31 มี.ค. 2022 เวลา 01:00 • อาหาร
ชวนส่องสีสันของรสชาติอาหารจากสหภาพยุโรป "COLOURS BY EUROPE TASTES OF EXCELLENCE" 🇪🇺
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาพวกเราได้รับโอกาสดีดี ให้ไปเปิดโลกของอาหารจากทวีปยุโรปจากแคมเปญ “COLOURS BY EUROPE. TASTES OF EXCELLENCE.”
และยังได้มีโอกาสไปร่วมรับประทานคอร์สอาหารสุดอร่อยจาก Chef Table @ Gourmet Market
ต้องบอกเลยว่างานนี้พวกเราประทับใจมาก ! 🤩
เพราะนอกจากจะได้เปิดประสบการณ์ลิ้มรสความอร่อย ก็ยังได้วัตถุดิบและอาหารพร้อมทานดีดีหลากหลายแบรนด์จากยุโรป ติดไม้ติดมือกลับไปบ้านอีกด้วย สมกับชื่อของงานอย่าง “สีสันแห่งรสชาติอาหาร อันยอดเยี่ยมจากยุโรป”
(จริง ๆ อาจไม่เรียกว่าซื้อติดมือแล้ว เพราะว่าได้มาเต็ม 2 ถุงใหญ่ ๆ เลยละ แห่ะ ๆ)
เอ้อ ! แล้วแคมเปญ “COLOURS BY EUROPE. TASTES OF EXCELLENCE.” ที่ว่านี้ มันคืออะไรนะ ?
แคมเปญนี้ได้ถูกจัดขึ้นโดยความร่วมมือของ Gourmet Market กับ หน่วยงานเกษตรและอาหารจากสหภาพยุโรป (Euagrifood Thailand)
ซึ่งทางสหภาพยุโรป เขามีความตั้งใจที่จะมานำเสนอให้เพื่อน ๆ ร่วมกันสำรวจค้นพบผลิตภัณฑ์อาหารของสหภาพยุโรปที่มีคุณภาพ ปลอดภัย อร่อย ต้นตำรับและยั่งยืน ตั้งแต่เนื้อสัตว์แปรรูป ผลไม้และผัก ชีส ซีเรียล น้ำมันมะกอก ไวน์ เบียร์และสุรา ที่ได้รับการคัดสรรมาแล้วอย่างดี ! !
👉 ถ้าหยั่งงั้นในโพสอัลบั้มนี้ พวกเรา InfoStory ขอพาเพื่อน ๆ ไปส่องเรื่องราวความเป็นมาของวัตถุดิบแต่ชิ้น ที่อยู่ใน 3 เมนูที่เป็นซิกเนเจอร์ของงาน Chef Table @ Gourmet Market กันดีกว่า
บอกเลยว่า ในแต่ละจานเนี่ย ก็อัดแน่นไปด้วยอาหารที่ทำมาจากวัตถุดิบจากยุโรปมากกว่า 5 ประเทศ ใน 1 จาน ! 🇪🇸 🇫🇷 🇩🇰 🇮🇹 🇩🇪 🇦🇹 🇳🇱
ชวนส่องเมนู "Charcuterie Board" จาก Chef Table @ Gourmet Market
ในเมนู Starter ของคอร์สอาหารนี้ ทางเชฟก็ใช้เมนู Charcuterie Board ในการเรียกน้ำย่อยของพวกเรา
[แล้วเมนู Charcuterie Board นี่มันคืออะไรกันนะ ?] 🧐
เราอาจคุ้นชื่อเมนูนี้ว่า “ชาร์คูเตอรีบอร์ด” หรืออาจเรียกง่าย ๆ ว่า “ชีสบอร์ด / โคลด์คัตบอร์ด”
เจ้ากระดานอาหารนี้ มีต้นกำเนิดมาจากวัฒนธรรมการกินของชาวฝรั่งเศส ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 15 แล้วน่ะนะ
โดยเมนูนี้ เขาก็จะมีการจัดวางเนื้อสัตว์แบบเคียวร์มีท (Cured Meat)
เนื้อสัตว์แบบเคียวร์มีท (Cured Meat)
💡 พูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือเนื้อแบบตัดเย็น (Cold cut) ที่วางให้เลือกหยิบทานคู่กับเครื่องเคียง ได้อย่างหลากหลาย ซึ่งการวางอาหารเหล่านี้ ตามวัฒนธรรมของชาวฝรั่งเศสแล้ว เขาจะนิยมจัดวางให้สวยงามบนกระดานอาหารแบบถาดไม้
แน่นอนว่าเมนูที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแบบนี้ เรามักจะหาพบได้ง่ายตามร้านอาหารฝรั่ง โดยเฉพาะอาหารในแถบยุโรปอย่าง ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน
ส่วนพระเอกตัวหลัก ที่จะเติมเต็มอรรถรสในการทานก็คงจะไม่พ้น Cured Meat หรือ เนื้อสัตว์แปรรูป ซึ่งก็จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
ที่พวกเราได้ทานไปจะเป็น Iberico Ham 🍖 หรือ เนื้อแฮมขาหมูดำคุณภาพดีจากประเทศสเปน 🇪🇸 และ Cured meat เนื้อหมักจากประเทศเยอรมนี 🇩🇪
[มาส่องกันต่อที่เรื่องของชีสกันบ้าง] 🧀🫕
(ที่พวกเราชื่นชอบมาก ๆ ยกให้เป็นนางเอกของจานนี้เลย !)
ในเมนูนี้เชฟได้คัดเลือกชีสมาให้พวกเราลองทานด้วยกัน 3 ชนิด ซึ่งมีความโดดเด่นทุกชนิด !
1. Danablu PGI 🇩🇰
Danablu PGI
มาเริ่มกันที่บลูชีสจากเดนมาร์ก (Danablu PGI) หรือ Danish Blue Cheese เป็นชีสเนื้อครีมกึ่งนุ่ม ทำจากนมวัวไม่พร่องมันเนยและครีมที่ทำให้เป็นเนื้อเดียวกันมีไขมัน 50 - 60 เปอร์เซ็นต์
หลังจากทานแล้ว ก็ยอมรับว่าเป็นเจ้าบลูชีสชนิดนี้ ค่อนข้างมีกลิ่นฉุนแรง แต่ว่ารสชาตินั้นกลับนุ่มนวลเอาเสียมาก ๆ เลยละ นิยมนำมาใส่สลัด พาสต้า หรือทานเล่น
2. Parmigiano Reggiano PDO 🇮🇹
2. Parmigiano Reggiano PDO
ชีสที่มีต้นตำรับจากประเทศอิตาลีตัวนี้ มีฉายาว่า "King of Cheese"
แถมยังเป็นชีสที่ผู้โด่งดังในประวัติศาสตร์ อย่างเช่น
จอมทัพฝรั่งเศส นโปเลียน โบนาปาร์ต หรือ จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 (The Emperor Napoleon) โปรดปรานเสียอีกด้วย !
