24 พ.ค. 2022 เวลา 00:00 • สุขภาพ
คิดฟุ้งซ่าน สุขภาพจิตแย่ แก้ได้อย่างไร?
รู้ไหมคะว่าการที่เราไม่มีสมาธิใจฟุ้ง ซ่านความคิดฟุ้งซ่านนั้นทำลายสุขภาพจิต ของเราถึง 1 ใน 5 เลยทีเดียว
หนังสือ "เป็นมนุษย์แฮปปี้ในโลกที่มีแต่เรื่องบ้าๆ" เขียนโดย ดร.เอ็มมา เฮ็ปเบิร์นนักจิตวิทยาผู้โด่งดังมีคนติดตามกว่า 1 แสนคน ได้กล่าวถึงเรื่องราวสุขภาพจิต และเทคนิคการแก้ไขไว้หลาย ๆ วิธีการ ขอหยิบเรื่องราวที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟังค่ะ
เป็นมนุษย์แฮปปี้ในโลกที่มีแต่เรื่องบ้าๆ
3 ความเข้าใจผิด! เรื่องสุขภาพจิต
ความเข้าใจผิด 1. ❌คนมีสุขภาพจิต คือ คนที่มีแต่ความสุขเท่านั้น ❌
ที่ถูกต้องคือ
🔹คนมีสุขภาพจิตดี คือ คนที่เข้าใจอารมณ์ของตัวเอง 🔹 ทั้งทางด้านบวกและด้านลบ การเข้าใจอารมณ์ของตัวเอง จะนำไปสู่การดูแลและปฏิบัติต่อตัวเองแบบเคารพ เมตตา แล้วก็เห็นอกเห็นใจตัวเอง
1
เมื่อ ไหร่ก็ตามที่เรามีความรู้สึกแย่ๆเกิดขึ้น นั้นไม่ได้แปลว่าว่าเราจะมีสุขภาพจิตที่ ไม่ดีเสมอไปนะคะ
ความเข้าใจผิด 2.❌ สุขภาพจิตเชื่อมโยงกับสมองเท่านั้น❌
ความจริงแล้ว
🔹สุขภาพจิตนั้นเชื่อมโยงกับทั้งสมอง ร่างกาย และสิ่งแวดล้อม🔹
เมื่อ ไหร่ก็ตามที่เรารู้สึกไม่ดี ให้กลับมาย้อนดูเรื่องพื้นฐานของชีวิตก่อน เช่น การกิน การนอน การเคลื่อนไหวร่างกาย สิ่งแวดล้อมที่เราอยู่
บางทีความรู้สึกแย่ๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะเกิดจากการที่ในชีวิตประจำวัน เรายังดูแลตัวเองไม่ดีพอก็เท่านั้นเอง
ความเข้าใจผิด 3. ❌เมื่อ ไหร่ก็ตามที่เรามีปัญหาทางจิตใจให้ใช้สมองหาเหตุผล❌
ความจริงแล้ว คือ สมองของเราเป็นนักคิดโดยประมวลจากเรื่องราวในอดีต และสิ่งที่จินตนาการในอนาคต เป็นส่วนมาก มีเพียงความเป็นจริงปัจจุบันเพียงนิดเดียวที่ถูกสมองนำมาประมวลผล
🔹 สมองจึงอาจจะหาคำตอบที่ซับซ้อนเกินความเป็นจริง🔹และไม่ได้อยู่กับความเป็นจริงในปัจจุบัน
เมื่อเกิดความรู้สึกแย่ๆ อย่าใช้แต่สมองมองหาเหตุผล
คนมีสุขภาพจิตดี ไม่ใช่คนที่มีแต่ความสุข
แต่คือ คนที่เข้าใจอารมณ์ของตัวทั้งด้านบวกและลบ
...
