19 พ.ค. 2023 เวลา 01:18 • ปรัชญา

โพชฌงค์ 7 ประการ

* ผู้เขียนยังคงอยู่ในช่วง Long break for election จนกว่าจะได้รัฐบาลใหม่
* แต่มีผู้อ่าน ขอให้เขียนเรื่อง โพชฌงค์ เจ็ด
เมื่อผู้อ่าน ขอในสิ่งที่เป็นหลักธรรมสำคัญหมวดหนึ่ง
บทความนี้ จึงเกิดขึ้นแม้จะอยู่ในช่วง Long break ครับ
โพชฌงค์ 7 คือองค์ประกอบให้เกิดความสำเร็จ
หลายท่านรู้จักในชื่อที่เป็นบทสวดมนต์ เรียกว่า โพชฌังคปริตร นับถือกันว่าเป็นพุทธมนต์สำหรับสวดสาธยายเพื่อให้คนป่วยได้สดับตรับฟังแล้วจะได้หายโรค เพราะคนมีกายกับใจซึ่งเป็นสิ่งที่อาศัยกันและกัน ถ้าจิตใจดีมากถึงระดับหนึ่ง อาจช่วยบำบัดโรคได้ ต่างจากใจที่เครียดส่งผลให้ระบบร่างกายทำงานผิดปกติ
แม้ว่า คนคำนวณ ไม่สู้ฟ้าลิขิต
จึงทำให้พรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้ง แบบถล่มทลายได้อย่างใสสะอาด
แต่ความบังเอิญ ไม่มีอยู่จริง
เพราะความสำเร็จ ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย
แต่เกิดจากการรวมพลังมรรคสามัคคี ขององค์สาม
คือ ศีลที่สมบูรณ์ ทำให้เกิดสมาธิ แล้วจึงเกิดปัญญาคิดออก เมื่อคิดออก จึงทำได้ และก้าวข้ามอุปสรรค จึงก้าวหน้าต่อไปได้เรื่อยๆ จนประสบความสำเร็จ
ขยายความ เรื่ององค์ประกอบของความสำเร็จ
โดยโพชฌงค์ 7 ประการ รวมกันเป็นองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ ประกอบด้วย
1. สติ
2. ธัมมวิจยะ
3. วิริยะ
4. ปิติ
5. ปัสสัทธิ
6. สมาธิ
7. อุเบกขา
โพชฌงค์ 7 ประการ รวมกันเป็นองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้
ตรัสรู้อะไร จึงทำให้คนป่วย แค่ป๋วยกาย แต่ใจไม่ป่วย
โพชฌงค์ 7 ประการ รวมกันเป็นองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ หรือองค์แห่งโพธิญาณ นั่นเอง
หลวงพ่อชา (พระโพธิญาณ)ถามโยม ว่าเจ็บส่วนต่าง ๆของร่างกายไหม?
โยม ตอบว่า เจ็บ ทุกส่วนเลย
ตรงไหนไม่เจ็บปวด นั้นไม่มี
หลวงพ่อชา (พระโพธิญาณ)ถามโยม เจ็บหางไหม?
โยม ตอบว่า ไม่มีหาง จะเจ็บหางได้อย่างไร?
หลวงพ่อชาจึงบอกว่า
พระพุทธเจ้าสอนเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
คนที่ เห็นชัดว่าไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา จึงปล่อยวางอัตตาตัวตน ทำให้อนัตตา เกิดขึ้นมา
ถ้าไม่มีตัวตน ผู้รับทุกข์ ก็ไม่เป็นทุกข์ เช่นกัน จึงทำให้คนป่วย แค่ป๋วยกาย แต่ไม่เป็นทุกข์
เพราะใจไม่ป่วยตาม
หลวงพ่อชา (พระโพธิญาณ เถระ)
หลวงพ่อชาจึงบอกว่า พระพุทธเจ้าสอนเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คนที่ เห็นชัดว่าไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา จึงปล่อยวางอัตตาตัวตน ทำให้อนัตตา เกิดขึ้นมา
ลองพิจารณาโพชฌงค์ 7 ประการ ในฐานะ ที่เป็นองค์ประกอบหลักของความสำเร็จ Key Success Factors ดังนี้
1. สติ มีหน้าที่ ตรึงจิตผู้คิดไว้กับสิ่งที่เรากำลังทำหน้าที่ พร้อมกับสติมีหน้าที่ทำให้เรารู้ตัวทั่วพร้อมสามารถดึงเอาความรู้ที่เคยมีขึ้นมาตอบสนองต่อสภาพบริบทแวดล้อมที่เรากำลังเผชิญ ได้อย่าง ไม่ขาดสติ
2. ธัมมวิจยะ คือการวิจัยธรรม สิ่งที่เผชิญและสิ่งที่สติดึงเข้ามา โดยการใช้ปัญญาไตร่ตรอง พิจารณา สอดส่อง ค้นคว้าธรรมคือความจริงที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ตนและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เพราะถ้าเราวิจัยให้ดีจะเห็นว่าสรรพสิ่งล้วนเป็นธรรม แต่ ถ้าเรามองไม่ดี อะไร ๆ ก็เห็นเป็นอธรรมไปหมด ทำให้ใจเราเสียหาย เพราะเกิดโทสะ แต่ถ้ามองให้ดี จะเกิดกรุณา Compassion และเกิดความสงสาร สามารถเลือกเฟ้นเอาธรรม มาใช้ให้เหมาะสม ถูกโอกาสและตรงกับที่ต้องการจะให้ได้ผล
3. วิริยะ ความเพียรโดยความเป็นผู้กล้าหาญ วิริยะมาจากวีระ เช่นวีรชน วีรบุรุษ วีรสตรี ผู้มีพลังเข้มแข็งของจิตใจ ที่จะเดิน ที่จะก้าวต่อไป ถึงจะเผชิญอุปสรรค ก็ไม่กลัวและมีกำลังประคองใจไม่ให้ท้อถอย
4. ปิติ คือความอิ่มใจ เพราะใจได้รับอาหารใจคือศีลสมาธิและปัญญา เกิดพลังมรรคสามัคคี ขององค์สามคือ ศีลที่สมบูรณ์ ทำให้เกิดสมาธิ แล้วจึงเกิดปัญญาคิดออก เมื่อคิดออก จึงทำได้ และก้าวข้ามอุปสรรค จึงก้าวหน้าต่อไปได้เรื่อยๆ พร้อมกับมีความอิ่มใจ
5. ปัสสัทธิ เป็นความสงบเย็นผ่อนคลาย ไม่กระสับกระส่าย ไม่เครียด Always remember for peace life
6. สมาธิ เป็นความตั้งใจมั่น ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับงาน โดยมีสติแน่วแน่ ตั้งมั่น แนบสนิท เป็นสมาธิ
7. อุเบกขา ไม่ใช่ความประมาท Careless แต่เป็นความเรียบสงบของจิตที่เป็นกลางๆ ไม่เอนเอียง Biased ไปข้างโน้นข้างนี้ เป็นความเฉยรู้ คือรู้ทันจึงเฉย ดูอย่างรู้ทัน และพร้อมที่จะทำการเมื่อถึงจังหวะ เพราะการที่ได้กระทำทุกสิ่งเข้าที่เรียบร้อยดีแล้ว เราก็เพียงคุมเครื่องอยู่ มองดูอยู่เฉยๆ ด้วยจิตที่สบายเพราะทำดีแล้ว
รายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องโพชฌงค์ 7 ประการ
โฆษณา