21 พ.ค. 2022 เวลา 23:00 • ธุรกิจ
Advanced Batteries จะกลายเป็นแหล่งพลังงานสำคัญแทนที่น้ำมัน ในสหรัฐอเมริกา
1
การเติบโตอย่างไม่หยุดยั้งของสินค้าเทคโนโลยีชั้นสูงและความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม นำมาซึ่งการเติบโตของความต้องการพลังงานสะอาดที่ให้กำลังแรงสูงสำหรับใช้กับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ล้ำสมัย (advanced technology) โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าที่ต้องใช้ advanced batteries ทำจาก Lithium-ion (ลิเธียมไอออน)
1
ในขณะที่สหรัฐฯ ขาดแคลนสินค้า ทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นมาก ข้อมูลจาก Benchmark Mineral Intelligence ระบุว่าในปี 2021 ราคาลิเธียมแบตเตอรี่เติบโตถึงร้อยละ 480 ส่งผลให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มสูงตาม
4
เนื่องจากราคาแบตเตอรี่ Lithium-ion คิดเป็นร้อยละ 30 ของค่าใช้จ่ายในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ราคาแบตเตอรี่ที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อนโยบายของประธานาธิบดี Joe Biden ที่ต้องการให้ครึ่งหนึ่งของรถยนต์ ที่จำหน่ายในสหรัฐฯในปี 2030 เป็นรถยนต์ไฟฟ้า นั่นหมายถึงสหรัฐฯ จำเป็นต้องมีอุปทานแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจำนวนมาก
4
กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ระบุว่า ปัจจุบันสหรัฐฯ มีกำลังการผลิตอุปทานที่รวมถึงแร่ธาตุวัตถุดิบที่จำเป็นสำหรับการผลิตพลังงานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเพียงร้อยละ 5 ของความจำเป็นต้องใช้ทั้งหมด จึงจำเป็นต้องพี่งพานำเข้าจากจีนเกือบทั้งหมด
รัฐบาลสหรัฐฯ ถือว่าปัญหาห่วงโซ่อุปทาน advanced batteries ที่กำลังเกิดขึ้นนี้เป็นปัญหาสำคัญที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ดังนั้น เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับห่วงโซ่อุปทาน โรงงานผลิตรถยนต์หลายรายในสหรัฐฯ เร่งสร้าง โรงงานผลิตแบตเตอรี่ของตนเอง
นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ วางแผนสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ขึ้นภายในประเทศเพื่อลดการพึ่งพาต่างชาติและก้าวเข้าสู่การเป็นผู้นำโลกในการผลิตพลังงานสะอาด โดยเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2022 ประธานาธิบดี Biden ได้ใช้กฎหมาย Cold War-era Defense Production Act เพื่อจัดสรรงบประมาณ 750 ล้านเหรียญฯ
1
สำหรับแก้ไขปัญหาห่วงโซ่อุปทาน advanced batteries ส่งเสริมธุรกิจจัดหาและบริหารแร่ธาตุสำคัญในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและการ ผลิตพลังงานสะอาด เช่น Lithium, Nickel, Cobalt, Graphite และ Manganese
ข้อมูลเพิ่มเติม
1. Lithium-ion batteries มีความสำคัญต่อสินค้าหลายประเภท แม้ว่าสินค้าเหล่านั้นอาจมีสัดส่วนตลาดในการใช้ Lithium-ion ไม่มากเท่ารถยนต์ไฟฟ้า แต่สินค้าเหล่านี้มีความสำคัญกับตลาดผู้บริโภคสหรัฐฯ ในสัดส่วนที่สูงกว่ารถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีเพียงร้อยละ 1 ของผู้บริโภคอเมริกันใช้งาน
อาทิ ตลาดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ติดตัว เช่น
Smartphones (ร้อยละ 84 ของครัวเรือนอเมริกันครอบครอง), Tablets (ร้อยละ 63 ของครัวเรือนอเมริกันใช้งาน) และ Laptops (ร้อยละ 78 ของครัวเรือนอเมริกันมี), MHE (Materials Handling Equipment) และ grid-scale energy storage market
2. Visual Capitalist ระบุว่า สหรัฐฯ เป็นแหล่งผลิต Lithium-ion batteries ใหญ่ เป็นอันดับ 2 รองจากจีน สามารถผลิต ได้ 44 GWh (Gigawatt hours) หรือเพียงร้อยละ 6.2 ของผลผลิตรวมของโลก ในจำนวนนี้ 37 GWh มาจากการผลิต ในโรงงานของ Tesla และโรงงาน Giga Nevada ของ Panasonic คาดการณ์ว่าในปี 2025 สหรัฐฯ จะสามารถผลิตได้ เพิ่มขึ้นเป็น 91 GWh
1
3. ภาคเอกชนและรัฐบาลสหรัฐฯ วางแผนค้นคว้าผลิต advanced batteries จากแร่ธาตุอื่น เพื่อลดการพึ่งพาแร่ธาตุ สำคัญในการผลิตแบตเตอรี่ โดยเฉพาะ Lithium ที่มีมากในจีน จึงเป็นโอกาสสำหรับ Zinc-ion batteries ที่สำนักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช.) กำลังพัฒนาสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า
เนื่องจากประเทศไทยมีแร่ Zinc จำนวนมาก นอกจากนี้ Zinc-ion แบตเตอรี่ สามารถรีไซเคิลได้ถึงร้อยละ 90 ซึ่งสูงกว่า Lithium-ion และสามารถใช้เป็น Energy Storage Systems (ESS) ได้
4. S&P Global Market Intelligence ชี้ให้เห็นว่าการนำเข้า Lithium-ion batteries ของสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2021 สหรัฐฯนำเข้ารวมประมาณ 7.67 พันล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.3 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าแบตเตอรี่ lithium-ion ที่ใช เก็บสำรองพลังงานทั่วไปในขณะที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ายังมีสัดส่วนนอยู่มาก (เพียงร้อยละ ๑๐)
อย่างไรก็ดี การเติบโตของการนำเขาของทั้งสองกลุ่มสินค้าขยายตัวอย่างต่อเนื่องในระดับที่ใกล้เคียงแหล่งอุปทานสำคัญสำหรับกลุ่มแบตเตอรี่ Lithium-ion แบบทั่วไป ได้แก่ จีนและเกาหลีใต้มีส่วนแบ่งตลาดรวมกันถึงร้อยละ 75.35 ส่วนไทยเป็นแหล่งอุปทานอันดับที่ 25 มีส่วนแบ่งในตลาดนำเข้าเพียงร้อยละ 0.021 คิดเป็นมูลค้านำเข้า 1.49 ล้าน (-0.59%)
ในขณะที่แหล่งอุปทานสำคัญของแบตเตอรี่ lithium-ion รถยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ จีนและญี่ปุ่นที่มีส่วนแบ่งตลาดนำเข้ารวมกันสูงถึงร้อยละ 88 (เฉพาะจีน มีส่วนแบ่งถึงร้อยละ 63.72) โดยมีไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 24 ส่วนแบ่งตลาดนำเข้าร้อยละ 0.007 มูลค้านำเข้า 63,688 เหรียญฯ (+366.10%) ถึงแม้ว่ามูลค้านำเข้าจากไทยจะยังไม่มากนักแต่ยังจัดเป็นโอกาสสำคัญสำหรับประเทศไทยในการเป็นแหล่งอุปทานทางเลือกใหม่ของ
สหรัฐฯ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯและจีนยังมีความผันผวน สหรัฐฯ มองหาแหล่งอุปทานทางเลือกใหม่ๆ เพื่อลดระดับการพึ่งพาจีน ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาด covid ในจีนในปีนี้ที่มีความรุนแรงค่อนข้างมาก ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการผลิตและส่งออกของจีนอย่างมาก
1
5. International Council on Clean Transportation (ICCT) ระบุว่า สหรัฐฯ ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามากเป็นอันดับที่ 3 ของโลกรองจากจีนและยุโรป โดยมีโรงงานประกอบรถยนต์ไฟฟ้า 44 โรง ในจำนวนนี้ 7 โรง (ประกอบด้วย General Motors 3 แห่ง Tesla 2 แห่ง Rivian และ Lucid Motors บริษัทละ 1 แห่ง) สามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารวมกันได้ถึงร้อย ละ 16 ของการผลิตรวม โรงงานส่วนใหญ่มีฐานที่ตั้งอยู่ บนฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ
โฆษณา