Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mr.BlackCatz. Academy
•
ติดตาม
16 มิ.ย. 2023 เวลา 13:42 • การศึกษา
ปฏิกิริยาในสิ่งมีชีวิต | Biology with JRItsme.
⌚️ เวลาที่ใช้อ่าน 5 นาที
เรื่องถือว่าเป็นแก่นสารสำคัญของกระบวนการเมตาบอลิซึม ในร่างกายสิ่งมีชีวิตเลยก็ว่าได้ มันฟังดูยิ่งใหญ่อลังการมาก แต่จริง ๆ มันง่าย น้อยขั้นตอน และวนไปมาเป็นวัฏจักร (มั้งนะ...) ลองมากค่อยดูทีละส่วน ๆ กันนะ ขอย้อนกลับไปในเรื่องพันธะเคมีกันสักเล็กน้อย (อ่านตอนนี้ได้ที่นี่:
https://www.blockdit.com/posts/648b2dca29f92fad51c14f5c
)
โมเลกุลหรือสารประกอบเกิดจากอะตอมของธาตุที่สร้างพันธะต่อกัน กระบวนการที่ทำให้ธาตุเกิดพันธะกันนั่นคือปฏิกิริยาเคมี [Chemical reaction] หรือรวมไปถึงโมเลกุล A เปลี่ยนไปเป็น B ก็เกิดจากปฏิกิริยาเคมีเช่นกัน
ปฏิกิริยาเผาไหม้หรือสันดาป อ้างอิง: https://www.chemistrylearner.com/chemical-reactions/combustion-reaction
พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ให้คำหมายของปฏิกิริยาว่า การเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร นั่นคือจากสารเดิมเปลี่ยนเป็นอีกสารหนึ่งโดยปริยาย ยกตัวอย่างเช่น ปฏิกิริยาเผาไหม้หรือสันดาป [Combustion reaction] ที่มีเทนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลรวมตัวกับออกซิเจนในอากาศ ได้เป็นเป็นควันคาร์บอนไดออกไซด์ จากคาร์บอนทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ได้ออกมาเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสารใหม่ เมื่อมีสารใหม่เกิดขึ้น จึงเรียกได้ว่า “เกิดปฏิกิริยาเคมี”
ปฏิกิริยาโค้กกับเมนทอสเป็นปฏิกิริยาเคมี อ้างอิง: https://www.flickr.com/photos/xenocapin/4342753459
วิธีสังเกตง่าย ๆ ว่าสารนี้เกิดจากปฏิกิริยาเคมีหรือไม่ ให้สังเกตว่าถ้าสารมีการเปลี่ยนแปลง สี กลิ่น รสชาติ กรด-เบส มีฟอง ระเบิด ทั้งหมดนี้เกิดจากปฏิกิริยาเคมี หากเป็นเรื่องการละลาย การหลอมเหลว การเปลี่ยนสถานะ ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ไม่นับว่าเกิดจากปฏิกิริยาเคมี แต่มาจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเท่านั้น
ที่นี้สารจะเกิดปฏิกิริยาด้วยตัวเองไม่ได้ มันต้องใช้พลังงาน [Energy] (ส่วนใหญ่จะเป็นความร้อน กับพลังสะสสมในโมเลกุล) สารอาจะเบ่งพลังเอง (นึกถึงซุนโกคูที่ต้องเบ่งพลังให้เป็นซูเปอร์ไซย่า) หรืออาจต้องใช้พลังงานภายนอกช่วย (นึกถึงเบจิต้าที่นำความอิจฉาจากโกคูมาแปลงร่างซูเปอร์ไซย่า) ซึ่งจากพฤติกรรมการใช้พลังงานดังกล่าวนี้ สามารถแบ่งปฏิกิริยาเคมีได้เป็น 2 แบบ ได้แก่
ปฏิกิริยาคายพลังงาน [Exothermic reaction] ระหว่างปฏิกิริยาที่สารเปลี่ยนแปลง จะมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาสู่ภายนอก มักเกิดกับปฏิกิริยาที่สารจะสร้างพันธะกัน หรือสร้างจากสารเล็กให้เป็นสารใหญ่ เช่น ปฏิกิริยาเผาไหม้ที่ยกตัวอย่างไปก่อนหน้าที่ ที่อะตอมเล็ก ๆ กลายเป็นโมเลกุลใหญ่ขึ้น
และปฏิกิริยาดูดพลังงาน [Endothermic reaction] ระหว่างปฏิกิริยาที่สารเปลี่ยนแปลง จะมีการดูดพลังงานจากภายนอกเข้า มักเกิดกับปฏิกิริยาที่สารจะสลายพันธะกัน หรือสลายจากสารใหญ่ให้เป็นสารเล็ก เช่น ปฏิกิริยาดึงไฮโดรเจนออกจากน้ำ ต้องสลายพันธะโคเวเลนต์ระหว่าออกซิเจนและไฮโดรเจนออกมาเสียก่อน เราทุกคนทีเรียนสายวิทย์มักจะท่องกันว่า “สร้างคาย สลายดูด”
แอนาบอลิซึมและแคตาบอลิซึม อ้างอิง: https://www.chegg.com/learn/topic/anabolic-reactions-versus-catabolic-reactions
มันมีแค่นี้เลย! สำหรับปฏิกิริยาเคมี ส่วนที่บอกว่ามันจะเป็นวัฏจักร เพราะในร่างกายสิ่งมีชีวิตที่มีกระบวนการจัดการพลังงานหรือสารต่าง ๆ ที่เรียกว่า “เมตาบอลิซึม” ที่มีสองกระบวนการย่อยเหมือนปฏิกิริยาเคมีเลย คือ สร้างสารเพื่อเก็บพลังงานหรือ “แอนาบอลิซึม” [Anabolism] และสลายสารเพื่อใช้พลังงาน “แคตาบอลิซึม” [Catabolism] วนไปมาตามสภาวะร่างกายและสิ่งแวดล้อมที่ต้องใช้พลังงานต่างกันนั่นเอง
มันเริ่มชัดเจนขึ้นหรือยัง? ที่ผมต้องปูเคมีก่อน เพราะอย่างให้ทุกคนได้เข้าใจแนวติดของเมตาบอลิซึมให้ดีขึ้น ซึ่งเมื่อเราเข้าใจเรื่องได้มากเท่าไร เราจะเข้าใจอาหารการกิน การใช้พลังงาน การเผาผลาญได้ดีขึ้นเท่านั้น (ปัญหาใหญ่ของคนคิดถึงสุขภาพ...) อย่างไรก็อยากให้ค่อย ๆ เรียนรู้ทีละนิด ๆ จากผมนะครับ อย่าลืมติดตามเพจ Mr.BlackCatz. Academy เพื่อไม่พลาดตอนต่อไปของซีรีส์นี้ครับ 😸
วิทยาศาสตร์
สุขภาพ
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Biology with JRItsme.
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย