17 มิ.ย. 2022 เวลา 23:44 • สุขภาพ
โรคกลัวการอยู่คนเดียว (Autophobia)
โรคกลัวการอยู่คนเดียว หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Autophobia, Monophobia, Isolophobia หรือ Eremophobia โรคนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่สำหรับคนไทย ทั้งอาการที่เป็นก็ดูเหมือนจะคล้ายอาการของคนขี้เหงาธรรมดา เพียงแต่โรคกลัวการอยู่คนเดียวยิ่งทำให้ไม่กล้าออกไปทำอะไรตามลำพัง
ความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่ไม่สามารถควบคุม จัดการตัวเองได้ สำหรับคนที่กลัวการอยู่คนเดียวจะมีแนวโน้มไม่มั่นใจในตนเอง มีความเชื่อที่ว่า ตนเองไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยลำพัง และเชื่อว่าการอยู่คนเดียวนั้นไม่ปลอดภัย หรือบางทีอาจไม่เคยเรียนรู้ที่จะสบายใจเมื่ออยู่คนเดียว
โรคกลัวการอยู่คนเดียว (Autophobia)
สาเหตุของโรคกลัวการอยู่คนเดียว
1. ปัจจัยภายนอก
โรคกลัวเกิดจากสาเหตุการณ์ภายนอกที่ส่งผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจ ซึ่งเกิดจากสาเหตุทางจิตวิทยาที่แตกต่างกัน ไม่อาจแบ่งสาเหตุทั่วไปได้ โดยส่วนใหญ่เกิดจากความเจ็บปวดในวัยเด็กและบาดแผลทางใจที่ได้รับตลอดชีวิต
2. ปัจจัยภายใน
เกิดจากความบกพร่องภายใน พันธุกรรม หรือสารเคมีในสมอง
พันธุกรรมและสารเคมีในสมองรวมกับประสบการณ์ในชีวิตมีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกลัว
  • ความกลัวที่จะอยู่คนเดียวในที่สาธารณะ อาจเชื่อมโยงกับความหวาดกลัวสังคม (Argoraphobia)
  • ความกลัวที่จะอยู่ในบ้านของตัวเองคนเดียว ซึ่งเชื่อมโยงกับสถานการณ์ที่ทำให้วิตกกังวลร้ายแรง ที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก หรือเกิดขึ้นภายในบ้าน อาจเกิดจากความเหงาและอยากท้าทายตัวเองโดยการอยู่คนเดียว เพื่อควบคุมความรู้สึกของตัวเอง จนทำให้เกิดความวิตกกังวลรุ่นแรง
  • ความกลัวที่จะเกิดอาชญากรรมเชื่อมโยงกับการอาศัยอยู่ใกล้แหล่งที่มีอาญชญากรรมสูง หรือได้ยินข่าวความน่ากลัวของอาญชกรรมที่เกิดขึ้นบ่อย ทำให้เกิดความกลัวที่จะอยู่คนเดียวเพราะกลัวที่จะไม่ปลอดภัย
อาการของโรคเป็นอย่างไร ?
  • มีความกลัวที่ไม่มีเหตุผลหรือแสดงความกลัวมากกว่าที่ควรจะเป็น เมื่ออยู่ในเหตุการณ์หรือสถานการณ์เฉพาะ เช่น การอยู่คนเดียว
  • รู้สึกกระวนกระวาย และกังวลมาก เพียงรู้ว่าต้องอยู่คนเดียว
  • หายใจไม่สะดวกใจสั่น หน้ามืด เหงื่อออกมากผิดปกติ อาเจียน ตัวสั่น
  • หากอยู่ในที่สาธารณะคนเดียวมักจะมีอาการประหม่า ไม่เป็นตัวของตัวเอง
  • ไม่สามารถไปไหนคนเดียวได้ต้องมีเพื่อนไปด้วยตลอด ถึงจะเป็นสถานที่ตัวเองคุ้นเคยก็ตาม
  • เกิดความกลัวจนกระทบกับชีวิตประจำวัน เช่น ไม่สามารถไปโรงเรียน หรือไปทำงานได้ มีปัญหาในการเข้าร่วมสังคม
  • เกิดความกลัวนานกว่า 6 เดือน
วิธีการรักษา
โรคกลัวการอยู่คนเดียวสามารถเข้ารับการรักษาได้เหมือนกับโรคอื่นๆ เช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคเครียด แต่สำหรับการรักษาความกลัวการอยู่คนเดียวจะเน้นที่การลดความกลัว และความวิตกกังวล และค่อย ๆ สร้างความสมารถในการเป็นตัวของตัวเอง วิธีการที่แพทย์ใช้ในการรักษาก็มีหลายวิธีดังนี้