เรามีสุขภาพจิตดี หรือ แย่แค่ไหน ให้ลองมาเช็ค "เสาหลักสุขภาพจิต 5 ต้น" ดูค่ะ
เสาหลักสุขภาพจิต 5 ต้น
เสาหลักสุขภาพจิต 5 ต้น จากหนังสือ "เป็นมนุษย์แฮปปี้ที่มีแต่เรื่องบ้าๆ"
เสาหลักต้นที่ 1 : ความสัมพันธ์
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ลองสำรวจดูว่าเวลาที่เราจิตตกนั้น เรามีความสัมพันธ์ที่แย่ลงกับใครบ้างหรือเปล่า ถ้ามีอยู่ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะไม่สดชื่น หรือ ห่อเหี่ยว เพราะความรู้สึกแย่ๆ นั้นยังค้างคาใจอยู่
มนุษย์ถูกสอนว่าเราต้องดูแลตัวเอง
แต่จริงๆ แล้ว มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้อง "ดูแลกันและกัน"
...
เสาหลักต้นที่ 2 : ความกระฉับกระเฉง
ร่างกายเป็นสิ่งที่สะท้อนสัญญาณของจิตใจได้ดี แต่คนมักจะละเลยจนไม่สามารถอ่านสัญญาณที่ร่างกายพยายามบอก
ถ้าเรายังคงมีความกระฉับกระเฉงกระชุ่มกระชวย ยังเคลื่อน ไหวร่างกายได้อย่างสบายใจ นั่นก็สะท้อนถึงว่าเรามีแน้วโน้มสุขภาพจิตน่าจะยังดีอยู่ ในทางกลับกัน หากเราไม่ค่อยอยากขยับเนื้อขยับตัว เมื่อนั้นก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าจิตใจของเราเริ่มไม่ค่อยดีแล้ว
เสาหลักต้นที่ 3 : ความรู้สึกตัว
ความรู้สึกตัว คือ การอยู่กับปัจจุบัน ที่นี่ ตอนนี้ ปกติสมองเราจะคิดเรื่องในอดีต กับ เรื่องในอนาคต เมื่อเราไม่อยู่กับปัจจุบัน มีความฟุ้งซ่าน คิดวนไปเวียนมา และหากเรื่องที่คิดนั้นเป็นเรื่องลบๆ ก็ยิ่งทำให้สุขภาพจิตแย่ลงไปอีก
เสาหลักต้นที่ 4 : การเรียนรู้อะไรใหม่ๆ
การเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ทำให้สมองตื่นตัว เหมือนกับได้ออกกำลังกายสมอง ลองเช็คดูว่า ช่วงนี้เรามีอะไรใหม่ ๆ ให้เรียนรู้บ้างไหม เช่น ฟังพอดแคสต์ อ่านหนังสือ เข้าเวิร์คชอป ฝึกทำอาหาร ฯลฯ
เสาหลักต้นที่ 5 : การให้
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่รับอารมณ์กันได้ สะท้อนอารมณ์กันได้ ถ้าเราส่งอารมณ์ดี ๆ ของเราไปถึงคนอื่น รวมถึงการให้คำพูดดีๆ ให้กำลังใจ ช่วยเหลือผู้อื่นได้ นั่นก็มีแนวโน้มว่า เราน่าจะยังมีสุขภาพจิตดีอยู่
แต่ถ้าเมื่อไหร่เราไม่อยากให้อะไรใคร เราอาจมีความขุ่นข้องหมองใจอะไรซ่อนอยู่ก็เป็นได้
สำหรับวิธี "พักสมองตามหลักวิทยาศาสตร์" นั้น คุณหมอคุงายะ อากิระ จิตแพทย์ชาวญี่ปุ่น ได้เขียนไว้ในหนังสือที่ชื่อว่า "ศาสตร์ของสมองที่รู้จักหยุดพัก"
ศาสตร์ของสมองที่รู้จักหยุดพัก
โดยได้อธิบายว่า ความฟุ้งซ่าน ไม่มีสมาธิ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สมองล้า เพราะว่าใช้พลังงานของร่างกายไปถึง 60-80 % เลยทีเดียว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
1
ในช่วงที่เราฟุ้งซ่าน สมองของเราจะอยู่ในภาวะที่ชื่อว่า Default mode Network (DMN) ซึ่งภาวะนี้ ใช้พื้นที่สมองถึง 4 ส่วนในการประมวล
  • 1.
    Medial Prefrontal Cortex
  • 2.
    Posterior Cingulate Cortex
  • 3.
    Precuneus
  • 4.
    Inferior Parietal Lobe
DMN จะทำงานหนักขึ้นเวลาที่สมองไม่ได้ตั้งใจคิดอะไรเป็นพิเศษ
วิธีการพักสมองตามหลักวิทยาศาสตร์ คือ การลดการทำงานที่มากเกินไปของ Default Mode Network ด้วยการ "จดจ่อ" นั่นเอง
เมื่อเราจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การทำงานของสมองจะลดลงไป 2 ส่วน คือ Medial Prefrontal Cortex และ Posterior Cingulate Cortex เมื่อสมอง 2 ส่วนนี้พักการทำงานลง ก็ลดการใช้พลังงานร่างกายลงไปด้วยเช่นกัน
ที่สำคัญคือ เราต้องทำสิ่งเหล่านี้ก่อนที่จะรู้สึกเหนื่อล้า
ประโยชน์ที่เกิดขึ้น เมื่อเราปรับตัวเข้าสู่โหมด​"จดจ่อ" คือ
  • ความเครียดลดลง
  • เลิกคิดฟุ้งซ่าน
  • มีสมาธิ
  • จำได้แม่นยำขึ้น
  • ควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น
  • ระบบภูมิคุ้มกันทำงานดีขึ้น
4 ขั้นตอนควรทำ "ก่อน"ที่สมองจะเหนื่อยล้า
1 ให้นั่งในท่าที่ถูกต้อง
คือนั่งไม่เกร็งนั่งในที่สบายนั่นเองให้ แล้วก็หลับตา แต่ถ้าใครจะลืมตาให้มองไกลๆอย่างน้อย สัก 2 เมตร เพื่อไม่ให้ไปเพ่งมองสิ่งใดเป็นพิเศษ
2 จดจ่อกับสิ่งที่ร่างกายรู้สึก
สัมผัสถึงสิ่งที่ร่างกายรู้สึก ส่วนไหนเกร็ง ก็ผ่อนคลายให้สบายๆ
3 จดจ่ออยู่กับลมหายใจ
สังเกตลมหายใจตนเอง ทำอย่างสบายๆ ไม่ฝืนธรรมชาติ
4 ไม่สนใจความคิดฟุ้งซ่านที่ผุดขึ้นมาในหัว
เมื่อมีความคิดฟุ้งซ่านขึ้นมา ก็ตั้งสติแล้วค่อยๆ กลับมาจดจ่อใหม่ ที่สำคัญคือ อย่ารู้สึกหงุดหงิด หรืออย่าโทษตัวเอง ถ้าเรามีความคิดฟุ้งซ่านขึ้นมา
จากหนังสือ ศาสตร์ของสมองที่รู้จักหยุดพัก
เทคนิคสำคัญคือ ให้ทำสิ่งนี้เป็นประจำสม่ำเสมอ เพราะว่าสมองชอบความคุ้นเคยมากๆ อะไรที่เราทำเป็นประจำแล้วสมองคุ้นเคยนั้นสิ่งนั้นจะติดอยู่กับเรานาน
ดังนั้นมือปราบความฟุ้งซ่านที่ดีที่สุด ก็คือ การไม่ฟุ้งซ่านด้วยการจดจ่อ นั่นเองค่ะ
สามารถรับชมเรื่องราวฉบับเต็มได้ที่..
โฆษณา