28 ก.พ. 2022 เวลา 08:15
ปฏิจจสมุปบาทหรือขันธ์5 คือเหตุที่พระพุทธเจ้าจะไม่ประกาศธรรม
สืบเนื่องจากปวงญาติ เมื่อได้ฟังธรรมในพระพุทธเจ้าที่อาตมาได้แสดงอยู่ ในหัวข้อธรรมที่ว่า ธรรมอันเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นพระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า บรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสสนวิเสส ธรรมบทนั้นคือธรมที่ชื่อว่าปฏิจจามุปบาท
พอโยมได้ฟังแล้ว โยมได้ปรารภเหตุว่าตนนั้นได้ฟังธรรมนี้หลายต่อหลายครั้งแล้ว แต่ทำความรู้จริงยังทำความแทงตลอดในธรรมนี้ไม่ได้ และจนแม้กระทั้งธรรมที่ถูกย่อลงมาเป็นขันธ์5นั้น ตนก็ยังไม่รู้จริงไม่แทงตลอดในธรรมนั้นได้เลย พอได้รับคำปรารภเหตุดังนี้แล้ว อาตมาเองกลับรู้สึกอนุโมทนากับโยมนะ ที่โยมได้แสดงความจริงใจ คือเมื่อไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ หรือเมื่อถึงคราวเมื่อตัวเองรู้ ก็จึงจะบอกได้ว่าตนเองได้เป็นผู้รู้แล้ว
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นปวงญาติกำลังทำเหตุทำปัจจัยอันสมควรอยู่นั่นคือ ประการที่1
เราได้เป็นผู้ที่ฟังธรรมนี้เนื่องๆอยู่หนึ่ง ลำดับต่อมาเราได้เป็นผู้ที่จำธรรมนี้จนติดปากหนึ่ง ลำดับต่อมาเราได้เป็นผู้ที่จำธรรมนี้จนขึ้นใจหนึ่ง และลำดับต่อมาเราจะต้องเป็นผู้ที่แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิในธรรมนั้นๆให้เป็นที่ถ้วนรอบ
โดยเฉพาะธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ท่านถึงกับจะไม่ประกาศธรรมนะ ท่านถึงกับจะไม่ประกาศธรรมเรามาดูกันว่าเพราะเหตุใดท่านถึงกับจะไม่ประกาศธรรม
ลำดับต่อไปนี้อาตมาจะยกเอาพระสูตรที่ชื่อว่ามหาปทานสูตรบ้าง หรือโพธิราชกุมารสูตรบ้าง มายกในสองฝ่ายเพื่อให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าถึงกับจะไม่ประการธรรม อาตมาได้แสดงให้กับพวกเราได้รับฟังเพื่อให้เห็นลำดับไปดังต่อไปนี้ เป็นเบื้องต้นก่อนเพื่อท้าวความนะ
องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ท่านยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ในเรื่องนี้พระองค์ท่านตรัสเอาไว้ในมหาศรีศักยมุนีโคตมสูตรว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นเมื่อครั้งยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ แต่ก่อนเรายังมิได้ตรัสรู้ เราได้มีความปริวิตกดังนี้ว่าโลกนี้ถึงความยากแล้วหนอ ย่อมเกิด ย่อมแก่ ย่อมเจ็บ ย่อมตาย ย่อมเวียนตาย เวียนเกิดไม่มีที่สิ้นสุด ก็แหละถึงจะเป็นเช่นนั้นธรรมอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ คือชรามรณะนี้ก็ยังไม่ปรากฏ แล้วเมื่อใดเล่า ธรรมอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์นี้จักปรากฏ