  • การรักษาด้วยยา แพทย์อาจสั่งยาเพื่อช่วยควบคุมอาการของโรค ซึ่งอาจรวมถึงยาต้านความวิตกกังวล เช่น benzodiazepines หรือ beta-blockers หรือยากล่อมประสาท เช่น selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)
  • การทำจิตบำบัด การทำจิตบำบัดเป็นการรักษาโดยจิตแพทย์ หรือ นักจิตวิทยา โดยจะใช้แบบทดสอบโรคกลัวการอยู่คนเดียวเพื่อประเมินอาการและใช้เทคนิคการบำบัดความคิดและพฤติกรรม CBT(Cognitive Behavioral Therapy ) CBT ช่วยให้คุณเรียนรู้วิธีสังเกตและท้าทายความคิดอัตโนมัติที่เกี่ยวข้องกับความหวาดกลัวของคุณ สิ่งนี้อาจช่วยให้คุณระบุช่วงเวลาที่ความวิตกกังวลของคุณเกินสัดส่วนกับอันตรายที่แท้จริงของการอยู่คนเดียว
วิธีรับมือกับการอยู่คนเดียว
  • ให้เวลากับตัวเอง โดยธรรมชาติแล้วเมื่อต้องอยู่คนเดียว เราจะเป็นนักคิด ที่ไม่หยุดนิ่ง ความคิดมากมายจะวิ่งเข้าหาเราเมื่อเราอยู่คนเดียว ดังนั้นการทำสมาธิจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเมื่อเรามีสมาธิ เราจะรับมือกับความคิดฟุ้งซ่านได้ดีขึ้น
การทำสมาธิอาจเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายคน ในช่วงแรกแนะนำให้เริ่มจากการทำสมาธิในระยะเวลาสั้น ๆ สัก 5-10 นาที
  • ค้นหาความสุข ลองนึกภาพตอนที่คุณยังเด็ก อะไรทำให้คุณมีความสุข เมื่อเราต้องอยู่คนเดียว ให้ลองมองหากิจกรรมที่เราทำแล้วมีความสุข เพื่อต่อสู้กับความรู้สึกเหงา เช่น การออกกำลังกาย นอกจากจะทำให้รู้สึกดีแล้วยังช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีและดูดีด้วย การที่เรามีกิจกรรมให้ทำ และพยายามจดจ่อกับการทำบางสิ่งบางอย่าง ที่ทำให้มีความสุขจะช่วยลดความเหงา และความรู้สึกไม่ดีเมื่อต้องอยู่คนเดียวได้
  • โทรหาเพื่อน หรือคนที่คุณไว้ใจ เมื่อคุณรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว ทุกข์ใจจากการอยู่คนเดียว ลองโทรหาเพื่อน หรือคนที่คุณไว้ใจ เพื่อพูดคุย แบ่งปันเรื่องราวความอึดอัดใจให้พวกเขาฟัง การได้ระบายความอึดอัดใจออกไปบ้างจะช่วยทำให้คุณรู้สึกเบา สบายขึ้น เราทุกคนต่างต้องการคนรับฟัง
  • คุยกับคนแปลกหน้า การเปิดใจรับบุคคลภายนอกเข้ามาในชีวิตบ้าง สามารถทำให้คุณฝึกทักษะการเข้าสังคมได้เป็นอย่างดี ลองพูดคุยกับคนแปลกหน้าดูบ้าง อาจเริ่มจาก คนที่คุณพบเจอบ่อย ๆ เช่น พนักงานชงกาแฟร้านที่คุณซื้อประจำ หรือพี่ รปภ หน้าหมู่บ้าน หน้าบริษัท และค่อย ๆ พัฒนาไปเป็นบุคคลอื่นที่คุณอาจไม่คุ้นชิน
การเปิดใจรับบุคคลอื่นเข้ามาในชีวิตบ้าง นอกจากจะได้ฝึกทักษะการเข้าสังคมแล้ว อาจทำให้คุณได้พบเพื่อนใหม่ และไม่กลัวการอยู่คนเดียวอีกต่อไป
  • พูดคุยกับจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ หากความกลัวการอยู่คนเดียวของคุณรุนแรง หรือส่งผลต่อชีวิตประจำวันของคุณ วิธีที่ดีที่สุดคือไปปรึกษาจิตแพทย์ที่ไหนก็ได้คุณรู้สึกเชื่อใจ โรคกลัวคนเดียวเป็นภาวะที่รักษาได้ และการขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตสามารถช่วยคุณจัดการกับความหวาดกลัวการอยู่คนเดียวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา / แหล่งอ้างอิง
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา