1 ก.ค. 2022 เวลา 10:00 • กีฬา
เมื่อเรารู้แล้วว่าการไปซ้อมวิ่ง Interval ไม่ว่าจะ indoor-outdoor นั้นไม่ต่างกัน งั้นต่อไปแอดมิน #ตอปิโด่ จะพามาวางแผนฝึก Interval กันดีกว่า การฝึกจะได้เกิดประโยชน์สูงสุด
เพราะการฝึกวิธีนี้จะช่วยพัฒนาความอดทนในการทำงานของร่างกายแบบใช้ออกซิเจนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
โดยการฝึกแบบ Interval นั้นมีองค์ประกอบที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะดังนี้
1. ช่วงของระยะเวลาหรือระยะทางที่ใช้ในการฝึก
- หากฝึกที่สนามกีฬา การกำหนดด้วยระยะทางจะช่วยให้เราไม่ต้องพึง/คอยดูนาฬิกา
- หากสถานที่ไม่อำนวย ใช้เวลาจะควบคุมการฝึกได้ง่ายกว่า
- เยอะน้อย สั้นยาว ดูหลายปัจจัย เช่น performance, เป้าหมาย
2. ช่วงของระยะเวลาหรือระยะทางที่ใช้ในการพักฟื้นสภาพร่างกาย
- มือใหม่ใจเย็นๆ ค่อยๆไป สร้างความคุ้นเคยกันก่อน 1:4 , 1:3 ก็ได้ (เร็ว 1 : ช้า 4)
- มือเก๋า กดให้สุดใจ 1:2 , 1:1
- ยิ่งสัดส่วนน้อย = พักน้อย = ยิ่งเดือด
3. ความหนักหรือระดับความเร็วที่ใช้ในการฝึก
- กำหนดได้หลายอย่างตามความเหมาะสม เช่น
- แบบชิวๆ อาจจะใช้ talk test
- แม่นยำขึ้น ใช้ง่าย ก็ใช้ %maxHR
- hard core ก็ vVO2max (ต้องเคยเทสVO2max ด้วย protocal ที่ค่อนข้างเฉพาะ)
4. จำนวนครั้งที่กระทำต่อเซตและจำนวนเซตที่ทำการฝึก
- ตาม performace, เป้าหมาย
- มือใหม่ 3-5 เริ่มชิน 7 เถื่อนๆ 15 เซตก็มี
5. กิจกรรมที่กระทำในระหว่างช่วงพักฟื้นสภาพร่างกาย
- ลดเพช - เดิน -จ๊อก
- ลดระดับความหนักลงมา เช่น เหลือ 50%maxHR
6. สภาพภูมิประเทศที่ใช้ทำการฝึก เช่น วิ่งขึ้นเนิน วิ่งลงเนิน วิ่งบนพื้นทราย วิ่งริมชายหาด วิ่งในลู่วิ่ง
(เจริญ กระบวนรัตน์, 2545)
การเพิ่มหรือลดปริมาณความหนักในการฝึก สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพความพร้อมของร่างกายโดยจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการฝึกซ้อมและสุขภาพร่างกายของนักกีฬา
#kratosperformance
#tap2
#tap2energy
โฆษณา