แล้วหลังจากนั้นพระองค์ท่านก็ได้ทำความแยบคายในบทธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ ในปฏิจจสมุปบาทนี้
โดยพระองค์ท่านทำความแยบคายว่า เพราะเหตุปัจจัยใดจึงเกิด ชรามรณะโสกะ ปริเทวะดังนี้
พระองค์ท่านก็เห็นเหตุปัจจัยว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงชรามรณะ
แล้วชาติมีอะไรเป็นปัจจัย เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ
ภพมีอะไรเป็นปัจจัย เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ
แล้วอุปาทานมีอะไรเป็นปัจจัย เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
แล้วตัณหามีอะไรเป็นปัจจัย เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
แล้วเวทนามีอะไรเป็นปัจจัย เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
แล้วผัสสะมีอะไรเป็นปัจจัย เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
แล้วสฬายตนะมีอะไรเป็นปัจจัย เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
แล้วนามรูปมีอะไรเป็นปัจจัย เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
แล้ววิญญาณมีอะไรเป็นปัจจัย เพราะสังขารเป็นปัจจัย
แล้วสังขารมีอะไรเป็นปัจจัย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
พระองค์ท่านไล่ ทำความแยบคายเป็นปฏิโลมลงมา
ถ้าจะไล่ตามอนุโลมก็คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน
เพราะอปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ
เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงชรามรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปายาส
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค
ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค
ทุกโขยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น มีได้ด้วยประการฉะนี้
นี่คือธรรมอันเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นพระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าคือธรรมบทนี้ แล้วเมื่อเห็นบทธรรมนี้โดยถ้วนรอบแล้ว พระองค์ท่านก็ตรัสเป็นบทธรรมย่อ
ย่อว่า สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์5 หรือขันธ์ทั้ง5 นี้เป็นตัวทุกข์
คือมีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ เป็นปัจจยาการต่อกัน
ขันธ์5นี้เป็นบทธรรมย่อของปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมอันเดียวกัน
ปฏิจจสมุปบาทเป็นแม่บทธรรมหลัก ขันธ์5เป็นบทธรรมย่อ
แต่ย่อในฐานะของผู้รู้พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า
ไม่ได้ย่อเอาคำใดคำหนึ่งลงมาย่อ แต่ย่อเป็นรูปแบบของการเกิดขึ้น การเกิดขึ้นของบทธรรมที่เป็นปฏิจจสมุปบาทต่อกันนี้ เช่นขันธ์5 ก็เกิดรูป เกิดเวทนา เกิดสัญญา เกิดสังขาร เกิดวิญญาณต่อกันไปเลย แต่ก่อนที่จะมาถึงรูปก็มีเหตุมีปัจจัยก่อน พอมาถึงวิญญาณนี้ ก็ต้องมีเหตุมีปัจจัยไปจนถึงที่สุดเหมือนกัน แต่เป็นในรูปย่อ ในฐานะของผู้รู้แล้ว
บทธรรม2บทนี้เป็นอาหาร ลิงค นิมิต อุเทส เป็นอาการเป็นอาการที่เกิดขึ้น เป็นลิงคเป็นเพศ เป็นนิมิตเป็นเครื่องหมาย เป็นอุเทสเป็นเรื่องราว
อย่างเช่น อาหาร ลิงค นิมิต อุเทสนี้ เป็นของสัตว์นรก
อย่างนี้เป็นของสัตว์เดรฉาน
อย่างนี้เป็นขงอสัตว์เปตร
อย่างนี้เป็นของสัตว์มนุษย์
อย่างนี้เป็นของสัตว์เทวดา
ปฏิจจสมุปบาทนี้จะทำให้เราเห็นอาการของจิต ของมโน ของวิญญาณ ของสรรพสัตว์นั้นๆ
เราจะเห็นจิต เห็นมโน เห็นวิญญาณของตัวเราเองได้ ต้องดูที่ปฏิจจสมุปบาท หรือดูที่ขันธ์5นี้เท่านั้น
ให้พวกเรารับทราบไปตามลำดับดังนี้
แล้วธรรมบทนี้เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วนี้ เสวยวิมุติอยู่7สัปดาห์ หรือ 49วัน พระองค์ท่านก็ถึงกับจะไม่ประกาศธรรม ถึงกับจะไม่ประกาศธรรม นั่นเพราะพระองค์ท่านเห็นว่าธรรมที่ชื่อว่าปฎิจจสมุปบาทนี้ ลึกซึ้ง เห็นตามได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดเดาไม่ได้ ละเอียดสุด บัญฑิตพึงรู้แจ้งได้ด้วยตนเองคือธรรมบทนี้ คือธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ไม่ใช่ธรรมอื่นเลย
ดังที่พระองค์ท่านตรัสเอาไว้ อาตมายกให้ฟังประจำจากโพธิราชกุมารสูตร
ตัสส มัยหัง ราชกุมาร
เมอยัง ธัมโม คัมภีโร ทุททโส ทุรนุโพโธ สันโต ปณีโต อตักกาวจโร นิปุโณ ปัณฑิตเวทนีโย
ธรรมที่เราตรัสรู้นี้ ลึกซึ้ง เห็นตามได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดเดาไม่ได้ ละเอียดสุด บัญฑิตพึงรู้แจ้งได้ด้วยตนเอง พอตรวจดูหมู่สัตว์ทีนี้ หมู่สัตว์คือบุคคลอื่นๆที่จะฟังธรรมตามท่าน
ท่านเห็นว่า
อาลยรามา โข ปนายัง ปชา
อาลยรตา อาลยสัมมุทิตา
อาลยรามาย โข ปน ปชาย
อาลยรตาย อาลยสัมมุทิตาย
ก็หมู่สัตว์นี้ คือบรรดาสรรพสัตว์ที่มีคือพวกมนุษย์ทั้งหลาย มีอาลัยเป็นที่รื่นรม ยินดีแล้วในอาลัย บรรเทิงนักในอาลัย
ต่างคนต่างดิ้นรนต่อสู้ที่จะมีชีวิตรอด ให้เป็นสุขอยู่ในภพนี้เท่านั้น เค้าก็เพลินของเค้าอยู่อย่างนี้
เมื่อหมู่สัตว์นี้ มีอะไรเป็นที่รื่นรม ยินดีแล้วในอาลัย บรรเทิงนักในอาลัยเช่นนี้
พระองค์ท่านตรัสต่อไปว่า
ทุททสัง อิทัง ฐานัง ยทิทัง อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปสัมปาโท
ยากนักที่หมู่สัตว์นี้ จะเห็นธรรมอันเป็นปัจจัยอาศัยกันเกิดขึ้นคือปฏิจจสมุปบาทนี้
ท่านปริวิตกว่า พวกเราจะเห็นธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ตามท่านไม่ได้ ท่านถึงจะไม่ประกาศธรรม
นี่ฝ่ายเกิดทุกข์นะ นี่ฝ่ายเกิดทุกข์นะแล้วท่านยังมองข้ามไปถึงฝ่ายของความดับทุกข์
ท่านตรัสว่า
