได้รับทราบตามนี้ ลำดับต่อไปจากนี้ไปหลังจากที่พวกเราได้รู้ว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้โดยบทธรรมในลักษณะ3ประการนี้ เหมือนกันทุกประการคือเห็นความเกิดขึ้นโดยปฏิจจสมุปบาทของกองทุกข์ และเห็นการดับลง ดับลงด้วยการดับปฏิจจสมุปบาท ทั้งสามพระสูตร เรารู้แล้วว่าปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ขันธ์5คือธรรมที่เป็นบทย่อของปฏิจจสมุปบาท ขันธ์5และปฏิจจสมุปบาท หรือปฏิจจสมุปบาทกับขันธ์5นี้ เป็นธรรมที่แสดง อาการ ลิงค นิมิต อุเทส ของจิต ของมโน ของวิญญาณ ของสรรพสัตว์แต่ละตัวแต่ละตนบุคคลเราเขา
เราต้องรู้ในบทพยัญชนะ ทั้งบทเต็มและบทย่อ ลำดับต่อไปอาตมาจะอธิบายให้ฟังว่าคุณสมบัติของธรรมแต่ละบทๆนั้นคืออย่างไร ที่เป็นปัจจยาการต่อกัน พอย่อมาเป็นขันธ์5ย่ออย่างไร พอจะแสดงเป็นปฏิจสมุปบาทแสดงอย่างไร
ที่ว่าอาการ ที่ว่าลิงค ที่ว่านิมิต ที่ว่าอุเทส ของจิต ของมโน ของวิญญาณเป็นอย่างไร อาตมาจะแสดงให้พวกเราได้รับฟังไปตามลำดับ ถ้าเราไม่รู้สิ่งนี้ เบื้องต้นแล้ว ก็อย่าหวังว่า ท่ามกลางบั้นปลายเราจะรู้ได้ รู้ไม่ได้ รู้ในธรรมนี้ไม่ได้ถ้าไม่เห็นตรงนี้ก่อน เราต้องเห็นที่ตรงนี้ไปตามลำดับ
ส่วนว่าต่อไปนั้นย่ออย่างไร หรือย่อลงมาเป็นฝ่ายดับทุกข์ทีนี้ นี่เพิ่งฝ่ายดับทุกข์นะ สำหรับฝ่ายดับทุกข์ถูกย่อลงมาเป็นสติปัฏฐาน4 ถูกย่อลงมาเป็นวิตกวิจาร ถูกย่อลงมาเป็นธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์อย่างไรนั้น เราค่อยรู้ไปตามลำดับเพื่อไม่ให้เหนื่อยให้หนักต่อพวกเราจนเกินไป
ในเบื้องต้นนี้ ตอนนี้ให้เรารับทราบว่าขันธ์5นี้ อาตมาจะชี้ตรงที่สรุปจบนะ ขันธ์5นี้คือธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นะ
เพราะขันธ์5นี้คือปลายสุดของปฏิจจสมุปบาท ขันธ์5เป็นบทย่อของปฏิจจสมุปบาท แต่ที่จริงเบื้องต้นก็คือปฏิจจสมุปบาทนี้แหละคือธรรมที่พระศาสดาตรัสรู้ แต่เพราะเมื่อพระองค์ท่านสรุปจบว่า สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง5 เป็นตัวทุกข์ ก็แสดงว่าที่สุดแห่งทุกข์สรุปลงเป็นขันธ์5นี่แหละ อาตมาจะบอกว่าขันธ์5หรือปฏิจจสมุปบาทนี้คือธรรมที่พระศาสดาตรัสรู้ ให้กับพวกเราได้รับรู้ให้พวกเราได้ใส่ใจยิ่งๆในบทธรรมนี้ เพื่อทำความรู้ตามจนรู้จริงจนแทงตลอดในธรรมนี้ให้เป็นที่ถ้วนรอบ ทุกคนในปวงญาติหรือผู้ที่ได้รับฟังโดยทั่วไป
อนุโมทนากับทุกคนเอาไว้เท่านี้
แสดงธรรมโดยหลวงพ่อ พุทธปัญโญ
วันจันทร์ที่11 มกราคม ปี2564
อ้างอิง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา