15 ส.ค. 2022 เวลา 14:58 • ไลฟ์สไตล์
ผมเป็นผู้หนึ่งที่ทำ “งานบ้าน” มาตั้งแต่เด็กๆ ตั้งแต่ ล้างจาน, ซักผ้า, กวาดขยะ, เช็ดรถ ฯลฯ
พอเป็นผู้ใหญ่ก็เริ่มดูแลผู้สูงอายุในบ้านและขอบเขต “งานบ้าน” ของผมก็ขยาย “มิติ” ทั้งแนว “กว้างและลึก”
สิ่งที่ผมชื่นชอบเกี่ยวกับ “งานบ้าน” คือ “โอกาสในการศึกษา” เช่น
1) “เครื่องซักผ้าฝาบนกับฝาหน้า” อะไรดีกว่ากัน?
ผมจึงลองค้นข้อมูลดูดังนี้
“Front loader” (ฝาหน้า)
“ข้อเด่น”
-ใช้นำ้ในการซักน้อยกว่า
-ปั่นได้รอบที่สูงกว่า ผ้าจึงสะอาด และตอนปั่นแห้ง ผ้าจะแห้งกว่า ทำให้เก็บผ้าได้เร็วกว่า
-หากต้องใช้สองเครื่อง สามารถ “วางซ้อน” กันได้ ทำให้ประหยัดพื้นที่ได้ดีกว่า
-มักจะปั่นแล้วถนอมเนื้อผ้าได้ดีกว่า
-เสียงมักเบากว่า
“ข้อด้อย”
-ตอนใส่ผ้าและนำผ้าออก ต้องก้ม!
-หากไม่เปิดฝาทิ้งไว้หลังซักเสร็จ อาจเกิดคราบเนื่องจากความชื้นได้ง่ายกว่า
-หากต้องการบรรจุผ้าเพิ่ม หลังซักไปได้แล้วครึ่งทาง อาจทำได้ไม่ทุกรุ่น
-ที่ความจุของถังซักในปริมาตรที่เท่ากัน ราคามักสูงกว่า
“Top loader” (ฝาบน)
“ข้อเด่น”
-บำรุงรักษาง่ายกว่า เช่น ทำความสะอาดถังซักได้สะดวกกว่า
-ส่วนใหญ่มักใช้เวลาในการซักสั้นกว่า
-ราคามักถูกกว่า และซับซ้อนน้อยกว่า
-บรรจุผ้าและนำผ้าออกได้สะดวกกว่า เพื่อไม่ต้องก้ม
“ข้อด้อย”
-ส่วนใหญ่ใช้ทั้งนำ้และพลังงานมากกว่า
-หากผู้ใช้มีรูปร่างเล็ก อาจเอื้อมไม่ถึงก้นถังซัก
-ถนอมเนื้อผ้าได้ไม่ดีเท่าเครื่องฝาหน้า
-หากใช้มากกว่าสองเครื่อง จะทำการซ้อนกันไม่ได้
2) ”การดูแลรักษาบ้าน”
ช่วงหน้าฝน ทั่วทุกพื้นที่มักมีปัญหาการ “รั่วซึม” ของน้ำทั้งจาก “หลังคา” และใน “ห้องน้ำ”
ผมจึงทำการศึกษาการใช้งาน “ยาแนว” ที่สามารถหยุดยั้งปัญหาการรั่วซึมได้ดังนี้ครับ
ข้อมูลจาก “Baan & Beyond” กล่าวไว้ว่า
ยาแนวมีหลายประเภท ใช้ต่างกันอย่างไร?
1. อะคริลิก (Acrylic)
ยาแนวประเภทนี้มีความยืดหยุ่น 5% ซึ่งถือว่าน้อยที่สุด ในบรรดายาแนวแต่ละประเภท ทำมาจากวัสดุกลุ่มไฮโดรคาร์บอน (คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน) ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย จึงไม่ควรใช้ยาแนวประเภทนี้ในพื้นที่ที่เปียกชื้น เพราะจะทำให้เนื้ออะครีลิคไม่แข็งตัว แต่หากใช้ในพื้นที่ที่เหมาะสม
เมื่อยาแนวอะครีลิคนี้แข็งตัวแล้วจะไม่ละลายน้ำ ยาแนวอะคริลิคเหมาะกับงานปิดรอยต่อ เพราะสามารถขัดแต่งผิวงานและทาสีทับได้อย่างสวยงาม เช่น ปิดรอยร้าวที่ผนัง ยาแนวเชื่อมรอยต่อกรอบประตู-หน้าต่างเข้ากับผนัง หรือยาแนวรอยต่อของสุขภัณฑ์ เป็นต้น ยาแนวประเภทนี้สามารถใช้ได้กับทุกพื้นผิว และมีสีหลากหลายให้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับวัสดุนั้น ๆ แต่ไม่ทนต่อรังสี UV จึงไม่ควรใช้ภายนอกอาคาร เพราะอายุการใช้งานจะสั้น
2. ซิลิโคน (Silicone)
เป็นยาแนวที่มีความยืดหยุ่นสูงถึง 25% ทำมาจากวัสดุโพลิเมอร์ ยาแนวซิลิโคนนี้เป็นวัสดุกึ่งเหลวที่มีความยืดหยุ่นสูง ทนต่อรังสี UV จึงสามารถใช้ภายนอกอาคารได้ มีแรงยึดเกาะสูง และด้วยคุณสมบัติที่สามารถนำไปใช้ได้สารพัดประโยชน์ ยาแนวประเภทนี้จึงนิยมใช้กันมากที่สุด ทำให้มีการเข้าใจผิดเรียกยาแนวหรือวัสดุปิดรอยต่อ อุดรอยรั่วทั้งหมดว่า ซิลิโคน แต่ความจริงแล้ว ยาแนวซิลิโคนเป็นเพียงประเภทหนึ่งของวัสดุปิดรอยต่อ
ยาแนวซิลิโคนนิยมใช้กับรอยต่อระหว่างอลูมิเนียมกับกระจก โดยเฉพาะอาคารสูงที่มีการติดตั้งกระจกจำนวนมาก ยาแนวประเภทนี้ไม่สามารถทาสีทับได้ แต่มีหลากหลายสีให้เลือกใช้งาน เช่น สีใส ใช้กับงานกระจก สีขาว ใช้กับงานสุขภัณฑ์ และสีดำ ใช้กับพื้นผิวสีเข้ม อย่าง
ท็อปเคาน์เตอร์แกรนิตในห้องครัว
ยาแนวซิลิโคนมี 2 ประเภท คือ
ยาแนวซิลิโคนแบบมีกรด
จะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ซึ่งกลิ่นเหม็นเปรี้ยวเป็นสารระเหยที่ทำให้ยาแนวแห้งเร็วเหมาะกับงานปิดรอยต่อระหว่างกระจกกับกระจก เพราะมีแรงยึดเกาะสูง พื้นผิวที่ไม่เหมาะกับยาแนวซิลิโคนแบบมีกรด เป็นพวกกลุ่มโลหะและหินอ่อน เพราะกรดจะไปทำปฏิกิริยากัดกร่อนพื้นเหล่านั้นให้เกิดความเสียหายได้
ยาแนวซิลิโคนแบบไม่มีกรด
จะไม่มีกลิ่นเหม็น แห้งช้ากว่า และมีแรงยึดเกาะที่น้อยกว่า แต่จะมีความยืดหยุ่นที่มากกว่า พื้นผิวที่เหมาะกับการใช้งาน เช่น คอนกรีต ปูน อิฐ ไม้ เซรามิก และอะลูมิเนียม ดังนั้น ควรเลือกใช้ยาแนวให้เหมาะกับชนิดของพื้นผิว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และไม่ทำให้พื้นผิวเสียหาย
3. โพลียูรีเทน (Poly Urethane)
ยาแนวประเภทนี้มักเรียกกันว่า พียู (PU) มีความยืดหยุ่นตัวสูงถึง 35% แข็งแรง ทนทาน แห้งเร็ว แห้งแล้วไม่หดตัว จึงสามารถอุดรอยต่อในที่ที่มีการเคลื่อนตัวได้ดี สามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร เพราะทนต่อรังสี UV ทาสีทับได้ ยาแนวโพลียูริเทนนี้ เหมาะกับงานรอยต่อระหว่างโครงสร้างของอาคาร แผ่นพรีคาสท์ คอนกรีต ปิดรอยต่อเมทัลชีท อุดรอยต่อกระเบื้องมุงหลังคา ใช้ยาแนวกระเบื้องเซรามิค หิน สุขภัณฑ์ เป็นต้น
4. โมดิฟายซิลิโคน (Modified Silicone) หรือที่ผมเพิ่งค้นพบว่ามันมีอีกชื่อคือ “Hybrid PU”
ยาแนวประเภทนี้ ถูกพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาของยาแนวแบบเดิม โดยการนำข้อดีของยาแนวแบบอะคริลิคและซิลิโคนมาพัฒนา ให้ยาแนวสามารถทาสีทับได้เหมือนยาแนวอะคริลิคและพียู มีความยืดหยุ่นตัวและยึดเกาะตัวสูง ป้องกันรังสี UV ได้เหมือนยาแนวซิลิโคน สามารถใช้งานในที่เปียกชื้นได้ ใช้งานได้กับเกือบทุกพื้นผิว ทั้งคอนกรีต ปูน โลหะ หินธรรมชาติ สเตนเลส อะลูมิเนียม พีวีซี ไม้ ไฟเบอร์ซีเมนต์ และโพลีสไตรีน ไม่มีกรดที่เป็นอันตราย กลิ่นไม่แรง
และถ้าคุณต้องการใช้งานยาแนวคุณต้องมี
“ปืนยิงยาแนว”
“ยาแนว” ที่ผมเลือก
3) “งานดูแลรถยนต์”
4) “งานติดตั้ง Solar rooftop”
ผมมีความสนใจและได้หาข้อมูลไว้ดังนี้ครับ
5) “งานครัว”
ผมดูแลผู้สูงอายุในบ้านรวมถึงเรื่องการปรุงอาหารด้วยตัวผมเอง
ผมเองไม่ได้มุ่งเน้นไปที่เรื่องรสชาติ หากแต่ผมให้ความสำคัญกับความสะอาดและคุณภาพของวัตถุดิบในการทำอาหาร
และข้อมูลสำคัญอันหนึ่งในการทำอาหารที่ผมค้นพบคือ
“วัสดุ” ที่ถูกนำมาใช้ทำ “กะทะ” นั้น มีความแตกต่างกันในเรื่องของ “ความสามารถในการถ่ายเทความร้อน” (Thermal Conductivity Coefficient) เช่น
Carbon Steel จะมีค่าราว 50
Stainless Steel จะมีค่าราว 25
นั่นคือ “กะทะเหล็ก” จะถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่า “กะทะสแตนเลส” !!!
แต่ “กะทะเหล็ก” ต้องดูแลมากกว่าเพราะมัน “ขึ้นสนิมได้” โดยหลังจากล้างทำความสะอาดแล้ว คุณต้องทำการ “seasoning” หรือเคลือบผิวกะทะด้วย “น้ำมัน” เพื่อป้องกันกระบวนการ “Oxidation” หรือการทำปฏิกิริยาระหว่างผิวของกะทะกับ Oxygen ในอากาศแล้วทำให้เกิดสนิมนั่นเอง!
6) posts เกี่ยวกับงานครัวของผม ที่ผมขอแนะนำครับ
7) posts เกี่ยวกับ home improvement projects ของผมครับ
โฆษณา