อิทังปิ โข ฐานัง ทุททสัง ยทิทัง
สัพพสังขารสมโถ สัพพูปฏินิสสัคโค ตัณหักขโย วิราโค นิโรโธ นิพพานัง
และยากนักที่หมู่สัตว์นี้จะเห็นบทแห่งธรรมที่เป็น
ความสงบระงับสังขารทั้งปวง
ความสลัดคืนอุปธิทั้งปวง
ความดับตัณหา
ความดับความกำหนัดในโลก
ความดับทุกข์
และนิพพาน เป็น2ฝั่ง
ฝ่ายของความเกิดคือปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายเกิดท่านก็กลัวเราจะเห็นไม่ได้ ธรรมของฝ่ายดับทุกข์คือปฏิจจสมุปบาทฝ่ายดับทุกข์ อันประกอบด้วย ความสงบระงับสังขารทั้งปวง ความสลัดคืนอุปธิทั้งปวง ความดับตัณหาทั้งปวง ความดับความกำหนัดในโลกทั้งปวง ความดับทุกข์ และสภาวะนิพพาน เป็น2ฝั่ง ฝ่ายหนึ่งฝ่ายเกิดทุกข์ ฝ่ายหนึ่งฝ่ายดับทุกข์ เป็นปฏิจจสมุปบาททั้ง2ฝ่าย ท่านก็กลัวเราจะเห็นตามท่านไม่ได้ ท่านก็ถึงกับจะไม่ประกาศธรรม
ธรรมนี้ธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้เอง
ดังนั้นพวกเราทั้งหลายเมื่อได้รู้เหตุได้รู้ปัจจัย โดยเบื้องต้นตั้งแต่อาตมาได้ชี้ให้ดูตั้งแต่โน้นตั้งแต่การเกิดพระไตรปิฎก เกิดขึ้นได้อย่างไร เราดูเนื้อความเนื้อธรรมแห่งพระไตรปิฎก มีใครทำอะไรกับพระไตรปิฎกเอาไว้อย่างไรบ้าง แล้วพอมาดูเนื้อความแห่งธรรม เราได้รู้ว่าธรรมบทที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือธรรมที่ชื่อว่าปฎิจจสมุปบาท เป็นธรรมอันเป็นเอก เป็นธรรมอันเป็นเอกให้เราดูก่อน ให้เราฟังบ่อยๆก่อน ไม่ใช่เยินเย้อ ไม่ใช่ยืดเยื้อ
แต่เราต้องใส่ใจตัวนี้ ใส่ใจในบทธรรมที่เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทหรือขันธ์5นี้ ให้ดูที่เนื้อความแห่งธรรมเป็นบทพยัญชนะก่อน อันประกอบไปด้วย
อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ
โสกะ ปริเทวะนี้ ให้เราตามนี้ก่อน
เมื่อเห็นตามนี้แล้วให้เราดูตามบทย่อ ที่เป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้
ให้ทราบว่านี้คือ อาการ ลิงค นิมิต อุเทส ของจิต ของมโน ของวิญญาณของตัวเรา
แล้วหลังจากนนั้นรายละเอียดแห่งองค์ธรรม อาตมาจะแสดงให้พวกเราได้รับฟังไปตามลำดับๆ
เพื่อให้พวกเราได้เห็นธรรมนี้ไปตามลำดับไปตามลำดับตามที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และนำมาประกาศ
ในตอนนี้ในวันนี้อาตมาจะชี้ให้พวกเราได้ดูดังนี้ว่าการเกิดขึ้นของจิต ของมโน ของวิญญาณของเรา ในแต่ละเรื่องอาตมาเคยยกตัวอย่างให้พวกเราฟังประจำ สิ่งที่เป็นที่สุดของผู้ชายคือผู้หญิง สิ่งที่เป็นที่สุดของผู้หญิงคือผู้ชาย อาตมาเคยยกตัวอย่างนี้ให้พวกเราฟัง
เพราะความเป็นชายนั้นจะรู้สึกว่าตนเองได้เป็นชายที่สมบูรณ์บริบูรณ์นั้นคือมีผู้หญิงมาเคียง ผู้หญิงก็เหมือนกันถ้าจะมีชีวิตที่เป็นหญิงสมบูรณ์หรือบริบูรณ์ก็จะต้องมีผู้ชายมีเคียง อาตมาจึงพยายามยกให้เห็นความสำคัญของชีวิตพวกเราดังนี้ก่อน ไม่ได้ชวนให้พวกเราติดใจในเรื่องนี้ แต่ให้พวกเรารู้ในเรื่องนี้แล้วออกจากเรื่องนี้ไปเป็นที่สุดเพื่อความทำปรินิพพานเราจะต้องรู้เรื่องนี้ แต่ที่ยกตัวนี้เพราะว่าเป็นความสำคัญ
ดูอย่างนี้ดูอาการของจิตเราเป็นเบื้องต้นก่อน อาตมาจะชี้ให้ดูให้เห็นส่วน2ส่วนที่เกิดขึ้น ในกรณีเกิดปฏิจจสมุปบาทขึ้น เมื่อตาของผู้ชายคนหนึ่งเห็นรูปของผู้หญิงคนหนึ่ง
เมื่อหูของผู้ชายคนนี้ได้ฟังเสียงของผู้หญิงคนนี้
เมื่อจมูกของผู้ชายคนนี้ได้ดมกลิ่นของผู้หญิงคนนี้
เมื่อลิ้นของผู้ชายคนนี้ได้รับรสของผู้หญิงคนนี้
เมื่อกายของผู้ชายคนนี้สัมผัสในผู้หญิงคนนี้
เมื่อใจของผู้ชายคนนี้ได้รับรู้ในเรื่องของผู้หญิงคนนี้
จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
คือวิญญาณในแต่ละส่วนๆรับรู้ในเรื่องของผุ้หญิงคนนี้ไปพร้อมกับตาหูจมูกลิ้นกายใจของผู้ชายคนนี้แล้ว
เขาเห็นผู้หญิงคนนี้บริบูรณ์
เมื่อเห็นผู้หญิงคนนี้บริบูรณ์ เขาจะเกิดเวทนาเกิดความรู้สึกต่อผู้หญิงคนนี้ เกิดความรู้สึกต่อผู้หญิงคนนี้ ถ้าผู้หญิงคนนี้สวยถูกใจเขา เขาย่อมเกิดสุข เกิดความชอบ เกิดความรัก เกิดความฉันทะ เกิดความพอใจ เกิดความปรารถนาในผู้หญิงคนนี้
นี่ขั้นตอนของการเกิดของจิตขั้นตอนแรก ถามว่าผู้ชายคนนี้ได้ผู้หญิงคนนี้มาหรือยัง ยังไม่ได้ใช่ไหม๊ ยังไม่ได้เพียงแต่เห็นด้วยตาด้วยหุด้วยจมูกด้วยลิ้นด้วยกายด้วยใจอย่างครบพร้อม รูปของผู้หญิงคนนี้ปรากฏ นี่เกิดรูปขึ้น เกิดรูปขึ้นแล้ว เขาก็เกิดเวทนาตามมาประการที่สอง
ดูที่ขันธ์5 เกิดรูปเกิดเวทนาตามมา ผู้ชายคนนี้รับรู้ว่าเขาได้เห็นผู้หญิงคนนี้แล้ว เขาได้เกิดความเวทนา เกิดความชอบใจในผู้หญิงคนนี้แล้ว เขารับรู้ว่าเขานี้กำลังจะได้สิ่งที่ตนเองจะทำให้ชีวิตตนเองบริบูรณ์หรือสมบูรณ์ เพราะถ้าได้ผู้หญิงคนนี้มาชีวิตเค้าจะบริบูรณ์แน่นอน สมบูรณ์แน่นอน เขาเพียงแต่รับรู้ เขาอยากกระทำเพียงให้ได้ผู้หญิงคนนี้มา ให้กับตัวเขา แต่เขายังไม่ได้ นี่อาการที่1 เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก คือความคิด คือความรู้สึกต่อผู้หญิงคนนี้ เป็นอาการคิด อาการรับรู้ สัญญารับรู้ สัญญานี้เป็นตัวรับรู้
เมื่อรับรู้แล้ว เพื่อความบริบูรณ์ของชีวิต กายทั้งหมดคือสังขาร คือมีกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร ในตัวเขานี้พร้อม เป็นสังขาร พร้อมที่จะกระทำการใดๆเพื่อให้ได้ผู้หญิงคนนี้มา เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ลำดับต่อไปวิญญาณทำหน้าที่เต็มที่ทีนี้ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ เพื่อที่ทำให้ได้ผู้หญิงคนนี้มา
เขากระทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้ได้ผู้หญิงคนนี้มา โดยเฉพาะในวิญญาณนี้เป็นเรื่องของตัณหา
1
เพื่อจะทำให้ได้ผู้หญิงคนนี้มาผู้ชายคนนี้ก็ต้องแสวงหา กระทำทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อให้ตนเองเป็นหนึ่งในโลก เป็นที่สุดของโลก เพื่อให้ผุ้หญิงคนนี้เห็นเขา เขาทำทุกสิ่งทุกอย่างและที่สุดผู้หญิงคนนี้ก็เห็นเขา ว่าเป็นที่หึ่งในโลกเช่นกัน เขาได้แสวงหา ได้ปริเยสนาในผู้หญิงคนนี้ และที่สุดเขาก็ได้ผู้หญิงคนนี้มา ปริเยสนาเป็นประการที่1 เขาได้ผู้หญิงคนนี้มา เป็นประการต่อมาคือลาโภ ได้ผู้หญิงคนนี้มา
พอได้ผู้หญิงคนนี้มาเขาก็ต้องวินิจฉัยโยตรวจสอบดูว่าใช่ผู้หญิงคนที่เราต้องการหรือไม่ ตรจสอบโดยถ้วนรอบปรากฏว่าใช่วินิจฉัยโยเสร็จแล้วก็ ฉันทราโคตามมาเขาพอใจในผู้หญิงคนนี้ยิ่งนัก พอใจฉันทราโค เกิดความพอใจแล้ว อัตโชสาณัง พวักพวงหวงใยใสใจในผู้หญิงคนนี้ อัตโชสาณัง ปริคคโหต่อมายึดว่าผู้หญิงคนนี้เป็นของเขา ยึดเอาเลยว่านี่ผู้หญิงของฉัน ลำดับต่อมาก็มัจฉริยังตะหนี่ถี่เหนียวไม่ยอมให้แตกไม่ยอมให้ทำลายไม่ยอมให้แก่ ไม่ยอมให้เหี่ยว ไม่ยอมให้ง่อม ไม่ยอมให้ไปไหน กระทำทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อมัจฉริยังแล้วปฏิอาลักโข การป้องกันก็เกิดขึ้น ผมงอกหายามายอม ผิวหนังเหี่ยวย่น ตาฝ่าฟาง หูจะหนวก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่ได้รับรส กายสัมผัสไม่นุ่มนวล ใจไม่ดีไม่งาม ทำการป้องกันทุกสิ่งทุกอย่าง
ผู้ชายคนนี้กระทำต่อผู้หญิงคนนี้ และที่สุดเมื่อฝืนเมื่อสู้ไม่ได้ อาการที่จะต้องป้องกันนั้นก็จะกูๆ มึงๆ เองๆ ข้าๆ เสียอกเสียใจตามมา เป็น 9อาการ ต่อการกระทำให้ได้ผู้หญิงคนนี้มา และที่สุดเขาก็ยึดว่าผู้หญิงคนนี้เป็นของเขา เกิดภพ เกิดชาติ เป็นไปตามลำดับ เราเห็นอาการเกิดขึ้นสองอาการไหม๊
1
เบื้องต้นผู้ชายคนนี้ปรารถนาผู้หญิงคนนี้แต่ยังไม่ได้ อาการที่สองคือเขากระทำเพื่อให้ได้ผู้หญิงคนนี้มาจะเป็นสองขั้น อาการที่หนึ่งเรียกว่าวิตก คือการคิดในเรื่องนี้ ใส่ใจในเรื่องนี้แต่ยังไม่ได้ วิตกเป็นการเกิดขึ้นของจิตของพวกเราทุกคน ลำดับต่อมาเป็นวิจาร เป็นการกระทำตามความคิดนี้ อยากได้ก็ทำตามความคิดที่อยากได้เพื่อให้ได้มา ถ้าเกลียดก็ทำตามความเกลียดนี้เพื่อให้สิ่งนี้หายไป จะเป็นอยู่อย่างนี้
ยกตัวอย่างเช่นเราหิวข้าว เรารู้สึกว่าเราเหนื่อยๆอย่างนี้เราหิวข้าว เรายังไม่ได้กินข้าวนะ เรายังไม่ได้กินข้างตรงนี้เป็นวิตก เป็นวิตก ลำดับต่อไปถ้าไม่กระทำการเพื่อให้ได้กินข้าว อาการหิวข้าว จะทำให้เราลำบากหรือถึงกับตายนะ เราก็ต้องทำการหากับข้าวมากิน หากับข้าวมารับประทาน ทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้ได้ข้าวมากิน ให้ได้กินให้รู้สึกหายหิว อาการที่ตามมาที่2นี้คือวิจาร