แต่อ่านชื่อแล้วอาจจะงงเล็กน้อย เอาเป็นว่าถ้าจะเรียกชื่อเจ้าชีสให้คุ้นหู
เราก็จะเรียกว่า “Parmesan” หรือ พาร์เมซานชีส นั่นเอง
แต่ที่มันมีชื่อเต็มว่า “Parmigiano-Reggiano” เนี่ย เพราะมันถูกจดทะเบียนคุ้มครองเอาไว้
(ที่มีคำว่า “PDO” ซึ่งเดี๋ยวจะอธิบายให้ฟังนะ)
ชีสตัวนี้ถูกจัดอยู่ในหมวดของชีสแข็งมี รสเค็มเปรี้ยว แต่ให้ความมันแบบถั่ว
มีสัมผัสความกรุบกรอบเพิ่มเข้ามาจากตัวชีส
จึงมักถูกนำไปเสริมรสชาติให้กับอาหารอิตาลีหลายเมนู ทั้งใส่บนหน้าพิซซ่า พาสต้า ริซอตโต้และสลัด
3. Gouda Holland PGI 🇳🇱
ชีสกึ่งแข็งชนิดนี้ เป็นชีสที่มีชื่อเสียงมาก ๆ จากประเทศเนเธอร์แลนด์ ชื่อของชีสตัวนี้ไม่ได้มาจากการเริ่มผลิตที่เมืองเกาดา แต่เป็นเพราะมีการซื้อขายในเมืองนี้ในยุคกลาง
ตัวชีสได้ถูกคิดค้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1184 และเป็นหนึ่งในชีสที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังมีการผลิตอยู่ในปัจจุบัน
ในแบบฉบับดั้งเดิม เขาจะผลิตมาจากนมแพะ ด้วยปัจจัยนี้ ทำให้ชีสเกาดาจะมีราคาที่สูงกว่าชีสอื่น ๆ
ส่วนชีสเกาดาที่เราทานจานนี้จะมีรสชาติออกไปทางเข้มข้น (จริง ๆ อ่อนหรือเข้มข้นขึ้นอยู่กับอายุของชีส ยิ่งชีสมีอายุมากขึ้น รสชาติจะยิ่งเค็มและเข้มข้นยิ่งขึ้น อาจบ่มได้นานมากถึง 1 ปี)
เพื่อน ๆ ยังทราบไหมว่า ?
ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ชีสเกาดาจะถูกหั่นเต๋าแล้วเสิร์ฟเป็นของว่างพร้อมกับดัตช์มัสตาร์ด ชีสอายุเยอะที่มีรสเข้มข้นกว่าอาจเสิร์ฟพร้อมน้ำตาลหรือเนยแอปเปิล ทานพร้อมกับผลไม้และขนมปังในเมนูจานชีส หรือจะใส่ในแซนวิชพร้อมกับผักกาดกรอบ ๆ ก็ได้เช่นกัน
[เกร็ดความรู้ - สัญลักษณ์ PGI, PDO] ✏️📝
ถ้าเพื่อน ๆ สังเกตชื่อของชีส ก็คงจะต้องสงสัยกันแน่นอนว่า ไอเจ้าตัวย่อ PGI หรือ PDO เนี่ย มันย่อมาจากอะไร ? แล้วมีความหมายอะไร ?
✅ การคุ้มครองตามแหล่งกำเนิด (PDO)
PDO
เป็นตราสัญลักษณ์ที่จะครอบคลุมผลิตภัณฑ์อาหารทางการเกษตรของสหภาพยุโรปที่มีการผลิต แปรรูป และจัดเตรียมไว้ในพื้นที่ที่กำหนดผ่านการใช้ความชำนาญในท้องถิ่นที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ซึ่งหมายความว่า การผลิต การเตรียมวัตถุดิบ และการแปรรูปทุกมิติจะต้องดำเนินการในภูมิภาคที่เป็นแหล่งกำเนิดนี้เท่านั้น
