28 มิ.ย. 2022 เวลา 11:01 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
LTLH ทางออกของกาแฟไทย (9) เราสามารถอนุมานความชื้นในกาแฟได้จากน้ำหนักที่ลดลง
หลังจากเก็บข้อมูลมาได้จำนวนหนึ่ง...(ผมว่าปริมาณน่าจะมากพอให้เอาไปทำ thesis จบ ป.โท ได้อีกใบ) เราก็เริ่มหาเวลาเรียบเรียงข้อมูลเหล่านั้นออกมาเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการทำงานภาคสนามผมลองให้น้องใหม่ช่วยทำกราฟเปรียบเทียบบนแกนเวลาเดียวกันระหว่าง เปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ด (Moisture Content , wet basis) ที่ลดลง
และ ค่าเปอร์เซ็นต์น้ำหนักของกาแฟในตะกร้าที่ลดลง ( Weight loss , wet basis) ได้ดังภาพที่แสดง จะเห็นได้ว่าหากเรารู้ค่าน้ำหนักที่หายไปก็จะสามารถทราบค่าความชื้นในกาแฟได้ในเวลาเดียวกัน
ผมลองให้น้องใหม่ช่วยทำกราฟเปรียบเทียบบนแกนเวลาเดียวกันระหว่าง เปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ด (Moisture Content , wet basis) ที่ลดลง และ ค่าเปอร์เซ็นต์น้ำหนักของกาแฟในตะกร้าที่ลดลง ( Weight loss , wet basis) ได้ดังภาพที่แสดง จะเห็นได้ว่าหากเรารู้ค่าน้ำหนักที่หายไปก็จะสามารถทราบค่าความชื้นในกาแฟได้ในเวลาเดียวกัน
แต่ต้องบอกก่อนว่ากราฟ process แต่ละแบบก็จะมีแคแรกเตอร์ที่แตกต่างกันไป ไม่สามารถใช้แทนกันได้
อย่างกราฟที่เห็นนี้เป็นกราฟของ Yeast Dry Process ที่ผมทดลองทำตั้งแต่ช่วง Prelim ซึ่งคราวนี้ผมเอากราฟที่น้องใหม่จัดทำมาใช้ประโยชน์ในการติดตามผลของกาแฟในตะกร้ารอบ production ล่าสุดนี้ครับ
อย่างไรก็ตาม..กราฟนี้ก็พอจะอนุโลมใช้กับการ drying กาแฟแบบ dry process ทั่วๆไปได้เหมือนกัน โดยคาดว่าจะเบี่ยงเบนกันบ้างเล็กน้อย
การหาค่าน้ำหนักที่สูญเสียไป ณ เวลาที่ตรวจวัดก็ทำได้ไม่ยาก โดยคำนวณจากสมการ
Weight loss (%) = (น้ำหนักเริ่มตาก - น้ำหนักปัจจุบัน) x 100 / น้ำหนักเริ่มตาก
เมื่อรู้ Weight loss เราก็มองดูที่เส้นกราฟสีแดงว่าอยู่ ณ จุดไหน แล้วมองลากตามแกนดิ่ง (แกน Y) ไปหากราฟความชื้นเมล็ด (Moisture content) เส้นสีน้ำเงินว่าเป็นค่าความชื้นที่เท่าไหร่ แค่นั้นเอง
อย่างตอนนี้ weight loss ของกาแฟที่ตากอยู่ส่วนใหญ่ในห้องอยู่ที่ประมาณ 50% ก็แสดงว่าความชื้นในเมล็ดน่าจะอยู่ราวๆ 42-43% ครับ (ซึ่งความชื้นระดับนี้เครื่องวัดความชื้นกาแฟโดยทั่วไปจะยังวัดค่าไม่ได้)
กราฟนี้จะช่วยให้ผู้ที่ดูแลงานตากกาแฟรู้ความชื้น ณ เวลาใดๆได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องมีเครื่องวัดความชื้นเลย คิดว่าน่าจะช่วยประหยัดเงินหรือเวลาไปได้พอสมควร
หากใครยังไม่มีเงินซื้อเครื่องวัดความชื้นก็อาจใช้กราฟนี้ช่วยไปก่อน (ไม่จำเป็นต้องเป็นการตาก LTLHนะครับ)
ส่วนสภาพทางกายภาพของกาแฟก็เป็นไปตามภาพประกอบก็คือ ไม่มีความชื้นแฉะรอบๆผลเชอรี่ ผิวเริ่มหดตัวเกิดเป็นเส้นรอยย่นขึ้นมา นับจากนี้ไปกาแฟจะเริ่มแห้งและหดตัวลงเรื่อยๆครับ
มองๆไปก็สวยดี...ผมเดินวนดูตะกร้าโน้นตะกร้านี้ไม่มีเบื่อเลย
ถ้าไม่ต้องมีงานอื่นๆผมก็คงอยู่ในห้อง LTLH นี่ไปอีกค่อนวัน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา