1 ม.ค. 2023 เวลา 02:09 • การศึกษา
[ตอนที่ 78] ครบรอบ 2 ปี บล็อกสายภาษาและวัฒนธรรม “หนุ่มมาเก๊า”
1
ขอสวัสดีคนอ่านทุกท่านนะครับ หลังจากที่ผมหายหน้าหายตาไป 2 เดือนเลย สำหรับปี ค.ศ.2022 ก็ยังคงเป็นปีที่หนักหน่วงของใครหลาย ๆ คน ในปีใหม่ ค.ศ.2023 ทางผมก็หวังว่าจะเป็นปีที่ดีขึ้นครับ
สำหรับบล็อก “หนุ่มมาเก๊า” แห่งนี้ ก็มีเนื้อหาเน้นไปในธีม “เรื่องราวด้านภาษาและวัฒนธรรมทั้งโลกตะวันออกและโลกตะวันตก” ตามชื่อของดินแดน “มาเก๊า” ในชื่อบล็อกที่เคยเป็นดินแดน “ประตูแลกเปลี่ยน” ทางภาษาและวัฒนธรรมระหว่างโลกทั้งสองฝั่งตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 – 17 ครับ
เนื่องจากวันที่เริ่มต้นบล็อก “หนุ่มมาเก๊า” แห่งนี้ คือ วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.2021 ผมเลยขอสรุปว่าในปี ค.ศ.2022 ที่ผ่านมา มีซีรีส์เนื้อหาอะไรบ้างที่ลงบล็อกแห่งนี้ไปแล้วครับ
สำหรับการสรุปเนื้อหาที่เคยลงบล็อกในปี ค.ศ.2021 สามารถดูได้ที่นี่ครับ
1. [ซีรีส์ “นานาภาษาในเอเชียใต้”]
ในปี ค.ศ.2022 ผมลงเนื้อหาเพิ่มเพียงตอนเดียวคือ “ภาพรวมของภาษาคุชราต”
เนื้อหาเรื่อง “ภาพรวมของภาษาในแถบเอเชียใต้” ในซีรีส์นี้ ณ ปัจจุบัน มี 8 ภาษา ได้แก่ ภาษาสันสกฤต, ฮินดี, อูรดู, เบงกอล, เนปาล, ปาทาน, ปัญจาบ และคุชราต
2. [เนื้อหาเรื่อง "ภาพรวมของภาษาอื่น ๆ"]
(ที่ไม่ใช่แถบเอเชียตะวันออก / เอเชียใต้ / กลุ่มภาษาโรมานซ์)
มีเพียงตอนเดียว คือ “แนะนำภาพรวมของภาษายูเครน”
3. [ซีรีส์ “ว่าด้วยอักษรเบรลล์”]
มีเพียงตอนเดียว คือ “แนะนำภาพรวมของอักษรเบรลล์”
4. [ซีรีส์ “เกร็ดเรื่องราวต่าง ๆ ทางภาษาและวัฒนธรรมรอบโลก”]
ในปี ค.ศ.2022 ผมลงเนื้อหาในซีรีส์นี้จำนวน 8 เรื่อง ซึ่งครึ่งหนึ่งมาจากฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเนื้อหาจากภูมิภาคอื่น ๆ บ้าง อย่างฝั่งยุโรปเหนือ (สวีเดน), ภูมิภาคตะวันออกกลาง (ตุรกี), ดินแดนอื่น ๆ ในทวีปเอเชีย หรือแบบเบ็ดเตล็ดรวมมากกว่า 50 ภาษา
- “นูซันตารา" จากชื่อเมืองหลวงใหม่ในอนาคตของอินโดนีเซีย สู่บริบททางภาษาและประวัติศาสตร์ของดินแดนหมู่เกาะเครื่องเทศ
- “จาการ์ตา” เมืองใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับชื่อเมืองที่มาจากภาษามลายู ภาษาสันสกฤต และภาษาดัตช์
- คำศัพท์ที่แปลว่า "เขื่อน" ในภาษาต่าง ๆ แถบกลุ่มประเทศ ASEAN
- คำว่า “ธรรมดา” ในภาษาสวีเดน
- อานาโตเลีย – เอเชีย – ออตโตมัน/อุษมานียะฮ์ – รูม – ตุรกี/ทือร์คิเย : ชื่อทั้งหลายที่เกี่ยวกับแผ่นดินประเทศตุรกี
- คำศัพท์ “ฝน” ในภาษาต่าง ๆ แถบกลุ่มประเทศ ASEAN
- ชื่อของยานสำรวจดวงจันทร์ลำแรกของชาติต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย
- คำทักทายนานาภาษาในแผ่นเสียงทองคำบนยานวอยเอเจอร์ฝาแฝด
5. [ซีรีส์ “Review คอร์สเรียนภาษาตะวันออกออนไลน์ (แบบสอนสด)”]
ในปี ค.ศ.2022 ผมลงคอร์สเรียนภาษาแบบออนไลน์เยอะมาก ทำให้มีเนื้อหาส่วนนี้เยอะตามไปด้วย โดยลงเนื้อหาในซีรีส์นี้ 5 เรื่อง ได้แก่
- “ภาษาฮินดีพื้นฐาน 1” (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ)
- “ภาษาอินโดนีเซีย 1” (ศูนย์ภาษา คณะมนุษยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์)
- “อักษรล้านนา ขั้นพื้นฐาน” (โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา จ.เชียงใหม่)
- “อักษรล้านนา ขั้นกลาง” (โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา จ.เชียงใหม่)
- “ภาษาฮินดีพื้นฐาน 2” (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ)
6. [ซีรีส์ “Review คอร์สเรียนภาษาตะวันตกออนไลน์ (แบบสอนสด)”]
ในปี ค.ศ.2022 มีเนื้อหาที่ผมลงไว้ในซีรีส์นี้ 2 เรื่อง ได้แก่
- “ภาษาเยอรมันพื้นฐาน ระดับ A1.2” (คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร)
- “ภาษาโปรตุเกสพื้นฐาน 1” (ศูนย์ภาษา คณะมนุษยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์)
7. [การสรุป/ถอดเนื้อหาการเสวนา/บรรยายวิชาการด้านภาษาและวัฒนธรรม]
การสรุป/ถอดเนื้อหาเสวนาหรือบรรยายวิชาการด้านภาษาและวัฒนธรรม ถือว่าเป็น “ของใหม่” สำหรับผมในปี ค.ศ.2022 ซึ่งขอขอบคุณทางเจ้าภาพที่จัดงานเสวนาวิชาการดี ๆ ครับ
- “การเมืองเรื่องภาษาใน ASEAN : มาเลเซีย VS อินโดนีเซีย” (ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา และสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา คณะศิลปะศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์)
- “วัฒนธรรมโปรตุเกส ผ่านพิพิธภัณฑ์กุฎีจีน” (สาขาวิชาภาษาโปรตุเกส ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ)
- "ภาษาไทยในโลกกว้าง : การเรียนการสอนและการวิจัยภาษาไทยในบริบทนานาชาติ" (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ)
8. [เนื้อหาเชิงความคิดเห็นหรือประสบการณ์ของ “หนุ่มมาเก๊า”]
นาน ๆ ทีผมถึงเขียนเนื้อหาในเชิงความคิดเห็นหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวกับเรื่องภาษาและวัฒนธรรม ซึ่งขอออกตัวก่อนว่าทางผมเองก็ไม่ใช่ “ผู้เชี่ยวชาญ” หรือ “นักวิชาการ” ในด้านนี้ เป็นเพียง “ผู้สนใจในฐานะงานอดิเรก” เท่านั้นครับ
- “ภาษาต่างประเทศนอกกระแสความนิยมในไทย” ที่ “หนุ่มมาเก๊า” สนใจ
ตอนแรก : ภาษาตะวันออก 3 ภาษา (อินโดนีเซีย เวียดนาม ฮินดี)
- ประเด็นจากประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภาฯ : ชื่อบ้านนามเมือง “บางกอก-กรุงเทพฯ”
- ประเด็นจากประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา : การเพิ่มหรือเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงอื่น ตามเกณฑ์การทับศัพท์หรือการออกเสียงภาษานั้น
ในปี ค.ศ.2023 นี้ ทางผมยังคงตั้งใจว่าจะกลับมาเรียบเรียงเนื้อหาต่อในเรื่องภาษาในภูมิภาคเอเชียใต้ อักษรแบบต่าง ๆ ทั่วโลก และเรื่องประวัติศาสตร์-วัฒนธรรมผ่านดนตรีในเกม Civilization ครับ
หากเนื้อหาเรื่องภาษาในภูมิภาคเอเชียใต้จบลง ตามแผนที่วางไว้นั้นจะเริ่มเนื้อหาเรื่องภาพรวมของกลุ่มภาษาตะวันตกและภาษาในภูมิภาคฝั่งโลกตะวันออกกลุ่มอื่น เพื่อให้บล็อกแห่งนี้มีจุดยืนเพิ่มเติม โดยเป็นเสมือน "มัคคุเทศก์แนะนำภาษา" ไปในตัว ซึ่งผมหวังว่าเนื้อหาในบล็อกนี้จะเป็นประโยชน์แก่คนอ่านที่สนใจเรื่องภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติต่อไปครับ
1
สุดท้ายนี้ก็ขอ “สุขสันต์วันปีใหม่” ครับ
หนุ่มมาเก๊า
1 มกราคม ค.ศ.2023 (ครบรอบ 2 ปี บล็อก “หนุ่มมาเก๊า”)
โฆษณา