8 พ.ค. 2022 เวลา 03:10
ฌาน คือ นิโรธ และ อริยมรรค
เพื่อความถ้วนรอบในฌาน ลำดับต่อไปนี้อาตมาจะแสดงธรรมในหัวข้อธรรมว่า ฌานคือข้อปฏิบัตินิโรธและมรรค โดยอาตมาได้อาศัยเอา มหาจัตตารีสกสูตร ข้อ252 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่14 บ้าง มหาสติปัฏฐานสูตร ข้อ273 เป็นต้นไป พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่10 บ้าง เป็นที่ตั้ง เพื่อแสดงธรรมนี้ ขอพวกเราได้รับฟังไปตามลำดับเถิด
โดยลำดับที่ผ่านได้ อาตมาได้แสดงธรรมในองค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้กับพวกเราได้ทราบชัดแล้วว่า ธรรมอันเป็นเหตุแห่งความดับทุกข์นั้น คือฌาน โดยอาตมาได้แสดงมาจนถึงที่สุด ในตอนท้ายที่ผ่านมาว่า ฌาน คือสมถะและวิปัสสนา ดังนั้นเพื่อให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นว่า คำว่าสมถะและวิปัสสนานั้นอยู่ในที่ไหน กระทำฌานอยู่อย่างไร อาตมาจึงแสดงธรรมในหัวข้อธรรมที่ว่า ฌานคือข้อปฏิบัตินิในโรธกับมรรคดังนี้ เรามาดูกัน
ในเบื้องต้นนี้ อาตมาจะนำเอามหาจัดตตารีสกสูตร ที่พระศาสดาได้แสดงให้กับภิกษุสาวกของพระองค์ท่านได้ทราบว่า การที่จะได้มาซึ่งสัมมาสมาธินั้นจะได้มาด้วยเหตุใด เรามาดูกัน
องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า
กตโม จ ภิกขเว อริโย สัมมาสมาธิ สอุปนิโส สปริกขาโร เสยยถีทัง
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ยา โข ภิกขเว อิเมหิ สัตตังเคหิ จิตตัสสเอกัคคตา ปริกขตา
อยัง วุจจติ ภิกขเว อริโย สัมมาสมาธิ สอุปนิโสอิติปิ สปริกขาโร อิติปีติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุมีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ 7 เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง
องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศชัดว่า การปฏิบัติธรรมที่ชื่อว่ามรรคนั้น จะต้องปฏิบัติที่มรรค 7 องค์ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ให้จนกระทั้งจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือปฏิบัติมรรค 7 องค์นี้ให้บริบูรณ์ก่อน ให้ปฏิบัติมรรค 7 องค์นี้ให้บริบูรณ์จนจิตเตกัคคตา จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งด้วยการปฏิบัติมรรค 7 องค์นี้ นั่นหละเรียกว่าสัมมาสมาธิ
นั่นหมายถึงว่า ขณะที่ปฏิบัติสัมมาสมาธิ หรือการได้มาซึ่งสัมมาสมาธินั้น คือการปฏิบัติมรรค 7 องค์อยู่ ปฏิบัติเพียงมรรค 7 องค์นี่แหละ แล้วเมื่อบริบูรณ์แล้วจะได้มรรคองค์ที่8 ไปในตัวพร้อมกันเลย
พระองค์ประกาศชัด
ไม่ใช่ปฏิบัติสัมมาสมาธิแล้วจะได้มรรค 7 องค์ไม่ใช่ แต่เป็นการปฏิบัติมรรค 7 องค์นี้ให้บริบูรณ์ แล้วจะได้ความเป็นจิตเตกัคคตา อยัง วุจจติ ภิกขเว อริโย สัมมาสมาธิ ปฏิบัติมรรค 7 องค์นี้ให้ถ้วนรอบ จนจิตตั้งมั่นก่อน นั่นหละคือได้สัมมาสมาธิ เราจะเห็นจากเนื้อความแห่งธรรมจากมหาจัตตารีสกสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรแสดงการกระทำมรรคให้บริบูรณ์อยู่ที่นั้น เดี๋ยวตอนหลังเราค่อยดูรายละเอียดในเรื่องนี้