✅ การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (PGI)
PGI
เป็นตราสัญลักษณ์ที่จะครอบคลุมผลิตภัณฑ์อาหารทางการเกษตรของสหภาพยุโรปที่เชื่อมโยงกับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์แต่ละแห่งอย่างใกล้ชิด โดยการผลิต การแปรรูป หรือการเตรียมการจะเกิดขึ้นในภูมิภาคนั้น ๆ
ยกตัวอย่างเช่น สินค้าไวน์ ประเด็นนี้จะหมายความว่า องุ่นที่ใช้อย่างน้อย 85% ต้องมาจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่มีการผลิตไวน์ชนิดนั้นจริงเท่านั้น
ชวนส่องเมนู Brittany Blue Lobster "Fricassee" & Iberico Pork จาก Chef Table @ Gourmet Market
เริ่มแรกก็จะขอกล่าวถึงเรื่องราวของพระเอกประจำจานหลัก "Brittany Blue Lobster "Fricassee" & Iberico Pork นี้ก่อนเลยดีกว่า
🦞 สำหรับเมนูนี้ล็อบสเตอร์ (Blue Lobster) จะถูกนึ่งทั้งตัวแล้วหั่นเป็นแว่น ๆ ตามความยาวของล็อบสเตอร์ ก่อนนำไปย่างในเนยโชริโซเล็กน้อย
🧈 โดยเนยที่เลือกใช้เป็นเนยจากประเทศเดนมาร์ก ซึ่งมีความหวานของครีม รสชาติที่นุ่มละมุน
สร้างความสมบูรณ์แบบในทุกเมนู ทั้งอบ ทอด ย่าง
🇩🇰 ซึ่งเนยจากเดนมาร์ก ก็เป็นประเทศที่เรารู้จักกันดีอยู่แล้วว่ามีฟาร์มโคนมที่ดีที่สุดในโลก
อีกหนึ่งทีเด็ดของจานนี้ เราว่ามันคือซอสสูตรพิเศษที่ทางเชฟเลือกจัดสรรใช้งาน โดยเจ้าน้ำซอสที่ว่านี้ เขาจะน้ำที่มาจากหัวของล็อบสเตอร์
🥬🇫🇷 ส่วนกะหล่ำปลีฝรั่งเศสที่เพื่อน ๆ เห็นอยู่ ก็ไม่ธรรมดานะ
เพราะว่ามันสอดใส้ไปด้วยหมูสับอิเบอริโค (Iberico Pork) ชิ้นใหญ่ เพื่อเพิ่มความกลมกล่อม
จริง ๆ แล้วอาหารจานนี้ ไม่ได้โดดเด่นแค่พระเอกอย่างล็อบสเตอร์เพียงอย่างเดียว
แต่ยังมีการใช้วัตถุดิบคุณภาพอย่างน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์จากประเทศกรีซ 🇬🇷 อีกด้วยนะ
งั้นพวกเราขอหยิบเรื่องราวสั้น ๆ ของวัตถุดิบเหล่านี้มาเล่าให้เพื่อน ๆ อ่านกันนิดนึงดีกว่า
เรื่องมันคือในระหว่างที่ทานไปเนี่ย
เราก็แอบสงสัยว่า เอ้อ ! ทำไมเชฟถึงได้คัดเลือกอาหารและวัตถุดิบมาจากประเทศนั้น ๆ ?
ซึ่งพอนั่งค้นหาคำตอบไปเรื่อย ๆ จึงเข้าใจว่า อ้ออ ! มันเป็นการเพิ่มอรรถรสในการรับประทานนั่นเอง
โดยเชฟตั้งใจเลือกวัตถุดิบ ที่ได้รับมาตรฐานและการการรันตีคุณภาพผลิตภัณฑ์ ที่เป็นจุดเด่นจากพื้นที่หรือภูมิภาคนั้น ๆ มา (เอาง่าย ๆ ว่า อันนี้ละ คือตัวท็อป !)
ยกตัวอย่างเช่น
- บลูล็อบสเตอร์ (Brittany Blue Lobster) จากประเทศฝรั่งเศส 🦞🇫🇷
ล็อบสเตอร์ที่มีเปลือกสีดำอมน้ำเงิน (แต่เวลาสุกแล้วก็จะเป็นสีแดงชะอุ่มน่าทาน) ซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากทะเลในแคว้นเบรอตาญหรือทางตอนเหนือของฝรั่งเศส
- หมูสับอิเบอริโค (Iberico Pork) จากประเทศสเปน 🐖🇪🇸
ขออนุญาตไม่นำภาพน้องหมูมานะคร้าบ บางท่านอาจ Sensitive
แน่นอนว่าแค่อ่านชื่อ ก็นึกถึงกลิ่นอายของอาหารสเปนขึ้นมาทันที
ไอเบอริโกแฮม (Iberico Ham) หรือ ‘แฮมขาหมูดำ’
ตรงตามชื่อว่ามาจาก‘หมูสายพันธ์ุไอบีเรียสีดำ ที่เลี้ยงในแถบคาบสมุทรไอบีเรีย (Iberia) ซึ่งเป็นคาบสมุทรในประเทศสเปนและโปรตุเกส
หมูสายพันธ์ุไอบีเรียสีดำ ขึ้นชื่อว่าเป็นเนื้อหมูที่มีรสชาติยอดเยี่ยมที่สุดในยุโรป ซึ่งต้องมีการเลี้ยงดูอย่างพิถีพิถันมาก
- น้ำมันมะกอก จากประเทศกรีซ 🫒🇬🇷
ต้นมะกอก แรกเริ่มเดิมที ก็เป็นพืชประจำถิ่นของบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนในช่วง 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งก็ว่ากันว่าเป็นเป็นต้นไม้จากอานาโตเลียหรือจากกรีซโบราณ
แล้วเพื่อน ๆ ยังทราบไหมว่า ?
หนึ่งในน้ำมันมะกอกที่มีชื่อเสียงจากประเทศกรีซ ก็คือ Kalamata PDO ซึ่งผลิตที่เมือง Kalamata ถือเป็นน้ำมันมะกอกที่ดีที่สุดจนได้รับการขนานนามว่า “ทองคำเหลว”
เนื่องจากการผลิตน้ำมันมะกอกที่ Kalamata ถือเป็นการอัตราการผลิตที่ได้น้ำมันมะกอกที่มีความบริสุทธิ์สูงสุดในประเทศกรีซ ซึ่งรับประกันโดยมาตรฐานการผลิตที่เข้มงวดและการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการผลิตระดับสูงในสหภาพยุโรป
💡 อ่านถึงตรงนี้ เราจึงไม่แปลกใจแล้วละ ที่ทางเชฟจะเลือกใช้น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์สัญชาติกรีกบนจานนี้
ปิดท้ายกันด้วย ตัวช่วยเพิ่มความอร่อยที่ดีอีกอย่างก็คือ
“ปอร์ตไวน์ (Port Wine)” จากโปรตุเกส ที่ดื่มแล้วลื่นไหลไปกับจานนี้ได้อย่างลงตัว
🍷 ปอร์ตไวน์ (Port Wine หรือ Fortified Wine) เป็นไวน์ที่มีรสออกหวาน และยังเป็นประเภทของไวน์ที่มีต้นกำเนิดมาจากทางตอนเหนือของประเทศโปรตุเกส 🇵🇹
เพิ่มเติม : ปอร์ตไวน์ จะเป็นไวน์ที่มีการเพิ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผ่านการกลั่นเข้าไป อย่างเช่น บรั่นดี
[เกร็ดความรู้ - เรื่องของการการันตีคุณภาพ] ✏️📝
อย่างที่ได้กล่าวไปในตอนต้นของบทความว่า เชฟเขาตั้งใจเลือกใช้วัตถุดิบในจานอาหารนี้ ให้เหมาะสมกับความโดดเด่นในเรื่องของคุณภาพและการผลิตตามภูมิภาคเนอะ
เรื่องนี้มันเลยไปเกี่ยวข้องกับเรื่องคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารทางการเกษตรจากสหภาพยุโรป ที่ต้องได้รับการรับรองโดยมาตรฐานการผลิตที่มีความเข้มงวดและอยู่ภายใต้การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานการผลิตระดับสูงของสหภาพยุโรป และให้คุณค่าทางโภชนาการและดีต่อสุขภาพ
นอกจากเรื่องสุขภาพ
ยังมีในเรื่องของวัฒนธรรมและประเพณีตามถิ่นกำเนิดของอาหารหรือวัตถุดิบ ที่ได้หล่อหลอมผลิตภัณฑ์ของยุโรปมาโดยตลอด ส่งผลให้สิ่งต่าง ๆ ที่ผลิตมานั้นมีคุณภาพ
🔍 ยกตัวอย่างเช่น วัตถุดิบทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตสุราของยุโรปจะต้องมาจากแหล่งทางการเกษตร โดยจะไม่มีการอนุญาตให้ใช้แอลกอฮอล์ที่ผลิตขึ้นมาแบบสังเคราะห์ภายในสหภาพยุโรป หรือเบียร์ยุโรปยังเป็นสิ่งที่รังสรรค์มาจากการคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพอย่างพิถีพิถัน รวมไปถึงซีเรียลมอลต์ต่าง ๆ ที่แปรรูปมาเป็นแอลกอฮอล์ผ่านการหมักด้วยยีสต์ และแต่งแต้มรสชาติด้วยฮอปส์
ชวนส่องเมนูขนมหวาน "Tiramisu "Cherry-Misu" จาก Chef Table @ Gourmet Market
เมนู Tiramisu "Cherry-Misu" เรียกได้ว่าเป็น โฉมใหม่ของ Tiramisu เพราะมีการเนรมิตรเมนูขึ้นมาใหม่ด้วยครีมมาสคาโปน เชอร์รีสด บิสกิตเลดี้ฟิงเกอร์ ซอสเชอร์รี
ขึ้นชื่อว่าเป็นขนมทีรามิสุ ก็จะต้องเป็นขนมที่ต้องใช้เวลาและความพิถีพิถัน จนไปถึงการนำขนมไปแช่ในเหล้าในตู้เย็นแบบข้ามคืน แล้วนำมาเสิร์ฟทีละชิ้นอย่างประณีต
แต่ว่า… มาทานในงาน Chef Table ทั้งที จะให้เป็นแค่ทีรามิสุธรรมดาได้อย่างไร… 🤩
เมนูทีรามิสุจานนี้ มีชื่อว่า "Cherry-Misu" ถือเป็นอีกหนึ่งเมนูใหม่ที่มีลูกเล่นเพิ่มขึ้น ด้วยเชอร์รี่สีแดงสด แยมเชอร์รีสีชมพูระเรื่อ ช็อคโกแลต และไอซิ่งบนบิสกิตกรุบกรอบที่ชุ่มด้วยรัมจากไอร์แลนด์
ด้วยความหลากหลายของดิน ภูมิอากาศ และวัฒนธรรมในยุโรปสะท้อนให้เห็นว่า ผลไม้จากสหภาพยุโรปนั้นมีความหลากหลาย อร่อย และมีรสชาติดั้งเดิม
งั้นพวกเราขอหยิบเรื่องราวสั้น ๆ ของวัตถุดิบเหล่านี้มาเล่าให้เพื่อน ๆ อ่านกันนิดนึงดีกว่า
- ผลเชอร์รี จากประเทศสเปน 🍒🇪🇸
เชอร์รีสเปนหรืออาเซโรลา เป็นเชอร์รี่ผลสีแดง - ส้ม ผลเล็ก ซึ่งมีจุดเด่นเลยก็คือ ความหวานชุ่มฉ่ำปนเปรี้ยวนิด ๆ
- ช็อคโกแลต จากประเทศโรมาเนีย 🍫🇷🇴
นอกจากเบลเยี่ยมและสวิตเซอร์แลนด์ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของช็อกโกแลตแล้ว
ประเทศโรมาเนีย ก็มีชื่อเสียงในเรื่องของช็อกโกแลตพรีเมี่ยมไม่ต่างกัน เพราะวัตถุดิบมีคุณภาพด้วยตัวช็อกโกแลตที่มีกรรมวิธีการผลิตคุณภาพสูง โดยเฉพาะดาร์กช็อกโกแลตและช็อกโกแลตแครนเบอร์รี ที่จะโดดเด่นเป็นพิเศษ
- ครีมชีสมาสคาโปน จากประเทศเดนมาร์ก 🫕🇩🇰
สำหรับเราแล้ว วัตถุดิบตัวนี้ คือหนึ่งในทีเด็ดของจานนี้เลย !
มาสคาโปน (Mascarpone Cheese) ถูกจัดให้อยู่ในหมวดของครีมชีส ซึ่งตัวนี้จะเป็นชีสกลุ่มเนื้อนุ่ม จะมีรสชาติเบา สามารถละลายได้ทันทีเมื่ออยู่ในปาก
ส่วนใหญ่แล้วพอนึกถึงมาสคาโปน เราก็จะนึกถึงกลิ่นอายของประเทศอิตาลี
ก็เลยนึกสงสัยว่า เอ้ะ ! แล้วทำไมเชฟถึงได้เลือกมาสคาโปนจากประเทศเดนมาร์ก กันละ ?
ค้นหาคำตอบไปจนพบว่า อ้ออ ! หนึ่งในวัฒนธรรมการทานขนมของเดนมาร์ก เขาจะทานพวกขนมอบที่มีเนื้อสัมผัสกึ่งกลางระหว่างพายเป็นชั้น หรือที่เรารู้จกกันในชื่อขนมเดนิช “Danish Pastry”
Danish Pastry
เจ้าขนมเดนิชนี้ ก็จะสอดใส้หรือตกแต่งด้วยผลไม้เบอร์รี (บลูเบอร์รี,ราสเบอร์รี)
และเขาก็จะใช้เจ้าครีมชีสมาสคาโปนมาผสมทานคู่กันไปด้วย
(ตัวอย่างเช่น ขนม “Saskatoon Danish” , “Lemon-Raspberry Danish” หรือ “Blueberry Cream Danish”)
Blueberry Cream Danish
💡 พอมองย้อนกลับมาที่ชื่อและกิมมิคของเมนูที่อยู่ตรงหน้าเรานี้ ก็คือ "Cherry-Misu" จึงได้เห็นภาพ(พร้อมทาน) กันจริง ๆ ไปเลย :):)
[เกร็ดความรู้ - ฉลากออร์แกนิกสหภาพยุโรป] ✏️📝
ไม่ทราบว่าเพื่อน ๆ เคยสังเกตกันไหม ?
บนฉลากของวัตถุดิบหรืออาหารคุณภาพดีที่มาจากทวีปยุโรป มันจะมีตราสัญลักษณ์ที่เป็นโลโก้รูปดาวเรียงกัน คล้ายใบไม้สีเขียว
✅ เจ้าสิ่งนี้ ก็คือ “โลโก้ออร์แกนิกของสหภาพยุโรป”
ซึ่งการติดฉลากออร์แกนิกแบบนี้ เพื่อเป็นการรับรองว่า ผลิตภัณฑ์อาหารทางการเกษตรของสหภาพยุโรปแต่ละชิ้นนั้น เป็นไปตามเงื่อนไขการผลิต การแปรรูป การขนส่ง และการเก็บรักษาที่มีความเข้มงวด ซึ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด
โลโก้ออร์แกนิกของสหภาพยุโรปจะปรากฏบนผลิตภัณฑ์อาหารของสหภาพยุโรปที่อยู่ในห่อบรรจุ ซึ่งผลิตและจำหน่ายในรูปแบบ “ออร์แกนิก” ตามกฎหมาย กล่าวง่าย ๆ ก็คือ ส่วนผสมอย่างน้อย 95% ผ่านการเพาะปลูกแบบออร์แกนิก 🌱🥦
ไม่เพียงแค่เท่านั้น แต่การการีนตีคุณภาพและการควบคุมความปลอดภัยด้านอาหาร ยังรวมไปถึงเรื่องของการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ ข้อกำหนดด้านสุขภาพสัตว์และพืช สวัสดิภาพสัตว์ และการฉ้อโกงต่าง ๆ อีกด้วยนะ
แหล่งอ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติม
โฆษณา