วิตกคือจิตเกิดช่วงแรก วิจารคือการเกิดในช่วงหลัง ในปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างนี้ วิธีที่ชวนให้เราดูจิต ดูมโน ดูวิญญาณของเรานี้ดูง่ายๆอย่างนี้ก่อน ดูจะมี2ช่วง เห็นสิ่งนี้ชอบชังให้ดูก่อน แล้วเมื่อชอบเมื่อชังแล้วทำอย่างไรต่อความชอบความชังนั้น เราจะเห็นอาการของจิต ของมโน ของวิญญาณของเรา เราลองดูก่อนนะ ดูตามลำดับดังนี้
1
ถ้าดูในปฏิจจสมุปบาทก็จะเป็นสองช่วงนี้แหละ ช่วงที่หนึ่งคือจาก อวิชชาถึงเวทนานี้ จากอวิชชาถึงเวทนานี้เป็นวิตก พอตัณหามาจนถึงที่สุดของปฏิจจสมุปบาทเป็นวิจาร เป็นกระทำตามวิตก เป็นกระทำตามวิจาร เป็นเกิดความวิตกขึ้น และก็เกิดวิจารมา เป็น2อาการอยู่ในนี้ถ้าดูในขันธ์5 ก็จะจากรูปมาจนถึงเวทนานี้เป็นวิตกก่อน หลังจากนั้นสัญญารับรู้ จากสังขารมาจนถึงวิญญาณเป็นวิจาร ให้เราดูตามนี้มี2อาการ
ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเกิดดังนี้จะเกิดวิตกก่อนแล้วจะเกิดวิจาร วิตกคือความคิดในเรื่องนั้นรับรู้ในเรื่องนั้น แต่ยังไม่ได้สิ่งนั้น วิจารคือการกระทำเพื่อให้เกิดความสำเร็จในเรื่องนั้นๆ จิตของเราจะเป็นดังนี้ แล้วหลังจากนั้นอาตมาจะมาแสดงให้พวกเราได้เห็นว่า อวิชชาคือยังไง สังขารคือยังไง วิญญาณคือยังไง นามรูปคือยังไงไปจนจบหรือจะดูที่รูป ที่เวทนา ที่สัญญา ที่สังขาร ที่วิญญาณอาตมาจะแสดงให้ฟังไปตามลำดับ
แต่ตอนนี้ให้พวกเราดูเรื่องเป็นง่ายๆก่อน เห็นอาการเกิดขึ้นที่เป็นความคิดก่อน แล้วทำตามความคิด ความคิดนี้คือวิตก ให้คิดให้รู้ว่าเป็นคิด แล้วหลังจากนั้นก็ทำตามความคิด
อย่าลืมว่าธรรมนี้ เป็นความลึกซึ้ง เห็นตามได้ยาก รู้ตามได้ยาก จนพระพุทธเจ้าจะไม่ประกาศธรรม แต่พอท่านตัดสินใจประกาศธรรมแล้ว เพราะท่านตรวจสอบในหมู่สรรพสัตว์ ในสรรพสัตว์นี้ก็จะมีผู้มี
ธุลีในดวงตาน้อย ธุลีในดวงตามาก
ผู้มีอินทรีย์กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน
ผู้มีอาการเลว ผู้มีอาการดี
ผู้รู้ตามธรรมได้ง่าย ผู้รู้ตามธรรมได้ยาก
ผู้สมควร ผู้ไม่สมควร
และบุคคลผู้ที่มีความเห็นในความทุกข์ในปรโลก เห็นโทษภัยในวัฏสงสาร อยู่คือถ้าตายไปแล้วไม่รู้จะเป็นยังไง
คนเหล่านี้ก็มีอยู่ เป็นเหตุให้ท่านประกาศธรรม พอประกาศธรรมแล้วมีคนรู้ธรรมตามท่านได้
อาตมายืนยันว่า ในโลกนี้ยังมีสมณพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนสามารถเห็นโลกนี้และโลกหน้าได้ และสามารถจะนำธรรมที่เป็นโลกนี้และโลกหน้ามาประกาศให้พวกเราฟังได้ รับฟังได้
ให้พวกเราใส่ใจในธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทและขันธ์5 ไปตามลำดับค่อยเป็นค่อยไปก่อนนะ
หลวงพ่อ พุทธปัญโญ
อนุโมทนากับทุกคนเอาไว้เท่านี้ก่อน
แสดงธรรมโดย หลวงพ่อ พุทธปัญโญ
วันอังคารที่12 เดือนมกราคม 2564
อ้างอิง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา