15 พ.ค. 2022 เวลา 08:51 • ความคิดเห็น
1) ผมมองว่าเป็นเรื่องของ “inputs/outlputs” ครับ
“การเขียน” หรือการ “สร้างสรรค์” ภาพถ่าย, ภาพวาด, Vlog ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็น “outputs” ที่ต้องอาศัย “วัตถุดิบ” หรือ “inputs” เป็นต้นทุน
เปรียบเหมือนสวมบทเป็น “ผู้รับ” แล้วกลับไปเป็น “ผู้ให้”
2) ผมเองคิดว่า “การเล่าเรื่องราว” (storytelling) ที่ดี ควรจะมีองค์ประกอบพื้นฐาน เช่น
“เป็นเรื่องจริง”
“เป็นเรื่องที่มีประโยชน์ (สาระ/บันเทิง)”
“เป็นเรื่องที่มีประสบการณ์ตรง”
โดยหากมีทั้งสามองค์ประกอบพื้นฐานดังกล่าว ผมเชื่อว่า “การเล่าเรื่อง” ไม่ว่าจะผ่านกระบวนการใด ก็จะสามารถสร้าง “พลัง” ในเรื่องที่เราเล่าได้ ไม่มากก็น้อยครับ
3) ผมขอยกตัวอย่าง อย่างที่เพื่อนๆสมาชิกบน platform นี้อาจเคยได้อ่านผ่านๆตามาบ้างสำหรับ posts ของผมที่เป็นเรื่อง รถยนต์, งานช่าง DIY และ งานเชฟ
ผมเองเคยเป็นเด็กเสริฟในร้านอาหารมาก่อน และผมไม่เคยเรียนงานครัวอย่างเป็นทางการใดๆเลย แต่เนื่องด้วยผมเคยเรียนภาษาญี่ปุ่นเพราะอยากไปงานแสดงรถยนต์ Tokyo Motor Show ที่ญี่ปุ่นซึ่งทุกวันนี้ยังไม่เคยไป ผมเลยทำงานในร้านอาหารญี่ปุ่นเล็กๆแห่งหนึ่ง โดยมี Executive Chef เป็นชาวญี่ปุ่น
เขามีชุด “มีด” หลากหลายมาก และสำหรับในประเทศไทยผมเคยได้ยินมาว่า ภัตตาคารอาหารญี่ปุ่นระดับห้าดาวขึ้นไปแถวๆถนน “ราชดำริ” เชฟชาวญี่ปุ่นท่านนั้นครอบครอง ชุดมีด มูลค่าสูงถึง “ห้าล้านบาท” ในเวลานั้น เลยทีเดียว!
แต่ผมก็ไม่เคยได้มีโอกาสทำอาหารเท่าใดนัก จนเมื่อราวสี่ปีที่แล้ว ผมกลับมาดูแลพระในบ้านและญาติๆที่เริ่มเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ผมจึงประเดิมงานเชฟด้วยการซื้อปลาขนาดเท่าฝ่ามือมาหัดแล่โดยศึกษาเทคนิคการแล่ปลาจากทั้งเชฟชาวตะวันตกและเชฟญี่ปุ่นจาก Youtube
ถึงวันนี้ผมแล่ปลามาราวร้อยกิโลกรัมแล้ว และแน่นอนว่า ผมชอบที่จะศึกษาเรื่องอุปกรณ์ในครัว ซึ่งหนึ่งในนั่นคือ “มีดทำครัว”
เวลากล่าวถึงมีด ผมรวมถึงการ “ลับมีด” ด้วย ซึ่งก็มี เทคนิคที่ลึกซึ้งตามชนิดของแท่งเหล็กลับมีด และชนิดของหินลับมีด ที่ใช้
ส่วนตัวมีดเอง ผมขอแนะนำ
3.1) Santoku
เป็นมีดจากญี่ปุ่นที่ผมเคยสอบถามจากเชฟชาวญี่ปุ่นท่านหนึ่ง ว่ามีไว้ใช้ทำอะไร
โดยเขฟท่านนั้นตอบว่า ใช้ “หั่นผัก” และอาจใช้กับการแล่ไก่ได้ถ้ามีความชำนาญ
หากสังเกตดีๆ Santoku บางรุ่นบางยี่ห้อ จะมีการ เซาะร่องตื้นๆไว้ เพื่อสร้างช่องว่าง “air pockets” ระหว่างตัวมีดกับชิ้นผัก โดยข้อดีของช่องอากาศที่เกิดขึ้นนี้จะช่วยให้ผักที่หั่นไม่ติดใบมีดหลังถูกหั่นขาดไปแล้ว!
และเมื่อพิจารณาคมมีดของมัน จะเป็นลักษณะเส้นโค้งไม่มากจนเกือบจะเป็นแนวตรงคล้ายมีด “ปังตอ” ของชาวจีน จึงเหมาะแก่การหั่น แต่มันก็มีปลายมีดกดลงซึ่งเหมาะกับการกรีดเข้าไปในผักบางชนิดด้วย! แต่ไม่เหมาะกับการแล่เพราะใบมีดกว้างกว่ามีดแล่โดยเฉพาะ
ซึ่งแม้แต่เชฟมืออาชีพชาวตะวันตกก็หลงไหล Santoku อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้!
3.2) Chef Knife
ผมเข้าใจว่านี่เป็นมีดจากวัฒนธรรมครัวตะวันตก
พิจารณาจากคมมีด จะโค้งขึ้นเล็กน้อยเพื่อไปบรรจบกับปลายมีด มีดชนิดนี้จึงใช้ได้ดีกับการหั่นที่ไม่หนักมากรวมถึงงานแล่บางชนิด
3.3) Serrated Knife
คุณเคยใช้มีดทำครัวทั่วไปหั่นขนมปังปอนด์หรือขนมปังฝรั่งเศสบ้างมั้ยครับ?
ผมเคยทำ และพบว่ามีดทั่วไปไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับเจ้าขนมปังที่กรอบบ้างนุ่มบ้างแล้วแต่ประเภท
จนเมื่อผมเริ่มศึกษาเรื่องมีดทำครัวแต่ละประเภท ผมจึงได้รู้จัก “มีดขนมปัง” ซึ่งมีคมมีดคล้ายใบเลื่อย!
4) ตัวอย่างจาก posts อื่นๆของผมที่เล่าเรื่องเกี่ยวกับตัวเองครับ
โฆษณา