4 มี.ค. เวลา 13:27 • ธุรกิจ

✨ ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับก้าวไกล เพิ่มบทบัญญัติ...

“ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาไปดูแลผู้ป่วยตามกฎหมายแรงงาน อาจเป็นบุคคลในครอบครัว หรือบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ซึ่งรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน หรือผู้ป่วยที่มีความต้องการการดูแลทางร่างกายและจิตใจ ปีละไม่เกิน 15 วัน และถ้าต้องลาตั้งแต่ 5 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือใบรับรองของสถานพยาบาลของทางราชการ หรือใบมรณบัตรของบุคคลที่ลูกจ้างลาไปดูแลได้”
🧐 สำหรับสิทธิลูกจ้างในการลาดูแลผู้ป่วย 15 วัน/ปี ฉบับก้าวไกล หากถูกกำหนดในกฎหมายแรงงาน HR Buddy มองว่า
😄 ข้อดีคือตอบโจทย์การดำเนินชีวิตของคนทำงานได้ดีมาก ๆ เพราะคนทำงานไม่น้อยที่เป็นเสาหลักในการดูแลคนในครอบครัว บางคนอยู่กับพ่อหรือแม่ หรือกับใครสักคนที่อาจไม่ใช่คนในครอบครัวแต่มีใกล้ชิด เป็นคนสำคัญ ซึ่งนอกจากหารายได้มาดูแลค่าใช้จ่ายแล้ว เวลาเกิดการเจ็บป่วย ก็ต้องดูแลร่างกายและจิตใจซึ่งกันและกัน แต่ปัจจุบัน ถ้าลูกจ้างต้องการลาเพื่อไปดูแลผู้ป่วย ก็ต้องใช้สิทธิลากิจ ลาพักร้อน หรือลาโดยไม่รับค่าจ้าง
😞 แต่ข้อเสียสำหรับลูกจ้างก็คือ หากเป็นการลาไปดูแลคนที่ไม่ใช่คนในครอบครัว นายจ้างบางบริษัทอาจพิจารณาว่าไม่สมควรที่จะใช้สิทธินี้ อาจกำหนดตายตัวเลยว่า ให้ลาได้เฉพาะไปดูแลพ่อแม่ ลูก สามี ภรรยา แม้ว่าตามร่างพ.ร.บ.ของก้าวไกล จะบอกว่า รวมถึงบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดด้วย
😄 ส่วนข้อดีสำหรับนายจ้างเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานเรื่องนี้ นายจ้างสามารถนำมาใช้บริหารองค์กรให้เกิดการพัฒนาได้ ช่วยส่งเสริมให้นายจ้างลูกจ้างเกิดความเข้าใจและความรู้สึกที่ดีต่อกันมากขึ้น แต่กรณีแบบนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ นายจ้างปฏิบัติถูกต้อง ลูกจ้างใช้สิทธิถูกต้องตามกฎหมายด้วย
😞 ข้อเสียคือ อาจเกิดกรณีใช้สิทธิลาดูแลผู้ป่วยเท็จ เพราะกฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องแสดงใบรับรองแพทย์ แม้จะใช้สิทธิตั้งแต่ 5 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างก็อาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์ นั่นแปลว่า ลูกจ้างมีสิทธิไม่แสดงก็ได้
😄😄 ดังนั้น เพื่อความยุติธรรมมากที่สุด ทั้งต่อนายจ้างและลูกจ้าง ถ้ากฎหมายแรงงานเรื่องนี้ถูกกำหนดขึ้นจริง ก็ควรระบุให้ชัดเจนด้วยว่า กรณีไม่แสดงใบรับรองแพทย์ นายจ้างมีสิทธิถามถึงหลักฐานอื่นที่ยืนยันได้ และลูกจ้างเองก็มีหน้าที่ต้องทำตาม เช่น รูปถ่าย, ซองยา หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ถ้าลูกจ้างละเลย นายจ้างก็มีสิทธิไม่อนุมัติให้ลา
และกำหนดให้ชัดเจนด้วยว่า หากลูกจ้างมีหลักฐานที่ยืนยันได้ชัดเจนว่าดูแลผู้ป่วยจริง แม้ผู้ป่วยจะไม่ใช่คนในครอบครัว แต่เป็นคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด นายจ้างก็มีหน้าที่อนุมัติเช่นกัน
สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR
😍 อีเมล : hrbuddybyjobbkk@gmail.com
#hr #hr2024 #ลาดูแลผู้ป่วย #ร่างพรบคุ้มครองแรงงาน #ก้าวไกล #HRBuddy
โฆษณา