26 มี.ค. เวลา 09:28 • ธุรกิจ

อำนาจในการบริหารจัดการเป็นของนายจ้าง

ดังนั้นนายจ้างมีสิทธิสั่งย้ายลูกจ้างไปทำงานตามความเหมาะสมและความจำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจ ✅
🤔 แบบนี้นายจ้างก็สามารถใช้อำนาจสั่งย้ายลูกจ้างให้ไปทำงานที่สาขาไกล ๆ เพื่อบีบให้ลาออกไปเอง จะได้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยก็ได้สิ ?
แม้นายจ้างจะมีอำนาจ แต่คำสั่งนั้นต้องเป็นธรรมนะคะ นั่นคือ ตำแหน่ง เงินเดือน สวัสดิการ ลูกจ้างต้องได้เท่าเดิม และหากสถานที่สั่งย้ายนั้นอยู่ไกล ลูกจ้างต้องมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น นายจ้างก็ต้อง Support อย่างเหมาะสมด้วย ถ้าเป็นในลักษณะนี้แล้วลูกจ้างไม่อยากไป ก็ต้องลาออกเอง เรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคนค่ะ
แต่ถ้าคำสั่งเป็นไปในทางตรงข้าม เป็นการจงใจกลั่นแกล้งให้ลูกจ้างลาออก ก็ถือว่าไม่เป็นธรรม ลูกจ้างก็มีสิทธิฟ้องนะคะ ให้ศาลตัดสินว่าเหตุผลของใครมีน้ำหนักมากกว่ากัน
ทั้งนี้ หากใครได้รับคำสั่งที่รู้สึกว่าไม่เป็นธรรม แต่ก็ไม่แน่ใจ HR Buddy ขอแนะนำว่า ให้คุณไปทำงานตามคำสั่งก่อน เพราะถ้าหนีหายไปอาจเข้าข่ายขาดงาน 3 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร ตามมาตรา 119 นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนะคะ แต่ระหว่างที่ไปทำงานก็นำเรื่องฟ้องศาลไปด้วย
✅ ตัวอย่างคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 597/2563 (กรณีลูกจ้างขัดคำสั่ง)
นายจ้างเปิดโรงแรงสาขาใหม่ซึ่งห่างจากสาขาเดิม 120 เมตร และมีคำสั่งมอบหมายให้ลูกจ้างไปทำงานสาขาใหม่ ประกอบกับสัญญาจ้างที่กำหนดว่า “ลูกจ้างจะต้องปฏิบัติงานในหน้าที่หรืองานอื่นใดที่บริษัทมอบหมายให้ทำอย่างเต็มความสามารถ” แต่ลูกจ้างปฏิเสธและอ้างว่าสมัครทำงานที่สาขาเดิมเพียงแห่งเดียว
ลักษณะนี้เป็นการขัดคำสั่งหรือจงใจฝ่าฝืนไม่เชื่อฟังคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา และเป็นความผิดสถานหนักตามข้อบังคับ นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR
😍 อีเมล : hrbuddybyjobbkk@gmail.com
#hr #นายจ้าง #ลูกจ้าง #สั่งย้ายสาขา #กฎหมายแรงงาน #HRBuddy
โฆษณา