25 ส.ค. 2022 เวลา 09:52 • การศึกษา
1) การเรียนภาษาต่างประเทศมี “ทักษะ” แยกย่อยคือการ “ฟัง, พูด, อ่าน, และ เขียน”
ผมเองเรียนทั้งภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ จากประสบการณ์ตรงของผม
1.1) ถ้าอยากพูดเก่ง ก็ฟังเยอะๆ”
1.2) ถ้าอยากเขียนเก่ง ก็อ่านเยอะๆ”
1.3) ไวยากรณ์หรือ grammars คือ พื้นฐานสำคัญ” เพราะ “ระบบระเบียบ” ของภาษาต่างประเทศถูกสร้างจาก “วิธีคิดเชิงวัฒนธรรม” ที่แตกต่างกันไป
ดังนั้นเราควร “เคารพ” หลักการทางไวยากรณ์ของภาษาต่างประเทศที่เรากำลังจะเรียนอยู่ โดยไม่ใช้ความแตกต่างเรื่องไวยากรณ์มาเป็น “อุปสรรคและเงื่อนไข” ที่จะทำให้เราหมดความสนใจในการเรียน
2) การเรียนภาษาต่างประเทศ ผมขอเปรียบเทียบเป็นการ “ทะลายกำแพง” ที่ขวางกั้นผู้คนที่มาจากต่าง
วัฒนธรรม
และแน่นอนว่า “การทะลายกำแพง” นั้นเป็นเรื่องที่ต้อง “ลงทุน” ทั้งกายใจ, งบประมาณ, และ “เวลา” อย่างมหาศาล แทบจะเรียกได้ว่าเป็น lifelong learning เลยก็ว่าได้!
คำถามคือ “ปัจจัย” อันใด ที่จะทำให้คุณ ลงทุนกับสิ่งที่มีความท้าทายแบบนั้น ในระยะเวลานานๆได้?
3) “passion and patience”
จากประสบการณ์ตรงของผมคือ
passion หรือที่ผมชอบใช้คำว่า obsession
#มันคือ “Oxygen” มันคือลมหายใจ
1
#มันคือสิ่งที่คุณทำฟรีๆได้โดยไม่รู้สึกว่าเสียเวลา
#มันทำให้ความเหน็ดเหนื่อยและความเจ็บปวดลดน้อยลงเพราะเมื่อคุณทำมัน จะมี endorphins หลั่งในสมองคุณ ทำให้คุณมีความสุขและผ่อนคลาย
#คุณจะทำมันได้เรื่อยๆ นานๆ (time flies) โดยที่คุณไม่รู้ตัว
#มันทำให้ม่านตาคุณขยายหัวใจเต้นแรง (pump) แค่คิดถึงมัน
#และคุณอยากให้วันหนึ่งๆมีมากกว่า 24 ชั่วโมง เพราะคุณไม่อยากเสียเวลานอน และอยากตื่นเร็วๆเพื่อที่จะได้ทำมันอีก!
#passion = unlimited power
#passion คู่กับ patience
เริ่มจาก passion - ผมเป็นคนชอบรถยนต์ ผมลงทุนซื้อ magazines ต่างประเทศที่เป็นภาษาอังกฤษมานั่งอ่านดู รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้างก็พยายามอ่านไป จนเริ่มมีฐานข้อมูลคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์
ไม่เพียงเท่านั้น ผมอยากไปเที่ยวงาน Tokyo Motor Show และอยากมีพื้นฐานภาษาญี่ปุ่น เลยเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยทั้งๆที่ตอนผมเรียนระดับอุดมศึกษา ผมเรียนด้านเทคโนโลยี ไม่ได้เรียนอักษรศาสตร์เลย
ถ้าคุณชอบเรียนรู้เรื่อง อาหาร แฟชั่น ท่องเที่ยว หรือสนใจสิ่งใด ก็พยายามหาแหล่งข้อมูลที่เป็นภาษาต่างประเทศมาศึกษาครับ
patience - ถ้าไม่เข้าใจไม่ว่าจะเป็นศัพท์หรือไวยากรณ์ ก็ต้องค่อยๆศึกษาไปครับ พยายามหาแหล่งข้อมูลที่ช่วยไขข้อสงสัยให้เราได้ การที่เริ่มจากหัวข้อที่สนใจจะทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นครับ
4) ประโยชน์ของไวยากรณ์
post นี้ของผมขยายความไว้ให้ดังนี้ครับ
5) ประโยชน์ของการศึกษา “ปริบท” หรือ contexts
ผมมักให้ความสำคัญกับ context หรือปริบทมากกว่าการจำคำศัพมีโดยตรงครับ และไวยากรณ์ที่แข็งแกร่งจะทำให้รู้สึกว่า น่าจะพอเดาความหมายของคำนั้นๆออก ถึงแม้เราจะไม่รู้ความหมายโดยตรง เช่น เดาออกว่า เป็น noun หรือ adjective, หรือ adverb, หรือ verb หรือ อาจเดาได้ว่าคำนั้นน่าจะมีความหมายเชิงบวกหรือลบ
กรณีศึกษาจริงที่เกิดกับผมตอนที่ผมดูภาพยนตร์เรื่อง Green Zone เป็นฉากท้ายๆของเรื่องที่ พระเอกซึ่งเป็นทหารต้องการให้อีกฝ่ายที่หลบหนี วางอาวุธ พระเอกพูดขึ้นประมาณว่า I came here to BRING you IN.
ผมเคยได้ยินแต่ bring on แต่นั่นเป็นครั้งแรกที่ได้ยินคำว่า bring in และผมพอเดาออกว่า น่าจะแปลว่า จับกุม หรือ to arrest someone
คือเป็นการเรียนในลักษณะ senario based learning เช่น การไปร้านอาหาร, การไปเลือกดู apartments หรือห้องเช่า, หรือการไปสอบใบขับขี่ในต่างประเทศ! การสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองจะแสดงให้เห็นถึงหลักไวยากรณ์และคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง และง่ายในการจดจำขึ้น
ผมเคยเรียนภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานมาบ้าง แน่นอนว่ามีคำศัพท์ที่ผมไม่รู้อีกมากมาย แต่ผมเคยทำงานกับชาวญี่ปุ่นและเขาสอนผมให้กล่าวว่า
otsukaresama deshita
2
ซึ่งใช้กล่าวหลังเลิกงาน มีความหมายในลักษณะ “thank you for your hard work”
และผมจำทั้งคำกล่าวนี้และความหมายของมันได้ จากการใช้งานจริงๆ!
6) จดจ่ออยู่กับ “your own obsession”
คือมุ่งเน้นไปที่ “วงการ” ที่คุณสนใจ
ผมมองว่า น่าจะเริ่มจาก การศึกษาบทสนทนา หรือ dialogues ใน “วงการ” ที่คุณสนใจก่อนครับ
เช่น ถ้าคุณทำงานในกลุ่มธุรกิจ “อาหารและเครื่องดื่ม” คุณก็ ศึกษา เรื่อง “ภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่มในภัตตาคารและโรงแรม” จากหนังสือหรือบน Youtube ซึ่งมีสอนฟรีๆอยู่พอสมควรครับ
คุณจะได้เรียนรู้ “ศัพท์” ที่เกี่ยวข้องในวงการนั้นๆ เช่น ชื่อผักผลไม้และเนื้อสัตว์ต่างๆ, พวกชื่อไวน์และเครื่องดื่มที่ทั้งมีและไม่มีแอลกอฮอล์ชนิดต่างๆเป็นต้น
คุณจะได้เรียนรู้ “คำถาม” และ “คำตอบ” ที่ “มักจะถูกใช้” ในวงการนั้นๆ
เช่น ถ้าลูกค้าในร้านอาหารถามคุณก่อนสั่งอาหารว่า
 
“Is it Gluten-free?”
คุณก็ควรรู้ว่า “Gluten-free” หมายถึงอะไร?
หรือถ้าคุณทำงานในร้านขายอุปกรณ์ IT แล้วลูกค้าถามคุณเกี่ยวกับอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งว่า
“I am using Windows 7 on my laptop. Can I use this flash drive with it? Is it backward compatible?”
คุณก็ควรรู้ว่า “backward compatible” หมายถึงอะไร?
“ในแต่ละสายงาน มีคำศัพท์เฉพาะ เป็นของตัวเอง”
7) ดูหนังก็สอนปริบทเราได้!
ผมขอยกตัวอย่างคำศัพท์คำว่า
“engage” ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะรู้ดีว่า ความหมายของมันคือ “การหมั้นหมาย”
แต่ใน “ปริบท” ที่ต่างออกไป แน่นอนว่าคำๆนี้ถูกใช้ในความหมายอื่นๆได้อีก
และเช่นเดียวกัน คำว่า “contact” ที่มีความหมายว่า “สัมผัส” ก็ มีความหมายที่ต่างออกไปใน “ปริบท” อื่นๆ
ตัวอย่างที่ผมหยิบยกให้จะเป็นคลิปบทสนทนาที่มีคำว่า “engage” และ “contact” อยู่ด้วย
1) “Sicario 2”
ขบวนรถที่กำลังขน “บุคคลสำคัญ” ถูกซุ่มโจมตีจากฝ่ายตรงข้ามทางด้านขวามือ โดยนักบินของ drone ที่อยู่ฝ่ายเดียวกันกับขบวนรถ ทำการแจ้ง
เตือนว่า
“contact right,........contact right....”
2) “Die Hard 4”
เครื่องบินรบ F-35 ที่ถูกส่งมาสกัดกั้นการก่อการร้าย ถูกฝ่ายผู้ก่อการร้ายปลอมเป็น ผู้บังคับบัญชาแล้วสั่งการให้นักบิน “โจมตี” รถของ Bruce Willis ที่รับบทเป็นตำรวจและกำลังพยายามที่จะยับยั้งการก่อการร้าย
โดยฝ่ายผู้ร้ายแจ้งนักบินไปว่า
“You are authorised to engage and destroy.”
8) เส้นทางการเรียนภาษาต่างประเทศของผม “ไม่เคยถูกโรยด้วยกลีบกุหลาบ”
โฆษณา