4 มี.ค. 2022 เวลา 12:00 • ไลฟ์สไตล์
จิตตกเพราะเสพข่าวเยอะ ต้องทำไง?
ช่วงวีคที่ผ่านมาคงไม่มีข่าวไหนจะพีคไปกว่าปมการเสียชีวิตจากการพลัดตกเรือกลางแม่น้ำเจ้าพระยาของดาราสาวชื่อดัง คุณแตงโม-นิดา พัชรวีระพงษ์ ที่ต้องยอมรับว่ายิ่งได้ฟังเนื้อข่าวก็ยิ่งแซด ยิ่งสงสารเธอ
เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้คน กรมสุขภาพจิตถึงขั้นออกมาเตือนกันเลยนะว่า เราๆ ท่านๆ ที่เสพข่าวจนอินเกิ๊น! เนี่ย อาจทำให้เข้าสู่สภาวะจิตตกได้
1
ซึ่งจะว่าไปอาการจิตตก น่าจะอยู่คู่กับคนยุคนี้มานานแล้ว เนื่องจากตัวกระตุ้นหลักมาจากการเสพสื่อผ่าน Social media มากจนเกินไป ก่อนที่จะไปหาทางป้องกัน & แก้ ชวนทุกคนไปทำความรู้จักอาการนี้กันก่อน
จิตตกป่าวแกร!!
บ่อยไปที่เราทักเพื่อนว่า “จิตตกป่าวแกร!” หารู้ไม่ว่าที่ทักกันเล่นๆ นั่นอาจจะเป็นอาการของคนที่เข้าสู่โหมดนี้จริงๆ ให้สังเกตว่าเลเวล 1 ถ้าเพื่อนหรือตัวคุณเองเริ่มรู้สึกเป็นกังวลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หมกหมุ่นกับมันอย่างมาก เริ่มกลัวและคิดถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นในแง่ลบ อย่างในกรณีข่าวดังตอนนี้ ก็อาจจะเริ่มกลัวการนั่งเรือ เริ่มไม่ไว้วางใจผู้คน ถือว่าอาจจะเข้าข่ายแล้วล่ะ
เลเวล 2 เริ่มนอนไม่หลับ ใจสั่น ไม่มีสมาธิ ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ มาถึงขั้นนี้ถือว่าเริ่มส่งผลต่อสุขภาพแล้วนะ
เลเวล 3 แล้วที่แบดและแซดสุดๆ คือถึงขั้นว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป บางรายอาจมีอาการทางจิตร่วมด้วย เช่น หวาดระแวง หูแว่ว และประสาทหลอน
จิตตกไปแล้ว ต้องทำไง?
จิตตกอันตรายนะ! เพราะจะชักนำเราไปสู่โรคซึมเศร้าได้ รีบเลย! รีบลุกขึ้นมาทำตัวเองให้สดใจ รีบจูนตัวเองโดยการปรับใจ พาตัวเองถอยออกมาจากเรื่องเศร้าๆ เรื่องชวนหดหู่ทั้งหลาย
ให้เชื่อมั่นในตัวเองว่าเราจะไม่โชคร้ายเบอร์นั้น คิดเสมอว่าทุกปัญหามีทางออก พยายามมองโลกในแง่บวก ตั้งสติแล้วลำดับขั้นตอนของปัญหาแล้วไล่แก้ทีละข้อ แล้วถ้ารู้สึกว่าเอาไม่อยู่…ให้ลองปรึกษาเพื่อนดีๆ ที่เราไว้ใจสักคน หรือคนในครอบครัวให้เข้ามาช่วยคิด
ที่สำคัญเลือกคนที่รู้สึกว่าเขาเป็นคนคิดบวกนะ (ปรึกษาผิดคนจะยิ่งพากันไปลบ) แต่สุดท้ายแล้ว ถ้ารู้สึกว่ามันรุนแรงจริงๆ การเดินเข้าไปพบจิตแพทย์น่าจะเป็นวิธีที่ชัวร์ที่สุด
3
  • กันไว้ดีกว่าแก้
Leave ออกจากโซเชียลสายดาร์ค - แม้ว่าอาการจิตตกจะไม่สามารถป้องกันได้โดยตรง แต่เราก็พาตัวเองออกมาจากสถานการณ์หดหู่ได้นี่! เมื่อไม่สามารถห้ามสำนักข่าว หรือชาวโซเชียลสายดาร์คได้ เราก็แค่ถอยหรือลีฟออกมาจากกลุ่มนั้นซะ!
ลด ละ เลิก – อาการจิตตกส่วนหนึ่งก็มาจากการติดมือถือถึงขั้นแงะไม่ออก แล้วยิ่งเป็นคนชอบเสพติดดราม่าก็ไม่ต่างอะไรกับคนติดยานั่นแหละ
ดังนั้น การลด-ละ-เลิก น่าจะช่วยได้ ลด-โดยการใช้เวลาสำหรับท่องโลกโซเชียลเท่าที่จำเป็น ละ-จากการใช้แอปฯ บางอย่างกลับสู่ชีวิตแมนนวลบ้าง เพื่อให้จับโทรศัพท์น้อยลง
เช่น ใช้โพสต์อิทจด activities ต่างๆ แทนที่จะไถมือถือทั้งวัน หรือใช้นาฬิกาปลุกตั้งโต๊ะแทน เลิก-Uninstall Unfollow แอปหรือฟีด ที่ไม่ก่อให้เปิดประโยชน์ แล้วหันมาตามแต่ฟีดที่แชร์แต่เรื่องดีๆ อย่างเช่น Channel ของ XO ใน Blockdit ที่คัดสรรคุณภาพเน้นๆ คอนเทนต์เนื้อๆ แต่เจือไว้ด้วยรอยยิ้ม และความปรารถนาดี (แอปฝากร้านนิดนึง) แล้วพบกันใหม่คอนเทนท์หน้า Have A Good Friday!
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา