8 ก.ค. 2022 เวลา 17:29 • ความคิดเห็น
1) มุมมองเกี่ยวกับ “บ้าน” ของผมเปลี่ยนไปจากสมัยที่ผมยังเป็นเด็กๆ ที่ชอบวิ่งเล่น, นั่งกินขนม และนอนหลับอย่างมีความสุข
พอเป็นผู้ใหญ่และอยู่ในจังหวะเวลาที่ผมต้องดูแลผู้สูงอายุและ “บ้าน” ไปพร้อมๆกัน “บ้าน” กลายเป็น “obsession” ใหม่ของผม นอกเหนือจาก “รถ” ที่ผมชอบศึกษามาตั้งแต่ต้น
ทั้งหมดทั้งมวลเริ่มจากการที่ผมเปลี่ยนสวิตช์ไฟเองเป็นครั้งแรก ตอนนี้ผมไม่มีเครื่องมือช่างใดๆเลย เพราะผมเพิ่งย้ายกลับเข้ามาอยู่บ้านหลังจากที่ไปใช้ชีวิตต่างเมืองอยู่นานบนตึกสูงที่ผมแทบจะไม่ต้อง “ดูแล” อะไรเลย
การเปลี่ยนสวิตช์ไฟครั้งนั้นทำให้ผมตระหนักว่า ผมควร “หาเครื่องมือช่าง” มาเก็บสะสมไว้บ้าง
ผมจึงใช้เวลาส่วนหนึ่ง ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือช่างด้านต่างๆ และแหล่งซื้ออุปกรณ์เหล่านั้นทั้งที่เป็น online และที่มีหน้าร้าน
ช่วงแรกๆในงาน DIY home improvement ที่ผมทำคือ การเปลี่ยนหลอด fluorescent ไปเป็น หลอด LED ซึ่งเอาเข้าจริงๆ ก็ต้องใช้เครื่องมือหลายชิ้นอยู่ เช่น ถุงมือ, บันได, แว่นนิรภัย, คีมปากจิ้งจกขนาดเล็ก, คีมตัด, คีมปอกสายไฟ, ไขควง, ไขควงทดสอบไฟ ฯลฯ
ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ผมทำการเปลี่ยนหลอดมาหลายครั้งทั้งที่บ้านและบ้านญาติ ผมก็เริ่มชำนาญในการทำและเริ่มรู้แบบและรุ่นของหลอด LED ที่ผมต้องการ
2) อยู่มาวันหนึ่ง ผมพบว่า “ปั๊มนำ้” ที่บ้านเกิดรั่ว มีนำ้ไหลออกมาและแน่นอนว่า ผมไม่เคยรู้จักการทำงานของปั๊มนำ้มาเลย เพราะใช้ชีวิตบนตึกสูง
มานาน
ผมจึงตัดสินใจ ค้นหาข้อมูลบน Youtube ที่มีคลิปเกี่ยวกับการซ่อมแซมปั๊มนำ้อยู่นับสิบๆคลิป จนกระทั่งผมรู้ว่า อะไหล่ตัวที่มีน้ำรั่วไหลออกมาคือ สิ่งที่เรียกว่า “สวิตช์ความดัน” หรือ “pressure switch”
ผมเลยหาซื้ออะไหล่มาเปลี่ยนได้ในที่สุด โดยไม่ต้องเรียกช่างมาที่บ้านเลย
และนับตั้งแต่นั้น ผมเริ่มสนใจศึกษา “ปั๊มนำ้” จนตอนนี้ผมเริ่มมีความรู้เรื่องของมันมากขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ
3) และเมื่อราวต้นปีนี้ ผมพบว่า “ชักโครก” ที่บ้านเริ่มไม่ทำงาน แน่นอนว่าผมไม่คิดจะเรียกช่างมาซ่อม ในทางตรงกันข้าม ผมใช้เวลาบน Youtube มากขึ้นเหมือนคราวซ่อมปั๊มนำ้ รวมถึงการไปพูดคุยสอบถามผู้รู้ที่เป็นพนักงานของห้างที่ขายอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
จนผมสามารถค้นหา “ชื่อรุ่น” ของโถสุขภัณฑ์ และทำการสั่งซื้ออะไหล่มาเปลี่ยนด้วยตัวเอง
ทั้งนี้ผมเองก็ต้องศึกษาเรื่อง “เครื่องมือและวิธีการเปลี่ยนอะไหล่” จาก Youtube เช่นเคย
ซึ่งก่อนหน้านี้ ผมเคยหาอะไหล่มาเปลี่ยน “ฝารองนั่ง” สุขภัณฑ์มาแล้ว มันอาจฟังดูง่ายๆ แต่การหาอะไหล่ที่ตรงรุ่นตรงยี่ห้อนั้น เป็นความท้าทายอย่างหนึ่งทีเดียวสำหรับมือใหม่ที่ไม่เคยทำอย่างผมในตอนนั้น
4) ต่อมาผมก็ยังคงได้มีโอกาสเปลี่ยนก๊อกนำ้ที่ซิงค์ล้างจานและสะดืออ่างล้างหน้าในห้องน้ำ จนผมเริ่มสนใจการ “ยาแนว” พื้นห้องน้ำใหม่ด้วยตัวเอง!
และเช่นเคย ผมใช้เวลาพักใหญ่ๆบน Youtube เพื่อเสาะหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่ผมจะได้ DIY ด้วยตัวเองต่อไป
และข้อดีของการลงมือทำด้วยตัวเองนั้น ผมขอยกตัวอย่างที่เห็นชัดๆก็คือ คุณจะได้ศึกษา “supply chains” ของ “อุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์” เช่น รายละเอียดเล็กๆน้อยๆเป็นต้นว่า
1
“สะดืออ่างล้างหน้า” มีอยู่สองแบบหลักๆ คือ “แบบที่มีรูนำ้ล้น” (overflow) กับแบบที่ไม่มีรูนำ้ล้น” ซึ่งถ้าคุณซื้อผิดแบบ คุณอาจต้องเสียเวลาไปเปลี่ยนในที่สุด
5) และจากข้อมูลทั้งหมดทั้งมวลที่ผมทำการศึกษาเรื่อง “บ้าน” มา ทำให้ผมเริ่มสนใจ “งานก่อสร้าง” ที่ผมไม่มีความรู้พื้นฐานใดๆเลย
จนกระทั่งเวลานี้ ผมเองก็หาข้อมูลด้านนี้มากขึ้น ตั้งแต่ ส่วนประกอบของสิ่งปลูกสร้าง ที่แบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือ
“substructure” ซึ่งหมายถึงส่วนรากฐานจากพื้นบ้านลงไปในดิน และส่วน “superstructure” ที่นับตั้งแต่พื้นบ้านจนไปถึงหลังคา
และรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ เช่น การเลือกวัสดุ, เทคโนโลยีการก่อสร้าง, การคุมงานก่อสร้าง, แบบบ้านซึ่งที่ผมชื่นชอบคือ บ้านขนาดเล็กที่เรียกว่า “Tiny houses” ที่ใช้งบประมาณในการก่อสร้างน้อยกว่าบ้านแบบ “full size” เอามากๆ
6) “ครัว” คือ “เรือน”
โฆษณา