ตอนนี้อาตมาจะชี้ให้ดูว่า แต่พอมาแสดงอยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร มหาสติปัฏฐานสูตรนี้จะประกอบด้วยองค์ธรรมที่ว่า สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 มรรคมีองค์8
สติปัฏฐาน4คือ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม มี 4 ข้อองค์ธรรม
สัมมัปธาน4 จะมี 4 องค์ธรรมคือ สังวรปธาน ปหานปธาน ภาวนาปธาน อนุรักษนาปธาน นี่คือองค์ธรม อิทธิบาท4 ก็คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
อินทรีย์5 ก็คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
พละ5ก็คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
โพชฌงค์7 ก็คือ สติสัมโพชฌงค์ ธัมวิจัยสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัทสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุอุเบกขาสัมโพชฌงค์ 7องค์ธรรม
และมรรคมีองค์8 ก็ประกอบไปด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และที่สุดก็คือ สัมมาสมาธิ นี่คือองค์ธรรมในมหาจัตตารีสกสูตรที่มาอยู่ในท้าย ของบทธรรมที่ชื่อว่าโพธิปักขิยธรรม นี่อยู่ตรงนี้อยู่ที่ข้อสุดท้ายนี้ จากเมื่อซักครู่นี้จากมหาจัตตารีสกสูตรมาอยู่ทีตรงนี้ มีมรรคมีองค์8
พอมาอยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตรนี้ องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงชัดเจนว่า สัมมาสมาธิเป็นไฉน ดูดีๆ สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติสุขอันเกิดแต่จิตเตกัคคตาอยู่ ตรงนี้ นี่คือองค์ฌาน1 องค์ฌาน1 ที่แสดงไว้ในสัมมาสมาธิ ลำดับต่อมาก็องค์ฌาน2 คือทุติยฌาน ลำดับต่อมาก็องค์ฌาน3 คือตติยฌาน และลำดับสุดท้ายก็เป็นจตุถฌาน แสดงไว้ที่ตรงนี้
เมื่อความเกี่ยวเนื่องกัน จะเกี่ยวเนื่องมากจากมหาจัตตารีสกสูตร ในมหาจัตตารีสกสูตรนั้นบอกชัดเจนว่า การที่จะได้มาซึ่งสัมมาสมาธินั้น จะต้องปฏิบัติที่มรรค 7 องค์ให้บริบูรณ์ ดังที่อาตมาได้ชี้ให้ดูเมื่อซักครู่นี้ พอมาถึงที่ตรงนี้บอกว่า สัมมาสมาธินั้นจะได้มาจากการที่ปฏิบัติองค์ฌาน1 ฌาน2 ฌาน3 ฌาน4 ให้บริบูรณ์ก็ตรงกัน ก็ตรงกัน
นั่นหมายถึงว่า การปฏิบัติมรรค 7 องค์นั้น สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ 7 องค์นี้ การปฏิบัติในมรรค 7 องค์นั้น ปฏิบัติด้วยการกระทำฌานทั้งสิ้น การปฏิบัติในมรรค 7 องค์นั้น ปฏิบัติด้วยการกระทำฌานเท่านั้น ปฏิบัติเพื่อความถ้วรอบ เพื่อความดับทุกข์ต้องปฏิบัติด้วยการกระทำฌานเท่านั้น หลักการในการปฏิบัติธรรมไม่มีอย่างอื่น สำหรับความดับทุกข์ มีแต่การกระทำฌานเท่านั้น มีวิธีเดียว มีวิธีเดียวทำอย่างอื่นไม่ได้
ไปกระทำที่เป็นตบะอย่างอื่น ที่อาตมายกว่าหมู่มวลชาวพุทธของพวกเราเห้นผิด เห็นในธรรมของพระศาสดาอยุ่ทั้งสิ้น ทั้งสมัยพุทธกาลด้วย และหลังพุทธกาลที่อาตมาชี้ ทุกข์เกิดที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่จิตหรือใจของเรา เราจะต้องกระทำความดับทุกข์ที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่จิต โดยเห็นเขาเกิดขึ้นก่อน
ดังที่อาตมาได้นำเอาพระสุตรที่ชื่อว่าอินทรียภาวนาสูตรมาให้เห็น เมื่อตาเห็นรูปแล้ว เมื่อหูได้ยินเสียงแล้ว เมื่อจมูกดมกลิ่น เมื่อลิ้นรับรส เมื่อกายสัมผัสโผฏฐัพพะใดๆ เมื่อจิตรับรู้ธรรมมารมณ์ใดๆแล้ว เรารู้ว่าเขาเกิดขึ้นแล้ว เราเห็นว่าเขาเกิดขึ้นแล้ว เรารู้ว่าอาการเกิดอย่างนี้เป็นของไม่เที่ยง จะทำให้เราเป็นทุกข์ เป็นสังขตะ เป็นการปรุงแต่งกันขึ้นหยาบๆ เราก็ทำความดับ ดับความที่เกิดขึ้นที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่จิตทั้งหมดนั้น คำว่าดับๆหรือละๆ ปหาตพา นิรุตชะต่างๆ นิโรธะต่างๆนี้ คือการกระทำฌานทั้งสิ้น แต่พูดย่น พูดย่อเพื่อให้เห็นในฐานะของพระอริยะ ต้องกระทำฌานเท่านั้น
ทั้งหมดทั้งมวลดังที่อาตมาว่าให้ฟังแล้ว การกระทำฌานนั้น ตอนที่ปฏิบัติมรรค 7 องค์นั้นก็ทำฌานทั้งสิ้น จึงได้มาซึ่งสัมมาสมาธินี้ ไม่ได้บอกว่า ให้ไปปิดหู ปิดตา ปิดจมูก ปิดลิ้น ปิดกาย ปิดจิตเลย เหมือนที่หมู่มวลชาวพุทธหลังพุทธกาลมานี้ ถือตบะ เช่นการนั่งสมาธิบ้าง การเดินจงกรมบ้าง การสวดมนต์บ้าง การนั่งฌานบ้าง การเดินธุดงค์บ้าง การปฏิบัติธรรม 3วัน 5วัน 7วันบ้าง ไม่ได้เกิดความเป็นสัมมาสมาธิเลย จะต้องเกิดจากการกระทำฌานเท่านั้น
ลำดับของการกระทำฌานนั้น อาตมาได้แสดงให้กับพวกเราได้ฟังมาแล้ว โดยอาศัยเอาอนุปทสูตรที่พระพุทธเจ้าแสดงกากรระทำฌานของท่านพระสารีบุตร ให้ฟังย้ำตรงนั้น ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลในทางธรรม เพื่อให้พวกเราได้ฟังบ่อยๆ พวกเราจะได้ฟังเป็นผู้
โสตานุคตานัง ภิกขเว ธัมมานัง
วจสา ปริจิตานัง
มนสานุเปกขิตานัง
ทิฏฐิยา สุปปฏิวิทธานัง
เป็นผู้ฟังธรรมนี้เนืองๆ เป็นผู้จำติดปาก เป็นผู้จำขึ้นใจ เป็นผู้แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ เราจึงจะป็นผู้ได้อานิสงส์จากการฟังธรรม และบรรลุอจินไตย4 จะได้กระทำฌานนี้ได้
อาตมานำมาชี้ตรงนี้ ชี้ให้พวกเราได้เห็นว่า การกระทำฌานในเบื้องต้นที่ว่าสมถะ ที่อาตมายกในตอนที่แล้ว สมถะและวิปัสสนา สมถะนั้นคือทุกข์เกิดเมื่อไรดับลงเมื่อนั้น สมถะแปลว่าเครื่องดับ เครื่องระงับ หรือเครื่องรำงับ รำงับทุกข์ที่เกิด อาตมาได้ยกในตอนที่แล้วว่า เรื่องของผู้ชายคนหนึ่ง ไปมีจิตปฏิพัทธ์ต่อผู้หญิงคนหนึ่ง เมื่อเขารู้ตัวว่าเขามีจิตปฏิพัทธ์นักแล ทำให้เขาเกิดทุกข์ เขาก็ละ ละความปฏิพัทธ์ ละความฉันทะในผู้หญิงคนนั้น ต่อมาเขาเห็นผู้หญิงคนนั้น ก็คือเขาไม่เป็นทุกข์ นั่นคือเขากระทำฌานแล้ว เขาละแล้ว นั่นคือสมถะหรือคือนิโรธ นิโรธนี้จะดับเป็นตอนๆๆๆไป เกิดเมื่อไรดับเมื่อนั้น เกิดเมื่อไรดับเมื่อนั้น
มรรคมีองค์8 นั้นคือข้อปฏิบัติที่เป็นวิปัสสนาหรือปัญญาวิมุติ ตัวนั้นจะเป็นข้อปัญญาวิมุติ เราจะเห็นเนื้อความแห่งธรรมอยู่หลายๆคำอย่างเช่น สมถะวิปัสสนา เจโตวิมุติปัญญาวิมุติ นิโรธกับมรรค 3 ลักษณะนี้เป็นเรื่องเดียวกัน เป็นเรื่องเดียวกัน แต่เรื่องของ เจโตวิมุติและปัญญาวิมุติอาตมาได้แสดงเอาไว้ในสัทธา10 แล้ว เดี๋ยวค่อยฟังซ้ำ
ให้พวกเราได้เห็นว่า ฌานนั้นเป็นข้อธรรมสำหรับปฏิบัติในเรื่องของนิโรธนั้น คือทุกข์เกิดเมื่อไร เราดับเมื่อนั้นนั่นคือความดับ ทุกข์เกิดเมื่อไรเราดับ เกิดที่ตาเราดับที่ตา เกิดที่หูเราดับที่หู เกิดที่จมูกเราดับที่จมูก เกิดที่ลิ้นเราดับที่ลิ้น เกิดที่กายเราดับที่กาย เกิดที่จิตเราดับที่จิตด้วยนิโรธ
แต่หลังจากนั้น เมื่อเราเห็นว่าทุกข์นี้จะต้องเกิดอยู่ร่ำไปอย่างนี้ เราก็เห็นก่อน เราก็รู้ก่อน เราก็ปฏิบัติธรรมที่ชื่อว่าโพธิปักขิยธรรมนี้แหละ ที่เรียกว่าวิปัสสนาหรือปัญญาวิมุติหละต่อไปนี้ เรากระทำตัวนี้ เหมือนที่อาตมายกธรรมพระศาสดามาเมื่อวานนี้ ตอนที่แล้วว่า นายช่างศร เขาเห็นลูกศรที่จะต้องใช้ มันคดมันโกงอยู่ เขาก็เอามาดัด ขึ้นข่าไฟดัด ดัดให้ตรงแน่ว จนใช้การได้ทุกลูกๆ เวลาจะต้องการจะยิงเมื่อไร เขาไม่ตองไปดัดลูกศรใหม่ เขาไม่ตองไปดัดลูกศรใหม่ หยิบมายิงได้ทันที
นั่นหมายถึงว่าทุกข์ที่เกิด มันจะเกิดที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่จิต เกิดตลอดชีวิต เกิดจนนาทีสุดท้าย คือเมื่อคราวจะต้องเสียชีวิต เรานำมาใช้ได้ทันที นั่นคือผู้ที่สามารถกระทำวิปัสสนาหรือปัญญาวิมุติ หรือกระทำโพธิปักขิยธรรมในข้อที่มรรคมีองค์8 นี้ให้บริบูรณ์ จนได้สัมมาสมาธิ
เกิดจากการกระทำฌานเท่านั้น เกิดจากการกระทำฌานไปตามลำดับ ฌาน1 มีคุณสมบัติดังนี้ ฌาน2 มีคุณสมบัติดังนี้ ฌาน3 มีคุณสมบัติดังนี้ ฌาน4 มีคุณสมบัติดังนี้ ก้าวล่วงไปสู่อรูปฌาน อากาสานัญจายตนญาณเป็นดังนี้ วิญญาณัญจายตนญาณเป็นดังนี้ อากิญจัญญายตนญาณเป็นดังนี้ เนวสัญญานาสัญญายตนญาณเป็นดังนี้ เมื่อจบสิ้นแล้วเข้าไปอยู่ในสัญญาเวทยิตนิโรธ
เหมือนที่พระศาสดาท่านกำลังจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ท่านก็เข้าสู่ปฐมฌานไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วก็ย้อนกลับลงมาจนถึงปฐมฌานแล้วไปอีกครั้งหนึ่งไปสู่จตตถฌาน แล้วก็ออกจากญาณนั้น นั่นคือการละ การลีก การหลบ การเว้นออกไปให้สิ้น เป็นอุเบกขาอยู่ ไม่ใช่ยึดใช่ติด ถ้ายังยึดยังติดอยู่ไม่ปรินิพพาน ไม่ปรินิพพาน ต้องเป็นอุเบากขาเท่านั้น และไม่จำเป็นจะต้องบอกว่าฉันอุเบกขาแล้ว อุเบกขาก็คืออุเบกขาเลย นี่คือความเป็นที่สุด
อาตมากำลังชี้ให้พวกเราได้ดูว่า คำว่านิโรธ ในอริยสัจ4 ซึ่งเป็นข้อที่3 อริยสัจ4 มีทุกข์ มีสมุทัย มีนิโรธ มีมรรค นิโรธกับมรรคนี้ นิโรธนั้นคือกาการระทำด้วยฌาน ทุกเรื่องที่เกิดดับลงทันที่ เกิดดับลงทันทีนั้นทำด้วยฌาน ฌานจนถึงอรูปญาณ8 นั่นแหละถึงตรงนั้น จนที่สุดในเรื่องนั้น จนจบจนเป็นสัญญาเวทยิตนิโรธเฉพาะเรื่องไป
ในมรรคยิ่งสำคัญ หนิตรงนี้ที่ประกาศชัดว่า มรรคมีองค์8นั้น การที่จะได้องค์ที่8 นี้ จะต้องเกิดจากการกระทำฌานเท่านั้น แสดงว่าให้พวกเราได้เห็นว่าการปฏิบัติโพธิปักขิยธรรม คือการกระทำฌานเท่านั้น
อนุโมทนากับทุกคนเอาไว้เท่านี้
แสดงธรรมโดย หลวงพ่อ พุทธปัญโญ
วันพฤหัสบดีที่ 20 เดือน พฤษภาคม ปี 2564

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา